การใช้งาน ออ ส ซิ ล โล สโคป เบื้องต้น

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

ออสซิลโลสโคป

ออสซิลโลสโคปเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างรูปคลื่น (waveform) ของสัญญาณไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าตามเวลาให้ปรากฎบนจอภาพ ซึ่งปกติจะไม่สามารถเห็นสัญญาณไฟฟ้าเหล่านั้นได้ ออสซิลโลสโคปยังสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณไฟฟ้าเหล่านั้นเทียบกับเวลาได้ ออสซิลโลสโคปยังใช้แสดงคลื่นดลและเป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเสียง นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องแสดงผลของเครื่องมือวัดบางชนิดอีกด้วย 

ส่วนประกอบที่สำคัญของออสซิลโลสโคป

รูป 1 ส่วนประกอบภายในของออสซิลโลสโคปอย่างง่าย

ส่วนประกอบที่สำคัญของออสซิลโลสโคป

หลอดรังสีแคโทดหลอดรังสีแคโทดเป็นหลอดสุญญากาศชนิดหนึ่ง มีโครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน เรียงลำดับดังนี้1. ปืนอิเล็กตรอน (electron gun) ทำหน้าที่ผลิตลำอิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูงและมีขนาดเล็กมาก2. ระบบเบี่ยงเบนลำอิเล็กตรอน ทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้า เมื่อลำอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ผ่านจะทำให้ลำอิเล็กตรอนเปลี่ยนแนวการเคลื่อนที่ไป ระบบเบี่ยงเบนประกอบด้วยแผ่นเบี่ยงเบน 2 ชุด ชุดแรกเรียกว่า แผ่นเบี่ยงเบนทางแนวตั้ง (vertical deflection plates) ซึ่งต่ออยู่กับส่วนควบคุมสัญญาณทางแนวตั้ง (vertical control) ทำหน้าที่เบี่ยงเบนลำอิเล็กตรอนในแนวตั้ง (แกน y) อีกชุดเรียกว่า แผ่นเบี่ยงเบนทางแนวนอน (horizontal deflection plates) ต่ออยู่กับส่วนควบคุมสัญญาณทางแนวนอน (horizontal control) ทำหน้าที่เบี่ยงเบนลำอิเล็กตรอนในแนวนอน (แกน x)3. จอภาพ (screen) เมื่อลำอิเล็กตรอนผ่านระบบเบี่ยงเบนจะไปตกบนจอภาพที่ฉาบสารเรืองแสงไว้ พลังงานของอิเล็กตรอนจะถูกถ่ายโอนให้กับสารเรืองแสง ทำให้บริเวณที่อิเล็กตรอนตกกระทบเรืองแสงขึ้น  ส่วนควบคุมสัญญาณทางแนวตั้งส่วนควบคุมสัญญาณทางแนวตั้ง ประกอบด้วยวงจรที่สำคัญ 2 วงจรคือ วงจรลดทอนสัญญาณ (vertical attenuator) และวงจรขยายทางแนวตั้ง (vertical amplifier) เมื่อสัญญาณไฟฟ้าที่ต้องการดูถูกป้อนเข้าที่ขั้วต่อ input จะถูกส่งผ่านไปยังวงจรลดทอนสัญญาณ สัญญาณที่ออกมาจะมีขนาดเล็กลง จากนั้นจะถูกส่งต่อไปยังวงจรขยาย แล้วป้อนเข้าสู่แผ่นเบี่ยงเบนทางแนวตั้ง เพื่อสร้างสนามไฟฟ้าไปเบี่ยงเบนลำอิเล็กตรอนในแนวตั้งต่อไป ส่วนควบคุมสัญญาณทางแนวนอนส่วนควบคุมสัญญาณทางแนวนอนมีวงจรที่สำคัญคือ วงจรกำเนิดความถี่การกวาด (sweep หรือ time base ganerator) ทำหน้าที่ผลิตสัญญาณรูปฟันเลื่อย (sawtooth) สัญญาณนี้จะถูกป้อนไปยังแผ่นเบี่ยงเบนทางแนวนอน ทำให้ลำอิเล็กตรอนเบี่ยงเบนหรือกวาดในแนวนอน ถ้าความถี่ของสัญญาณรูปฟันเลื่อยไม่สัมพันธ์กับสัญญาณที่จะดู (ซึ่งถูกป้อนเข้าที่ขั้ว input) จะทำให้ได้รูปคลื่นของสัญญาณที่จะดูไม่ซ้อนทับกันและไม่นิ่ง แต่ถ้าสามารถปรับความถี่การกวาดให้ตรงกันแล้วจะได้รูปคลื่นที่นิ่ง วิธีการนี้เรียกว่า การเข้าจังหวะ (syncronization) 

ออสซิลโลสโคปชนิดต่างๆ
ปัจจุบันมีการผลิตออสซิลโลสโคปหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน ออสซิลโลสโคปเบื้องต้นที่ใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มี 2 แบบ ได้แก่ ออสซิลโลสโคปหนึ่งแชนแนล และออสซิลโลสโคปสองแชนแนล ออสซิลโลสโคปหนึ่งแชนแนล (single trace oscilloscope)ออสซิลโลสโคปหนึ่งแชนแนลเป็นออสซิลโลสโคปที่ให้เส้นภาพเส้นเดียว ใช้งานได้ง่ายที่สุดในบรรดาออสซิลโลสโคปทั้งหลาย ใช้สำหรับศึกษารูปคลื่นของสัญญาณไฟฟ้าต่าง ๆ ได้รูปเดียวออสซิลโลสโคปชนิดนี้สามารถวัดแรงดันไฟตรง แรงดันไฟสลับ วัดคาบ และความถี่ของสัญญาณไฟฟ้าสลับ นอกจากนี้ยังวัดเฟสและความถี่ของสัญญาณรูปไซน์ด้วยวิธีลิศซาจูส์ 
รูป 2   ออสซิลโลสโคปหนึ่งแชนแนล
ออสซิลโลสโคปสองแชนแนล (dual trace oscilloscope)ออสซิลโลสโคปสองแชนแนลเป็นออสซิลโลสโคปที่มีเส้นภาพสองเส้น จึงใช้ศึกษารูปคลื่นของสัญญาณไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ 2 รูปในเวลาพร้อมกันได้ ออสซิลโลสโคปชนิดนี้นอกจากจะใช้งานได้เหมือนออสซิลโลสโคปหนึ่งแชนแนลแล้ว ยังสามารถใช้ศึกษาส่วนต่างของสัญญาณที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา ศึกษาเปรียบเทียบรูปคลื่นของสัญญาณทั้งสองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถแสดงรูปคลื่นที่เป็นผลรวมของสัญญาณทั้งสองได้อีกด้วย 

รูป 3   ออสซิลโลสโคปสองแชนแนล

ออสซิลโลสโคปที่จะกล่าวในที่นี้คือออสซิลโลสโคป hitachi รุ่น V212 เป็นออสซิลโลสโคปสองแชนแนล ที่สามารถแสดงรูปคลื่นที่มีความถี่ตั้งแต่ DC ถึง 20 MHz มีความไว 5mV/div ฐานเวลา (time base) ของ trigger sweep มีอัตราการกวาดลำอิเล็กตรอนสูงสุด 0.2  ภายในเครื่องมีแหล่งสัญญาณรูปคลื่นสี่เหลี่ยมความถี่ 1kHz และแรงดัน 0.5 V ใช้สำหรับปรับโพรบ ออสซิลโลสโคป hitachi รุ่น V212 มีลักษณะและส่วนประกอบตามลำดับหมายเลขดังนี้ 
รูป 4   ส่วนประกอบของออสซิลโลสโคปสองแชนแนลของฮิตาชิ รุ่น V212
หน้าที่ของสวิตช์ ปุ่มและขั้วต่อต่าง ๆ 
หมายเลข ชื่อ หน้าที่
1 POWER สวิตช์ชนิดกดสำหรับเปิด-ปิด เมื่อกดสวิตซ์เครื่องอยู่ในภาวะทำงาน (ON) และเมื่อกดสวิตซ์อีกครั้ง เครื่องจะอยู่ในภาวะหยุดทำงาน (OFF)
2 หลอดไฟ เมื่อกดสวิตซ์ POWER หลอด LED สีแดงจะติด ขณะนี้เครื่องอยู่ในสภาวะพร้อมทำงาน (ON)
3 FOCUS ปุ่มปรับความคมชัด หลังจากปรับปุ่ม INTENSITY จนได้ความสว่างพอเหมาะแล้ว จึงปรับปุ่ม FOCUS จนได้เส้นภาพที่มีความคมชัดที่สุด
4 TRACE ROTATION สกรูปรับความลาดเอียง ใช้ปรับความลาดเอียงของเส้นฐานให้วางตัวในแนวนอน
5 INTENSITY ปุ่มปรับความสว่าง ใช้สำหรับปรับความสว่างของเส้นภาพโดยความสว่างจะเพิ่มขึ้นเมื่อหมุนตามเข็มนาฬิกา และความสว่างจะลดลงเมื่อหมุนทวนเข็มนาฬิกา
6 POWER SOURCE สวิตซ์เลือกขนาดของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งต้องเลือกที่ 220 VAC สวิตซ์นี้อยู่ด้านหลังเครื่อง
7 AC INLET เต้ารับสำหรับต่อสายไฟ 220VAC เต้ารับนี้อยู่ด้านหลังเครื่อง
8 INPUT ขั้วต่อ Input ของ CH1 (แบบ BNC) ใช้สำหรับต่อสัญญาณเข้าระบบเบี่ยงเบนทางแนวตั้งของเครื่อง สามารถวัดแรงดันได้สูงสุด 300 V (300VDC, 300 VACpeak)
9 INPUT ขั้วต่อ input ของ CH2 ทำหน้าที่เหมือนขั้วต่อ input ของ CH1
10 ,11 AC-GND-DC สวิตซ์โยก ใช้สำหรับเลือกการเชื่อมต่อสัญญาณด้านเข้าของ CH1 และ CH2 ตามลำดับ กับระบบเบี่ยงเบนทางแนวตั้งของเครื่อง มี 3 ตำแหน่ง คือ AC GND และ DC 
AC: เมื่อโยกสวิตซ์ไปที่ตำแหน่งนี้ ส่วนประกอบที่เป็นกระแสตรง (DC) ของสัญญาณด้านเข้าจะถูกตัดออก เหลือเฉพาะส่วนประกอบที่เป็นแรงดันไฟกระแสสลับ (AC) เท่านั้นที่ปรากฏบนจอภาพ 
GND: เมื่อโยกสวิตซ์ไปที่ตำแหน่งนี้ สัญญาณด้านเข้าจะถูกต่อลงดิน 
CD : เมื่อโยกสวิตซ์ไปที่ตำแหน่งนี้ สัญญาณด้านเข้าจะถูกต่อตรงปรากฏบนจอภาพโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือจะมีส่วนประกอบทั้งที่เป็นแรงดันไฟกระแสตรงและแรงดันไฟกระแสสลับ
12 ,13 VOLTS/DIV สวิตซ์เลือก ใช้สำหรับปรับขนาด (แอมพลิจูด) ของสัญญาณทางแนวตั้งที่ถูกป้อนเข้ามาทางขั้วต่อ Input ของ CH1 และ CH2 ตามลำดับ ให้มีขนาดพอเหมาะ โดยมีค่าความไวทางแนวตั้งให้เลือกตั้งแต่ 5mV/div ถึง 5V/div แบ่งเป็น 10 ชั้น ในระบบ 1-2-5 สวิตซ์เลือก VOLTS/DIV ต้องใช้ร่วมกับ 14 15 VAR โดยหมุนปุ่ม VAR ตามเข็มนาฬิกาจนถึง CAL จึงจะอ่านค่าแรงดันที่ถูกต้อง
14 ,15 VAR ปุ่มสีแดงใช้ปรับขนาด (แอมพลิจูด) ของสัญญาณทางแนวตั้งของ CH1 และ CH2 ตามลำดับ โดยทำงานร่วมกับสวิตซ์เลือก 12 13 VOLTS/DIV 
เมื่อดึงปุ่มนี้ขึ้น แอมพลิจูดของรูปคลื่นจะเพิ่มขึ้น 5 เท่า (PULL X 5 GAIN) ทำให้ง่ายแก่การสังเกตรูปคลื่น
16  POSITION ปุ่มปรับการเลือกเส้นภาพขึ้น-ลงของสัญญาณด้านเข้าของ CH1 เมื่อหมุนปุ่มตามเข็มนาฬิกา เส้นภาพจะเลื่อนขึ้น และจะเลื่อนลงเมื่อหมุนทวนเข็มนาฬิกา
17  POSITION ปุ่มปรับการเลือกเส้นภาพขึ้น-ลงของสัญญาณด้านเข้าของ CH2 เมื่อหมุนปุ่มตามเข็มนาฬิกา เส้นภาพจะเลื่อนขึ้น และ จะเลื่อนลงเมื่อหมุนทวนเข็มนาฬิกา 
เมื่อดึงปุ่มนี้ สัญญาณด้านเข้าของ CH2 จะกลับขั้ว (PULL INVERT) ทำให้เฟสของสัญญาณเปลี่ยนไป 180 องศา (ใช้ในการหาผลรวมหรือผลต่างของสัญญาณด้านเข้าของ CH1 และ CH2)
18 MODE สวิตซ์เลือก ใช้สำหรับเลือกแบบการทำงาน มีให้เลือก 5 แบบ คือ CH1, CH2, ALT, CHOP และ ADD แต่ละแบบมีหน้าที่ดังนี้ 
CH1 : สัญญาณด้านเข้าของ CH1 เท่านั้นที่จะปรากฏบนจอภาพ 
CH2 : สัญญาณด้านเข้าของ CH2 เท่านั้น ที่จะปรากฏบนจอภาพ 
ALT : สัญญาณด้านเข้าของ CH1 และ CH2 จะปรากฏบนจอภาพสลับกัน (alternate) เหมาะสำหรับการวัดสัญญาณ 2 สัญญาณที่มีความถี่สูง 
CHOP : สัญญาณด้านเข้าของ CH1 และ CH2 จะถูกสวิตซ์ด้วยความถี่ประมาณ 250 kHz ทำให้สัญญาณทั้งสองปรากฏบนจอภาพได้พร้อมกัน เหมาะสำหรับการวัดสัญญาณ 2 สัญญาณที่มีความถี่ต่ำ 
ADD : สัญญาณด้านเข้าของ CH1 และ CH2 จะถูกรวมกันแบบ พีชคณิต แล้วจึงปรากฏบนจอภาพ ถ้าสัญญาณด้านเข้าของCH2 ถูกกลับขั้วโดยการดึงปุ่ม 17 POSITION ก็จะได้สัญญาณที่เป็นผลต่างของสัญญาณทั้งสองปรากฏบนจอภาพ
19 CH1 OUTPUT ขั้วต่อแบบ BNC ให้ตัวอย่างของสัญญาณด้านเข้าของ CH1 ขั้วนี้อยู่ด้านหลังเครื่อง
20 ,21 DC BAL สกรูปรับความสมดุล ทำหน้าที่ปรับระดับ DC ของสัญญาณด้านเข้าของระบบเบี่ยงเบนทางแนวตั้งให้สมดุล โดยปกติปุ่มนี้จะถูกปรับแต่งแล้ว
22 TIME/DIV สวิตซ์เลือกใช้สำหรับเลือกเวลาการกวาด(sweep time) มีค่าให้เลือกตั้งแต่ 0.2  ถึง 0.2 s/div แบ่งเป็น 19 ชั้น ในระบบ 1-2-5 เมื่อบิดสวิตซ์เลือกตามเข็มนาฬิกาไปจนสุดที่ x-y เครื่องจะทำงานเป็น x-y oscilloscope ที่ตำแหน่งนี้ สัญญาณ x (แกนตั้ง) จะต่อเข้ามาทาง CH1 และสัญญาณ y (แกนนอน) จะต่อเข้ามาทาง CH2
23 SWP VAR ปุ่มปรับเวลาการกวาดแบบละเอียด โดยทำงานร่วมกับสวิตซ์เลือก 22 TIME/DIV ปกติปุ่มนี้จะถูกหมุนตามเข็มนาฬิกาไปอยู่ที่ตำแหน่ง CAL ซึ่งจะให้เวลาการกวาดตรงกับค่าที่อ่านได้จาก TIME/DIV เมื่อหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกาจนสุด จะยืดเวลาการกวาดออกไปเป็น 2.5 เท่าหรือมากกว่า
24  POSITION ปุ่มปรับการเลื่อนเส้นภาพไปทางซ้าย-ขวาในแนวนอน เมื่อหมุนปุ่มตามเข็มนาฬิกา เส้นภาพจะเลื่อนไปทางขวา และจะเลื่อนไปทางซ้ายเมื่อหมุนทวนเข็มนาฬิกา 
เมื่อดึงปุ่มนี้ เส้นภาพจะขยายออก 10 เท่าซึ่งจะทำให้เวลาการกวาดมีค่าเป็น 10 เท่าของค่าที่อ่านได้จาก TIME/DIV ด้วย แต่เวลาการกวาดจะมีค่าเป็น 1/10 ของค่าที่แสดงตาม TIME/DIV
25 SOURCE สวิตซ์โยก ใช้สำหรับเลือกแหล่งของสัญญาณทริกเกอร์ให้กับออสซิลโลสโคป มี 3 แหล่งคือ INT, LINE และ EXT 
INT : ที่ตำแหน่งนี้ สัญญาณด้านเข้าที่ CH1 และ CH2 จะถูกใช้เป็นสัญญาณทริกเกอร์ 
LINE: ที่ตำแหน่งนี้ สัญญาณไฟสลับแรงดันต่ำจากแหล่งจ่ายภายในเครื่องจะถูกใช้เป็นสัญญาณทริกเกอร์ 
EXT: ที่ตำแหน่งนี้ สัญญาณจากภายนอกที่ป้อนเข้ามาทางขั้วต่อ TRIG IN จะถูกใช้เป็นสัญญาณทริกเกอร์
26 INT TRIG สวิตซ์โยก ใช้สำหรับเลือกแหล่งของสัญญาณทริกเกอร์ที่อยู่ภายใน มี 3 ตำแหน่ง คือ CH1, CH2 และ VERT MODE 
CH1 : สัญญาณด้านเข้าที่ CH1 จะถูกใช้เป็นสัญญาณทริกเกอร์ 
CH2 : สัญญาณด้านเข้าที่ CH2 จะถูกใช้เป็นสัญญาณทริกเกอร์ 
VERT MODE: สำหรับการวัดสัญญาณ 2 สัญญาณ สัญญาณทริกเกอร์จะเปลี่ยนสลับกันให้สอดคล้องกับสัญญาณด้านเข้าที่ CH1 และ CH2
27 TRIG IN ขั้วต่อแบบ BNC ใช้สำหรับสัญญาณทริกเกอร์จากภายนอก เมื่อสวิตซ์โยก 25 SOURCE อยู่ที่ตำแหน่ง EXT สัญญาณทริกเกอร์ที่ป้อนเข้ามาจะต้องมีแรงดันไม่เกิน 300V peak
28 LEVEL ปุ่มสำหรับปรับระดับสัญญาณทริกเกอร์ เพื่อส่งไปควบคุมสัญญาณด้านเข้าที่ปรากฏบนจอภาพให้หยุดนิ่ง ถ้าปรับระดับสัญญาณไม่ถูกต้องเส้นภาพจะเลื่อนไม่หยุดนิ่ง 
ปุ่มนี้ยังใช้เลือก slope (เฟสของสัญญาณทริกเกอร์) ในสภาวะปกติ ปุ่มนี้อยู่ในตำแหน่งกด slope เป็น + เมื่อปุ่มถูกดึงขึ้น slope เป็น -
29 TRIG MODE สวิตซ์โยก ใช้สำหรับควบคุมการทริกเกอร์ให้เส้นภาพหยุดนิ่ง มี 4 ตำแหน่งคือ AUTO, NORM,TV(V) และ TV(H) 
AUTO : เป็นการควบคุมโดยอัตโนมัติ 
NORM : เป็นการควบคุมโดยการปรับด้วยมือ 
TV(V) : เป็นการควบคุมด้วยสัญญาณ TV ทางแนวตั้ง จะใช้เมื่อต้องการสังเกตภาพในแนวตั้งทั้งหมดของสัญญาณ TV 
TV(H) : เป็นการควบคุมด้วยสัญญาณ TV ทางแนวนอน จะใช้เมื่อต้องการสังเกตภาพในแนวนอนทั้งหมดของสัญญาณ TV
30 EXT BLANKING INPUT ขั้วต่อ Input แบบ BCN สำหรับสัญญาณภายนอกที่จะป้อนเข้าเพื่อควบคุมความสว่างของเส้นภาพ ขั้วนี้อยู่ด้านหลังของเครื่อง
31 CAL 0.5 V ขั้วที่ให้สัญญาณรูปคลื่นสี่เหลี่ยมความถี่ 1 Khz และแรงดัน 0.5 V ใช้เป็นสัญญาณสำหรับตรวจสอบการทำงานของออสซิลโลสโคปและใช้ปรับแต่งสายวัด (probe) ให้ถูกต้อง
32 ขั้วต่อลงกราวด์ของออสซิลโลสโคป

การเตรียมเครื่องก่อนใช้งาน 
ก่อนใช้งาน ผู้ใช้ควรศึกษาหน้าที่ของสวิตซ์ ปุ่มและขั้วต่อต่าง ๆ ของออสซิลโลสโคป เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การปรับปุ่มต่าง ๆ ก่อนเปิดเครื่อง ควรปรับปุ่มต่าง ๆ ให้อยู่ตำแหน่งที่เหมาะสม ดังตาราง 1 ตาราง 1 ตำแหน่งของปุ่มต่าง ๆ ก่อนเปิดเครื่องใช้งาน
ปุ่ม ตำแหน่ง ปุ่ม ตำแหน่ง
1 POWER ปิดเครื่อง 22 TIME/DIV 0.5 ms/div
3 FOCUS กึ่งกลาง 23 SWP VAR CAL
5 INTENSITY ทวนเข็มนาฬิกาจนสุด 24  POSITION กึ่งกลาง ,กดลง
10 ,11 AC-GND-DC GND 25 SOURCE INT
12 ,13 VOLTS/DIV 50 mV/div 26 INT TRIG CH1
14 ,15 VAR CAL ,กดลง 28 TRIG LEVEL กึ่งกลาง ,กดลง
16 ,17  POSITION กึ่งกลาง ,กดลง 29 TRIG MODE AUTO
18 MODE CH1

หมายเหตุ1. หลังจากปรับปุ่มต่าง ๆ ให้อยู่ตำแหน่งที่ระบุในตาราง 1 แล้ว กดสวิตซ์เปิด-ปิด POWER หลอด LED สีแดงจะสว่างขึ้น ทิ้งเครื่องไว้สักครู่ ประมาณ 15 วินาที2. ปรับปุ่ม INTENSITY ตามเข็มนาฬิกา จนกระทั่งมีเส้นภาพปรากฏบนจอภาพ ปรับปุ่ม FOCUS จนได้เส้นภาพคมชัดที่สุด (เมื่อใช้งานออสซิลโลสโคปเสร็จแล้ว ควรปรับปุ่ม FOCUS ให้เส้นภาพพร่าและหมุนปุ่ม INTENSITY ทวนเข็มนาฬิกาจนสุดเพื่อรักษาจอภาพให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น)3. ในกรณีที่เส้นฐาน (base line) เอียงจากสเกลแนวนอนเล็กน้อย (สาเหตุเนื่องมาจากสนามแม่เหล็ก) ให้ใช้ไขควงแบนหมุนปุ่ม TRACE ROTATION จนเส้นฐานวางตัวในแนวราบ 

ข้อควรระวังในการใช้ออสซิลโลสโคป มีดังนี้ 
1. หลีกเลี่ยงการใช้ออสซิลโลสโคปในบริเวณที่ถูกแสงแดดโดยตรง มีอุณหภูมิและความชื้นสูง รวมทั้งในบริเวณที่มีฝุ่นละอองมากหรือมีการสั่นสะเทือนอาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องได้2. หลีกเลี่ยงการใช้งานในบริเวณที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าหรือใกล้แหล่งจ่ายไฟขนาดใหญ่ อาจได้รับอิทธิพลจากสนามแม่เหล็ก ซึ่งจะทำให้รูปคลื่นบนจอภาพผิดไปได้3. ไม่ควรวางสิ่งของหรือใช้ผ้าคลุมเครื่อง เพราะจะไปขัดขวางการระบายความร้อนของตัวเครื่อง อาจทำให้เครื่องชำรุดได้ ควรวางเครื่องในที่ที่มีการระบายความร้อนได้ดี4. สัญญาณด้านเข้าที่ป้อนเข้าที่ขั้วต่อ INPUT ต้องมีค่าไม่เกิน 300Vpeak5. ไม่ควรเพิ่มความสว่างของเส้นแสงให้มากเกินไปจะทำให้ผิวที่ฉาบสารเรืองแสงของหลอด CRT เสื่อมได้ง่าย6. ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ไม่ควรใช้ฟิวส์ที่มีขนาดต่างจากที่กำหนด อาจจะทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ สำหรับออสซิลโลสโคปเครื่องนี้ใช้ฟิวส์ขนาด 1A สำหรับ 220 VACการเปลี่ยนฟิวส์ ให้ดำเนินการดังนี้- ต้องถอดปลั๊กไฟ (220VAC) ที่ต่อเข้าเครื่องออกก่อนเสมอ- เปิดฝากรอบ- เอาฟิวส์ที่ขาดออก แล้วใส่ฟิวส์ขนาด 1A เข้าแทนที่7. การเก็บรักษาเครื่องควรเก็บอย่างระมัดระวังให้ห่างจากสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นและอุณหภูมิสูงเกินไป และห่างจากบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนและมีสนามแม่เหล็ก นอกจากนี้ควรมีการทำความสะอาดจอภาพเป็นครั้งคราวโดยใช้ผ้าเช็ดเบา ๆ เพื่อให้ใช้เครื่องได้เป็นเวลานาน ผู้ใช้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในคู่มือการใช้ที่ให้มาพร้อมกับเครื่อง เมื่อใช้เสร็จแล้วควรปรับสวิตซ์และปุ่มต่าง ๆ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เสนอแนะไว้ใน "ตาราง 1 ตำแหน่งของปุ่มต่าง ๆ ก่อนเปิดเครื่องใช้งาน" เพื่อให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไป

สายวัดหรือโพรบเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ร่วมกับออสซิลโลสโคป เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้นำสัญญาณจากภายนอกเข้าสู่ออสซิลโลสโคป โพรบถูกออกแบบให้สามารถนำสัญญาณความถี่สูงและป้องกันสัญญาณรบกวนจากสิ่งแวดล้อม โพรบยังทำหน้าที่เป็นตัวลดทอนสัญญาณ โดยทั่วไปโพรบจะมีสวิตช์เลือกการลดทอนสัญญาณได้ 2 ค่า คือ x 1 และ x 10 ที่ตำแหน่ง x1 ไม่มีการลดทอนสัญญาณ ที่ตำแหน่ง x10 มีการลดทอนสัญญาณลง 10 เท่า การใช้โพรบต้องนำไปต่อกับขั้วต่อ input ( หมายเลข 8 และ 9 ) โพรบมีลักษณะและโครงสร้างดังนี้ 
รูป 5 โพรบและโครงสร้าง
ก่อนใช้โพรบ ต้องทำการปรับแต่งโพรบโดยนำขอเกี่ยวที่ปลายโพรบไปเกี่ยวที่ขั้วทดสอบ 31 CAL 0.5 V ที่ขั้วนี้จะให้สัญญาณคลื่นรูปสี่เหลี่ยมความถี่ 1 kHz แรงดัน 0.5V ถ้าโพรบอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จะได้รูปคลื่นสี่เหลี่ยมที่ไม่ผิดเพี้ยนบนจอภาพ ดังรูป ก แต่ถ้าโพรบไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จะได้รูปคลื่นสี่เหลี่ยมที่ผิดเพี้ยนบนจอภาพ ดังรูป ข และ ค ผู้ใช้ต้องทำการปรับแต่งโพรบโดยการปรับความจุ C ของตัวเก็บประจุชนิดปรับค่าได้โดยใช้ไขควงพลาสติก จนกระทั่งได้รูปคลื่นสี่เหลี่ยมเหมือนรูป ก 
รูป 6 การปรับแต่งโพรบให้พร้อมใช้งาน
การวัดเบื้องต้น 
การวัดเบื้องต้นสำหรับออสซิลโลสโคป ได้แก่ การวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง แรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ คาบและความถี่ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับการวัดปริมาณอื่น ๆ ต่อไป

การวัดแรงดันไฟตรง

1. โยกสวิตช์การเชื่อมต่อ AC GND DC ไปที่ตำแหน่ง GND จะปรากฏเส้นภาพบนจอ ตั้งสวิตช์เลือก VOLTS/DIV ให้พอเหมาะ จากนั้นปรับปุ่ม  POSITION ให้เส้นภาพเลื่อนไปยังระดับอ้างอิง (reference level) OV ดังรูป 7 
2. โยกสวิตช์การเชื่อมต่อ AC GND DC ไปที่ตำแหน่ง DC ต่อสัญญาณที่จะวัดเข้ากับขั้วต่อ input CH1 นำสัญญาณเข้าโดยผ่านโพรบ ปรับปุ่ม LEVEL จนเส้นภาพอยู่นิ่ง เส้นภาพจะเลื่อนไปจากเดิมโดยแรงดันไฟตรง ดังรูป 8 ซึ่งเลื่อนขึ้นไป 5 ช่อง (ในกรณีที่ไม่ปรากฏเส้นภาพแสดงว่าตั้งค่า VOLTS/DIV น้อยไป ให้ปรับค่าสูงขึ้นจนได้เส้นภาพ) 

3. หาแรงดันไฟตรง ได้จากแรงดันไฟตรง   =   จำนวนช่อง ( div ) จากระดับอ้างอิง x ความไวทางแนวตั้ง ( V/div ) x การลดทอนของโพรบ 
สมมติตั้งค่าความไว         =   50 mV/divการทดสอบของโพรบ    =   x 1 ดังนั้นแรงเคลื่อนไฟฟ้า DC     =   4.5 div x 50 mV/div x 1 =   225 mVแต่ถ้าใช้โพรบที่ตั้งการลดทอนไว้ที่ x 10 แรงดันไฟตรงจะเป็น 10 เท่าของ 225 mVนั่นคือแรงดันไฟตรง       =   4.5 div x 50 mV/div x 10   =   2.25 V 
ในกรณีที่สัญญาณแรงดันไฟตรง มีสัญญาณไฟสลับผสมอยู่ ดังรูป 9 ในการวัดให้ดำเนินการตามข้อ 1 และ 2 

เราอาจหาแรงดันไฟตรงได้จากสมการ
แรงดันไฟตรง V = จำนวนช่อง x ความไวทางแนวตั้ง x การลดทอนของโพรบ
จากรูป 9
องค์ประกอบ AC V p-p = 2 div x 0.2 V/div x 10    = 4 V
องค์ประกอบ DC V = 3 div x 0.2 V/div x 10    = 6 V
V ขณะหนึ่งที่จุด R V R = 3.6 div x 0.2 V/div x 10 = 7.2 V

การวัดแรงดันไฟสลับดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้1. โยกสวิตช์เลือกการเชื่อมต่อ AC GND DC ไปที่ DC (ในกรณีที่แรงดันไฟตรง DC ผสมอยู่ด้วย แรงดันนี้จะถูกตัดออกไป เหลือแต่แรงดันไฟสลับ AC อย่างเดียว) ปรับสวิตช์เลือกความไวทางแนวตั้ง (VOLTS/DIV และสวิตช์เลือกอัตราการกวาด TIME/DIV ให้พอเหมาะกับแอมพลิจูดและความถี่ของสัญญาณที่จะวัด ต่อสัญญาณที่จะวัดเข้ากับขั้วต่อ input CH1 ปรับปุ่ม LEVEL จนกระทั่งปรากฏรูปคลื่นอยู่นิ่งบนจอภาพ ดังรูป 10 

2. หาแรงดันไฟจากยอดถึงยอด V p-p จากสมการ 
V p-p = จำนวนช่อง x ความไวทางแนวตั้ง x การลดทอนของโพรบจากจอภาพในรูป 10 จำนวนช่อง = 4 ช่อง ถ้าความไวทางแกนตั้งอยู่ที่ 0.1 V/div และการลดทอนของโพรบตั้งไว้ที่ x10 ดังนั้น 
V p-p = 4 div x 0.1 V/div x 10
= 4 V

หมายเหตุ ค่าแรงดันไฟสลับ (รูปคลื่นไซน์) ที่อ่านได้จากออสซิลโลสโคปจะไม่เท่ากับค่าที่วัดได้จากเอซีโวลต์มิเตอร์ เพราะค่าที่ได้จากออสซิลโลสโคปเป็นค่า V p-p ส่วนค่าที่วัดได้จากเอซีโวลต์มีเตอร์เป็นค่า V rms การเปลี่ยนค่าแรงดันไฟสลับจาก V p-p เป็น V rms อาจทำได้ดังนี้ 
 

เราสามารถหาคาบหรือช่วงเวลาระหว่างสองจุดใด ๆ บนสัญญาณที่กำลังตรวจสอบได้ ดังขั้นตอนต่อไปนี้1.   ปรับสวิตช์เลือก TIME/DIV ไปอยู่ที่ตำแหน่งที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความถี่ของสัญญาณที่กำลังตรวจสอบ โดยให้ช่วงระหว่างสองจุดที่ต้องการคือ P และ Q ดังแสดงในรูป 11 

2.   นับจำนวนช่องระหว่างจุด P และ Qช่วงเวลาระหว่างสองจุด ใด ๆ หาได้จากสมการช่วงเวลาระหว่างสองจุด    =    ความไวทางแกนนอน x จำนวนช่องระหว่างสองจุดจากรูปคลื่นในรูป11 จุด P และ Q ห่างกัน 2 ช่อง ถ้าสวิตช์เลือก TIME/DIV ตั้งไว้ที่ 2 ms/div ดังนั้นช่วงเวลาระหว่างจุด P และ Q 

t    =    2 ms/div x 2 div
      =    4 ms

3.   อาศัยหลักการเดียวกันนี้ อาจหาคาบ (period) T ของรูปคลื่นได้เนื่องจาก    คาบ    =    ช่วงเวลาระหว่างสองจุดที่มีเฟสตรงกันจากรูปคลื่นในรูป 11 จุด A และ B มีเฟสตรงกัน
ดังนั้น T    =    ช่วงเวลาระหว่างจุด A และ B
      =    2 ms/div x 4 div
      =    8 ms

เราอาจวัดความถี่ของสัญญาณที่ต้องการตรวจสอบได้ 2 วิธีวิธีแรก หาความถี่จากความสัมพันธ์  
จากหัวข้อ 2 การวัดเวลา เราสามารถวัดคาบ (T) ของสัญญาณได้ ส่วนกลับของคาบ T คือความถี่ f ของสัญญาณ เช่น คาบของสัญญาณที่ต้องการตรวจสอบ  ความถี่ f จะมีค่าดังนี้ 

วิธีที่สอง หาความถี่จากรูปลิสซาจูส (Lissajou's Figures)การหาความถี่โดยวิธีนี้ต้องอาศัยเครื่องกำเนิดสัญญาณ (signal generator) ซึ่งให้สัญญาณที่ทราบความถี่ โดยมีขั้นตอน ดังนี้1.   บิดสวิตช์เลือก TIME/DIV ในทิศทวนเข็มนาฬิกาจนสุดที่ x-y2.   ต่อสัญญาณที่ต้องการวัด สมมติมีความถี่ f(y) เข้าออสซิลโลสโคปทางขั้วต่อ input CH1 และสัญญาณที่ทราบความถี่ f(x) จากเครื่องกำเนิดสัญญาณเข้าทางขั้วต่อ input CH2 จะเกิดเส้นภาพที่มีรูปร่างต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนระหว่าง f (y) และ f (x) ดังรูป 12 รูปเหล่านี้เรียกว่า ลิสซาจูส 

รูป 12
3.   เนื่องจากเราทราบค่า f(x) ดังนั้นจึงหา f(y) ได้ เช่น บนจอภาพปรากฏรูปคลื่นตรงกับรูปขวามือสุดของแถวบน และ f(x) ซึ่งอ่านค่าจากเครื่องกำเนิดสัญญาณได้เท่ากับ 100 Hz ดังนั้น 

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง