ก็เพราะใคร ทํา ความไว้งามพักตร์ หมาย ถึง ใคร

“อิเหนา” เป็นตัวละครเอกในบทละครเรื่อง “อิเหนา” พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นคนที่เกิดในเชื้อวงศ์ตระกูลสูงส่งกว่าวงศ์อื่น รูปโฉมงดงาม เก่งกาจการสงคราม วาทศิลป์เป็นเลิศ แต่มีนิสัยดื้อรั้นและเป็นนักรัก ที่เรียกว่า “เจ้าชู้” เป็นตัวละครที่ทำให้ให้ดินแดนชวาโกลาหลวุ่นวาย

ก่อนจะกล่าวถึงอิเหนา ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับดินแดนชวาในเรื่องเสียก่อน แต่เดิมนั้นมีเมืองใหญ่เมืองหนึ่งที่มีอำนาจมากกว่าเมืองอื่น มีชื่อว่า หมันหยา ปกครองกันมาหลายสมัยจนถึงระตู (หมายถึงเจ้าเมืองเล็กๆ) องค์หนึ่ง ปรากฏว่ามีพระขรรค์กับธงผุดขึ้นกลางเมืองที่ไม่มีใครถอดได้ ร้อนถึงเทวดา 4 องค์ แปลงกายเป็นมนุษย์ลงมาถอดได้สำเร็จ

ระตูหมันหยาจึงมอบพระธิดาทั้ง 4 องค์ให้ จากนั้นจึงได้แยกย้ายไปสร้างเมืองใหม่ 4 เมืองคือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง สิงหัดส่าหรี เป็นเชื้อวงศ์ อสัญแดหวา เหมือนกัน แต่ละเมืองจึงนับถือกันเป็นพระญาติ เมื่อมีพระโอรสพระธิดาก็จะให้สมรสกันจะไม่สมรสกับคนนอกวงศ์ เพราะถือว่าตนมีศักดิ์สูงกว่าวงศ์อื่น อย่างไรก็ตาม วงศ์อสัญแดหวาไม่นับเมืองหมันหยาเป็นวงศ์เดียวกับตน

อิเหนาเป็นพระโอรชของ ท้าวกุเรปัน เจ้าเมืองกุเรปัน เมื่อแรกประสูติปรากฏว่ามีเหตุอัศจรรย์ เกิดแผ่นดินสะเทือน เกิดพายุใหญ่ ควันตลบไปทั้งเมือง ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แต่ไม่เป็นอันตรายต่อชาวเมือง ฯลฯ จึงเชื่อว่าเป็นเทวดาผู้มีบุญญาบารมีมาเกิด เมื่อเติบใหญ่ก็มีรูปโฉมงดงาม “งามรับสรรพสิ้นสรรพางค์ ยิ่งอย่างเทวาในราศี ทรงโฉมประโลมใจนารี เป็นที่ประดิพัทธ์ผูกพัน”

อิเหนาได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีเลิศ มีความรู้ความสามารถ และชำนาญการใช้อาวุธและการสงครามที่ฝึกมาพร้อมกับพี่เลี้ยงและมหาดเล็กซึ่งเติบโตมาด้วยกัน ทำให้อิเหนาเป็นเจ้าชายหนุ่มที่เพียบพร้อมไปเสียทุกอย่าง อิเหนามีความมั่นใจในตนเองสูง แต่นั่นก็ทำให้เขาเป็นคนที่มีนิสัยดื้อรั้น

อิเหนาตุนาหงัน (หมั้น) กับบุษบา ธิดาของท้าวดาหา แห่งเมืองดาหา แต่อิเหนาไม่เคยพบบุษบามาก่อน วันหนึ่งเมื่ออิเหนาต้องไปเมืองหมันหยา เพื่อร่วมงานพระศพพระอัยกี อิเหนาได้พบกับ จินตะหรา พระธิดาระตูหมันหยา ก็เกิดปลงใจชอบพอเป็นรักแรก เพราะนางนั้นงามคมขำ “…ดำแดง เนื้อนวลสองสี ผ่องพักตร์ผิวพรรณดังจันทรี นางในธรณีไม่เท่าเทียม…”

เมื่อนั้น   ระเด่นมนตรีมีศักดิ์
เหลือบไปรับไหว้นางนงลักษณ์  พิศพักตร์ผิวเนื้อนวลละออง
ลำลำจะใคร่ตรัสปราศรัย   แต่หากเกรงท้าวไททั้งสอง
ให้คิดพิสมัยใจปอง   พระนิ่งนึกตรึกตรองไปมาฯ

การที่อิเหนาไม่สำรวมใจในเรื่องสตรีเพศเช่นนี้อาจเป็นเพราะอยู่ในวัยหนุ่มคะนอง และไม่เคยเกิดความรักต่อสตรีใดมาก่อน แม้ว่าจะมีนางกำนัลที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงามแวดล้อมอยู่ตลอดมาตั้งแต่เยาว์จนเป็นหนุ่มฉกรรจ์ก็ตาม เมื่อเห็นนางจินตะหรา ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาสวยงามโดดเด่นกว่านางใด จึงติดตาต้องใจเป็นพิเศษ (ศศิรัศมิ์ สินธุวณิก, 2559)

ฉากอิเหนาลานางจินตะหรา ภาพโดย จักรพันธุ์ โปษยะกฤต จากหนังสือ อิเหนา ลักษณวงศ์ สมุทรโฆษ โดยนายตำรา ณ เมืองใต้

สิ่งที่อิเหนาดื้ออย่างแรกคือ ดื้อประเพณี อันเป็นวิถีของพวกอสัญแดหวาที่จะไม่สมรสกับคนนอกวงศ์ แต่อิเหนาหมายปองจินตะหราอย่างที่สุด นั่นเป็นเพราะรักแรกจึงทำให้อิเหนาไม่ได้สนใจประเพณีของวงศ์อสัญแดหวา แต่หากมองข้ามไปตอนท้ายเรื่องจะพบว่า อิเหนากลับเคร่งครัดในประเพณีมากทีเดียว [ในตอนที่อิเหนา (ปลอมตัวเป็นปันหยี) ไม่ต้องการให้อุณากรรณ (บุษาปลอมตัวเป็นชาย) ได้ใกล้ชิดและได้สมรสกับพระธิดาท้าวกาหลัง ซึ่งเป็นวงศ์อสัญแดหวาเช่นเดียวกัน]

เวลาผ่านไป อิเหนาก็ดื้อรั้นไม่ยอมกลับเมืองกุเรปัน จนประไหมสุหรีกุเรปัน ผู้เป็นพระมารดาต้องมีหนังสือมาบอกให้กลับเมืองกุเรปัน เมื่อกลับมาแล้วก็เกิดห่วงหาแต่นางจินตะหรา จึงปลอมตัวเป็นโจรออกจากเมืองมุ่งหน้าไปยังเมืองหมันหยาเพื่อกลับไปหาจินตะหรา แต่ระหว่างนั้น อิเหนาก็ได้นาง สการะวาตี และ มาหยารัศมี มาเป็นภรรยาบรรณาการ ซึ่งตอนแรกก็ชอบพระทัยเลยทีเดียว แต่ “…เกลือกกลัวจินตะหราวาตี จะว่ามีชู้สิเสียการ…” แต่สุดท้ายก็ได้นางทั้งสองเป็นภรรยา แต่ยกให้จินตะหราเป็นเบอร์ 1

ทางฟากท้าวดาหาไม่พอใจอิเหนา (ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลาน) ไม่ยอมทำตามตุนาหงัน เลยประกาศว่า “…แม้ใครมาขอก็จะให้ ไม่อาลัยที่ระคนปนศักดิ์…” คือประกาศว่า หากใครมาขอบุษบา ผู้เป็นพระธิดาก็จะยกให้ ปรากฏว่าระตูจรกา ได้มาขอบุษบา ท้าวดาหาก็จำพระทัยยกให้เพราะได้ออกประกาศไปแล้ว เรื่องนี้ทำให้พระญาติในอีก 3 เมืองต่างก็ “…กลุ้มกลัดขัดแค้น…เพราะ…เสียศักดิ์สุริวงศ์อสัญญา” เนื่องจากจรกาไม่เพียงจะต่ำศักดิ์กว่าวงศ์อสัญแดหวาแล้ว รูปร่างหน้าตาก็ไม่งามสง่า และบารมีมิอาจเทียบอิเหนาได้เลย

ต่อมาวิหยาสะกำ พระโอรสท้าวกะหมังกุหนิง หมายปองบุษบาเช่นกัน จนเกิดสงครามขึ้น เมื่อนั้นอิเหนาจึงได้ยกทัพมาช่วยเมืองดาหาและเอาชัยชนะมาได้ เสร็จศึกอิเหนาจึงได้เข้าเฝ้าท้าวดาหาและได้พบกับบุษบาเป็นครั้งแรก ทำให้เขาตกหลุมรักบุษบาในทันที หลงหัวปักหัวปำยิ่งกว่าจินตะหราเสียอีก

เมื่ออิเหนาหลงรักนางบุษบา ทั้งที่ตนได้ปฏิเสธตุนาหงันไปแล้ว และนางกำลังจะอภิเษกสมรสกับจรกา อิเหนาจึงต้องคิดหาวิธีการที่จะได้บุษบากลับคืนมา และในที่สุดอิเหนาแก้ปัญหาด้วยการวางแผนลักพาตัวนางบุษบา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงนิสัยดื้อรั้นเอาแต่ใจตัวเองของอิเหนาโดยมิได้สนใจความเดือนร้อนของตนและผู้อื่นที่จะตามมา

ฉากอิเหนาพบนางบุษบา (สองคนด้านบนคือท้าวดาหากับประไหมสุหรีดาหา) ภาพโดย จักรพันธุ์ โปษยะกฤต จากหนังสือ อิเหนา ลักษณวงศ์ สมุทรโฆษ โดยนายตำรา ณ เมืองใต้

เหตุการณ์ในเมืองดาหายืดยาวอยู่พักใหญ่ อิเหนาคอยหาวิธีเข้าใกล้บุษบาเพื่อได้ชมเชยนาง แกล้งใส่ร้ายจรกาเพื่อให้พวกเมืองดาหารังเกียจจรกา และวางแผนสารพัดวิธีที่จะได้บุษบาเป็นภรรยาให้สมใจ ซึ่งในท้ายที่สุด อิเหนาก็ได้บุษบาเป็นภรรยา

ในตอนนี้เองจะได้เห็นวาทศิลป์ของอิเหนา ที่เขาพูดจาเกลี้ยกล่อมจนบุษบาใจอ่อน ในตอนที่อิเหนาลักพาตัวบุษบามาอยู่ในถ้ำ บุษบาร้องไห้พร้อมบ่นด้วยความเสียใจและน้อยใจที่ถูกอิเหนาลักพาตัวมา อิเหนาก็ตอบว่า ที่ทำไปเพราะไม่ต้องการให้วงศ์อสัญแดหวาเสื่อมเสีย แต่เมื่อตอนที่ตนได้จินตะหรา กลับไม่กลัวเสื่อมเสีย นั่นเป็นเพราะนิสัยดื้อรั้นและเอาแต่ใจของตนเองอีกตามเคย

บุษบาตัดพ้อพลางร้องไห้ อิเหนาก็หว่านล้อมบอกนางว่า เรื่องนางจินตะหรานั้นไม่ได้จริงจังอะไรหรอก เมื่อเขาหย่อนลงมาหา จะไม่รับเขาอย่างไรได้ นึกดูซิ พี่กับน้องได้ตุหนาหงันกันมาแต่เล็ก ถึงพี่จะมีสักร้อยเมีย ก็คงเป็นน้อยน้องอยู่นั่นเอง (นายตำรา ณ เมืองใต้, 2545) ซึ่งทำให้เห็นความสามารถของอิเหนาที่มีวาทศิลป์ในการกล่อมบุษบาให้เคลิ้มและใจอ่อน ไม่นานบุษบาก็เริ่มใจอ่อนจริง ๆ อิเหนาก็รุกหนักเข้า จนกระทั่ง…

ถึงชีวิตจะเจียนจากร่าง   จะอิงแอบแนบนางให้ได้
ว่าพลางโอบอุ้มอรไท   ขึ้นไว้เหนือตักสะพักชม
เอนองค์ลงแอบแนบน้อง   เชยปรางพลางประคองสองสม
คลึงเคล้าเย้ายวนสำรวลรมย์   เกลียวกลมสมสวาทไม่คลาดคลาย

สององค์ปรีดิ์เปรมเกษมสันต์   ดังได้เสวยสวรรค์ชั้นดุสิต
ต่างแสนเสนหากว่าชีวิต   สมคิดเพลิดเพลินเจริญใจ

เรื่องราวหลังจากนั้นก็เป็นการผจญภัยของอิเหนาและบุษบา ที่ได้พลัดพรากจากกัน แต่ในท้ายที่สุดทั้งสองก็ได้พบกัน คนที่มีความสุขมากที่สุดคงหนีไม่พ้นอิเหนา

อิเหนาได้ภรรยาทั้งหมด 10 คนคือ บุษบาเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย จินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวา สะการะวาตีเป็นมะเดหวีฝ่ายขวา มาหยารัศมีเป็นมะเดหวีฝ่ายซ้าย บุษบาวิลิศเป็นมะโตฝ่ายขวา บุษบากันจะหนาเป็นมะโตฝ่ายซ้าย ระหนากะระติกาเป็นลิกูฝ่ายขวา อรสานารีเป็นลิกูฝ่ายซ้าย สุหรันกันจาส่าหรีเป็นเหมาหลาหงีฝ่ายขวา หงยาหยาเป็นเหมาหลาหงีฝ่ายซ้าย

แม้ในตอนท้ายจินตะหราก็ยังคงงอนและแค้นอิเหนาอยู่ไม่น้อย อิเหนาจึงได้ชี้แจงความจริงของตนให้นางฟังทุกอย่างและขอโทษที่ตัวทำผิดพร้อมทั้งปลุกปลอบใจให้รักพี่รักน้องซึ่งกันและกัน เป็นเหตุให้นางจินตะหรายอมคืนดีด้วย (นายตำรา ณ เมืองใต้, 2545)

อิเหนาเป็นผู้ชายเจ้าเสน่ห์ แม้จะมีลักษณะนิสัยเจ้าชู้ แต่สตรีที่เป็นคู่ครองก็มิได้รังเกียจ และหากคู่ครองคนใดขึ้งเคียด หรือระอาต่อความเจ้าชู้ของอิเหนาแล้ว ก็มิอาจแสดงความแง่งอนอยู่ได้นาน เพราะเหตุว่าอิเหนาเป็นที่ต้องตาพึงใจของสตรีและมีคารมคมคายที่จะทําให้สตรีต้องให้อภัยอยู่เสมอ (ศศิรัศมิ์ สินธุวณิก, 2559)

ความดื้อรั้นของอิเหนานี้มีทั้งดื้อด้วยการกระทํา เช่น แกล้งทําหลับเพื่อให้รู้ว่าไม่เห็นด้วย ใช้กิริยาโลมนาง จะหยิกตีก็ไม่ย่อท้อจนนางใจอ่อนหรืออ่อนใจไปเอง ดื้อด้วยการใช้กําลัง เช่น จับบุษบาไว้ไม่ยอมปล่อยจนกว่าจะได้คํารับรองจากมะเดหวีว่าจะช่วย ดื้อด้วยการวางแผนการ เช่น หาทางออกจากกุเรปันเพื่อไปหาจินตะหรา วางแผนให้เข้าใจผิดจรกา วางแผนเผาโรงมหรสพแล้วลักบุษบาจากกรุงดาหา (นิดา มีสุข, 2548)

ดื้อด้วยการใช้คําพูดพลิกแพลงเพื่อให้พ้นผิด เช่น เมื่อจินตะหรากล่าวว่าตนเป็นเพียงระดูต่ำศักดิ์ต่างจากบุษบาที่เป็นวงศ์เทวัญ ก็ตอบว่า จินตะหราไม่ได้ต่างจากบุษบาเพราะทั้งสองเป็นน้องของอิเหนาเช่นกัน แต่พอบุษบาต่อว่าเรื่องไปหลงจินตะหรากลับยกข้อที่ว่าจินตะหราไม่ใช่วงศ์เทวัญขึ้นมาอ้างและว่าไม่คิดจะยกย่องจินตหรา…ซึ่งคําพูดเหล่านี้เป็นการพูดที่เรียกว่า “ข้าง ๆ คู ๆ” แต่ไม่ว่าจะดื้อรั้นเท่าใด…การที่อิเหนาดื้อรั้นนั้นก็เพราะรักแท้ ๆ พฤติกรรมอิเหนาที่แสดงออกว่า “เพราะรักจึงรั้น” นี้เองที่เป็นจุดเด่นส่วนหนึ่งในเสน่ห์ของเรื่องอิเหนา (นิดา มีสุข, 2548)

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

บทละครเรื่องอิเหนา จาก //vajirayana.org/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2/

นายตำรา ณ เมืองใต้. (2545). อิเหนา ลักษณวงศ์ สมุทรโฆษ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิชย์.

ศศิรัศมิ์ สินธุวณิก. (มกราคม-เมษายน 2559) อิเหนา : วีรบุรุษนักรักและนักรบ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1. หน้า 134-142.

นิดา มีสุข. (เมษายน-กันยายน 2548). อิเหนา : เพราะรักจึงรั้น. วารสารปาริชาต. ปีที่ 18 ฉบับที่ 1. หน้า 119-131.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง