ประโยชน์ของyoutubeสำหรับสถานศึกษา

Advertisement

การเรียนการสอนในปัจจุบัน ถูกออกแบบมานานกว่า 150 ปีเป็นรูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากในอดีต แต่ในปัจจุบันเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ เทคโนโลยีคือสิ่งที่ช่วยในการเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกิดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่

และยูทูบ (Youtube) ก็คือสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ซึ่งกูเกิล (Google) ได้เห็นถึงความสำคัญ จึงได้มีการจัดงาน เวิร์กช็อป ดิจิตอล ฟอร์ เอ็ดดูเคชั่น (Digital for Education) ขึ้น เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดจากครูระดับแนวหน้าของการศึกษาในประเทศไทย และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ที่มีประสบการณ์ในการนำสื่ออย่างยูทูบ มาเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน

นายอริยะ พนมยงค์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ ประจำ กูเกิล ประเทศไทย เปิดเผยว่า โครงการ ดิจิตอล ฟอร์ เอ็ดดูเคชั่น อยู่ภายใต้กรอบแนวคิดของเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) โดยจุดมุ่งหมายหรือความฝันที่ตั้งไว้ ว่าจะทำยังไงให้เด็กนักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และฟรี ซึ่งอินเทอร์เน็ตคือเครื่องมือที่ทำให้สิ่งเหล่านั้นเป็นจริง และยังสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้

ทำให้ “ยูทูบ” ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาสนับสนุนการสร้างคลังความรู้ในรูปแบบวิดีโอ และการเริ่มต้นทำสิ่งต่าง ๆ การที่เครื่องมือไปอยู่ในมือของคนที่มีความสร้างสรรค์ เขาพร้อมที่จะสร้างนวัตกรรม และผลักดันสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้นได้ อย่างเช่น ช่องออมสกูล (Ormschool) และช่องช็อคชิพ (Choc Chip) คอนเทนต์ครีเอเตอร์ ที่ใช้สื่ออย่างยูทูบ ในการสร้างสรรค์ให้เกิดแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

นายนิติการณ์ ประกอบธรรม ผู้ก่อตั้ง ออมสกูล กล่าวว่า ท่ามกลางอุปสรรคและการเข้าถึงการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน เราได้ทุ่มเทต่อสู้เพื่อทลายกำแพงด้านการศึกษา โดยการแบ่งปันวิดีโอความรู้ผ่านยูทูบ ความท้าทายของการศึกษาในประเทศไทยคือ ต้องการให้คนเรียนเพื่อความรู้ ความรู้มีมากกว่าหลักสูตร เพราะฉะนั้นเมื่อกลับมาที่บ้าน หรืออยู่นอกห้องเรียน ก็สามารถเรียนเพิ่มเติมได้ จึงเป็นที่มาของการก่อตั้งออมสกูล

“สิ่งที่เราภูมิใจคือ การที่มีเด็กนักเรียนอย่างน้อย 6 คน ที่ติดตามชมเนื้อหาในช่องยูทูบ ของเราสามารถสอบความถนัดทั่วไประดับประเทศ (GAT) ทำคะแนนเต็ม 150 คะแนน จากความรู้ที่เราให้ไป ถ้าเทียบกับความมุ่งมั่นของตัวเด็กแล้วมันน้อยมาก แต่เราเชื่อว่าความรู้ดี ๆ ที่เราส่งไป ได้ส่งผลดีต่อตัวเด็ก โดยตอนนี้เรามีวิดีโอความรู้ถึง 1 หมื่นคลิปแล้ว เราก็มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์วิดีโอเพื่อการศึกษาให้ถึง 1 แสนคลิป”

ด้าน นางวรินทร์เนตร เติมศิริกมล ผู้ร่วมก่อตั้งช่องช็อคชิพ เล่าว่า เป็นคุณแม่ มีลูกวัย 5 ขวบอยากให้ลูกได้ดูในสิ่งที่จรรโลงใจ สร้าง สรรค์ และเสริมสร้างจินตนาการ พร้อมกับการเรียนรู้ไปด้วย จึงสร้างช่องช็อคชิพ บนยูทูบ ขึ้น เพื่อให้ผู้ชมทั่วประเทศได้มีช่องทางใหม่ในการรับชมเนื้อหาด้านการศึกษา ความบันเทิง ได้จากทุกที่ และทุกเวลาที่ต้องการ โดยได้สร้างสรรค์ ใส่จินตนาการ มอบเนื้อหาคุณภาพสูงเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชน ให้คิดต่าง เสริมสร้างพัฒนาการในการพัฒนาชีวิต และเติบโตไปพร้อมกับไอเดียสร้างสรรค์ในแบบของตัวเอง ซึ่งทีมงานหวังว่าช่องช็อคชิพ จะเป็นช่องยูทูบ ที่เด็กไทยใช้เพื่อทบทวนและต่อยอดการเรียนรู้

นอกจาก คอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่นำสื่อ ยูทูบ มาเป็นเครื่องมือในการศึกษาแล้ว ดร.อภิเทพ แซ่โค้ว ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด (ประเทศไทย) บอกว่า มหาวิทยาลัยก็ได้ยูทูบมาปรับใช้ให้เข้ากับการเรียนการสอนในห้องเรียน เนื่องจากมีความเชื่อว่าเทคโนโลยีออนไลน์สามารถช่วยเพิ่มพูนศักยภาพด้านการศึกษา จุดประกายให้เยาวชนได้เข้าถึงองค์ความรู้ที่กว้างไกล และรวดเร็ว สามารถถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบที่แตกต่างจากการเรียนแบบปกติในห้องเรียน จะเป็นเสมือนแหล่งรวมวิดีโอให้ความรู้เชิงลึกภายนอกห้องเรียน หรือจะเรียกได้ว่าเป็นห้องเรียนแห่งใหม่ให้แก่เยาวชนก็ได้

นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างจากคนกลุ่มนึงที่ใช้ช่องทางอย่างยูทูบ ในการสร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์ ทลายกำแพงแห่งการเรียนรู้ เปลี่ยนรูปแบบของการพัฒนาความรู้ ทำให้ “การเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นจากในห้อง เรียนอีกต่อไป”.

ศรัณย์ บุญทา

ขอบคุณที่มาจาก เดลินิวส์

ในอดีตนั้นจะเรียนรู้หรือศึกษาอะไร นอกจากจะได้รับความรู้จากครูผู้สอนในห้องเรียนแล้ว หากต้องการเพิ่มเติมอาจจะค้นคว้าจากตำราต่างๆ ได้ แม้ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เลือนหายไป แต่ด้วยเทคโนโลยีของมนุษย์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น ก็ทำให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ผ่านคลิปวิดีโอต่างๆ โดยมีหลากหลายช่องทางในการที่เราจะเสาะแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ มาเพิ่มเติม

ทั้งนี้ ช่องทางการเรียนรู้ผ่านคลิปวิดีโอที่สำคัญซึ่งทุกคนนึกถึงเป็นที่แรก ก็คือ Youtube” ซึ่งปัจจุบันเหล่านักวิชาการมากมายเล็งเห็นความสำคัญที่จะผลักดัน เครือข่ายนี้ให้กลายมาเป็นเครื่องมืออันทรงพลังของการเรียนการสอน ไม่ใช่เป็นแค่แพลตฟอร์มของคนที่อยากจะขายของ หรือคนที่อยากจะโชว์ของเท่านั้น

ดังนั้น Youtube โดย Google เล็งเห็นความสำคัญการศึกษาในยุคใหม่ ที่เรียกว่า Digital for Education จึงได้เปิดโอกาสนำหัวขบวนสำคัญของวงการศึกษาไทย ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะการทำคลิปวิดีโอ มาเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน อีกทั้งยังนำไปเผยแพร่ต่อทั้งในระดับประเทศและระดับโลกอีกด้วย มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทัศนะว่า การศึกษาผ่าน Youtube นั้นมีบทบาทสำคัญอย่างไรในประเทศไทย

ทิพย์สุดา สุเมธเสนีย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ในนามภาครัฐ กล่าวยืนยันถึงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล ว่าจะต้องมีการเตรียมพร้อมใน 3 ส่วนได้แก่ 1.Digital Contents 2.Digital Society และ 3.Digital Knowledge ทั้งสามเรื่องนี้ จะขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารดิจิตอลทางการศึกษาให้เติบโตเข้มแข็ง และจะเป็นรากฐานที่มั่นคงและเป็นแนวโน้มที่ชัดเจนที่รัฐบาลจะพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล อันเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลต่อไป

อริยะ พนมยงค์ ผู้จัดการกูเกิลประจำประเทศไทแสดงทัศนะในนามกูเกิลว่าภายใต้ Digital Economy กูเกิลมองประเทศไทยใน 3 มิติด้วยกัน ได้แก่ มิติแรก Digital For SME มิติที่สอง คือ Digital For Creativity โดยมิติสุดท้ายที่จะพูดถึงคือ Digital For Educations กูเกิล ไม่ใช่ผู้รู้ไปหมดเสียทุกอย่าง แต่สิ่งที่เราได้เรียนรู้คือประสบการณ์จากต่างประเทศ จากหลายๆ ประเทศที่มีนโยบายDigital For Educations เราจึงอยากเอาประสบการณ์ตรงนี้มาแชร์และมาเล่าให้ฟัง

“สำหรับประเทศไทยนั้น คือจะทำอย่างไรให้การศึกษาไทยมีคุณภาพ ทำอย่างไรให้คนไทยทั่วประเทศเรียนรู้กับสื่อดิจิตอลนี้ได้ เราจะเอามหาวิทยาลัยดังๆ อาจารย์ที่เก่งๆ ที่อัดวิดีโอขึ้นไปบนยูทูบ ทำให้เด็กๆ นักศึกษา ซึ่งไม่ว่าอยู่ทีไหนก็เรียนรู้เนื้อหาได้ทันที”

อีกเรื่องที่สำคัญคือความเท่าเทียม อินเตอร์เน็ตไม่ได้แบ่งชั้น อินเตอร์เน็ททำให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่ไม่ใช่สิ่งที่เราฝันอีกแล้วแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในวันนี้ แต่โจทย์คือทำอย่างไรให้กระจายและไปทั่วถึงได้ ดังนั้น หากได้การผลักดันจากสื่ออีกแรงก็หวังว่าความฝันที่ส่วนหนึ่งกลายเป็นจริงแล้ว ก็จะสำเร็จมากขึ้นไปอีก

ความฝันที่เป็นจริงแล้วที่ “อริยะ พนมยงค์” พูดถึงนั้น ก็คือการที่บุคลากรทางการศึกษาไทยหลายสถาบันหลายท่านร่วมมือกันผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ที่เรียกว่าเปิดกว้างทั้งเนื้อหา ทั้งเทคนิคเรียนการสอน และไม่สำคัญว่าคุณจะอยู่ที่ไหน หรืออายุเท่าไหร่ก็สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกันได้ อาทิ “ครูวีรชัย มาตรหลุบเหลา” ครูสอนเป่าแคนจาก รร.บ้านหนองย่างงัว จ.ร้อยเอ็ด ที่เปิด “Channel วีรชัย มาตรหลุบเหลา” ผ่าน Youtube และสร้าง Blog เพื่อเผยแพร่การสอนเป่าแคนตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงขั้นสูง ซึ่งมีคนเข้ามาเยี่ยมชมทั้งในและต่างประเทศ

หรือ “ครูวีรชาติ มาตรหลุบเหลา” ครูสอนวิทยาศาสตร์ จาก รร.โพนเมืองประชารัฐ จ.ร้อยเอ็ด ที่ใช้ Google และ Youtube เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่ให้นักเรียนได้ค้นคว้าความรู้ออกมาเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ ก่อนที่จะสรุปบทเรียนด้วยการตัดต่อวิดีโอเป็นผลงานของนักเรียน แล้วนำมาทำเป็นสื่อเผยแพร่กระบวนการทำงานทั้งหมดผ่านทาง Youtube อีกด้วย

ขณะที่ “ครูสวรรค์ ดวงมณี” ครูแห่งโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ จ.นครราชสีมา มอบหมายให้นักเรียนทำหนังสั้นเกี่ยวกับ “จริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์” เพื่อปลูกฝังให้เด็กตระหนักและเข้าใจความสำคัญของการเป็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้องและถูกกฎหมาย

นอกจากนี้ในระดับอุดมศึกษาก็ได้เชิญผู้บริหารระดับสูงจากสถาบันชั้นนำมาร่วมให้แง่คิดด้วย อาทิ ดร.อภิเทพ แซ่โค้ว ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (ประเทศไทย) ศจ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดี ม.ขอนแก่น ซึ่งทุกท่านต่างใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในสถาบันของตนนั้น นำมาเป็น Content ชั้นดี แล้วอัพโหลดลง Youtube ก่อนเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าวสู่โลกออนไลน์ เป็นการเปิดโอกาสทาการศึกษาให้เกิดความเท่าเทียมกันทั้งในทุกระดับ พร้อมกับตอกย้ำว่าวงการศึกษาไทยจะต้องเร่งปรับตัวอย่างรวดเร็วในด้าน Digital Education เพื่อก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะมั่นใจว่าบุคลากรของไทยนั้นมีความรู้ความสามารถยอดเยี่ยมไม่แพ้ชาติใดในโลก

และไม่ใช่แค่ภาครัฐเท่านั้น ภาคเอกชนของไทยก็ให้ความสำคัญกับ Digital Education ไม่แพ้กัน โดย “นิติการณ์ ประกอบธรรม” แห่ง Ormschool เป็น Education Channel ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้ มุ่งมั่นกับแนวความคิดที่ว่าต้องการจะทำลายอุปสรรคทั้งหมดที่ขวางกั้นการเข้าถึงความรู้และต้องการช่วยให้นักเรียนทุกคนหลุดพ้นจากความไม่รู้ พร้อมกับตั้งเป้าว่าจะสร้างสรรค์วิดีโอแห่งความรู้นี้ให้ได้ถึง 1 แสนคลิปเลยทีเดียว ขณะที่ “วรินทร์เนตร เติมศิริกมล” จาก Choc Chip เป็น Education Channel อีกช่อง ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กที่อายุน้อยลงมา กล่าวว่า เป้าหมายคือหวังให้เด็กไทยได้ดูอะไรที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมจินตนาการ และยกระดับจิตใจ ที่สำคัญคือผู้ปกครองจะต้องรู้สึกไว้วางใจว่าปลอดภัยเหมาะสำหรับพัฒนาการที่ดีของเด็กไทยอีกด้วย

ด้าน Josh Engel ผู้จัดการ Education Program จาก Youtube ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บอกถึงประโยชน์ของ Youtube ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ว่า ในพาร์ทของการสอนคุณครูสามารถใช้ได้ทั้งในและนอกห้องเรียน ดังนี้

  1. Playlist คุณครูรวบรวมวิดีโอที่ตรงกับสิ่งที่จะสอน เพื่อให้ง่ายและเข้าถึงได้เร็ว และมีประสิทธิภาพในห้องเรียน
  2. Hook ในเชิงนี้คือการเอาวิดีโอเป็นเหมือนดาวเด่นของการเปิดห้องเรียน และดึงดูดความสนใจของเด็ก หรือเป็นประเด็นที่ยาก หรือต้องใช้เวลา ความตั้งใจ หรือมีสมาธิความเข้าใจสูง การ hook จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจมากขึ้น

ส่วนพาร์ทของการเป็นเครื่องมือสำหรับผู้เรียนในทุกวัย แม้จะเรียนจบแล้วหรือไม่ว่าจะอายุมากแค่ไหนก็ตามก็ยังสามารถเรียนรู้ได้ หรือที่เรียกว่า เป็นการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต Live for Learner

“เพราะว่าดิจิตอลเป็นสิ่งดีๆ ที่สามารถยกระดับการศึกษาและประสบการณ์การเรียนรู้ได้ เราอยากให้คนเรียน ไม่ว่าวัยไหน หรืออยู่ที่ไหน สามารถเข้าถึงเนื้อหาหรือวิดีโอได้จริงๆ”

แม้ว่าทุกวันนี้เราจะเห็นแต่คนแชร์คลิปเด็กตีกันหรือคนทะเลาะกันมากมายบนโลกโซเชียล ลองมาเปลี่ยนพฤติกรรมกันใหม่ไหม หันมาแชร์เรื่องดีๆ แชร์ความรู้ดีๆ ให้แก่กันดีกว่า ส่วนหนึ่งนอกจากจะเป็นการแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่นแล้ว ก็ยังเป็นการให้กำลังใจคนทำงานเหล่านี้ คนที่ทำเพื่อการศึกษาไทยของเราจริงๆ ให้พวกเขาได้มีกำลังใจทำสิ่งดีๆ ให้สังคมไทย ที่สำคัญอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ลุกขึ้นมาทำต่อยอดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปอีก เพื่ออนาคตที่ดีของวงการศึกษาไทยต่อไป.


  • TAGS
  • [expired]-Digital
  • education
  • google
  • learning
  • youtube
  • การเรียนรู้
  • กูเกิ้ล
  • ดิจิตอล
  • ยูทูบ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง