ยาลดความดัน ซื้อ เองได้ไหม pantip

ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง มีหลายกลุ่ม ออกฤทธิ์ต่างๆ กันไป เช่น ยาขับปัสสาวะ ทำให้มีปัสสาวะมากขึ้น ยาชะลอการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ยาขยายหลอดเลือดทำให้รูของหลอดเลือดกว้างขึ้น เลือดจึงไหลได้ดีขึ้นและมีแรงดันน้อยลง

จากยากลุ่มต่างๆ นี้ แพทย์จะเลือกยาที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วยแต่ละราย มีข้อที่ควรทราบ คือ ยาขับปัสสาวะ ทำให้ผู้ที่รับประทานยานั้นเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติเพราะยาขับปัสสาวะมีฤทธิ์ขับน้ำออกจากหลอดเลือด ทำให้ปริมาตรเลือดในหลอดเลือดลดลง ความดันโลหิตจึงลดลง ขนาดยาโดยทั่วไปคือรับประทานยาวันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า แต่ผู้ป่วยบางรายก็จำเป็นต้องรับประทานยาวันละ 2 ครั้ง ในกรณีหลังนี้ให้รับประทานยาหลังอาหารเช้าและเที่ยง ห้ามรับประทานยาหลังอาหารเย็นหรือก่อนนอน เพราะจะทำให้ปวดปัสสาวะตอนกลางคืน และต้องลุกมาเข้าห้องน้ำตลอดคืน

ยาลดความดันโลหิตอีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้กันบ่อย คือ ยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors) ยานี้มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติ้ง (angiotensin converting enzymes) เช่น อีนาลาพริล (enalapril), ไลซิโนพริล (lisinopril), รามิพริล (ramipril), เพอรินโดพริล (perindopril)อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ก่อความรำคาญแก่ผู้ใช้ยา คืออาการไอแห้งๆ ได้ ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด และไม่ใช่อาการแพ้ยา อาการนี้อาจทำให้รู้สึกรำคาญ ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการหมั่นจิบน้ำ หรือรับประทานยาอมชนิดที่ทำให้ชุ่มคอ ร่างกายจะสามารถปรับตัวได้ แต่ในกรณีที่อาการเป็นมากจนรบกวนคุณภาพชีวิต อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยา แต่ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาด้วยตนเอง ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์พิจารณาเปลี่ยนยาให้

ผู้ป่วยบางรายใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงเพียงชนิดเดียว ก็ลดความดันโลหิตได้ดี และสามารถควบคุมให้มีค่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจได้ แต่ผู้ป่วยบางรายต้องใช้ยา 2 ชนิด หรือมากกว่านั้น ความดันโลหิตจึงจะลดลงมาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ในกรณีนี้ผู้ป่วยมักจะได้รับยามื้อละหลายเม็ด อย่ารู้สึกเบื่อเสียก่อน และอย่าหยุดยาเพราะเบื่อที่จะรับประทานยาทุกวัน หรือ เพราะคิดว่าไม่มีอาการผิดปกติใดๆ การหยุดยาจะเป็นผลเสียเพราะทำให้ความดันโลหิตกลับสูงขึ้นมาอีก และอาจสูงมากจนหลอดเลือดในสมองแตก เกิดอัมพาต อัมพฤกษ์ตามมาได้

ข้อสำคัญในการใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ได้ผลดี ก็คือ จะต้องรับประทานยาต่อเนื่องกันทุกวันและรับประทานยาตรงเวลา หากลืมรับประทานยาและนึกขึ้นได้เมื่อใกล้จะรับประทานยามื้อต่อไป ให้รับประทานยาของมื้อนั้นก็พอ และห้ามรับประทานยาเพิ่มเป็น 2 เท่า มิฉะนั้นความดันโลหิตจะลดต่ำลงอย่างมาก เกิดอาการหน้ามืด ล้มลง หมดสติ เป็นอันตรายได้

ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปเป็นยาเม็ดที่ปลดปล่อยตัวยาแบบปกติ ซึ่งรับประทานวันละครั้งเดียว นอกจากนี้ก็เป็นยาเม็ดที่ออกแบบเป็นพิเศษให้ค่อยๆ ปลดปล่อยตัวยาออกมา เพื่อให้ออกฤทธิ์ได้ยาวนาน และลดจำนวนครั้งของการรับประทานยาได้ เหลือเพียงรับประทานวันละ 1-2 ครั้ง ยาเม็ดที่ออกแบบเป็นพิเศษนี้มักมีขนาดโตกว่าปกติ ทำให้กลืนยาได้ลำบาก แต่แม้ว่ายาจะเม็ดใหญ่ ก็ห้ามบด เคี้ยว หรือหักเม็ด เพราะจะทำให้รูปแบบยาที่ออกแบบเป็นพิเศษนั้นเสียไป ที่อันตรายก็คือ หากเคี้ยวหรือบดยาแล้วกลืนยาลงไป ก็จะได้ตัวยาเข้าร่างกายในปริมาณสูงมากภายในการกลืนยาครั้งเดียว แทนที่ตัวยาจะค่อยๆ ออกมาทีละน้อย ฤทธิ์ยาก็จะสูงมากและความดันโลหิตจะตกลงอย่างมาก จนอาจทำให้หน้ามืด ล้มลงและหมดสติได้

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจะต้องระมัดระวังภาวะความดันโลหิตตกเนื่องจากเปลี่ยนอิริยาบถอย่างฉับพลัน ดังนั้นเวลาจะลุกจากเก้าอี้หรือลุกจากเตียง ก็ต้องลุกขึ้นอย่างช้าๆ มิฉะนั้นจะหน้ามืด เป็นลม ล้มลงได้

นอกจากการใช้ยาแล้ว ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ต้องลดการรับประทานอาหารเค็ม นั่นคือปริมาณเกลือต้องไม่เกินวันละ 1ช้อนชา หรือน้ำปลาไม่เกินวันละ 3-4 ช้อนชา หากอ้วนหรือมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ก็ต้องลดความอ้วนซึ่งหากต้องการใช้วิธีออกกำลังกาย ควรทำแต่พอประมาณให้มีเหงื่อออก ไม่หักโหม ออกกำลังกายประมาณครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำชา กาแฟ หยุดดื่มเหล้า หยุดสูบบุหรี่รวมทั้งทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพียงเท่านี้จะช่วยให้การรักษาโรคความดันโลหิตสูงมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมักจะเบื่อการที่รับประทานยาต่อเนื่อง จึงมักจะมีคำถามว่ารักษาหายขาดหรือไม่ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุว่าความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไร มีเพียงสมมติฐานว่าเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม พฤติกรรม มีเพียงส่วนน้อยที่ทราบสาเหตุ โรคความดันที่ทราบสาเหตุสามารถรักาาหายขาดได้หากสาเหตุนั้นแก้ไขได้ ดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง

ซื้อยารับประทานเองได้หรือเปล่า

ไปกี่ครั้งแพทย์ก็จ่ายยาเหมือนเดิม งั้นไม่ต้องเสียเวลารอแพทย์ รอยา นำตัวอย่างยาไปซื้อร้านขายยาดีกว่า มักจะเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยๆ

ดังนั้นไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

ไม่ปวดศีรษะแล้วหยุดยาลดความดันดีกว่า

หลายท่านไปรักษาโรคความดันโลหิตสูงเพราะปวดศีรษะ ตอนนี้อาการปวดศีรษะไม่มีแล้วดังนั้นความดันหายแล้วจึงไม่ได้รับประทานยา เป็นความคิดที่ผิดเพราะว่าผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงบางคนไม่มีอาการแต่บางคนก็มีอาการปวดศีรษะ การที่จะมีอาการปวดศีรษะขึ้นกับระดับความดันโลหิต อัตราการเพิ่มของความดัน และการปรับตัวของหลอดเลือดสมอง หากหลอดเลือดสมองมีการปรับตัวดีบางครั้งความดันสูงมากก็ไม่ปวดศีรษะ ดังนั้นไม่ควรจะใช้อาการปวดศีรษะมาบอกว่าความดันโลหิตไม่สูง

กินยาลดความดันหลายชนิดกลัวยาจะคั่งลดยาความดันดีไหม

การจะใช้ยาลดความดันโลหิตจะขึ้นกับระดับความดันโลหิตที่ต้องการและโรคร่วม สำหรับผู้ป่วยบางท่านความดันโลหิตของท่านอาจจะสูงมาก การให้ยายาชนิดเดียวจะไม่สามารถคุมความดันได้จึงต้องใช้ยาหลายตัว หากการทำงานของไตท่านปกติระดับยาในเลือดจะคงทีไม่มีการคั่งนอกเสียจากไตท่านทำงานน้อยลง หรือท่านรับประทานยาอื่น หรือท่านมีโรคอื่นร่วมเช่นท้องเสีย เหตุการณ์เหล่านี้อาจจะทำให้ยาเกินขนาด

เป็นโรคความดันนี่จะเป็นโรคไตหรือไม่

คนที่เป็นความดันโลหิตสูงนานๆและคุมไม่ได้จะมีเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกาย การทำงานของไตก็จะเสื่อมลงอาจจะใช้เวลา 10 ปี ยกเว้นในบางรายที่ความดันโลหิตสูงมากอาจจะเกิดไตวายเฉียบพลันได้

กินยานานๆจะเป็นโรคไตหรือไม่

คนที่เป็นความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตหากไม่รักาาก็อาจจะเกิดไตวายได้ ยารักาาความดันส่วนใหญ่มักจะไม่ทำให้ไตเสื่อม แต่ก็มียาบางชนิดที่ต้องติดตามใกล้ชิดเพราะอาจจะทำให้ไตเสื่อมมากขึ้นได้ นอกจากนั้นการรับประทานยาบางชนิดจะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น

ยาลดความดันซื้อมากินเองได้ไหม

รับประทานยาตามแพทย์สั่งและไปพบแพทย์ตามนัด หากมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์ อย่าซื้อยารับประทานเอง เพราะยาบางชนิดอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางรายและการให้ยารักษา ต้องวัดความดันโลหิตเปรียบเทียบเป็นระยะเพื่อดูผลการรักษา ภาวะความดันโลหิตสูงควรรับยาต่อเนื่องจึงจะสามารถควบคุมไม่ให้อาการกำเริบได้

ทำยังไงไม่ให้ความดันสูง

ลดความเครียด.
ควบคุมอาหารเค็ม และมัน การลดอาหารมันๆ ลงจะสามารถลดความดันโลหิตได้ เช่นเดียวกับการจำกัดปริมาณโซเดียม (อาหารเค็ม) ก็สามารถลดความดันโลหิตลงได้.
ลดน้ำหนักตัว เพราะจากการศึกษาพบว่าถ้าลดน้ำหนักตัว 4.4 กก. ในช่วง 6 เดือน สามารถลดความดันโลหิตได้ 2.5 mmHg..
ออกกำลังกาย การออกกำลังกายสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้.

ยาความดันต้องกินทุกวันไหม

2. รักษาด้วยการใช้ยา ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาหรือปรับยาด้วยตนเอง และยาลดความดันโลหิตจัดเป็นกลุ่มยาที่มีความปลอดภัยสูงสามารถใช้ต่อเนื่องได้เป็นเวลานานหรือตลอดชีวิต ผู้ป่วยจึงไม่ควรกลัวการรับประทานยาต่อเนื่อง ในทางกลับกันผู้ป่วยหลายรายเข้าใจผิดว่าการกินยาต่อเนื่องจะเป็นอันตรายต่อร่างกายเช่นทำให้ตับหรือไตเสื่อม จึงหยุดยาเอง ...

ยาลดความดันกินหลังอาหารกี่นาที

ข้อดีอีกประการหนึ่งคือ ออกฤทธิ์เร็วกว่ายาขับปัสสาวะมาก กล่าวคือ ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังกินยา ความดันเลือดจะลดลงชัดเจน ผลข้างเคียง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง