การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

Skip to content

การสร้างความเชื่อมั่นในองค์กรสำคัญมากแค่ไหน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความเชื่อมั่นไม่ว่าจะเป็นของหน่วยงาน องค์กร นั้นเป็นส่วนสำคัญต่อการปะสบผลสำเร็จของธุรกิจไม่ว่าจะสมัยไหน ความเชื่อมั่นนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากความน่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือทำให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้ในโลกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใดๆ จะเล็กหรือใหญ่ หากไม่มีความน่าเชื่อถือเกิดขึ้นแล้ว ความเชื่อมั่นของลูกค้าย่อมจะไม่พึงบังเกิด จะเห็นได้ว่า ความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นนั้นสำคัญกับธุรกิจทุกประเภท ความน่าเชื่อถือนั้นไม่ได้มีความสำคัญเพียงแต่ชื่อเสียง หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพเท่านั้น องค์ประกอบในภาพรวม ไม่ว่าจะรูปลักษณ์ขององค์กร สภาพแวดล้อม ตัวของผลิตภัณฑ์ แม้กระทั่งพนักงานขององค์กร ล้วนแล้วแต่สำคัญ ต่อการสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า ต่อองค์กร ความน่าเชื่อถือที่ก่อให้เกิความเชื่อมั่นนี้ สามารถสร้างได้ อาจจะพออนุมานได้ดังนี้

ตระหนักถึงความสำคัญ

การตระหนักถึงความสำคัญนี้ คือการให้ค่า ให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ สภาพแวดล้อม พนักงาน เพราะทุกองค์ประกอบคือกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ธุรกิจก้าวหน้าได้

การเพิ่มแรงจูงใจ

ในกรณีนี้สามารถมุ่งเน้นได้ทั้งตัวผลิตภัณฑ์ สภาพแวดล้อมและพนักงาน สังคมปัจจุบันนี้แรงจูงใจเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าสิ่งใด แรงจูงใจของผลิตภัณฑ์ อาจจะลดราคาหรือเพิ่มข้อเสนอพิเศษเพื่อให้มียอดขายมากขึ้น การให้การบริการหลังการขาย เป็นต้น แรงจูงใจต่อสภาพแวดล้อม การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในองค์กร สามารถทำให้ผู้ร่วมงานมีความสุข เมื่อพนักงานมีความสุข แรงจูงใจในการทำงานให้เป็นไปตามเป้าก็จะสำเร็จได้โดยง่าย และการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน อาจจะเพิ่มสวัสดิการเล็กๆน้อยๆ เช่นพนักงานที่ไม่เคยขาด ลา มาสายก็มีรางวัลตอบแทนให้ในตอนปิดงบประจำปี การใส่ใจพนักงานในเรื่องเล็กๆน้อยๆเช่นนี้นอกจากจะเพิ่มกำลังใจในการทำงานให้กับพนักงานแล้ว องค์กรก็จะมีสภาพแลดล้อมที่ดีขึ้นในทุกๆด้าน

การให้อำนาจการตัดสินใจของผู้ใต้บังคับบัญชา

การให้อำนาจการตัดสินใจของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา นอกจากจะแบ่งภาระของหัวหน้างานแล้ว ยังสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวของผู้ใต้บังคับบัญชาว่าตนเองก็มีความสามารถเช่นกัน

การเพิ่มทักษะในสายงาน

งานบางประเภทอาจจะทำซ้ำๆเป็นตาราง การเพิ่มบทบาทและหน้าที่เพิ่มให้กับพนักงานนั้น นอกจากจะได้ฝึกฝนตัวเองแล้ว ยังสามารถพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานไปในตัวได้ด้วย

การสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างความเชื่อถือและความเชื่อมั่นนั้น คือความสัมพันธ์ของบุคคลากรในองค์กร แม้นหากว่าผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ สภาพแวดล้อมดีไม่มีที่ติ ทว่าพนักงานในองค์กรต่างไปคนละทิศละทาง ทำงานตามแต่หน้าที่ของตน ไม่มีความเอื้ออารีต่อเพื่อนร่วมงาน ไม่มีความเชื่อมั่นในเพื่อนร่วมงานหรือองค์กร สิ่งเหล่านี้ก็สามารถทำให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีได้เช่นกัน การเห็นความสำคัญของคนในองค์กรไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งใด แม่บ้าน พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานฝ่ายผลิต หรือผู้บริหาร ล้วนแล้วแต่สำคัญด้วยกันทั้งสิ้น ฟันเฟืองทุกชิ้นส่วนทำให้เครื่องจักรแล่นไปได้ ลำพังแต่เพียงบางส่วนแม้เครื่องจักรจะทำงานได้ แต่ผลผลิตที่ออกมาอาจจะไม่สมบูรณ์ฉันใด พนักงานทุกคน ทุกตำแหน่งก็มีความสำคัญต่อองค์กรฉันนั้น

ถอดความจาก บทความของ Mr. Paul H. Robbins

Related Posts

สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าด้วยมาตรการด้านสุขภาพและความปลอดภัย

ก่อนการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส (COVID-19) อาจมีผู้เดินทางส่วนน้อยที่คิดแล้วคิดอีกกับการนอนบนเตียงที่มีลูกค้าหลายร้อยคนเคยนอนมาก่อนแล้ว แต่ตอนนี้สิ่งที่ต้องสัมผัสและผู้คนที่ต้องพบเจอนั้นกลับกลายเป็นเรื่องกังวลอันดับต้น ๆ ของผู้เดินทาง ตอนนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะสร้างความมั่นใจและแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าจะพบมาตรการด้านสุขภาพและความสะอาดใดบ้าง เพื่อให้สามารถดึงดูดดีมานด์ที่มีอยู่ได้ เพื่อช่วยให้ลูกค้าคลายความกังวลลง เราจึงแสดงมาตรการที่ที่พักของท่านใช้ให้ลูกค้าเห็นอย่างชัดเจนในหน้าข้อมูลที่พัก และเปิดให้ใช้เกณฑ์ค้นหาด้าน “สุขภาพและความปลอดภัย” เพื่อช่วยให้ผู้จองค้นเจอที่พักของท่าน 

หากเป้าหมายของท่านคือทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าการเข้าพักนั้นปลอดภัย สะอาด และสบายเหมือนอยู่บ้าน เป้าหมายของเราก็คือช่วยให้ท่านแสดงมาตรการทั้งหมดแก่ลูกค้าได้อย่างง่ายดาย โดยเป็นมาตรที่ดำเนินการอยู่เพื่อรับมือการแพร่ระบาด

แสดงมาตรการซึ่งที่พักใช้อยู่

เพื่อช่วยให้ท่านสื่อสารออกมาได้ เราจึงสร้างเช็คลิสต์ที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพขึ้นมาในเอกซ์ทราเน็ต โดยเช็คลิสต์นี้จะไฮไลท์ข้อมูลสิ่งที่ท่านดำเนินการเพื่อให้ผู้เข้าพักทุกคนปลอดภัย:

1.สร้างแบรนด์ให้ดูดี – ในที่นี้หมายถึงการออกแบบ แบรนด์ดีไซน์ รูปลักษณ์ต่าง ๆ ของธุรกิจ ซึ่งต้องเริ่มต้นตั้งแต่ “แนวคิดของธุรกิจ” หรือ Business concept ว่ากลุ่มลูกค้าของเราคือใคร สินค้าหรือบริการของเรา แก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ตรงไหน สิ่งที่เรานำเสนอให้ลูกค้า แตกต่างและโดดเด่นจากคู่แข่งหรือสินค้าทดแทนอย่างไร ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะละเลยตรงจุดนี้ เพราะมีความคิดตั้งต้นว่า เราผลิตสินค้าได้ดี จึงมักติดกับดักของการทำธุรกิจที่จะต้องไปหาตลาดมารองรับภายหลัง แต่หากเราย้อนกลับไปตั้งต้นที่ “ลูกค้า” ธุรกิจของเราจะมีความชัดเจน เพราะคำว่าลูกค้านี้เอง จะเป็นตัวตั้งต้นให้กับแบรนด์ดีไซน์ ที่มีลุกค้าเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่เรา (ดูเพิ่มเติมเรื่อง Design thinking, business concept และ brand design)

2.มีตัวตนบนโลกออนไลน์ – ในยุคนี้ ใครไม่มีสื่อดิจิตอลในมือ ต้องถือว่าไม่มีตัวตน เพราะโลกทั้งใบมันออนไลน์กันหมดแล้ว ผู้บริโภคปัจจุบัน สืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ต้องมั่นใจได้ว่า เมื่อทำการสืบค้นแล้วต้องเจอธุรกิจของเรา สินทรัพย์ทางดิจิตอล หรือ Digital Asset ที่ว่านี้ ได้แก่ เว็บไซต์ หน้าเพจในเฟซบุ๊ค ไลน์แอด หรือไลน์ ออฟฟิเชียล อาจรววมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ เช่น กูเกิลพลัส ลิงท์อิน ฯลฯ (ดูเพิ่มเติมเรื่อง Online marketing)

3.จับต้องได้ในโลกความจริง – ถึงแม้การค้าขายออนไลน์จะสร้างรายได้ให้พ่อค้าแม่ค้าหลายคนได้อย่างมหาศาล แต่อย่าลืมไปว่าสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เหล่านั้น ไม่ได้เป็นของเราเลยแม้แต่น้อย และไม่รู้ว่าจะอยู่ได้นานหรือไม่ การออกตลาด ออกงานแสดงสินค้าเพื่อพบปะผู้คน พบเจอลูกค้าตัวเป็น ๆ เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้สร้างประสบการณ์ ได้สัมผัสสินค้า ได้ดู ได้ดม ได้ฟัง ได้ชิม ได้ใช้ เกิดการพูดคุย สนทนา สอบถาม ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการตอกย้ำแบรนด์และความมีตัวตนของธุรกิจได้เป็นอย่างดี (ดูเพิ่มเติมเรื่อง กลยุทธ์การออกบูธ และ O2O marketing)

4.สร้างภาพลักษณ์ผู้บริหาร – นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจ ภาพลักษณ์ของ “คน” สามารถสร้าง และสื่อสารให้ชัดเจนได้ตั้งแต่ภายในสู่ภายนอก อิบายให้ชัดคือ ภาพลักษณ์ หรือ Image สะท้อนออกมาจากมุมมอง วิธีคิด วิสัยทัศน์ ผ่านคำพูด การกระทำ ไปจนถึงการแต่งกาย บุคลิกภาพ กิริยามารยาท ดังนั้น เจ้าของธุรกิจจึงเป็นเหมือนกระจกเงาที่ช่วยสะท้อนแบรนด์ของธุรกิจได้เป็นอย่างดี (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Personal branding)

5.สร้างมาตรฐานให้สินค้า – แน่นอนผู้ประกอบการทุกคนก็ย่อมบอกว่า สินค้าของเราดี สินค้าเรามีคุณภาพ มีมาตรฐาน แต่ยุคนี้ เป็นยุคที่พูดอะไรกันลอย ๆ ไม่ได้แล้ว การจะบอกว่าสินค้าเรามีมาตรฐานนั้น แปลว่า ต้องมีมาตรฐานรองรับจริง ๆ ทั้งมาตรฐานคุณภาพ เช่น ISO TQA มาตรฐานแฟรนไชส์ TQFM, QFM มาตรฐานสุขภาพ เช่น HA มาตรฐานด้านการผลิต เช่น GAP, GMP หรือแม้แต่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น มผช. เป็นต้น ซึ่งมาตรฐานหรือตรารับรองต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจ ความใส่ใจของเจ้าของธุรกิจ และนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือของธุรกิจได้เป็นอย่างดี (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง แฟรนไชส์คุณภาพ TQFM)

6.อบรมสัมมนากับภาครัฐ – เพราะการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือผ่านการอบรม สัมมนา บ่มเพาะจากโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการนั้น นอกจากจะทำให้เรามีความรู้ในการประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เมื่อพบเห็นโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการต่าง ๆ จงอย่าลังเลที่จะเข้าร่วม เพราะหลาย ๆ ครั้งนอกจากจะไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้ว ยังได้สร้างเครือข่ายกับผู้ซื้อผู้ขาย ผู้ค้าวัตถุดิบ ได้เชิญให้เข้าร่วมออกงานแสดงสินค้า กิจกรรมต่าง ๆ อีกมากมาย ถือว่าคุ้มแสนคุ้ม (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง กลยุทธ์การออกบูธ)

7.พัฒนาพนักงาน – เพราะพนักงานก็เป็นภาพสะท้อนของธุรกิจได้ไม่ต่างจากเจ้าของกิจการ โดยเฉพาะพนักงานที่ต้องพบเจอหรือให้บริการกับลูกค้า การพัฒนาพนักงานหรือจะเรียกให้หรูว่า Human Resource Development (HRD) นั้น ต้องทำตั้งแต่เริ่มต้น ด้วยการปฐมนิเทศให้พนักงานใหม่ได้ซึมซับในวิสัยทัศน์ และวัฒนธรรมของธุรกิจ เพื่อพวกเขารู้สึกว่า กำลังเดินอยู่บนเป้าหมายเดียวกันกับองค์กร อบรมวีธีการทำงาน และที่สำคัญ คือ ความเป็นผู้แทนหรือ Brand Ambassador ขององค์กร พนักงานที่รักองค์กร และเคร่งครัดกับแบรนด์ขององค์กร จะเป็นเหมือนสื่อโฆษณาเคลื่อนที่ ที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือให้องค์กรเป็นอย่างดี แต่ในทางตรงข้าม หากพนักงานไม่เคยได้รับการสื่อสารหรือบอกกล่าวถึงวิธีปฏิบัติที่เรามุ่งหวัง พนักงานก็อาจจะทำลายล้างภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจเราได้เช่นกัน

8.พูดผ่านสื่อมวลชน – เพราะสื่อมวลชน คือสถาบันหนึ่งทางสังคมที่ตั้งอยู่บนหลักคิดของความเป็นกลาง เป็นผู้ถ่ายทอดข้อเท็จจริงผ่านพื้นที่ของการสื่อสารที่ปราศจากการครอบงำด้วยอำนาจเงินตราหรืออิทธิพลใด ๆ เนื้อที่ของสื่อมวลชนในที่นี้ จึงหมายถึงพื้นที่ข่าว หรือบทความ ที่ไม่ใช่พื้นที่เพื่อการโฆษณา มีเนื้อหาสาระที่ผ่านการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการ ซึ่งแน่นอนว่า การจะได้รับการเผยแพร่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องไม่ใช่เรื่องของการ “ขายของ” แน่นอน (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Media relations)

9.พูดผ่านบุคคลที่สาม – อย่าพยายามพูดจาโฆษณาตัวเองว่าเราดีอย่างไร แต่ควรเปิดช่อง หรือหาโอกาสให้บุคคลอื่นได้พูดแทนเรา ในเรื่อง แง่มุม หรือประสบการณ์ที่ดีต่าง ๆ ที่พวกเขาได้รับ การพูดเองอาจกลายเป็นการพูดจาโอ้อวด แต่หากเรื่องราวเดียวกันถูกพูดผ่านคนอื่น จะทำให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

10.สื่อสารต่อเนื่อง – เพราะ seeing is believing ยิ่งพบเจอบ่อย ได้เห็นบ่อย จะนำไปสู่ความเชื่อ ความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือในที่สุด กิจการจึงต้องอาศัยช่องทางต่าง ๆ ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ ในการสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง อย่าหยุด เพราะเมื่อใดที่เราหยุด ลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็จะค่อย ๆ ลืมเราไป และหากหยุดไปนาน ๆ ภาพลักษณ์ดี ๆ ที่เคยสร้างไว้ก็จะค่อย ๆ จางหายและถูกหลงลืมไปในที่สุด

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจสงสัยว่า แล้ว “ความน่าเชื่อถือ” ที่พูดถึง จะสามารถวัดได้อย่างไร จะสามารถวัดหรือจับต้องได้เหมือนยอดขายหรือไม่ ความน่าสนใจมันอยู่ตรงที่ว่า ความน่าเชื่อถือ มันไม่มีมาตรวัดในทางคณิตศาสตร์ จึงทำให้หลายคนละเลยและมองข้ามไป แต่เจ้าความน่าเชื่อถือนี่แหละ กำลังทำงานอย่างลับ ๆ อยู่เบื้องหลัง กำลังก่อตัวเป็นวัคซีนเพื่อปกป้องกิจการในยามที่ต้องพบเจอกับเรื่องเลวร้าย เป็นตัวที่คอยส่งเสริมการขายและความเชื่อมั่นของลูกค้าอยู่เบื้องหลัง

ชื่อเสียง ใช้เวลาสั่งสมหลายปี สร้างไว้เสียแต่วันนี้ เพื่อการเติบโตในอีกสิบ ๆ ปีข้างหน้า

สงวนลิขสิทธิ์ 2561 – วาทิต ประสมทรัพย์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง