หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคอ

หมอนรองกระดูกคอเสื่อม “หายได้” โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด

หมอนรองกระดูกคอจะคั่นอยู่ระหว่างปล้องกระดูกคอที่จะมีประมาณทั้งหมด 7 ปล้อง มีหน้าที่ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวกระดูกคอ ทำให้มนุษย์เราสามารถก้มหรือเงยคอได้ เมื่อเราใช้ไปนานๆ หรือใช้ไม่ถูกต้องก็จะทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้

พฤติกรรมเสี่ยงที่จะเป็นหมอนรองกระดูกคอเสื่อมเร็วของคนในปัจจุบัน ได้แก่

พนักงานออฟฟิศที่ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งวัน คนที่จดจ่อใช้มือถือสมาร์ทโฟนแบบหนักหน่วง คนทำงานห้องแล็บที่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์บ่อยๆ คนทำงานฝีมือก้มๆ เงยๆ ต่างๆ พฤติกรรมเหล่านี้จะยิ่งเร่งให้หมอนรองกระดูกคอของเราเสื่อมไวกว่าปกติ ส่วนมากโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมจะพบในคนที่อายุประมาณ 40 ปี ขึ้นไป และมักจะเป็นบริเวณปล้องที่ 5 ต่อ 6 รองลงมา คือ ปล้องที่ 6 ต่อ 7

เมื่อมีการเสื่อมหรือแตกของหมอนรองกระดูก

ก็จะมีโอกาสเกิดการกดทับที่ประสาทไขสันหลังและรากประสาทได้ ทำให้เกิดอาการปวดคอร้าวมาที่แขน หากเป็นมากๆ หรือมีการกดทับเส้นประสาทมากๆ ก็จะทำให้เกิดอาการแขนอ่อนแรง ชาบริเวณปลายนิ้ว เป็นต้น

การที่เราสะบัดคอแล้วมีเสียงดังกร็อบแกร็บ คือ อาการของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมหรือไม่?

ต้องบอกว่าไม่ใช่ โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมส่วนใหญ่จะไม่มีเสียง หากเราสะบัดแล้วมีเสียงกร็อบแกร็บแต่ไม่มีอาการปวดใดๆ ก็ไม่น่าจะมีผลขนาดต้องทำการรักษา ซึ่งเสียงที่ว่า คือ เสียงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมากกว่า แต่โดยปกติแล้วการสะบัดคอให้มีเสียงดังๆ นั้น แพทย์แนะนำว่า “ไม่ควรทำ” เพราะมีผลทำให้ข้อต่อบริเวณคอเสื่อมเร็วได้เช่นกัน เกิดจากการทำงานที่หนักเกินไปเวลาเราสะบัดแรงๆ

การรักษาโดยทั่วไปของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม

จะเป็นการชะลอไม่ให้มันเสื่อมไวขึ้น ส่วนใหญ่คนไข้จะมาด้วยอาการปวดบริเวณต้นคอถึงสะบัก แพทย์จะให้ทานยาลดการอักเสบ การนอนพัก กายภาพบำบัด ประคบด้วยน้ำร้อน การบริหาร อาการปวดเหล่านี้ก็จะสามารถหายได้เอง ส่วนการผ่าตัดโดยใช้หมอนรองกระดูกเทียมนั้น ปัจจุบันก็มีการผ่าตัดอยู่เหมือนกันแต่ให้ผลได้ไม่ดีเท่าที่ควร การผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมที่จำเป็นต้องทำ คือ หมอนรองกระดูกมีการแตกและกดทับบริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งโชคดีหน่อยที่เราพบได้ค่อนข้างน้อยมาก

ข้อมูลจาก
รศ. นพ.วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ
หัวหน้าหน่วยกระดูกสันหลัง ภาควิชาออโธปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Big Story วัยทำงานเสี่ยงเป็นหมอนรองกระดูกเสื่อม” ได้ที่นี่

     ในเบื้องต้น การรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท  สามารถรักษาด้วยยา และรักษาโดยวิธีการทำกายภาพบำบัด

     ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ดีขึ้นในเวลา 6 สัปดาห์ หรือมีภาวะชาและอ่อนแรงของแขนมากขึ้น  ทางแพทย์จะแนะนำรักษาโดยการผ่าตัด

• การรักษาโดยการผ่าตัด

     การผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอ โดยใช้กล้องและเชื่อมข้อทางด้านหน้า ศัลยแพทย์กระดูกสันหลังจะผ่าตัดเข้าทางด้านหน้าบริเวณคอ ใช้เครื่องมือสอดและถ่างขยายบริเวณช่องว่างกล้ามเนื้อคอ และนำหมอนรองกระดูกคอที่ถูกกดทับเส้นประสาทออกตามความจำเป็น  หลังจากนั้นศัลยแพทย์จะปิดช่องว่าง โดยการเชื่อมข้อ  ใช้วัสดุเชื่อมข้อเทียมแทนหมอนรองกระดูกสันหลัง และบางครั้งจะยึดตรึงด้วยสกรู หรือแผ่นโลหะ  ผู้ป่วยจะสามารถกลับบ้านภายใน 2-3 วัน หลังการผ่าตัด สามารถปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันได้ปกติในเวลา 2-3 สัปดาห์  อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะใช้เวลา 3 ถึง 6 เดือนในการสร้างกระดูกใหม่ เพื่อเชื่อมกระดูก ติดกัน

• ผลของการผ่าตัด

     การผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอทางด้านหน้า หวังผลประสบความสำเร็จได้ 92 ถึง 100%  โดยทั่วไปอาการปวดแขนจะลดลงได้มากกว่าปวดคอ  อาการชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะดีขึ้นหลังผ่าตัด ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน

ความเสี่ยงจากการผ่าตัด

• ความเสี่ยงทั่วไป

     อาจเกิดผลแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ ภาวะแผลติดเชื้อ การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ความเสี่ยงนี้ พบได้ 1-2 %

• ความเสี่ยงเฉพาะ

– บาดแผลติดเชื้อ อาการบาดเจ็บเส้นประสาท ภาวะเสียงแหบ สามารถพบได้ 1-3 %

– ภาวะกระดูกไม่เชื่อมติดตามกำหนด อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การสูบบุหรี่ โรคกระดูกพรุน โรคอ้วน หรือ อาจเกิดจากโลหะที่ใช้ยึดตรึง มีการหลวม หรือหัก ในบางกรณีอาจต้องผ่าตัดเข้าไปแก้ไขใหม่

การปฏิบัติตัว หลังการรักษา

     – หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การขับรถ ใน 2-4 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด งดการทำงานที่ต้องใช้แรงมาก

     – ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ เริ่มจากการเดินในระยะสั้น และค่อยเพิ่มจำนวนการเดินจนถึง 1-2 กิโลเมตร หลีกเลี่ยงการนั่งติดต่อกัน เป็นเวลานาน

     – ผู้ป่วยจะได้รับการนัดหมายให้มาทำแผลผ่าตัด หลังจากออกโรงพยาบาล 1-2 สัปดาห์ และนัดมาติดตามอาการเป็นระยะ อาจมีการแนะนำ การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟู กล้ามเนื้อ หรือแนะนำ ให้ใส่อุปกรณ์พยุงคอ

     – งดสูบบุหรี่ รักษาและควบคุมน้ำหนักตัว

     – มีท่าทาง การนั่ง ยืน เดิน ที่ถูกต้อง

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทเกิดจากอะไร

สาเหตุที่พบบ่อยของโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท การสะบัดคอ หรือโยกศีรษะแรงๆ เป็นเหตุให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้อย่างรวดเร็ว การก้มคอเป็นเวลานานเพื่อใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้หมอนรองกระดูกคอเสื่อมเร็วขึ้น

กระดูกคอทับเส้นประสาทรักษาอย่างไร

การทำกายภาพบำบัด : เป็นแนวทางการรักษาหลักที่ให้ผลลัพธ์ที่ดี ประกอบไปด้วยการดึงคอ (Cervical traction) เพื่อขยายโพรงเส้นประสาท, การลดอาการปวดจากกล้ามเนื้อโดยการใช้เครื่อง Ultrasound, Laser, Shockwave และการฝังเข็ม เป็นต้น

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นรักษาหายไหม

แนวทางการรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการทานยา และทำกายภาพบำบัด กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ทานยาแล้วไม่ดีขึ้นทำอย่างไรก็ไม่หาย กลุ่มนี้จะมีนวัตกรรมการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ที่เข้ามาช่วยในการรักษา เช่น การรักษาโดยผ่านคลื่นความร้อน หรือการฉีดยาเข้าไปเหนือเส้นประสาทที่บริเวณคอ

หมอนรองกระดูกคออยู่ตรงไหน

หมอนรองกระดูกคอ คือส่วนที่คั่นอยู่ระหว่างปล้องกระดูกคอ ประกอบด้วยชิ้นส่วนทั้งหมด 7 ชิ้นเรียกว่า cervical spine ซึ่งชิ้นที่ 1 จะอยู่ติดกับกะโหลก ไล่ลงมาจนถึงชิ้นที่ 7 ที่อยู่ติดกับกระดูกหน้าอก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง