การเปลี่ยนแปลงของสาร ตัวอย่าง

การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ถือเป็นอีกหนึ่งเนื้อหาในวิชาเคมีที่ค่อนข้างง่ายมาก ๆ เมื่อเทียบกับหัวข้ออื่น ๆ เพราะเป็นหัวข้อที่เพียงแค่ทำความเข้าใจหลักการของมันเท่านั้น มีแค่การท่องจำที่อาจจะยุ่งยากเล็กน้อย แต่แทบจะไม่มีการคำนวณซึ่งเป็นสิ่งที่น้อง ๆ เกลียดเลย เพราะฉะนั้นน้อง ๆ สามารถเรียนเรื่องนี้ได้อย่างสบายใจว่าจะไม่โดนผีคณิตมาตามหลอกหลอนแน่นอน

วันนี้ผมจะมาสรุปให้ทุกคนได้เข้าใจเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ว่ามันคืออะไร และมีรูปแบบใดบ้าง

การเปลี่ยนแปลงทางเคมี คืออะไร ?

ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เราจะต้องทำความเข้าใจกับ การเปลี่ยนสถานะของสาร ก่อน เพราะ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนสถานะของสารนั่นเอง

โดยการเปลี่ยนสถานะของสาร คือการที่ สสาร หรือสารใด ๆ เปลี่ยนแปลงสถานะไม่ว่าจะด้านในด้านหนึ่ง หรืออาจจะทั้งสองด้านในครั้งเดียว โดยการเปลี่ยนสถานะของสารแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ( Physical Change ) 

คือ การที่สสาร หรือสารใด ๆ เปลี่ยนแปลงเพียงแค่ภายนอก หรือในส่วนที่ตาเปล่าสามารถมองเห็นได้ เช่น รูปร่าง ขนาด ปริมาตร รูป รส กลิ่น เสียง โดยแม้ว่าภายนอกจะเปลี่ยนไปมากแค่ไหน แต่โครงสร้างภายในก็ยังคงเดิม เรียกง่าย ๆ ว่ายังคงเป็นสารตัวเดิม แต่เพียงแค่เปลี่ยนสถานะ และสามารถกลับไปเป็นสถานะก่อนหน้าได้ด้วยวิธีง่าย ๆ  เช่น น้ำแข็งกลายเป็นน้ำ น้ำกลายเป็นไอ

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ มีอะไรบ้าง

การหลอมเหลว

การหลอมเหลว หรือที่เราเข้าใจกันว่า การละลาย คือการที่สสาร หรือสาร ซึ่งมีสถานะเดิมเป็นของแข็ง ถูกเพิ่มความร้อนให้กับสารนั้น และเกิดพลังงานจลน์ภายในอนุภาค ทำให้อนุภาคเกิดการสั่น และอนุภาคแต่ละตัวก็จะถ่ายเทพลังงานให้กับอนุภาครอบ ๆ จนอนุภาคบางตัวไม่สามารถยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคได้แล้วเริ่มเคลื่อนที่ เมื่ออนุภาคอยู่ห่างกันมากพอ ของแข็งก็จะกลายเป็นของเหลว เช่น น้ำแข็งที่ละลายหรือกำลังหลอมเลว

การกลายเป็นไอ

การกลายเป็นไอ คือการที่สารที่มีสถานะเดิมเป็นของเหลว ถูกเพิ่มความร้อน ทำให้อนุภาคสั่น และไม่สามารถจับตัวกันได้แล้วเคลื่อนที่ออกห่างกัน จนของเหลวกลายเป็นไอ เช่น น้ำถูกต้มแล้วระเหิดไป
เรื่อย ๆ จนหมด

การควบแน่น

การควบแน่น คือการที่อุณหภูมิลดลง และความดันของแก๊สมากขึ้น จนทำให้อนุภาคของสารที่มีสถานะเดิมเป็นแก๊ส มีพลังงานจลน์น้อยลง แล้วทำให้อนุภาคมีพลังงานน้อยลง เกิดการยึดเหนี่ยวกันระหว่างโมเลกุลมากขึ้น จนทำให้อนุภาคจับตัวกัน และกลายเป็นของเหลว เช่น น้ำค้างแข็ง

การแข็งตัว

คือการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร จากสารเดิมที่มีสถานะเป็นของเหลว กลายเป็นของแข็ง โดยหลักการทำงานจะเป็นการถ่ายเทพลังงานความร้อนจากภายในออกมา หรือเรียกอีกอย่างว่าการคายความร้อน ทำให้โมเลกุลภายในมีพลังงานจลน์น้อยลง สั่นน้อยลง จับตัวกันแน่นมากขึ้น และกลายเป็นของแข็งในที่สุด เช่น น้ำอยู่ในช่องฟรีซแล้วกลายเป็นน้ำแข็ง

การระเหิด

คือการเปลี่ยนแปลสถานะของสาร ซึ่งจะเปลี่ยนจากสถานะเดิม ซึ่งเป็นของแข็ง ให้กลายเป็นก๊าซ โดยสารเดิมจะดูดความร้อนเข้าไปจำนวนนึง แล้วเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส ซึ่งสารนั้นจะต้องมีสมบัติเฉพาะตัวสารประกอบที่มีความดันไอสูง โดยสมบัติเฉพาะตัวนี้จะสามารถแยกสารเนื้อผสมออกเป็นของแข็งได้ เช่น การบูรกับเกลือแกง เมื่อให้ความร้อนมากพอก็จะจะแยกออกจากกันนั่นเอง

การระเหิดกลับ

เป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร ที่เปลี่ยนจากสารเดิมซึ่งมีสถานะเป็นแก๊ส ให้กลายเป็นของแข็ง โดยไม่ผ่านกระบวนการคายความร้อนแล้วกลายเป็นของเหลวก่อน ซึ่งการระเหิดกลับนี้จะใช้ความเย็นในการก่อตัว

การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ( Chemical Change )

คือ การที่สสาร หรือสารใด ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างภายใน สมบัติของสาร จนเกิดเป็นสารใหม่ โดยอะตอมของสารเดิมจะเรียงตัวใหม่ และกลายเป็นผลิตภัณฑ์ โดยจะไม่สามารถกลับไปเป็นสารเดิมได้ หรืออาจจะกลับไปได้ยาก  เช่น การเผาไหม้

การเปลี่ยนแปลงทางเคมี มีอะไรบ้าง

การเผาไหม้

ความร้อนสามารถทำให้สสารใด ๆ เปลี่ยนเป็นสารใหม่ หรือ ผลิตภัณฑ์ได้ เพราะความร้อนจะเข้าไปเพิ่มพลังงานจลน์ให้กับอนุภาค เมื่อมีพลังงานจลน์มากพอ อนุภาคก็จะไม่สามารถจับตัวกันได้อีกต่อไป แล้วเกิดเป็นสารใหม่ขึ้นมา ซึ่งความร้อนนั้นจะต้องร้อนระดับการเผาไหม้ หากเป็นเพียงความร้อนทั่วไปก็อาจจะแค่เปลี่ยนสถานะทางกายภาพเท่านั้น

ผลไม้สุก

ผลไม้ที่เติบโตบนต้นไม้ เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง ด้วยหลาย ๆ ปัจจัยไม่ว่าจะเป็น อากาศ การสังเคราะห์แสง การลำเลียงอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ จะทำให้ผลไม้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทั้งรูปร่าง
ขนาด สี รสชาติ ก็จะเปลี่ยนไปด้วย

การเผาผลาญในร่างกาย

ร่างกายของเรามีกระบวนการนำอาหารไปย่อยและเกิดเป็นพลังงานอยู่ กระบวนการเหล่านั้นเรียกว่าการเผาผลาญ ซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยน้ำย่อยจะทำหน้าที่ย่อยอาหาร ทำให้เศษอาหารที่เราเคี้ยวไปกลายเป็นสารที่มีสถานะเป็นกากใย แล้วปล่อยให้ร่างกายนำพลังงานที่เหลือจากการย่อยไปใช้งานนั่นเอง

การเปลี่ยนแปลงทางเคมีในชีวิตประจำวัน

เคมีเป็นวิชาที่อยู่รอบตัวเรา ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ในชีวิตประจำวันจึงหาไม่ยากเลย เพราะสสารทั้งหมดในโลกนี้ล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานทางเคมี ดังนั้นทุกอย่างสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้ ไม่ว่าจะเป็น

·         การเกิดสนิม

·         อาหารบูด

·         แบตเตอรี่เคมี

·         เบกกิ้งโซดา

·         การใช้ความร้อนปรุงอาหาร

·         การย่อยอาหาร

·         การเผาหผลาญพลังงานในร่างกาย

·         การระเบิด

และอื่น ๆ อีกมากมาย

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

การเปลี่ยนแปลงทางเคมีคืออะไร

การเปลี่ยนแปลงทางเคมี คือการเปลี่ยนสถานะของสารรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสารเดิมจะเปลี่ยนเป็นสารใหม่ หรือเรียกอีกอย่างว่าผลิตภัณฑ์ โดยจะมีรูปแบบทางเคมี สถานะของสาร สมบัติ ที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

การเปลี่ยนแปลงทางเคมี มีอะไรบ้าง

ในชีวิตประจำวันของเรามีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีมากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเผาไหม้ น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ผลไม้สุก อาหารบูด ฯลฯ

สมการการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เขียนได้ดังนี้

มี 3 ประเภท ได้แก่ สารเนื้อเดียว คือสารที่มองเห็นเป็นเนื้อเดียวกันด้วยการมองด้วยโดยทั่วไป สมการเคมี มักจะเขียนให้สารตั้งต้น อยู่ฝั่งซ้าย และ สารใหม่ หรือ ผลิตภัณฑ์ อยู่ฝั่งขวา โดยมีลูกศรชี้ไปทางด้านขวา เพื่อแสดงให้เห็นว่า สารที่ชี้อยู่นั้น มีต้นกำเนิดมาจากสารทางซ้าย

การเปลี่ยนแปลงของสสารมีอะไรบ้าง

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด สารสามารถเปลี่ยนสถานะได้เมื่อได้รับความร้อนและเมื่อทำให้เย็นลง สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็ง เป็นของเหลวเรียกว่า การหลอมเหลว สารเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็งเรียกว่า การแข็งตัว สารเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลว เรียกว่า การกลายเป็นไอ

การเกิดสารใหม่มีอะไรบ้าง

การเกิดสารใหม่ คือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือการเปลี่ยนแปลงที่ระดับโมเลกุลของสาร ทำให้ได้สารใหม่ที่มีสมบัติต่างออกไปจากสารเดิม โดยเกิดจากปฏิกิริยาเคมี เช่น การเผาไหม้ การเกิดสนิม การสังเคราะห์ด้วยแสง โดยสังเกตได้จาก การเกิดสี การเกิดแก๊ส ควัน ตะกอน หรืออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น

ข้อใดคือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

- การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ( Physical Change ) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกี่ยวกับสมบัติกายภาพ โดยไม่มีผลต่อ องค์ประกอบภายใน และ ไม่เกิดสารใหม่ เช่น การเปลี่ยนสถานะ , การละลายน้ำ

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางเคมีมีอะไรบ้าง

ปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำวันมีหลายชนิด เช่น ปฏิกิริยาการเผาไหม้ การเกิดสนิมของเหล็ก ปฏิกิริยาของกรดกับโลหะ ปฏิกิริยาของกรดกับเบส ปฏิกิริยาของเบสกับโลหะ การเกิดฝนกรด การสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง