ลักษณะการท่องเที่ยวโดยชุมชน

อีกทั้งมาง่ายคุ้มค่าเงินถ้าเทียบกับการไปท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่ประเทศไทยจะติดอันดับประเทศที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา
และสเปนเท่านั้น

การที่นักท่องเที่ยวเข้ามามากมายรายได้ที่ล้นหลามทุกอย่างดูจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับประเทศไทยแต่คำถามสำคัญคือคนเข้ามาเยอะขึ้นรายได้เพิ่มขึ้นแล้วทำไมชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวหลักไม่ว่าจะเป็น
กรุงเทพ เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา ถึงยังไม่มีความสุขแถมยังลุกขึ้นมาต่อต้านการท่องเที่ยว ออกมาสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวไม่ว่าจะรถติดความแออัดการย้ายถิ่นเพราะสู้ค่าครองชีพ
ไม่ไหวฯลฯถ้าเช่นนั้นการท่องเที่ยวสร้างประโยชน์ให้คนท้องถิ่นจริงหรือไม่นี่คือสิ่งที่เราต้องหันมาลองคิดหาคำตอบกันอย่างจริงจังมากขึ้นจะดีกว่าหรือไม่หากเราสามารถทำให้คนในชุมชนมีความสุขกับการเติบโตของการท่องเที่ยวโดยคนในชุมชนได้รับประโยชน์ในแบบที่ตนเองต้องการไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้น
สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นการได้ฟื้นฟูวิถีชีวิตดั้งเดิมการที่ลูกหลานกลับมาอยู่บ้านหรือการที่ชุมชนมีความสามัคคีกันมากขึ้นซึ่งกระบวนการที่จะผลักดันให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้คือการท่องเที่ยวโดยชุมชนการท่องเที่ยวที่จะช่วย
สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นเจ้าบ้านในทุกแหล่งท่องเที่ยวนั่นเอง

ทำไมประเทศไทยต้องมีแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชม
การจะพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม
ตั้งแต่ต้นแต่ความท้าทายที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันที่ทำให้ชุมชนไม่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่อง
เที่ยว มี 2 ปัจจัยหลักคือ

1) ชุมชนไม่เข้าใจว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมทำไมเพื่อประโยชน์ใดตนเองอยู่ตรงไหนของการท่องเที่ยว และ
2) ชุมชนไม่รู้ว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไร

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการก้าวข้ามปัจจัยท้าทายทั้ง2ประการนั้นได้คือการพัฒนาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นให้มีความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการเข้ามามีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการรู้เท่าทัน
ข้อดีและข้อเสียของการท่องเที่ยว การบริหารจัดการและการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรท้องถิ่น การเป็นเจ้าบ้านที่ดี การเล็งเห็นถึงโอกาสในการเชื่อมโยงชุมชนกับการท่องเที่ยว เป็นต้น

ในการพัฒนาศักยภาพชุมชนนั้นมีภาคส่วนต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาท
หลากหลาย ภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยตรง หรือภาควิชาการทั้งสถาบัน
การศึกษาและองค์กรพัฒนาเอกชนหรือNGOsต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายการมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
มากมายหลากหลายเช่นนี้ ทำให้ทิศทางในการพัฒนามีความหลากหลายแตกต่างไปตามภารกิจหรือ
แนวทางของแต่ละหน่วยงาน ดังนั้น ภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคประชาชนจึงจำเป็นจะต้องหันหน้าเข้ามาร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ทำให้เกิดทิศทางการ
พัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบที่จะเกิดประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นสูงสุดเพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ เพราะเมื่อทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น เมื่อเกิดผลประโยชน์หรือผลเสีย ทุกฝ่าย
จะได้ร่วมกันรับผิดชอบและร่วมรับผลประโยชน์ในระยะยาวร่วมกันการร่วมคิดร่วมวางแผนเพื่อให้เกิดทิศทางการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวได้
จึงก่อให้เกิด แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน .. 2559-2563 (CBT Thailand)’ จัดทำขึ้นโดยคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ภายใต้คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยว
แห่งชาติ (...) ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2560 โดยมี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธานและองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว
อย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน)หรืออพท.เป็นฝ่ายเลขานุการเพื่อประสานการทำงานกับภาคีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนดังกล่าวจึงถือเป็นแผนยุทธศาสตร์การท่อง
เที่ยวฉบับแรกของประเทศไทยที่มุ่งเน้นการพัฒนาในระดับชุมชนเป็นหลักเพื่อให้เกิดการกระจายประโยชน์
จากการท่องเที่ยวไปสู่เศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง โดยมีวิสัยทัศน์ว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนของไทย
พัฒนาสู่สากลอย่างมีเอกภาพบนฐานการรักษา และจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืนสู่ชุมชนแห่งความสุขนั่นเอง

 

แผนยุทธศาสตร์นี้ จะขับเคลื่อนเรื่องอะไรบ้าง
แผนยุทธศาสตร์ CBT Thailand ฉบับนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว หรือทำให้
การท่องเที่ยวไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น หรือเน้นการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว แต่แผนยุทธศาสตร์นี้
มีวัตถุประสงค์ในการ ‘ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน’

 

ซึ่งหมายถึงการทำงานทั้งระบบเพื่อใช้การท่องเที่ยวมาเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีการกระจายรายได้มากขึ้น เน้นการเชิดชูทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น กระตุ้นจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นโจทย์ในการทำงานร่วมกันดังนั้นจึงมีกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยยกระดับให้การท่อง
เที่ยวเกิดประโยชน์ต่อชุมชน 5 กลยุทธ์สำคัญ ดังนี้

 

1 การพัฒนาคนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคนในชุมชนและท้องถิ่นเพื่อ
ให้สามารถบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของตนเองได้

 

2 การเพิ่มมูลค่าทรัพยากรท้องถิ่นโดยมุ่งเน้นให้ชุมชนเข้าใจตัวเองว่ามีดีอะไรและต่อยอดนำเสนอจาก
ทรัพยากรที่มี ไม่จำเป็นต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่อาจจะไม่ใช่อัตลักษณ์ของท้องถิ่น

 

3 การตลาดที่เหมาะสมกับชุมชน เพื่อแสวงหาตลาดนักท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับแต่ละชุมชน และสร้างความสามารถในการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวโดยไม่เสียอัตลักษณ์ของชุมชน นอกจากนั้น เพื่อเชื่อมโยงผู้ประกอบการนำเที่ยวให้นำเสนอกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เหมาะสม
เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าเส้นทางการท่องเที่ยว


4 การสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถเชื่อมโยงแลก
เปลี่ยนทรัพยากร ความรู้และประสบการณ์ร่วมกันเพื่อทำงานเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็งได้ใน
ระยะยาว โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการสนับสนุนของภาครัฐหรือภาคเอกชนเสมอไป

5 การประเมินผลด้วยตัวชี้วัดความสุขของชุมชนและนักท่องเที่ยวเนื่องจากวัตถุประสงค์หลักในการ
พัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาให้คนในชุมชนได้รับประโยชน์ ดังนั้นตัวชี้วัดความสำเร็จจึงไม่ใช่เพียงรายได้
ที่เพิ่มขึ้นหรือนักท่องเที่ยวที่มากขึ้น แต่เป็นความอยู่ดีมีสุขในมิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับเป็นการแลกเปลี่ยนของเจ้าบ้านและผู้มา
เยือนที่เท่าเทียม มีความสุขร่วมกัน

ใครที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์นี้บ้าง
แผนยุทธศาสตร์ CBT Thailand นี้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง กับหลากหลายภาคส่วน โดยมีกลไกการขับเคลื่อน
ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาค ดังนี้


ระดับนโยบาย

 

ในระดับนโยบายโดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ(...) ซึ่งทำหน้าที่ดูแลนโยบาย
การท่องเที่ยวในระดับประเทศทั้งหมด ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชนขึ้นเพื่อเป็นกลไก
ในการขับเคลื่อนและติดตามแผนยุทธศาสตร์ CBT Thailand โดยมีองค์ประกอบจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาชน รายงานผลการทำงานต่างๆ ทั่วประเทศให้ระดับ
นโยบายได้รับทราบ และผลักดันในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดเป็นรูปธรรมในเชิงนโยบายได้ต่อไป

 

ระดับปฏิบัติ

คณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาการท่องเที่ยว ร่วมกันขับเคลื่อนสนับสนุนการพัฒนาให้เป็นไปตามแนวทางในแผนยุทธศาสตร์ CBT Thailand ซึ่ง อพท. เป็นเลขานุการของคณะอนุกรรมการชุดนี้

 

 

ระดับพื้นที่

 

ในระดับพื้นที่ในแต่ละเขตพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศไทยจะมีคณะทำงานประชารัฐขับเคลื่อน
การท่องเที่ยวโดยชุมชนประจำเขต ซึ่งมีองค์ประกอบครอบคลุมภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ
และภาคประชาชนในพื้นที่เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนดังกล่าว
ให้เป็นไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ตามความเชื่อมโยง ตามแผนภาพดังต่อไปนี้

แผนยุทธศาสตร์นี้จะก่อให้เกิดอะไรที่เป็นรูปธรรมบ้าง
การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ CBT Thailand นี้มีระยะเวลาอย่างน้อย 4 ปีในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในการยกระดับและเชื่อมโยงให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยเกิด

หลักการการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีอะไรบ้าง

(๑) กลุ่มท่องเที่ยวมีข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมในท้องถิ่น (๒) มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากภายในสู่คนภายนอก (๓) มีกฎ กติกา และแนวทางเพื่อเคารพและปกป้องวัฒนธรรมชุมชน (๔) กลุ่มท่องเที่ยวมีการส่งเสริม อนุรักษ์ฟื้นฟูและสืบทอดวัฒนธรรม ๒.๕ มีส่วนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชน

ข้อใดเป็นประโยชน์ของการท่องเที่ยวชุมชน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน.
ชุมชนเป็นเจ้าของ.
ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและตัดสินใจ.
ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง.
ยกระดับคุณภาพชีวิต.
มีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม.
คงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น.
ก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม.
เคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์.

องค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีกี่ด้าน

องค์ประกอบหลักของ CBT มีอยู่ 4 ด้าน กล่าวคือ 1) ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม 2) องค์กรชุมชน 3) การจัดการ.
ชุมชนมีระบบสังคมที่เข้าใจกัน.
มีปราชญ์ หรือผู้มีความรู้ และทักษะในเรื่องต่าง ๆ หลากหลาย.
ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของและเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา.

เพราะเหตุใดจึงมีท่องเที่ยวชุมชน

การท่องเที่ยวโดยชุมชนจึงถือเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในการบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชนโดยแท้ ทั้งยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชุมชนกับนักท่องเที่ยวในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตเข้าใจความต่างทางวัฒนธรรม สร้างความภาคภูมิใจของคนในท้องถิ่น ก่อให้เกิดความสุขอย่างยั่งยืนในที่สุด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง