การเลือกรับวัฒนธรรมสากล 5 ประการ

เรียนรู้วัฒนธรรม

วิธีการเลือกรับวัฒนธรรมสากล

ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับนานาชาติมีมาช้านาน เนื่องจากไทยมีการติดต่อสัมพันธ์กับนานาชาติตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยเฉพาะจีนและอินเดียว เป็นสองชาติแรกทีมีการติดต่อค้าขายกับไทย จึงทำให้ไทยได้รับวัฒนธรรมทั้งทางด้านภาษา ศาสนา และความเชื่อ ต่อเมื่อมีการติดต่อกับชาติตะวันตก ไทยจึงได้มีการรับวิทยาการทางเทคโนโลยีจากชาติตะวันตก 

วิธีการเลือกรับวัฒนธรรมสากลของไทย มีดังนี้ 

1.เลือกรับวัฒนธรรมที่เป็นประโยชน์ ช่วงที่มีการล่าอาณานิคมชาติตะวันตก เพื่อมิให้ตนเองตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก ไทยจึงรับวัฒนธรรมจากชาติตะวันตก ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส หลายประการเช่นการฝึกทหารแบบตะวันตก ระบบกฎหมายและการศาล ระบบการเงินการคลัง การชลประทาน การสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ้งล้วนเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในเวลาต่อมา 

2.เลือกรับโดยการผสมผสานของวัฒนธรรม โดยการนำวัฒนธรรมของต่างชาติมาปรับใช้ ผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยให้เกิดความสมดุล เหมาะกับวิถีชีวิตของคนไทย ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ของอินเดียว ที่มีอิทธิพลในการดำเนินชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย โดยผสมผสานไปกับพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์อย่างแยกกันไม่ออกจนหลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เช่น ประเพณีการเกิด การขึ้นบ้านใหม่ การแต่งงาน การตาย เป็นต้น  การรับวัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนาของจีน ซึ่งเป็นการผสมผสานความเชื่อระหว่างศาสนาพุทธ การบูชาบรรพบุรุษ การนับถือเจ้า่ นอกจากนี้ยังมีเทศกาลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อชาวไทยเชื้อสายจีน เช่น เทศกาลไหว้บรรพบุรุษ ไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ เป็นต้น 

 นอกจากนี้ยังมีการรับวัฒนธรรมของชาติตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย เพื่อพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับชาติตะวันตก เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ราชสำนักไทยรับวัฒนธรรมการแต่งกายแบบตะวันตกเข้ามาประยุกต์ใช้ จนกลายเป็น "พระราชนิยม" ที่คนในสังคนยึดถือ การตกแต่งบ้านเรือนที่มีการรับวัฒนธรรมทางด้านสถาปัตยกรรมของชาติตะวันตกมาปรับใช้ มีการตกแต่งบ้านเรือนด้วยเครื่องเรือนและของใช้แบบตะวันตก การรับวัฒนธรรมการรับประทานอาหารโดยใช้ช้อน-ส้อม แทนการใช้มือแบบเดิมๆของไทย วัฒนธรรมเหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน 

  อย่างไรก็ตามในปัจจุบันวัฒนธรรมทางวัตถุซึ่งเจริญอยู่ในซักโลกตะวันตก ได้เข้ามามีอิทธิพลรุนแรงต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทย แม้ว่าความก้าวหน้าทางวัตถุเหล่านี้จะมีประโยชน์ แต่ก็มีโทษสำหรับผู้ที่ไม่รู้จักเลือกเฟ้น เพราะอาจทำลายคุณค่าของมนุษย์ได้อย่างงายดาย และถ้าหากเรารับแต่วัฒนธรรมของชาติต่างๆ เข้ามาโดยไม่รู้จักเลือกว่า สิ่งใดควรรับไว้สิ่งใดไม่ควรรับไว้ ก็อาขจกระทบต่อเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมได้ 

เรียนรู้วัฒนธรรม

ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล

วัฒนธรรมในแต่ละสังคมย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะนำเสนอความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล โดยเน้นไปที่วัฒนธรรมของโลกตะวันออกซึ่งมีความใกล้ตัว และเป็นกระแสที่ถาโถมเข้ามายังวัฒนธรรมไทยอย่างมากในปัจจุบัน 

   วัฒนธรรมสากล คือวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งอาจเป็นของโลกตะวันออกอันมีวัฒนธรรมยุโรปและอเมริกาเป็นจุดเด่น และโลกตะวันออกอันมีวัฒนธรรมของเอเชียเป็นจุดเด่น 

1.วัฒนธรรมด้านอาหาร 

อาหารของโลกตะวันตกเน้นความสะดวกสบาย ทั้งขึ้นตอนการทำและการเข้าถึงในการบริโภค เน้นแป้งและเนื้อสัตว์ เพื่อให้ร่างกายมีไขมัน สร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายที่มีอากาศหนาวเย็น ส่วนโลกตะวันออกจะรู้จักนำสมุนไพรมาปรุงแต่งเป็นอาหาร มีความพิถีพิถันในการปรุงแต่งจัดวางสร้างคุณค่าแก่ผู้บริโภคทั้งร่างกายและจิตใจ 

  อาหารประจำชาติไทย ประเทศไทยมีทั้งอาหารคาวและอาหารหวานสำอาหารคาวของไทยนั้นจะมีทุกรส ทั้งเค็ม หวาน เปรี้ยว และเผ็ด โดยปรุงขึ้นมาในหลายลักษณะดังนี้ แกง ผัด ยำ ทอด หรือย่าง เครื่องจิ้ม และเครื่องเคียง และแห้ง ขนมหวานชนิดแห้ง ปกติจะทำเป็นขนมอบใส่ขวดโหล เพื่อให้เก็บไว้ได้นาน 

 อาหารประจำชาติเกาหลี อาหารสำคัญของเกาหลี ได้แก่ กิมจิ เป็นผักดองที่มีรสเปรี้ยว เค็มและเผ็ด มีพริกแดงและกระเทียมเป็นส่วนประกอบกิมจิเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดของเกาหลีในนานาชาติ 

 อาหารประจำชาติญี่ปุ่น อาหารญี่ปุ่นทั่วไปประกอบด้วย ข้าว ผัก ซุปปรุงจากเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น มิโซะ ผักดองและปลาหรือเนื้อ เป็นข้าวมักรับประทานกับสาหร่ายทะเลตากแห้ง

2.วัฒนธรรมการอยู่อาศัย มีความแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ทั้งในเรื่องของการใช้วัสดุและรูปทรง เช่น คนไทยนิยมสร้างบ้านด้วยไม้ มีใต้ถุนสูง เพื่อให้บ้านโปร่ง สบาย น้ำไม่ท่วม เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจึงนิยมปลูกบ้านริมแม่น้ำ ออกแบบให้หลังคาทรงสูง เพื่อให้อากาศถ่ายเทและให้ความร่มเย็นแก่ผู้อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังมีชายคาที่ยื่นยาวออกมาปกคลุมตัวบ้านมากกว่าบ้านทรงยุโรป เพื่อป้องกันแดดและฝน เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในภูมิประเทศเขตร้อน มีผนตกชุก ในขณะที่คนจีนนิยมสร้างสร้างบ้านด้วยดินเหนียวผสมหญ้าหรือหญ้าฟาง รูปทรงคล้ายตึด เพราะอยู่ในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาว จึงต้องสร้างบ้านให้กันลมหนาวได้ ส่วนชาวยุโรปมักสร้างบ้านเรือนเป็นตึกก่ออิฐหรือเทคอนกรีต 

3.วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย

แต่ละประเทศล้วนมีชุดแต่งกายประจำชาติ ซึ่งสะท้อนถึงภูมิปัญญาและความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งประจำชาติ 

 ชุดประจำชาติไทย เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์เพื่อการสวมใส่มีทั้งของบุรุษและสตรี เครื่องแต่งกายของบุรุษเรียกว่า ชุดพระราชทาน เสื้อชุดพระราชทานใช้กับกางเกงแบบสากลนิยมสีสุภาพ หรือสีเดียวกับเสื้อ ส่วนการแต่งกายแบบไทยของสตรี เช่น ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ เป็นต้น 

 "กิโมโน" เป็นชุดประจำชาติของญี่ปุ่น กิโมโนเป็นที่พันรอบตัวและผูกด้วยผ้าคาด (โอบิ) ชุดของผู้ชายค่อนข้างอนุรักษ์นิยม คือ มักจะใช้สีดำ น้ำตาล เทา และขาว ชุดกิโมโนสำหรับหญิงรุ่นสาวมีสีสว่างสดใสและสีสันลวดลายสวยงาม

"ฮันบก" เป็นชุดประจำชาติเกาหลี ฮันบกเป็นชุดตัดเย็บในลักษณะหลวมๆ เพื่อปกปิกสรีระตามธรรมชาติของร่างกาย ผู้ชายจะสวมชอโกรี(เสื้อคอปิด แขนยาว) กับพาจิ (กางเกงขายาวโป่งพ่อง) ขณะที่ผู้หญิงจะสวมกระโปรงยาวถึงพื้นเอวสูงมาก เรียกว่า "ซีม่า" และเสื้อแขนยาวหลวมๆ ตัวเสื้อสั้นมาก 


4.วัฒนธรรมด้านศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
 ศิลปะป้องกันตัว คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งที่เน้นการเรียนและฝึกฝนด้านการต่อสู้และป้องกันตัว ซึ่งมีหลายลักษณะด้วยกันแตกต่างกันไปด้วย 
 ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติไทย มวยไทยเป็นศิลปะประจำชาติของไทยที่คนไทยสามารถใช้ได้อย่างคล่องแคล่วมวยไทยเป็นศิลปะชั้นสูงของการใช้อวัยวะ 6 ประเภท ได้แก่ หมัด ศอกแขน เท้า แข้ง และเข่า มาใช้ในต่อสู้การป้องกันตัว 


 ศิลปะการต่อสู้ป้องกันประจำชาติญี่ปุ่น คือ ยูโด เป็นศิลปะการต่อสู้ที่ใช้เมื่ออยู่ในจังหวะประชิดตัว โดยใช้หลักการยืมพลังของคู่ต่อสู้มาเป็นพลังของตนเอง และคาราเต้ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างเป็นจังหวะ เช่น การชก การเตะ การกระแทก การผสมผสานระหว่างการปัดป้องและการจู่โจมในเวลาเดียวกัน 


 ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติเกาหลี คือ เทควันโด เป็นศิลปะการเคลื่อนไหวที่เน้นการใช้เท้าเตะสูงและรวดเร็ว ในกระบวนท่าร่ายรำของเทควันโดประกอบไปด้วยกาปัด ปิด ปกป้อง การชก ใช้กำปั้นสันมือ และนิ้วมือ การหัก การเตะ การขยับหมุนเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกาย เช่นการหมุนตัว เหวี่ยงเท้า การเตะ การกระโดด เป็นต้น 


 ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติจีน คือ กังฟู หรือ วูซู ศิลปะนี้จะว่าด้วยการใช้กลยุทธ์ทั้งมือและเท้าในการเข้าต่อสู้เป็นสาระสำคัญ มีรูปแบบการร่ายกนะบวนยุทธ และชั้นเชิงต่อสู้เป็นหลักในการฝึก โดยมุ่งเน้นการประสานพลังภายในและภายนอก 


5.วัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดง 
ละคร เป็นมหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็นเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละชาติ
ละครไทย แบ่งออกเป็นละครรำแบบดั้งเดิม ได้แก่ ละครพันทาง ละครเสภา ละครสังคีต ละครร้อง ละครพูด
ละครของญี่ปุ่น มีการแสดงละคร 3 รูปแบบคือ ละครโน เป็นละครที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 14 ละครโนมีลักษณะเรียบง่าย ตัวละครจะสวมหน้ากากและการแต่งกายแบบโบราณ การพูดและการเคลื่อนไหวของตัวละครจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า ละครบุนระกุ เป็นละครหุ่นที่เริ่มแสดงฝนศตวรรษที่ 16 ตัวหุ่นจะมีการสร้างขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของมนุษย์ และคล้ายกับมนุษย์มาก การแสดงจะใช้คนจริงเล่นรวมกับหุ่นโดยคนเป็นผู้ชักหุ่นให้เคลื่อนไหวไปมาบนเวทีด้วยกันกับหุ่น ละครคาบูกิ เป็นละครที่พัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 17 การแสดงจะเน้นไปที่ความตื่นเต้นเร้าใจ เช่น การต่อสู้ การร่ายรำอาวุธ เป็นต้น 


เรียนรู้วัฒนธรรม

การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและแนวทางอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม

           วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นมรดกทางสังคม แต่เนื่องด้วยยุคสมัยเปลี่ยนไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม ดังนั้นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะวัฒนธรรมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อปนะเทศ ย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความเจริญก้าวหน้าของประเทศ 

การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย

๑.การทำงาน คนไทยมักทำงานจับจด ชอบทำงานสบายที่ได้เงินดีโดยไม่ต้องเปลืองแรง มักโทษโชคชะตาที่ไม่เข้าข้างตน ไม่มีระเบียบวินัย สิ่งที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้น คือ

 ๑.๑ ความขยันและอดทน ทำงานหนัก และพึ่งตนเอง พื้นฐานของความสำเร็จของชีวิตและสังคมจะขึ้นอยู่กับความขยันและอดทนของแต่คนเป็นสำคัญ ในระบบการศึกษาของชาติที่พัฒนา เช่น ยุโรป สหัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้สอนให้คนในชาติขยัน อดทน ทำงานหนักมาตั้งแต่เด็ก ต้องอดทนต่อการเรียนอย่างเต็มที่ ดังนั้นความสำเร็จจในการศึกษาของนักเรียนของชาติที่พัฒนาจึงขึ้นอยู่กับความขยัน การอดทนและการทำงานหนักของเด็ก

 ๑.๒ การมีระเบียบวินัย ในสถาบันศึกษาต้องสอนให้เด็กปฏิบัติตามระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ ไม่คุยกันหรือใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะอยู่ในห้องเรียน ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นคือเด็กจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีระเบียบวินัย

๒.ความเป็นระบบและบูรณาการ สังคมไทยจะสอนให้คนมองแบบอยกส่วน ไม่เชื่อมต่อกัน ไม่นิยมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม สิ่งที่ควรปรับเปลี่ยนคือ การมองสิ่งต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เช่นศิลปะ ดนตรี พลศึกษา การทำงานบ้าน การบำเพ็ญประโยชน์ การทำงานร่วมกับชาวบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ควรนำมาเชื่อมโยงและชี้ให้เนถึงความสำคัญ ที่เท่าเทียมกันกับวิชาในชั้นเรียนกล่าวคือ ในกระบวนการเรียนการสอน นักเรียนจะต้องถูกเข้มงวดในเรื่องวิชาการ แต่ในขณะเดียวกัน นักเรียนจะต้องเคร่งครัดในเรื่อวหารทำกิจกรรมนในโรงเรียน สอนให้รักธรมมชาติ สอนให้ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน อบรมการเข้ากลุ่ม และการเป็นเพื่อนที่ดี

 ๓.ระบบอุปถัมภ์ความสัมพันธ์ในลักษณะของการออุปถัมภ์ค้ำจุนกันระหว่างบุคคลในสังคมไทยถือเป็นวัฒนธรรมที่หนั่งรากฝังลึกกันมานาน การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานมักแต่งตั้งจากผู้อยู่ใกล้ชิด หรือคนที่โปรดปรานเป็นพิเศษ โดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นเกณฑ์ มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การพัฒนาประเทศไทยไม่ก้าวไปข้างหน้าเท่าที่ควร ดังนั้นจึงควรมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ให้เป็นระบบคุณธรรม ดังเช่นที่มีการใช้กันทั่วไปในประเทศพัฒนา ได้แก่ ยึดถือความรู้ความสามารถเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคล ปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเสมอกน้ากันโดยใช้ระเบียบและมาตรฐานเดียวกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ยึดมั่นในเส้นทางที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

4.การฉ้อราษฏร์บังหลวง ในสังคมไทยการฉ้อบังหลวงเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทราบกันโดยทั่วไป เช่นการจ่ายสินบนเพื่อให้ได้การผูกขาดกิจการปางประเภท การยักยอกเงินค่าธรรมเนียมโดยไม่นำเงินส่งหน่วยงาน การรับเงินค่านายหน้า เมื่อมีการจัดซื้อของให้หน่วยงาน การสมยอมกันในการจัดซื้อจัดจ้าง หรอให้สิทธิในการดำเนินการเพื่อจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ อันทำให้มิได้มีการแข่งขันเสนอประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และประเทศชาติอย่างแท้จริง

แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

1.บุคคลซึ้งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การยำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
2.บุคคลมีหนา้ที่ป้องกันประเทศ รับราชการ และเสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรมพิทักษ์ ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ตามที่กฏหมายบัญญัติ 
3.รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่วัฒนธรรม จัดให้มีกฏหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่นยแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกคริงในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4.องค์ประกอบครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น องค์กรปกครองส้วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นนั้นและเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐซึ่งการจัดการศึกษาอบรมภายในท้องถิ่น 
  ดังนั้นการรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยก็คือ
1) ส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยให้ดำรงคงอยู่อย่างยั่งยืนและมีพัฒนาการที่ดี
2) ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรรมและภูมิปัญญาไทยเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต
3) สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในความสำคัญของของวัฒนธรรม
4) ปฏิบัติตนตามกรอบที่ดีงามของวัฒนธรรมไทย ทั้งต่อคนไทยด้วยกัน และต่อชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะการแสดงต่อชาวต่างชาติจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก
5) เผยแพร่วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยของทุกท้องถิ่นไปให้ประชาชนไทยทั้งประเทศได้รับรู้อย่างกว้างขวาง
6) สนับสนุนส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยกับต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ 
7) วางมาตรการให้หน่วยงานของรัฐและของเอกชน ที่ดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิด
  วัฒนธรรมไทยจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วยมีการเผยแพร่และสืบทอดต่อกันมา ที่สำคัญคือ คนรุ่นหลังต้องซึมซับ
ในปัจจุบันได้มีการนำวัฒนธรรมไทยมาใช้ในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น เช่น สมุนไพร การรักษาโรค การช่าง ศิลปะการแสดง ครอบครัว การศึกษา นันทนาการ ศาสนา ภาษาและการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ การเมือง การบริหารเป็นต้น 
วัฒนธรรมถือเป็นมรดกทางสังคม และเป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง