คลินิก รักษา น้ำในหูไม่เท่ากัน

ลักษณะการเวียนศีรษะ คือ มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ส่วนใหญ่ไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่บางครั้งอาจมีอาการนานเป็นชั่วโมงได้ อาการเวียนศีรษะเป็นอาการที่รบกวนผู้ป่วยมากที่สุด ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ต้องนอนพัก

ลักษณะการได้ยินที่ลดลงของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้น มีอาการหูอื้อ ได้ยินไม่ชัด รู้สึกแน่นในหูเป็นๆหายๆ บางครั้งการได้ยินดีขึ้น บางครั้งการได้ยินเลวลง ในระยะแรกเริ่มมักมีการเสียของประสาทหูที่ความถี่ต่ำก่อน แต่ในระยะยาวแล้วระดับการได้ยินจะแย่ลงเรื่อย ๆ อาจถึงขั้นหูหนวกได้ ในระยะแรกอาจมีอาการที่หูข้างเดียว ในระยะหลังอาจมีอาการที่หูทั้งสองข้าง มีอาการปวดหู หรือปวดศีรษะข้างที่เป็นด้วยได้

อาการบ้านหมุน หรืออาการเวียนศีรษะอย่างรุนแรงเป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งกับสมาชิกในครอบครัว รวมไปถึงในวัยผู้สูงอายุ พบได้ในผู้คนอายุ 30-60 ปี สำหรับสาเหตุของอาการบ้านหมุนนั้น หลายคนทราบว่าเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปของโรคเมเนียร์ (Meniere’s disease) ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของน้ำที่อยู่ภายในหูชั้นในนั่นก็คือ มีแรงดันของน้ำในหูมากเกินปกติ ว่าแต่โรคน้ำในหูไม่เท่ากันจะมีอาการอย่างไร และหากมีอาการควรปฏิบัติตนอย่างไรบ้างนั้น วันนี้เรามีข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากค่ะ

มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย เมื่อมีอาการเวียนศีรษะก็มักจะวินิจฉัยตัวเองว่าเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน อันที่จริงแล้วอาการเวียนหัวอย่างชนิดที่เรียกว่าบ้านหมุนนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เหมือนอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ ที่มีสาเหตุทำให้เกิดอาการได้มากมาย

พยาธิสภาพของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เกิดจากความคั่งของของเหลวภายในหูชั้นใน แรงดันที่เพิ่มขึ้นจะขัดขวางการทำงานของกระแสประสาทที่เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว

 การที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันควรมีอาการดังต่อไปนี้

  • เวียนหัวบ้านหมุนเป็น ๆ หาย ๆ รู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุน ขอเน้นว่าไม่ใช่อาการแค่มึนงงเกิดขึ้นทันทีทันใด อาการค่อนข้างรุนแรง ลุกขึ้นก็ทรงตัวไม่อยู่ ต้องนอนนิ่งหลับตา พอเปลี่ยนท่าก็ทำให้อาการมากขึ้น ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ระยะเวลาของอาการเวียนศีรษะแต่ละครั้งที่เป็นนานมากกว่า 20 นาทีถึงหลาย ๆ ชั่วโมง โดยที่คนไข้ไม่มีอาการหมดสติหรืออ่อนแรงร่วมด้วย การซักประวัติเรื่องระยะเวลาที่มีอาการและความถี่บ่อยของโรค ช่วยทำให้แพทย์วินิจฉัยแยกจากโรคอื่นได้ง่ายขึ้น
  • หูอื้อ ประสาทหูเสื่อมเป็น ๆ หาย ๆ ระยะแรกมักมีอาการชั่วคราว กล่าวคือเมื่อมีอาการเวียนศีรษะทุเลาอาการหูอื้อก็หายไปด้วย ในผู้ป่วยที่มีอาการซ้ำ ๆ หลาย ๆครั้งอาจทำให้การได้ยินเสื่อมลงถาวรได้
  • เสียงดังในหู อาจเป็นเสียงหึ่ง วี้ เสียงลม เสียงจักจั่น เสียงดังในหูสามารถรบกวนจนทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ หงุดหงิดได้เลยทีเดียว
  • อาการหนัก ๆ หน่วง ๆ ในหู คล้ายมีแรงดัน

น้ำในหูส่วนไหนนะที่ไม่เท่ากัน มีน้ำแฉะ ๆ ในหูทำให้เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันหรือไม่
หูของคนเราแบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน หูชั้นในมีหน้าที่ควบคุมเรื่องการได้ยินและการทรงตัว ผู้ป่วยน้ำในหูไม่เท่ากันจะมีของเหลวในหูชั้นในคั่งอยู่มากกว่าปกติ แรงดันที่เพิ่มขึ้นได้ไปขวางการทำงานของกระแสประสาท ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหูอื้อและเวียนศีรษะ ดังนั้นผู้ป่วยที่หูชั้นนอกอักเสบ ปวดบวม หรือมีน้ำแฉะภายในช่องหูด้านนอก จะไม่ทำให้เกิดโรคนี้เลย

 มีโอกาสเป็นซ้ำอีกได้มากน้อยแค่ไหน
ผู้ป่วยที่มีความเครียด อดนอน ไม่ค่อยออกกำลังกาย อาการมักกำเริบได้บ่อยกว่าคนที่ดูแลสุขภาพอย่างดี ดังนั้นการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง การลดอาหารที่มีรสเค็ม หลีกเลี่ยงชากาแฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ช่วยให้อาการไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก

ขณะที่มีอาการควรทำตัวอย่างไร
เมื่อรู้สึกว่าเริ่มมีอาการไม่ต้องตกใจ ควรหยุดพัก ถ้าเกิดอาการขึ้นในขณะขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักรต้องหยุดทันที นอนพักจนกว่าอาการจะดีขึ้น อย่าเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนท่ากะทันหัน งดอาหารที่มีรสเค็ม โดยจำกัดเกลือในอาหารไม่ควรเกินวันละ 2 กรัมต่อวัน งดเหล้า บุหรี่ ชากาแฟ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นควรรีบมาพบแพทย์

โรคน้ำในหูไม่เท่ากันนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มักพบบ่อยในคนวัยทำงาน เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ อาการอาจเกิดขึ้นได้ในหูข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อาการเวียนศีรษะเกิดได้จากหลายสาเหตุ การวินิจฉัยโรคน้ำในหูไม่เท่ากันของแพทย์มักใช้การซักประวัติอย่างละเอียดเป็นหลัก อาจร่วมกับการตรวจพิเศษอย่างอื่นเพื่อแยกโรคที่อาจเป็นสาเหตุอื่น ๆ

การตรวจพิเศษในคลินิก หู คอ จมูก ได้แก่

  • การตรวจระดับการได้ยิน (Audiogram)
  • การตรวจการทรงตัว (Electronystagnography; ENG)
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าในหูชั้นใน (Electrocochleography; ECOG)
  • การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Audio Brainstem Response)
  • MRI, CT Scan สมอง เพื่อช่วยแยกโรคที่สงสัยว่าเกิดจากเนื้องอกที่เส้นประสาท

ทั้งนี้แพทย์จะเลือกส่งตรวจพิเศษในกรณีที่สงสัยเท่านั้น

ทานยาจะหายหรือไม่
ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นหลังจากรับประทานยา แพทย์จะสั่งยาขยายหลอดเลือดเพื่อลดการบวมและการคั่งของน้ำในหูชั้นใน ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้ อาเจียน โดยให้รับประทานในขณะที่มีอาการ ส่วนยาอื่น ๆ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยากล่อมประสาท ยานอนหลับก็ช่วยทำให้อาการดีขึ้นอย่างมาก แพทย์อาจแนะนำท่าบริหารระบบการทรงตัวซึ่งจะช่วยทำให้สมองสามารถปรับตัวได้เร็วขึ้น

เนื่องจากโรคนี้มีโอกาสจะเกิดอาการได้หลาย ๆ ครั้ง จึงถือว่าไม่หายขาด คุณมีโอกาสจะเกิดอาการขึ้นได้อีก ผลที่อาจเกิดขึ้นร่วมด้วยตามมาได้ คือ ลื่นล้มกระแทก เกิดอุบัติเหตุถ้าเกิดอาการขณะขับรถหรือกำลังทำงานกับเครื่องจักร ซึมเศร้ากังวล หรือมีอาการหูอื้อถาวร

การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อน ลดความเครียด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ชากาแฟ และอาจมียาแก้เวียนศีรษะติดบ้านไว้เสมอ มีน้อยรายเท่านั้นที่ทานยาแล้วไม่ได้ผลจนต้องรักษาโดยการผ่าตัด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกโรคหู คอ จมูก
โทร. 0 2265 7777 

แพทย์ผู้เขียน

สิริพร ชีเจริญ

โสต-ศอ-นาสิกแพทย์

บทความของแพทย์

ข้อมูลของแพทย์

โปรดทราบ: ต้องมี JavaScript สำหรับเนื้อหานี้

ให้คะแนนบทความนี้

[คะแนนบทความนี้: 2.8]

Facebook

Line

//www.sexvibe.video/

โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

เรายึดมั่นในหลักการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการดูแลและติดตามผลการรักษาจากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด

ถ้าน้ำในหูไม่เท่ากันควรทำอย่างไร

รักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากันได้อย่างไร สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถควบคุมอาการเวียนศีรษะได้ด้วยยารับประทาน แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดยาผ่านเยื่อแก้วหูเข้าไปในหูชั้นกลางเพื่อให้ยาซึมผ่านเข้าไปออกฤทธิ์ที่หูชั้นใน หรือในรายที่ใช้ยาไม่ได้ผลอาจต้องผ่าตัด แต่ก็เป็นส่วนน้อย

โรคน้ําในหูไม่เท่ากันรักษาหายไหม

HIGHLIGHTS: โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ไม่มีวิธีรักษาที่ทำให้โรคหายขาดได้ อาการของผู้ป่วย ส่วนใหญ่สามารถควบคุมได้ด้วยยา และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง นอกเหนือจากอาการเวียนหัวแล้ว ยังมีอาการอื่นๆด้วยเช่น หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด รู้สึกแน่นในหูเป็นๆ หายๆ มีเสียงดังในหู

โรคน้ําในหูไม่เท่ากัน อันตรายไหม

อาการของน้ำในหูไม่เท่ากันสามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย อาจทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะอาการวิงเวียนศีรษะอาจทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการล้มลงไปที่พื้น เกิดอุบัติเหตุในขณะขับขี่ยานพาหนะ หรือในระหว่างการทำงานกับเครื่องจักรได้ รวมถึงอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินไปอย่างถาวร เป็นต้น

น้ำในหูไม่เท่ากันเกิดจากสาเหตุใด

“โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” เป็นชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปของโรคเมเนียร์ (Meniere's disease) แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ แต่ก็พบว่าอาการของโรคเมเนียร์ เป็นผลมาจากความผิดปกติ ของน้ำที่อยู่ภายในหูชั้นใน (Endolymp) นั้นคือ มีแรงดันของน้ำในหูมากเกินปกติ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 30-50 ปี โดยมักพบบ่อยขึ้น เมื่อ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง