การสื่อสารผิดพลาด ตัวอย่าง

ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร ถือว่าเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกอยู่ภายในวัฒนธรรมองค์กร ผู้บริหารหรือพนักงานจำนวนมากต่างประสบกับปัญหานี้ ทั้งในส่วนของต้นเหตุ หรือ ได้รับผลกระทบไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง

สารบัญ

โลกการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป

สิ่งที่องค์กรธุรกิจ หรือคนทำงานเผชิญอยู่ในขณะนี้และจะเกิดต่อไปในอนาคต  กำลังถูกขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลที่เป็นอัจฉริยะของโลก  ผ่านผลงานการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในระดับสุดที่จะจินตนาการ อินเตอร์เน็ตบนมือถือ Social Media ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เคยไปเดินจับจ่ายซื้อของในห้างสรรพสินค้า เปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ห้างเพื่อเป็นเพียงสถานที่ดูและทดลองสินค้า   และหันกลับไปตัดสินใจซื้อและจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์บนมือถือ

ลองนึกภาพเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน (Drone) กำลังคืบคลานเข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าวงการขนส่งสินค้าไปสู่มือผู้รับ  Google พัฒนารถยนต์ที่สามารถพาเราไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องอาศัยคนขับรถอีกต่อไป  Tesla Motor พัฒนาโรงงานผลิตรถยนต์โดยไม่ต้องอาศัยแรงงานคน หรือใกล้ตัวเราก็คือ โรงงานผลิตอาหารของ CP ที่ เมืองฉินหวงเต่า มณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน พัฒนาโรงงานจนสามารถผลิตอาหารสำเร็จรูป เช่น เกี๊ยว หรือ ข้าวกล่อง โดยใช้เครื่องจักรระบบสายพานอัตโนมัติทั้งหมด

อีกไม่ช้าเราทุกคนจะพบกับมหาสึนามิที่จะถาโถมเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนทำงานโดยเฉพาะงานบริการ จำนวนกว่าครึ่งโลกนั่นคือ การพัฒนาเทคโนโลยี AI (ปัญญาประดิษฐ์) ที่จะช่วยให้หุ่นยนต์เกิดกระบวนการในการคิดวิเคราะห์แยกแยะและตัดสินใจได้เอง จนมีคนเคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าหุ่นยนต์สามารถทำงานได้เท่ามนุษย์ หรือ อาจจะดีกว่ามนุษย์ แล้วต่อจากนี้ไปมนุษย์จะไปทำอะไรกัน”

องค์กรธุรกิจเท่าที่ผมได้รู้จักและเคยร่วมงานต่างแสดงออกถึงความกระตือรือร้นในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนของเกมส์ธุรกิจรอบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น มีความพยายามที่จะพัฒนาระบบการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกระบบงาน โดยยึดถือสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในปัจจุบันนั่นก็คือ ความรวดเร็ว (Speed)  

แน่นอนครับ ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านก็รู้เช่นเดียวกับที่ผมรู้ว่า ทุกครั้งที่องค์กรพยายามจะเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ สิ่งยากสุด คือ เรื่องของคนในองค์กรที่เป็นตัวเหนี่ยวรั้งให้การเปลี่ยนแปลงไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วตามที่ควรจะเป็น ท่านผู้อ่านลองหลับตานึกถึงการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุดในองค์กรของท่านดูครับว่าบรรยากาศเป็นอย่างไร เอาแค่เรื่องง่ายๆก่อนก็ได้  เช่น การออกระเบียบให้พนักงานขายมัดผมระหว่างทำงาน การห้ามสวมรองเท้าแตะในสำนักงาน แค่นี้ก็มีเสียงต่อต้านอื้ออึงดังเป็นระยะในสำนักงานแล้ว นี่ขนาดว่ายังไม่ต้องไปพูดถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน หรือการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสายงานนะครับ

องค์กรคงประสบกับความยากลำบากหรือความอึดอัดในการที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตาม หากขาดการสื่อสารภายในที่ดีเพียงพอมี เจอปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่ต้องได้รับการแก้ไข

ท่านผู้อ่านที่เป็นเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร หรือ พนักงานเคยรู้สึกแปลกใจไหมว่าทุกวันนี้เรามีเทคโนโลยีการสื่อสารมากมายที่เข้ามาช่วยให้การติดต่อระหว่างกันมีความง่าย สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เรามีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง มือถือ มีอีเมล์  ระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร และปัจจุบันเรามีโปรแกรมสนทนาที่เรียกว่า LINE เข้ามามีส่วนพัวพันกับการสื่อสารเรื่องต่างๆ ในชีวิตเรามากขึ้น  แต่กลับกลายเป็นว่าการสื่อสารภายในองค์กรของเรากลับไม่ได้ดีขึ้นตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นในระดับที่ทัดเทียมกันสักเท่าไหร่

ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร 5 ประการ

ไม่สื่อสาร หรือ พูดคุยปัญหาอย่างตรงไปตรงมาระหว่างบุคคล

จากการที่ผมเก็บข้อมูลมาตลอด 10 ปี พบว่าปัญหาการสื่อสารภายในที่พบเจอบ่อยครั้งและเป็นเหมือนวัฒนธรรมองค์กรของประเทศไทย คือ เวลาที่เรามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น เรามักไม่หยิบยกปัญหาเหล่านั้นมานั่งพูดคุยปรึกษากันอย่างตรงไปตรงมา เราเลือกที่จะเก็บซุกซ่อนปัญหาไว้ ทำเพิกเฉย จนหลายครั้งปัญหาลุกลาม จากปัญหาเพียงเล็กน้อยกลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างผลกระทบและยากที่จะแก้ไข เช่น พนักงานขายหน้าร้านมีปัญหาการให้บริการกับลูกค้าบางท่าน อาจเป็นเพียงเรื่องความสับสนในขั้นตอนการให้บริการ

แทนที่เมื่อเกิดปัญหาแล้ว  จะเอาสิ่งที่เกิดขึ้นมานั่งวิเคราะห์พูดคุยกันภายในองค์กรเพื่อปรับระบบหรือสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน พนักงานคนนั้นกลับเลือกที่จะเก็บเงียบปัญหาไว้ ไม่มีการรายงานปัญหาให้หัวหน้าหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เวลาผ่านไปไม่นานองค์กรกลับพบว่าลูกค้าที่ไม่พอใจนำเรื่องที่เกิดขึ้นไปเขียนโพสต์ไว้ตามสื่อสังคมออนไลน์ กระจายไปในวงกว้าง  สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับบริษัท จนชื่อเสียงบริษัทย่อยยับไปนักต่อนัก

การที่คนในองค์กรไม่สื่อสารปัญหากันอย่างตรงไปตรงมา อาจเกิดจากวัฒนธรรมของสังคมเราที่ไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง กลัวจะเสียหน้า เสียฟอร์ม กลัวไม่เป็นที่รักของเพื่อนฝูง ยึดความสัมพันธ์มากกว่าผลลัพธ์จากการทำงาน การเคารพผู้ที่อาวุโสกว่า ห้ามเถียง ห้ามคัดค้าน ต้องเชื่อฟังคำสั่ง เวลาที่จะแสดงความคิดเห็นหรือเหตุผลที่แตกต่างก็มักจะถูกตำหนิว่าก้าวร้าว ไม่ให้เกียรติ  โดยที่ยังไม่ได้ฟังสิ่งที่เด็กกำลังจะให้เหตุผลของเขา สิ่งที่ฝังรากลึกในความเชื่อเหล่านี้ทำให้บางองค์กรมีปัญหาซุกซ่อนไว้เป็นจำนวนมาก เวลาที่สะบัดพรมขึ้นมาทีฝุ่นจึงตลบอบอวลไปทั่วองค์กร เมื่อไม่สื่อสารปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ก็เท่ากับว่าปล่อยปัญหาเหล่านั้นทิ้งไว้ องค์กรก็มีสภาพไม่ต่างจากคนอมโรค แล้วจะมีแรงเพียงพอสำหรับพัฒนาขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างไร

แสดงพฤติกรรมการสื่อสารแบบไม่สร้างสรรค์

หลายคนที่ต้องทำงานประสานงานร่วมกัน กลับมีวิธีการสื่อสารที่แสดงออกถึงพฤติกรรมการสื่อสารที่ไม่สร้างสรรค์ ไม่เหมาะสมกับการสร้างความร่วมมือ เช่น การใช้คำพูด น้ำเสียง ท่าทาง อากัปกิริยาที่สร้างความขุ่นข้องหมองใจให้กัน ไม่ให้เกียรติ ไม่เคารพศักดิ์ศรี และทำให้อีกฝ่ายรู้สึกต่ำต้อย ถ้าท่านผู้อ่านนึกภาพไม่ออกว่าพฤติกรรมการสื่อสารที่ไม่สร้างสรรค์เป็นอย่างไร ก็ลองจินตนาการถึงภาพของการไปติดต่อหน่วยงานราชการสมัยก่อน ที่มักเจอข้าราชการพูดจาไม่ดี น้ำเสียงดุดัน ชักสีหน้า ทำท่าน่าเบื่อและไม่สนใจตอบคำถามเราเวลาที่เราสงสัยและถามอะไรเกี่ยวกับขั้นตอนและเอกสารของทางราชการที่เยอะแยะมากมายจนน่าปวดหัว แต่น้ำเสียงของเขาจะดังขึ้นมาทันที แสดงท่าทางออกมาอย่างเกรี้ยวกร้าวเวลาที่เราทำอะไรงกๆเงินๆ ผิดพลาดเนื่องจากเราไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูด จนบางครั้งเราก็สงสัยว่าทำไมเขาต้องโกรธเราขนาดนั้นทั้งที่เราก็ไม่ได้ไปเผาบ้านเขาสักหน่อย

การแสดงพฤติกรรมการสื่อสารที่ไม่สร้างสรรค์ที่ปรากฎในหน่วยงานราชการสมัยก่อนตามที่ผมยกตัวอย่างเมื่อสักครู่นี้เริ่มพบเห็นน้อยลง เพราะระบบราชการของไทยก็ได้นำระบบการบริการโดยเฉพาะการปลูกฝังวิธีคิดของผู้ให้บริการในภาคเอกชนเข้ามาเป็นตัวอย่างซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี เพราะทุกวันนี้สังคมโลกพยายามส่งเสริมให้คนเห็นคุณค่าของความเป็นคน เคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ ยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สวยงาม เพราะเรายังคงมีเลือดเนื้อและจิตใจที่หุ่นยนต์ยังเข้ามาแทนที่ไม่ได้ ผมเรียกมันว่า ความเห็นอกเห็นใจกันในฐานะของเพื่อนมนุษย์

การสื่อสารข้อมูลไม่ครบถ้วน ขาดความชัดเจน

ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในระหว่างการทำงานติดต่อประสานงานระหว่างกัน เกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่กระบวนการรับสารตั้งตนที่ไม่ครบถ้วนอันเกิดจากขาดความสนใจเอาใจใส่ หรือการมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นๆไม่ดีเพียงพอในการสร้างความเข้าใจให้ตนเอง ขนาดตนเองยังไม่เข้าใจสิ่งเหล่านั้นเพียงพอแล้ว เมื่อเวลาต้องไปสื่อสารให้คนอื่นทราบก็ยิ่งจะสับสนกันไปใหญ่ กลายเป็นว่ารู้ครึ่งหนึ่งคิดเองอีกครึ่งหนึ่ง  ยิ่งสื่อสารยิ่งเพี้ยนไปกันใหญ่ เพราะโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เราจะสื่อสารเรื่องต่างๆออกไปโดยอิงกับความรู้และประสบการณ์เดิมที่ตนเองคุ้นเคยมาก่อน  และมักมีสมมติฐานในใจว่าคนอื่นก็รู้ ก็เคยผ่านประสบการณ์แบบที่ตนเองมี  พูดแค่นี้น่าจะรู้เรื่องไม่เห็นต้องให้อธิบายอะไรให้ยืดยาวเสียเวลาเลย

ในความเป็นจริงคนอื่นอาจไม่มีพื้นฐานเรื่องนั้นมาเลยก็เป็นไปได้  ปัญหานี้ผมมักพบเจอกับหน่วยงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะเช่นฝ่าย IT ฝ่ายบัญชี และฝ่ายกฎหมาย ที่มักสื่อสารแบบสั้นๆ ด้วยศัพท์เฉพาะที่คนในหน่วยงานเขาใช้สื่อสารแบบง่ายก็เข้าใจตรงกันแล้ว แต่เมื่อต้องไปสื่อสารกับหน่วยงานอื่นที่ไม่ได้มีพื้นความรู้ด้านต่างๆดังที่ได้กล่าวมา ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กรที่เกิดขึ้นระหว่างกันจึงกลายเป็นการสื่อสารที่ไม่ครบถ้วน ไม่ชัดเจน จนนำไปสู่การปฏิบัติที่ผิดพลาดและสร้างความเบื่อหน่ายในการติดต่อประสานงานระหว่างกัน

ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร แบบทางเดียว และไม่สร้างการมีส่วนร่วม

มักพบปัญหาการสื่อสารภายในองค์กรแบบนี้เกิดขึ้นกับระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ โดยผู้บริหารหรือหัวหน้ามักมีวิธีการสื่อสารแบบแจ้งให้ทราบเพื่อให้คนอื่นปฏิบัติตามที่สั่งลงมา โดยลืมไปว่าคนทำงานทุกคนจะอยากให้ความร่วมมือปฏิบัติตามสิ่งที่บอกลงมาเมื่อพวกเขารู้สึกว่าวิธีการหรือนโยบายดังกล่าวนั้นพวกเขาได้มีส่วนร่วมในการกำหนดชะตาชีวิตตนเอง ไม่มีมนุษย์คนไหนชอบอยู่ในสภาวะการณ์แบบการกดขี่หรือถูกบังคับ ทั้งนี้จากการที่พวกเราทุกคนรู้อยู่แล้วว่ามนุษย์มีศักดิ์ศรีและต้องการรักษามันไว้ยิ่งกว่าสิ่งใด

การสื่อสารทางเดียวโดยขาดการมีส่วนร่วมถือเป็นหนึ่งในวิธีการลดทอนศักดิ์ศรีของคนที่ต้องทำงานร่วมกัน ในทางกลับกันการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม คือ การรับฟัง การให้โอกาสในการแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือคัดค้าน การให้เขาได้ช่วยเสนอแนะหนทางออกของการแก้ไขปัญหา ล้วนแต่ทำให้คนรู้สึกถึงการมีส่วนร่วม ความจริงใจของการอยู่ร่วมกัน เขาจะยิ่งให้ความร่วมมือ

เลือกช่องทางและวิธีการสื่อสารที่ผิดพลาด

ทั้งนี้การสร้างความร่วมมือ สร้างความเข้าใจในการสื่อสารภายในองค์กร ผู้ที่ส่งสารควรตระหนักถึงความเหมาะสมในการเลือกช่องทางการสื่อสารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เพราะปัญหาการสื่อสารภายในองค์กรข้อที่ 5 พบว่า หลายเรื่องควรมีการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจ เรากลับเลือกวิธีการส่งอีเมล์ ซึ่งเหมาะสมกับการแจ้งข่าวสารมากกว่าสร้างการมีส่วนร่วม หรือบางครั้งเรื่องไม่สำคัญ แค่แจ้งให้รับรู้ก็อาจเลือกวิธีการส่งอีเมล์ก็เพียงพอจะได้ไม่เสียเวลา ผู้บริหารบางคนกลับใช้วิธีการเรียกประชุมแล้วก็นำเวทีของการประชุมในครั้งนั้นเป็นที่ระบายอารมณ์ใส่ผู้ร่วมงาน ทั้งนี้เรื่องสำคัญ เร่งด่วนโทรหากันง่ายกว่าส่ง LINE ครับ

สรุป

ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร ทั้ง 5 ข้อนี้เกิดขึ้นมากน้อยแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมที่ปลูกฝังกันมาอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจในแต่ละองค์กรมาเป็นเวลายาวนาน หากแก้ตรงจุดนี้ไม่ได้ คงเป็นการยากที่จะสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในองค์กรในการขับเคลื่อนไปสู่สนามการแข่งขันทางธุรกิจอันท้าทายครั้งใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ได้ และที่ยิ่งเลวร้ายที่สุดคือ การทำลายสัมพันธภาพระหว่างบุคคลจนหลายครั้งทำให้สูญเสียความสัมพันธ์ที่ดีที่เคยมีกันมาช้านานในอดีต ทั้งที่แต่ละฝ่ายอาจไม่ได้ตั้งใจทำสิ่งไม่ดี ทั้งที่แต่ละคนก็ไม่ใช่คนเลวร้าย แต่ปัญหาการสื่อสาร หรือความไม่เข้าใจดังกล่าวทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงเรื่อยๆ แบบนี้น่าเสียดาย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง