การบริหาร จัดการ ชุมชน ควร คำนึง ถึง องค์ประกอบ การขับเคลื่อน ชุมชน ด้าน ใด บ้าง

โครงสร้างของชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

1. กลุ่มคน หมายถึง การที่คน 2 คนหรือมากกว่านั้นเข้ามาติดต่อเกี่ยวข้องกัน และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันทางสังคมในชั่วเวลาหนึ่งด้วย ความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน

2. สถาบันทางสังคม เมื่อคนมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มแล้ว และมีวิวัฒนาการไปถึงขั้นตั้งองค์กรทางสังคมแล้ว ก็จะมีการกำหนดแบบแผนของการปฏิบัติต่อกันของสมาชิกในกลุ่มเพื่อสามารถดำเนินการตามภารกิจ

3. สถานภาพและบทบาทสถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งทางสังคมของคนในกลุ่มหรือสังคมบทบาทหมายถึง พฤติกรรมที่คนในสังคมต้องทำตามสถานภาพในกลุ่มหรือสังคมชุมชนที่มีความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีองค์ประกอบสำคัญหลายประการและสามารถพัฒนาหรือควบคุมองค์ประกอบเหล่านั้นได้ โดยมีนักวิชาการหลายท่านที่ได้ศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาชุมชนไว้ตามแนวคิดการพัฒนาชุมชน ดังต่อไปนี้ สนทยา พลตรี (2533 : 65 – 68) ได้กล่าวถึงการพัฒนาชุมชนว่ามีองค์ประกอบ 2 ประการ สรุปได้

ดังนี้

1. การเข้ามีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อที่จะปรับปรุงระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยจะต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และควรเป็นความริเริ่มของชุมชนเองด้วย

2. การจัดให้มีการบริการทางเทคนิคและบริการอื่นๆที่จะเร่งเร้าให้เกิดความคิดริเริ่ม การช่วยเหลือตนเอง ช่วยเหลือกันและกัน อันเป็นประโยชน์มากที่สุด

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2539 : 1 – 2) ได้กล่าวถึงลักษณะการพัฒนาคนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจถือว่าเป็นองค์การพัฒนาชุมชนด้วย สรุปได้ดังนี้

1. การพัฒนาคนประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้

ด้านจิตใจ

ด้านร่างกาย

ด้านสติปัญญา

ด้านบุคลิกภาพ

2. การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนา ประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้

ด้านเศรษฐกิจ

ด้านครอบครัวและชุมชน

ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ด้านการบริหารจัดการและการเมือง

สุพัตรา สุภาพ (2536 : 124 – 126) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งเป็นองค์ประกอบการพัฒนาชุมชน ว่ามี 7 ประการดังนี้

1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หากมีความสมบูรณ์จะส่งผลให้ชุมชนมีการพัฒนาได้รวดเร็วและมั่นคง

2. การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร การเพิ่มประชากรที่มีคุณภาพสามารถทำให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ทันสมัยขึ้น

3. การได้อยู่โดดเดี่ยวและติดต่อเกี่ยวข้อง ชุมชนใดที่มีการติดต่อกันทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว

4. โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรม ชุมชนที่มีการเคารพผู้อาวุโสจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยค่านิยมต่างๆ ช่วยให้รู้ว่าชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดการพัฒนาขึ้นมากน้อยเพียงไร

5. ทัศนคติและค่านิยม การมีค่านิยมด้านอาชีพ ด้านบริโภค เป็นส่วนของการจัดการ

พัฒนาในชุมชนนั้นได้

6. ความต้องการรับรู้ การยอมรับสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ จะเป็นเครื่องชี้ทิศทางและอัตราการเปลี่ยนแปลงของชุมชน

7. พื้นฐานทางวัฒนธรรม ถ้ามีฐานที่ดีสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นย่อมดีตามพื้นฐานเดิมด้วย

พลายพล คุ้มทรัพย์ (2533 : 44 – 47) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่สามารถใช้ในการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบการพัฒนาชุมชน ว่าประกอบด้วย 3 ปัจจัย ดังนี้

1. โครงสร้างทางสังคม ครอบครัวที่มีขนาดเล็กและมีโครงสร้างไม่ซับซ้อนจะส่งผลให้ชุมชนนั้นพัฒนาได้ดีกว่าชุมชนที่มีโครงสร้างทางครอบครัวที่ซับซ้อน

2. โครงสร้างทางชนชั้น ในชุมชนที่มีโครงสร้างแบบเปิด ที่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานะทางสังคมได้ง่าย ชุมชนนั้นจะเกิดการพัฒนา

3. ความแตกต่างทางเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ และศาสนา ความแตกต่างหากเกิดขึ้นในชุมชนใดย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ตามลำดับความแตกต่างยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2531 : 58 – 63) กล่าวถึงปัจจัยที่เกื้อกูลให้การพัฒนาชนบทบรรลุความสำเร็จ

จำเป็นต่อการพัฒนา ว่าด้วยองค์ประกอบ และส่วนประกอบย่อยขององค์ประกอบ ดังนี้

1. นโยบายระดับชาติ ฝ่ายบริหารจะสามารถดำเนินการแผนพัฒนาได้ต่อเนื่อง และมีเวลาพอที่จะเห็นความถูกต้อง คุ้มค่า มีแนวทางประสานประโยชน์ระหว่างรัฐและเอกชน และความร่วมมือระหว่างประเทศจะต้องเกื้อกูลต่อการพัฒนา

2. องค์การบริหารการพัฒนาชนบท ที่มีองค์กรกลางทำ หน้าที่ประสานนโยบายแผนงานและโครงการอย่างมีประสิทธิภาพและมีอำนาจเด็ดขาดในการลงทุนในหน่วยปฏิบัติต้องดำเนินการตามนโยบาย แผนงาน และโครงการในแผนระดับชาติ และจัดงบประมาณการติดตามควบคุมที่มีประสิทธิภาพ

3. วิทยาการที่เหมาะสมและการจัดการบริการที่สมบูรณ์ เลือกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับความเป็นจริง และเลือกวิทยาการที่ประชาชนจะได้รับให้เหมาะสม

4. การสนับสนุนระดับท้องถิ่น ความรับผิดชอบของการสนับสนุนงานในท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพจะเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริงในระยะยาว

5. การควบคุมดูแลและติดตามผลการปฏิบัติงาน ควรเป็นไปตามแผนงานและโครงการทุกระดับและครอบคลุมทุกพื้นที่ พร้อมทั้งให้สถาบันการศึกษาท้องถิ่นติดตามประเมินผลอัชญา เคารพาพงศ์ (2541 : 82 – 83) กล่าวถึงปัจจัยส่วนประกอบที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา สรุป

ได้ดังนี้

1. ผู้นำ ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการในหมู่บ้าน และจากองค์กรภาครัฐ มีส่วนให้ชุมชนพัฒนาในทางที่ดีขึ้น เป็นประโยชน์ ชุมชนมีเจตคติที่ดียอมรบั สงิ่ ใหม่และสร้างพลังต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง

2. สังคม – วัฒนธรรม การได้รับวัฒนธรรมจากสังคมเมืองมาปฏิบัติทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง

3. สิ่งแวดล้อม การปรับปรุงสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ชุมชน ส่งผลให้ที่ดินอุดมสมบูรณ์ราคาสินค้าเกษตรดี ความเป็นอยู่สะดวกสบายกว่าเดิม

4. ประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญในอดีตมีผลต่อการพัฒนาความสามัคคี รักพวกพ้อง ช่วยเหลือซึ่งกันและกันปรียา พรหมจันทร์ (2542 : 25) ได้สรุปองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยการพัฒนาชุมชนได้ดังนี้

1. ด้านเศรษฐกิจ ชุมชนที่เศรษฐกิจดีการพัฒนาชุมชนสามารถพัฒนาได้ดีด้วย

2. ด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เป็นบริบทที่ปรับเปลี่ยนสภาพชุมชนไปตามปัจจัย

3. ด้านการเมือง หมายรวมถึงการเมืองระดับชาติและชุมชนระดับท้องถิ่น

4. ด้านประวัติศาสตร์ โดยอาศัยประสบการณ์และวิกฤตของชุมชนเป็นฐานและบทเรียนการพัฒนาชุมนุมปัจจัยโดยตรง เช่น คน ทุน ทรัพยากร การจัดการ เป็นต้น และปัจจัยโดยอ้อม เช่น ภาวะเศรษฐกิจ สังคมการเมือง การปกครอง เป็นต้นไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (2549) ได้กล่าวถึงการสร้างและพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มีปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบการพัฒนาชุมชน ดังนี้

1. สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี มีโอกาสในอาชีพ และกิจกรรมที่หลากหลาย รวมไปถึงวิถีชีวิตศิลปวัฒนธรรม ความอบอุ่น ความสุข ความเจริญก้าวหน้าที่พึงคาดหวังในอนาคตด้วย

2. ระบบการศึกษาของชาติ มีเป้าหมายในการผลิตคนเพื่อการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่น ให้เป็นที่พึงปรารถนาของท้องถิ่นเพียงไร

3. รัฐธรรมนูญและนโยบายของรัฐ ที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เป็นที่พึงปรารถนาน่าอยู่บทบาทของชุมชน มีสิ่งสำคัญ 3 ประการ คือ ความรักและความดี การเรียนรู้ที่มากกว่าความรู้ และการจัดการกับปัจจัยชุมชนต่างๆ

กิจกรรมที่ชุมชนต้องรับผิดชอบคือ

- ตั้งคณะกรรมการบริหาร

- ประเมินสภาพของชุมชน

- เตรียมแผนการปฏิบัติ

- หาทรัพยากรที่จำเป็น

- ทำ ให้แน่ใจว่ากิจกรรมของชุมชนทั้งหมด จะต้องมีการติดตามและการบริหารที่มี

ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการปฏิบัติงาน กระบวนการชุมชน

1. วิเคราะห์ชุมชน

2. การเรียนรู้และการตัดสินใจของชุมชน

3. การวางแผนชุมชน

4. การดำเนินกิจกรรมชุมชน

5. การประเมินผลการดำเนินงานของชุมชน องค์ประกอบการขับเคลื่อนชุมชน

1. โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมของชุมชน

2. ความคิดพื้นฐานของประชาชน

3. บรรทัดฐานของชุมชน

4. วิถีประชาธิปไตย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง