ตัวอย่างการจัดการทรัพยากรในชุมชน

เมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน มนุษย์ก็จะรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่ม สร้างบ้านเรือนแหล่งที่อยู่อาศัย ทำไร่ทำนาเลี้ยงสัตว์ มีกิจกรรมร่วมกัน และมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มในลักษณะนี้เรียกว่าชุมนุมชนภายหลังจากที่มนุษย์รวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่ม โดยเลือกสถานที่ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยแล้ว มนุษย์ก็ได้เริ่มจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวมนุษย์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการดำรงชีพ ความสะดวกสบาย ในความเป็นอยู่และความปลอดภัยในชีวิต สิ่งรอบ ๆ ตัวที่มนุษย์เข้าไปจัดการนั้น บางครั้งมนุษย์แสวงหามาเอง บางครั้งสร้างให้มันเกิดขึ้น และบางครั้งก็ตกแต่ง ดัดแปลงปรับปรุง และใช้ธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่เองนั้น ในลักษณะที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของชุมชนสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ล้อมรอบตัวมนุษย์ภายในบริเวณชุมนุมชนมีทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาไว้ในชุมชน รวมเรียกกันว่า "สิ่งแวดล้อมชุมชน" อาจจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ อาจจะเป็นสิ่งที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้แต่ทุกอย่างจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันเป็นวงจร

สิ่งแวดล้อมในชุมนุมอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ มหาสมุทร พื้น ดิน แร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้และสัตว์อื่น ๆ เป็นต้น2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรียน ถนน รถยนต์ เขื่อนเก็บน้ำ ตลอด จนขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจและสังคมด้วยสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นชุมชน โดยมีขนบธรรมเนียบประเพณี ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้นและข้อจำกัดทางธรรมชาติเป็นกฎเกณฑ์และเป็นหลักสำหรับการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เพื่อให้เกิดการดำรงชีวิตอย่างผาสุกและเสริมสร้างคุณภาพแห่งชีวิตในแต่ละชุมชนก็จะมีสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ทัศนคติ และนิสัยใจคอของผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชนด้วย เช่น บางแห่งอาจอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ บางแห่งอาจมีความกว้างใหญ่ไพศาลของทะเลและบางแห่งก็สลับซับซ้อนด้วยทิวเทือกเขา มีภูเขามาก สิ่งแวดล้อมในบางแห่งเหมาะที่จะใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว บางแห่งก็เหมาะที่จะใช้ทำการเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งแต่ละชุมชนต่างได้รับประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไป ตามลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ และโดยความเป็นจริงแล้วสิ่งแวดล้อมได้ให้ประโยชน์แก่คนในชุมชนนั้นอย่างมากมายมหาศาล เราใช้สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต เป็นปัจจัยในการประกอบอาชีพ ให้เป็นกฎเกณฑ์และแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิตของสังคม ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งรวมของความสวยงามตามธรรมชาติ และเป็นแหล่งที่เราสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติได้
มนุษย์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้อาศัยและใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการอยู่รอดของชีวิต มนุษย์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ดังนั้นการกระทำของมนุษย์จึงมีผลกระทบกระเทือนต่อสิ่งแวดล้อม ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่เราเรียกกันว่าระบบนิเวศวิทยา ผลกระทบกระเทือนนั้นเป็นไปได้ทั้งในทางสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น หรือในทางทำลายให้เลวลง ผลกระทบกระเทือนนี้เกิดขึ้นทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม มีมากบ้างน้อยบ้างตัวอย่างง่าย ๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงการกระทำที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าเราต้องการรับประทานอาหาร เราต้องเอาพืช ผลไม้ จากในป่าหรือต้องใช้ที่ดินเพาะปลูก ถ้าเราต้องการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ก็จำเป็นต้องตัดต้นไม้ในป่าเอามาสร้างบ้านจะทำให้จำนวนต้นไม้ ป่าไม้ ลดลง และถ้าลดลงมาก ๆ จะทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุล ความสัมพันธ์ในระหว่างสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป ฝนอาจจะตกน้อยจนทำให้แห้งแล้ง หรืออาจจะเกิดน้ำท่วมได้ เพราะไม่มีป่าไม้ที่ช่วยทำให้น้ำถูกดูดซึมซับอยู่ใต้ดิน ในขณะเดียวกันถ้าเราช่วยกันปลูกต้นไม้ ไม่ว่าจะต้นเล็กหรือต้นใหญ่ก็ตามจะช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนของเราดีขึ้น จะมีต้นไม้เขียวชอุ่มมาก ป่าไม้ก็อุดมสมบูรณ์ ซึ่งก็มีส่วนทำให้ฝนตก ไม่แห้งแล้ง และยังช่วยไม่ให้เกิดน้ำท่วมได้ เพราะน้ำจะถูกดูดซึมไว้ในป่าและถูกปล่อยให้เราได้ใช้กันตลอดทั้งปี ด้วยวิถีทางธรรมชาติ ต้นไม้ยังช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์ด้วย เพราะในเวลากลางวันต้นไม้จะหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และคายก๊าซอ๊อกซิเจนออกมา ซึ่งเป็นก๊าซที่มนุษย์เราต้องการในการหายใจ นอกจากนี้ ต้นไม้ยังช่วยทำให้บ้านเมืองและชุมชนมีความสวยงามร่มเย็นน่าอยู่อาศัยมากขึ้นไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ ณ ที่แห่งใด จะตั้งชุมชนใหญ่หรือเล็กก็ตาม ตราบใดที่มนุษย์ยังต้องอาศัยพึ่งพาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ย่อมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมได้ แม้ว่าจะมีมนุษย์อยู่เพียงคนเดียวในโลก สิ่งแวดล้อมก็ถูกทำลายได้เหมือนกัน เป็นต้นว่า มนุษย์เก็บเกี่ยวเอาพืชพันธุ์ไม้และล่าสัตว์เป็นอาหาร ตัดไม้ในป่าเอามาสร้างที่อยู่อาศัยและทำเชื้อเพลิงและมนุษย์ก็ยังขับถ่ายของเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม แต่มนุษย์เพียงคนเดียวก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากนัก แต่เมื่อใดก็ตามที่มีมนุษย์มากขึ้น ความต้องการใช้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็มากขึ้นตามไปด้วย เพราะแต่ละคนต่างก็มีส่วนในการทำลายสิ่งแวดล้อมคนละมากบ้างน้อยบ้าง เมื่อรวมทั้งหมดแล้วสิ่งแวดล้อมในชุมชนจะถูกทำลายอย่างมาก และปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัดความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี ก็เป็นปัจจัยอีกตัวหนึ่งที่ช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วจากการที่เรามุ่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ขยายการก่อสร้าง ปัจจัยพื้นฐานแห่งการพัฒนา เช่น ถนน เขื่อน สนามบิน ท่าเรือ ฯลฯ เร่งผลิตสินค้าและบริการให้ทันกับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละชุมชนจึงถูกนำมาใช้กับวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นจำนวนมาก จากขบวนการพัฒนาและการผลิตทำให้มีของเสียเหลือทิ้งออกมาในรูปต่าง ๆ เจือปนอยู่กับสิ่งแวดล้อมในชุมชน ความสมดุลในธรรมชาติก็เสียไปเมื่อสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย มีของเสียปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งแวดล้อมก็จะอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมและอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นเป็นพิษเป็นภัยได้ ผลกระทบจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับกิจกรรมและการขยายตัวของกิจกรรมนั้น ๆ ผลของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและเป็นพิษก็จะตกอยู่แก่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในชุมชน ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะผูกพันเชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ เพราะสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กัน สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและเป็นพิษจะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพและอนามัยของมนุษย์ เพราะสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลง ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการดำรงชีวิตอีกต่อไป นอกจากนี้ก็ยังมีผลกระทบกระเทือนต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่หยุดยั้ง และถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวังแล้ว ทรัพยากรธรรมชาติก็จะสูญสิ้นลงอย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตาม ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนี้ มิได้เกิดขึ้นกับแม่น้ำ อากาศ สารเคมี และสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติอื่น ๆ เท่านั้น แต่ยังมีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในรูปปัญหาทางสังคมอีก ทุกวันนี้เราจะเห็นได้ว่าลักษณะนิสัยใจคอ ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน ความสามัคคีในชุมชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ทั้งนี้ อาจจะเนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจภายในครอบครัว ความยากจน การเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ การคมนาคม ติดต่อสื่อสารกับสังคมภายนอก ตลอดจนการรับเอาวัฒนธรรมและแนวความคิดจากที่อื่น ๆ มามาก ภายในชุมชนของเราจึงเปลี่ยนแปลงไป ความมีระเบียบ การรักษาหน้าที่ความรับผิดชอบ การปฏิบัติตามกฏเกณฑ์จึงหย่อนคลายลง
ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างรีบด่วนและถูกวิธีแล้วปัญหาต่าง ๆ จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนนั้น จะต้องเลือกใช้หลักวิชาการที่ผสมผสานได้กับลักษณะนิสัย ทัศนคติ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนในชุมชนด้วย จะต้องเป็นที่ยอมรับและไม่ถูกโต้แย้งจากคนในชุมชนนั้น ๆสิ่งแวดล้อมบางอย่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ คนทุกคนในชุมชนเป็นเจ้าของและมีสิทธิที่จะใช้ได้ เราทุกคนก็ควรที่จะมีหน้าที่ดูแลรักษาและแก้ไขให้สภาพแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะมีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่การดำเนินงานอาจมีอุปสรรคบ้าง ล่าช้าบ้าง ถ้าคนในชุมชนไม่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ ทุกคนควรจะถือว่าสิ่งแวดล้อมทั้งหลายเป็นทรัพย์สมบัติของชาติ และถือเอาเป็นความรับผิดชอบและหน้าที่ของตัวเองที่มีต่อชุมนุม ในอันที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดีมีคุณภาพ เพื่อคนทุกคนในชุมชน เพื่อส่วนรวม เพื่อตัวเอง และครอบครัว และเพื่ออนุชนรุ่นหลังที่จะได้มีโอกาสพึ่งพาอาศัยและใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไปในวันข้างหน้าถ้าสมาชิกในชุมชนทุกคนสำนึกในหน้าที่ของตนเองที่มีต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน ยอมเสียสละเล็ก ๆ น้อย ๆ คำนึงถึงแต่ประโยชน์ของชุมชนส่วนรวมเป็นข้อใหญ่แล้ว อีกไม่ช้าไม่นานภายในชุมชนก็จะมีแต่สภาพแวดล้อมที่ดี สภาพสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้คนทุกคนดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุข ความปลอดภัยในชีวิต มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรง ชุมชนก็จะมีแต่สมาชิกที่ดีมีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติตลอดไปที่มา : รวบรวมจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

ชุมชนมีการจัดการทรัพยากรอย่างไร

การจัดการทรัพยากรชุมชนจะให้ความสาคัญกับผู้ที่พึ่งพาอาศัยทรัพยากรเพื่อความอยู่รอดของ ชุมชนเป็นอันดับแรกซึ่งทรัพยากรชุมชน (Community Resources) เป็นสรรพสิ่งที่อยู่ในชุมชน อาจแบ่ง ออกเป็น 3 องค์ประกอบใหญ่ๆ คือ 1) ทรัพยากรชุมชนทางชีวภาพ ได้แก่ มนุษย์ สัตว์พืชและสิ่งมีชีวิต ขนาดเล็ก 2) ทรัพยากรชุมชนทางกายภาพ ได้แก่ ทรัพยากร ...

การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีอะไรบ้าง

1) พัฒนาแนวทางในการจัดการของเสียและน้ำเสียของทุกภาคส่วนให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียน 2) ส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์และวิถีชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดลอม 3) ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยชุมชน และ 4) ส่งเสริมและสนับสนุนภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับ ...

การจัดการทรัพยากร มีอะไรบ้าง

การจัดการหรือการบริหารกิจการต่างๆจ ากัดต้องมีทรัพยากรอันเป็นปัจจัยพื้นฐานทางการจัดการ โดยทั่วไปถือว่าทรัพยากรที่เป็นปัจจัยส าคัญของการจัดการมีอยู่ 4ประการ หรือ4 M ได้แก่ 1.การจัดการทรัพยากรบุคคล(Man) 2.การจัดการเงินทุน (Money) 3.การจัดการวัสดุ อุปกรณ์ (Materials) 4.การจัดการ(Management)

ทรัพยากรมีอะไรบ้าง

ทรัพยากรธรรมชาติหมายถึง สิ่งต่าง ๆ(สิ่งแวดล้อม) ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น บรรยากาศ ดิน น้ำ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า แร่ธาตุ พลังงาน และกำลังแรงงานมนุษย์ เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง