ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท 2564

ประหยัด และเหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กมือใหม่ ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง มาดูทีละขั้นตอนในบทความนี้ได้เลย

จากบทความเรื่อง จดทะเบียนบริษัทตอนไหนดี หากคุณได้ลองประเมินความพร้อมในการมีบริษัทของตัวเองผ่านเช็กลิสต์ที่เราได้แนะนำไปแล้วก่อนหน้านี้ แล้วพบว่าไม่ติดปัญหาใดๆ เลย แสดงว่าคุณมีความพร้อมที่จะเป็นเจ้าของบริษัทแล้ว ดังนั้นเราก็มาเตรียมตัวเปิดบริษัทกันเลย

 

การจดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้หลายช่องทาง ซึ่งแต่ละช่องทางนั้นก็มีความแตกต่างกันทั้งระยะเวลา การจัดเตรียมเอกสาร และค่าธรรมเนียม เราจะมาทำความรู้จักทั้ง 3 ช่องทางกัน

เลือกอ่านได้เลย!


3 ช่องทางในการจดทะเบียนบริษัท

 


1. จดทะเบียนบริษัทผ่านการใช้บริการสำนักงานบัญชี

ข้อดี: รวดเร็ว สามารถจดบริษัทได้ทันทีใน 1 วัน และไม่ต้องเตรียมเอกสารด้วยตัวเอง

 

ข้อเสีย: มีค่าใช้จ่ายและค่าดำเนินงานที่สูง โดยปกติอาจจะอยู่ที่ 6,000-12,000 บาท


 2. จดด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ DBD e-Registration

ข้อดี: ประหยัด แถมยังได้ลดค่าธรรมเนียมการจัดตั้งบริษัทจาก 5,000 บาท เหลือ 2,750 บาท 
(สำหรับธุรกรรมการจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 - ข้อมูลจากกรมพัฒน์)

 

ข้อเสีย: ดำเนินการด้วยตนเอง และใช้เวลารอประมาณ 3-5 วัน


3. จดด้วยตนเองแบบ walk-in ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 

ข้อดี: รวดเร็ว สามารถจดบริษัทได้ทันทีใน 1 วัน ประหยัดกว่าแบบที่ 1

 

ข้อเสีย: ดำเนินการด้วยตนเอง และไม่ได้ส่วนลดการจดทะเบียนแบบข้อที่ 2

 

ซึ่งเราจะมาแนะนำวิธีที่ประหยัด เหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กมือใหม่ นั่นก็คือการจดทะเบียนบริษัทผ่านระบบออนไลน์ DBD e-Registeration ด้วยตัวเอง ที่หลายคนคิดว่ายาก แต่จริงๆ แล้วคุณเองก็สามารถจดทะเบียนบริษัทได้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้วเท่านั้นที่ เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เราไปดูขั้นตอนแบบละเอียดกันเลยดีกว่า

 

วิธีจดทะเบียนบริษัท ออนไลน์ ผ่านระบบ DBD e-Registration

 

1. ผู้ประกอบการจะต้องสมัครสมาชิกและทำการยืนยันตัวตนก่อน เพื่อให้ได้ User Name และ Password สำหรับใช้ในการจดทะเบียนบริษัท 

 

เริ่มลงทะเบียนโดยเข้าไปที่หน้าแรกของ DBD ตามลิงก์นี้ กด “บริการออนไลน์” และเลือก “จดทะเบียนนิติบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration)”  

 

 

เมื่อคลิกเข้าไปแล้วให้เลือก “ลงทะเบียนผู้ใช้งานระบบ” (หากลงทะเบียนด้วยตัวเองให้เลือก “ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานทั่วไป”) เมื่อคลิกเข้าไปจะต้องกรอกข้อมูลเบื้องต้น และจะต้องมีการยืนยันตัวตนผ่านระบบ e-KYC

 

การยืนยันตัวตนผ่านระบบ e-KYC แนะนำให้ทำผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อความสะดวก เนื่องจากจะต้องมีการถ่ายรูปและอัดวิดีโอเพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน

 

2. เมื่อได้ User Name และ Password มาแล้ว ก็พร้อมทำการ log-in เข้าไปในระบบและคลิกเลือกที่ “จดทะเบียนนิติบุคคล” เพื่อเริ่มดำเนินการจดทะเบียนบริษัท

 

 

3. เมื่อพบรายการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เลือกที่ “สร้างคำขอการจดทะเบียนนิติบุคคล”

 

 

4. ในกรณีนี้หากเราจดทะเบียนด้วยตนเอง ให้เลือกไปที่ “ผู้เริ่มก่อการ/กรรมการ/หุ้นส่วน/ผู้ชำระบัญชี”

 

 

5. เลือกรูปแบบนิติบุคคลในการทำธุรกิจ ในที่นี้เราขอเลือกเป็น “บริษัทจำกัด”

 

 

6. เลือกหัวข้อ “หนังสือบริคณห์สนธิและจัดตั้งบริษัทพร้อมกัน (ภายในวันเดียว)” และกดปุ่ม หน้าถัดไป

 

 

7. ตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทจำกัดดังต่อไปนี้

 

  • บริษัทที่ประสงค์ขอจดทะเบียนจัดตั้ง มีผู้เริ่มก่อการ/ผู้ถือหุ้น 3 คน และมีสัญชาติไทยหรือไม่
    ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นมีสัญชาติอื่น ไม่ต้องติ๊กช่องนี้
  • กรรมการเป็นผู้เริ่มก่อการ และผู้ถือหุ้นหรือไม่
    ผู้ก่อการส่วนใหญ่จะเป็นผู้ถือหุ้น แต่ในขั้นตอนนี้จะไม่ใช้คำว่าผู้ถือหุ้น เพราะนิติบุคคล ยังไม่เกิดขึ้น จึงใช้คำว่าผู้เริ่มก่อการแทนไปก่อน
  • ทุนจดทะเบียนมีความสำคัญอย่างไร บริษัทที่ประสงค์ขอจดทะเบียนจัดตั้ง ต้องมีทุนจดทะเบียนจำนวนไม่เกิน 5 ล้านบาทหรือไม่
    ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้าน จะถือเป็นกิจการขนาดเล็ก ซึ่งกฎหมายได้ให้ประโยชน์ทางภาษี โดยอัตราภาษีกำไร 3 แสนแรกได้รับยกเว้น ส่วนที่เกิน 3 แสน - 3 ล้านบาทให้เสียภาษีที่ 15% และส่วนที่เกิน 3 ล้านบาทให้เสียภาษีที่ 20%
    ส่วนทุนจดทะเบียนที่เกิน 5 ล้านบาท จะเสียภาษีที่อัตรา 20% ตั้งแต่กำไรบาทแรกเลยดังนั้นเลือกให้ดีว่าคุณเป็นกิจการแบบไหน
  • หุ้นของบริษัทเป็นหุ้นสามัญที่ชำระด้วยเงินสดทั้งหมด เต็มมูลค่าหุ้น (100%) หรือไม่ ตามกฎหมายกำหนดว่าการชำระค่าหุ้นต้องชำระที่ขั้นต่ำ 25% เช่น ถ้าจดทะเบียนที่ทุน 1,000,000 บาท ต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำที่ 250,000 บาท ถ้าหากคุณจดทะเบียนแต่ไม่ได้ชำระค่าหุ้นทั้งหมด 100% ก็ไม่ต้องติ๊กช่องนี้ ซึ่งในตัวอย่างเราก็ถือกรณีนี้มาอธิบายให้ดูกัน
  • บริษัทใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นข้อบังคับของบริษัท
    โดยปกติแล้วโดยปกติแล้วบริษัทส่วนใช้จะใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นข้อบังคับของบริษัท แต่ถ้าผู้ประกอบการมีข้อบังคับอื่นนอกเหนือจากนี้ก็สามารถไม่ติ๊กช่องนี้ได้

 

 

8. ใส่ชื่อนิติบุคคลที่จะใช้ในการประกอบกิจการทั้งภาษาไทยและอังกฤษ หากชื่อที่เราเลือกนั้นซ้ำกับบริษัทอื่นที่มีอยู่แล้วก็จะไม่สามารถใช้ชื่อนั้นได้

 

 

9. คลิกว่า “ได้มีการจัดประชุม” และใส่รายละเอียดในการประชุมจัดตั้งบริษัท

 

  • วันที่และเวลาที่ประชุม
  • สถานที่ประชุม
  • ผู้เป็นประธานในที่ประชุม

 

 

10. ในการประชุมจัดตั้งบริษัท หากเราไม่ได้กำหนดวาระอย่างอื่นไว้ในการประชุม สามารถใช้รายงานการประชุมสำเร็จรูปที่ DBD กำหนดไว้ให้ได้เลย โดยกรอกรายละเอียดดังนี้

 

  • ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งบริษัท
    ที่ผู้ก่อการได้ออกไปก่อน ซึ่งหมายความว่าที่ประชุมได้ให้สัตยาบัน (ให้คำสัญญา) ว่าจะจ่ายเงินจำนวนนี้คืนให้ผู้ก่อการ และสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทหลังจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว ในกรณีจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ด้วยตัวเองผ่านระบบ e-Registration จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ราวๆ 3,000 - 4,000 บาท ให้ใส่ลงไปในส่วนนี้ได้เลย
  • กำหนดผู้สอบบัญชีของบริษัท
    ให้กรอกชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี โดยสามารถติดต่อผู้สอบบัญชีในพื้นที่ที่คุณสะดวก หรือสามารถค้นหารายชื่อผู้สอบบัญชีได้ที่ เว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี

 

 

11. ในหน้านี้จะมีรายละเอียดให้กรอกหลายส่วน โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

  • ข้อ 1. ส่วนนี้ระบบจะดึงข้อมูลจากที่กรอกไว้ใน มาให้เราตรวจเช็กความเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง
  • ข้อ 2. ให้ใส่ข้อมูลที่ตั้งของบริษัท (สำนักงานใหญ่) 
  • ข้อ 4. ข้อนี้ให้ใส่ข้อมูลเกี่ยวกับความรับผิด หมายความว่า สมมติบริษัทถูกฟ้องผู้ถือหุ้นจะรับผิดแค่จำนวนตามมูลค่าหุ้นที่ลงไป และถ้าไม่ได้กำหนดเพิ่มเติมให้กรรมการรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน ให้ใส่ตามที่ระบบให้มาได้เลย “............” แต่ ถ้ากำหนดเป็นอย่างอื่น ก็ให้ใส่ข้อความนั้นเข้าไป
  • ข้อ 5. ให้ระบุจำนวนทุนที่ต้องการจดทะเบียน กำหนดจำนวนหุ้นและมูลค่าของหุ้นนั้น
  • ข้อ 6. ให้ใส่ชื่อผู้เริ่มก่อการอย่างน้อย 3 คน และระบุจำนวนในการถือหุ้นของแต่ละคน

 

 

12. ในหน้านี้จะเป็นการให้ระบุจำนวนหุ้นที่จดทะเบียน และจำนวนเงินที่ชำระเงินค่าหุ้นต่อ 1 หุ้น  

 

จากตัวอย่าง กำหนดทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 1,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท และเลือกชำระขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนดที่ 25% ต่อหุ้น ดังนั้นจะมีทุนชำระแล้วเท่ากับ 250,000 บาท


 

13. หลังจากนั้นจะมีกล่องให้ใส่รายละเอียดที่ตั้งของบริษัทตามทะเบียนบ้าน หากไม่มีสาขาก็ไม่ต้องใส่ข้ามส่วนนี้ไปส่วนถัดไปได้เลย (เลขรหัสประจำบ้าน จะอยู่หน้าแรกสุดของทะเบียนบ้าน)

 

 

14. ถ้าบริษัทไม่มีข้อบังคับ ให้ติ๊ก “ไม่มีข้อบังคับ” และให้ใส่วันสิ้นสุดรอบบัญชีของบริษัท เช่น วันสิ้นสุดรอบบัญชีที่นิยม คือ 31 ธันวาคม ของทุกปี ให้ใส่ว่า “3112” และเมื่อกรอกข้อมูลครบแล้วให้เลือก”หน้าถัดไป”เพื่อดำเนินการต่อ

 

 

15. จากนั้นจะมีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับรายชื่อผู้ถือหุ้นและข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นให้ตรวจเช็กอีกครั้ง โดยข้อมูลเหล่านี้จะปรากฏใน บอจ.5 ของบริษัท ดังนั้นจะต้องมีการตรวจสอบให้ดี

 

 

ถ้าหากข้อมูลถูกต้องแล้วให้เลือก “หน้าถัดไป” เพื่อดำเนินการต่อได้เลย

 

16. ให้ใส่รายละเอียดกรรมการของบริษัทอย่างน้อย 1 ท่าน ซึ่งโดยปกติจะเป็นกลุ่มคนเดียวกับผู้ถือหุ้น

 

 

17. กำหนดอำนาจกรรมการ คือ การกำหนดว่าใครสามารถมีอำนาจลงนามทำธุรกรรมและมีผลผูกพันกับบริษัทได้บ้าง

 

 

18. ในส่วนนี้ คือ การเลือกแบบ ว. สำเร็จรูป คือ การบอกวัตถุประสงค์ของบริษัทว่า บริษัทนั้นประกอบธุรกิจอะไร โดย


แบบ ว.1 = เหมาะกับบริษัทที่ขายสินค้า

แบบ ว.2 = เหมาะกับบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการ

แบบ ว.3 = เหมาะกับบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

แบบ ว.4 = เหมาะกับบริษัทที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับเกษตรกรรม

แบบ ว.5 = เหมาะกับการประกอบธุรกิจสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค เช่น ประกอบกิจการให้บริการด้านการบริหาร หรือด้านเทคนิคแก่วิสาหกิจในเครือ หรือสาขาของตนไม่ว่าจะตั้งอยู่ในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ

 

 

19. เนื่องจากการเลือกแบบ ว. แบบสำเร็จรูปอาจไม่ครอบคลุมธุรกิจที่เราประกอบอยู่ เราสามารถเพิ่มวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง เหมาะกับกิจการของเราเข้าไปได้ในส่วนนี้

 

 

20. หลังจากนั้นจะมีให้ใส่รายละเอียดลูกจ้างและผู้รับเหมาช่วงในกิจการของสถานประกอบการ หากยังไม่มีให้ข้ามไปได้เลย และด้านล่างสุดจะให้ใส่รายละเอียดสินค้า/บริการ (ขั้นตอนการใส่ตามข้อ 21) หากกรอกข้อมูลครบแล้วให้เลือก “หน้าถัดไป"

 

 

21. ในการระบุสินค้าและบริการ ให้ค้นหาธุรกิจที่ใกล้เคียงกับกิจการของเรา โดยใส่ Keyword ที่ใกล้เคียงกับธุรกิจของเรามากที่สุดเข้าไป แล้วกดค้นหา แล้วกดบันทึก

 

 

22. จากนั้นคลิกเลือกกรรมการผู้ลงนามของบริษัทว่าจะให้ใครบ้างที่มีอำนาจในการลงนามแทนบริษัท

 

 

23. ในส่วนถัดมาจะเป็นส่วนที่ให้ใส่ไฟล์เพิ่มเติมเข้าไป หลักๆ คือ

 

  • ตราประทับ กฎหมายไม่ได้บังคับให้มี จะมีหรือไม่มีก็ได้
  • แผนที่แสดงที่ตั้งบริษัท อันนี้เป็นไฟล์บังคับที่ต้องใส่เข้าไป
  • ส่วนเอกสารประกอบจดทะเบียนที่เหลือ ถ้าไม่มีก็ข้ามไปได้เลย

 

 

24. หลังจากที่เรากรอกข้อมูลมาทั้งหมด ระบบจะประมวลผลออกมาเป็นเอกสารทางราชการแบบนี้ ให้เราตรวจเช็กความถูกต้องอีกรอบ ถ้าไม่มีอะไรผิดกดส่งคำขอให้ตรวจสอบได้เลย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะใช้เวลา 2-5 วันทำการในการตรวจสอบข้อมูล หากมีการแก้ไขจะมีการแจ้งบอกไปที่อีเมลของเราอีกครั้ง

 


25. ถ้าหากไม่มีการแก้ไขอะไรเพิ่มเติมจะมีการแจ้งมาทางอีเมลว่าได้มีการอนุมัติคำขอการจัดตั้งบริษัทแล้ว หลังจากนั้นผู้ก่อการ/ผู้ถือหุ้นก็ต้องเข้าไปเซ็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์  โดยเลือกไปที่ “ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” (วิธีเข้าหน้านี้เหมือนตอนที่จะจดทะเบียนบริษัท)

 

 

26. เมื่อทำการเซ็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว ก็ให้เลือก “ยื่นคำขอจดทะเบียน” โดยจะต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อน และเลือก “ชำระค่าธรรมเนียม” ในลำดับถัดไป และหลังชำระเงินก็จะได้รับเอกสารดังต่อไปนี้

  • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท (เอกสารฉบับนี้จะถูกจัดส่งมาทางไปรษณีย์)
  • หนังสือรับรองบริษัทสามารถดาวน์โหลดในรูปแบบ PDF file ได้จากระบบ โดยเลือกเมนู จดทะเบียนนิติบุคคล เลือก “พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน/ดาวน์โหลดไฟล์หนังสือรับรอง”

 

เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้น วิธีจดทะเบียนบริษัท ผ่านระบบ DBD e-Registration คุณก็ได้กลายเป็นเจ้าของบริษัทเป็นที่เรียบร้อย

 

หากใครที่เพิ่งเป็นเจ้าของบริษัทก็อย่าละเลยการทำบัญชี ระบบ FlowAccount เป็นโปรแกรมบัญชีที่ใช้งานง่าย ออกบิลสะดวกสบาย เรียกเก็บเงินจากลูกค้าได้เร็ว ที่คุณเองก็สามารถทำบัญชีเองได้ สนใจสมัคร FlowAccount คลิกที่ลิงก์นี้ได้เลย //auth.flowaccount.com/th/Account/Register

About Author

TAXBOOK ภาษีและบัญชีฉบับ101

เพจ TAXBOOK ภาษีและบัญชีฉบับ101 ให้ความรู้เรื่องบัญชีและภาษีสำหรับนักบัญชีและเจ้าของกิจการ ที่อยากอธิบายบัญชีและภาษีที่ใครมองว่ายากแบบง่ายๆ ด้วยภาษาของคนธรรมดา เหมือนเล่าให้เพื่อนฟัง

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัทกี่บาท

อัตราเดียว...จัดตั้งบริษัทจำกัด 5,500 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด 1,000 บาท จดทะเบียนผ่านออนไลน์ยิ่งถูก..จัดตั้งบริษัทจำกัดเหลือเพียง 3,850 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด 700 บาท หวังลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มขีดความสามารถธุรกิจ ดันอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศให้ดีขึ้น

ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนพาณิชย์คือข้อใด

9. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์ การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการดังต่อไปนี้ 9.1 จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท 9.2 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท 9.3 จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท

ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเลิกบริษัทคือข้อใด

ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเลิก กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ - ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนเลิก 400 บาท - หนังสือรับรอง ฉบับละ 120 บาท ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ - ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนเลิก 400 บาท - หนังสือรับรอง ฉบับละ 120 บาท หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ ...

ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริคณห์สนธิต้องชำระอย่างไรบ้าง

ค่าธรรมเนียมจัดตั้งบริษัท เป็นดังนี้ 1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิทุกจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท แห่งจำนวนทุนที่ กำหนดไว้ 50 บาท เศษของ 100,000 บาท ให้คิดเป็น 100,000 บาท ทั้งนี้รวมกันไม่ให้ต่ำกว่า 500 บาท และไม่ให้เกิน 25,000 บาท 2. จดทะเบียนตั้งบริษัทคิดตามทุนจดทะเบียนแสนละ 500 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และไม่ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง