กองทุน เงินทดแทนขึ้น

หากพูดถึงข้อกฎหมายที่ลูกจ้างและผู้รับทำบัญชีควรรู้นอกจากกองทุนประกันสังคมแล้ว “กองทุนเงินทดแทน” ถือเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่มีบทบาททั้งต่อนายจ้างและลูกจ้างแต่จะมีความแตกต่างกันกับประกันสังคมในการนำไปใช้งานในกรณี อีกทั้งยังมีการระบุถึงกิจการที่ต้องดำเนินการจ่ายเงินทดแทนและประโยชน์ที่ได้รับรวมไปถึงข้อกฏหมายต่าง ๆ เพื่อให้ลูกจ้างไม่ถูกเอาเปรียบจากการทำงาน โดยวันนี้เราได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับกองทุนเงินทดแทนมาฝากแแก่ทุกคนเพื่อไขข้อสงสัยในหัวข้อดังต่อไปนี้

สารบัญ

Add a header to begin generating the table of contents

กองทุนเงินทดแทนคืออะไร

กองทุนเงินทดแทน คือกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย สูญหาย หรือถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยนายจ้างจะเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นซึ่งการจ่ายเงินสมทบจะเก็บจากนายจ้างตามลักษณะกิจการที่มีความเสี่ยงต่างกัน อาทิเช่น 

  • กิจการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับขายอาหารจะจ่ายเงินสมทบที่ 0.2% ของค่าจ้าง
  • กิจการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างจะจ่ายเงินสมทบที่ 1.0% ของค่าจ้าง

สะท้อนให้เห็นได้ว่า กิจการใดมีความเสี่ยงมากอย่างการก่อสร้างย่อมจะต้องจะจ่ายเงินสมทบในอัตราที่สูงขึ้นตามลักษณะความเสี่ยง 

ดังนั้น ในกรณีที่นายจ้างจ่ายเงินสมทบครบ 4 ปี ในปีที่ 5 อัตราการจ่ายเงินสมทบจะเพิ่ม หรือลดขึ้นอยู่กับค่าอัตราการสูญเสียจากการเก็บบันทึกข้อมูลด้านสถิติโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ 

กิจการใดบ้างที่ต้องจ่ายเงินทดแทน

ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561[1]บล ซึ่งเป็นพรบ.ฉบับล่าสุดที่ได้ถูกประกาศออกมาโดยมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2561 ซึ่งได้กำนหนดกิจการทุกประเภทที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปจะต้องจ่ายเงินสมทบได้แก่ ลูกจ้างเอกชน ลูกจ้างราชการ (ไม่รวมข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ) องค์กรไม่แสวงหากำไรและบุคคลที่ได้รับจ้างงานในต่างประเทศของเอกอัคราชฑูตและองค์กรระหว่างประเทศ อีกทั้งยังไม่รวมถึงพนักงานเอกชนตามพรบ. องค์การมหาชน พ.ศ.2549 มาตรา 38 [2]

[1] พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 เป็นพระราชบัญญัติฉบับล่าสุดโดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยเงินทดแทน

[2] กิจการขององค์การมหาชนไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การมหาชนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

กองทุนเงินทดแทนต่างกับประกันสังคมอย่างไร

มาถึงประเด็นที่หลายคนสงสัยกับความแตกต่างระหว่างกองทุนเงินทดแทนและประกันสังคมซึ่งเราจะแยกประเด็นออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ๆ ด้วยกันดังนี้ 

ประเด็น กองทุนเงินทดแทน ประกันสังคม
การดูแล การเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงานให้นายจ้าง สิทธิการดูแลที่ไม่ได้มาจากการเจ็บป่วยจากการทำงาน
การจัดเก็บเงินสมทบ นายจ้างเพียงฝ่ายเดียว รัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง
การเข้ารับการรักษา โรงพยาบาลใดก็ได้แต่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน โรงพยาบาลที่เลือกใช้สิทธิ์

หน้าที่ของนายจ้าง

  1. จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่ากองทุนเงินทดแทนนายจ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นอีกทั้งนายจ้างยังมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 

    • ขึ้นทะเบียนนายจ้างเมื่อมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป 
    • จ่ายเงินสมทบประจำปี 
    • รายงานเงินเดือนของลูกจ้างในปีที่ผ่านมา (ภายในเดือนกุมภาพันธ์)
    • แจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงของนายจ้างภายใน 30 วันและแจ้งผลหากลูกจ้างประสบอันตราย หรือบาดเจ็บภายใน 15 วัน 

ประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุนเงินทดแทน

มาต่อกันที่ประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับจากกองทุนเงินทดแทนซึ่งจะแบ่งเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานและค่าทำศพโดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

  • ค่ารักษาพยาบาล 

ใช้ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยจากการทำงานโดยได้รับการช่วยเหลือทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายและค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงวัสดุที่นำมาใช้แทนอวัยวะต่าง ๆ อันเกิดจากการทำงานโดยมีอัตรากำหนดสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท 

  • ค่าทดแทน

สำหรับค่าทดแทนจะแบ่งออกเป็น 4 กรณี ดังนี้

  • กรณี 1 ไม่สามารถทำงานได้ ลูกจ้างได้มีการหยุดพักรักษาตั้งแต่ 1 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 1 ปี จะได้รับค่าชดเชยร้อยละ 70 ของเงินเดือน (ต้องมีใบรับรองแพทย์ยืนยัน)
  • กรณี 2 สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย ลูกจ้างจะได้รับค่าทดแทนร้อยละ 70 ของเงินเดือนซึ่งมีระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี สำหรับการประเมินสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย ลูกจ้างจะต้องได้รับการรักษาจนสิ้นสุดและอวัยวะไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนด 1 ปี 
  • กรณี 3 ทุพพลภาพ ลูกจ้างจะได้รับค่าทดแทนร้อยละ 70 ของเงินเดือนไปตลอดชีวิตโดยมีการประเมินการสูญเสียอวัยวะลูกจ้างจะต้องได้รับการรักษาจนสิ้นสุดและอวัยวะไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนด 1 ปี
  • กรณี 4 เสียชีวิต หรือสูญหายอันเนื่องมาจากการทำงาน ผู้มีสิทธิตามกฎหมาย อาทิ มารดา บิดา และบุตรจะได้รับค่าทดแทนร้อยละ 70 ของเงินเดือนเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยจะได้รับในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กัน 
  • ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ

ลูกจ้างที่ประสบอุบัติเหตุและได้รับการรักษาพยาบาลสิ้นสุดลง แต่ทั้งนี้สภาพร่างกายและจิตใจไม่เหมือนเดิมจึงจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ดังนี้

  • ด้านอาชีพ จะเป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะการฝึกอาชีพตามหลักสูตรที่หน่วยงานประกันสังคมดำเนินการไม่เกิน 24,000 บาท 
  • ด้านการแพทย์ ในการทำเวชศาสตร์ฟื้นฟูโดยเป็นค่ากายภาพบำบัดไม่เกินวันละ 200 บาท และค่าเดินทาง 100 บาท ซึ่งรวมแล้วไม่เกิน 24,000 บาท 
  • ด้านการบำบัดและผ่าตัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 40,000 บาท โดยหากมีความจำเป็นสามารถจ่ายเพิ่มได้ไม่เกิน 110,000 บาท (ขึ้นอยู่กับการพิจารณา)
  • ด้านวัสดุและอุปกรณ์ รวมแล้วไม่เกิน 160,000 บาท (ไม่เกินอัตราตามที่กระทรวงการคลังกำหนด)

โดยทั้งนี้ ลูกจ้างจะได้รับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานก็ต่อเมื่อเข้ารับการฟื้นฟูที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานสำนักงานประกันสังคมเท่านั้น 

  • ค่าทำศพ

ในส่วนของค่าทำศพผู้จัดการทำศพของลูกจ้างจะได้รับเป็น 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างรายวันขั้นต่ำ[3]ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

[3] ค่าแรงในแต่ละจังหวัดจะมีอัตราสูงสุดที่แตกต่างกันออกไป 

วิธีการแจ้งการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทำอย่างไร

  1. นายจ้าง หรือผู้มอบอำนาจต้องแจ้งแบบกท.16[4]โดยกรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มและนำส่งสำนักงานประกันสังคม หรือทางไปรษณีย์ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบว่าลูกจ้างประสบอันตราย หรืออุบัติเหตุ หรือลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องขอเงินทดแทนได้ภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันที่ประสบอันตรายและหากเจ็บป่วยสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างให้ยื่นคำร้องได้ภายในระยะเวลา 2 ปีนับตั้งแต่ทราบผลและหากนายจ้าง หรือลูกจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนสามารถนำมาเบิกได้ภายใน 90 วัน

    [4] แบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย และคำร้องขอรับเงินทดแทน ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537

หลักฐานที่ใช้แจ้งการประสบอันตรายและการขอรับเงินทดแทน

    1. แบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย (กท.16)
    2. แบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล กท.44[5] 
    3. การประสบอุบัติเหตุที่ไม่ชัดเจน อาทิ อุบัติเหตุจากรถยนต์ หรืออุบัติเหตุนอกสถานที่ซึ่งจำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่ม เช่น การลงเวลาทำงาน แผนที่เกิดเหตุ หรือบันทึกประจำวันของตำรวจ 
    4. ใบเสร็จรับเงิน (กรณีสำรองจ่าย)
    5. กรณีเสียชีวิต หรือสูญหาย ต้องมีหลักฐานมาแสดง เช่น ใบมรณะบัตร ใบชันสูตรศพ หรือใบลงบันทึกประจำวันของตำรวจ (ถ้ามี) 

กรณีใดบ้างที่สิทธิไม่คุ้มครอง

หากมีการตรวจสอบและพบว่าการประสบอันตราย หรือการเจ็บป่วยมีสาเหตุมาจากของมึนเมา หรือสารเสพติด รวมไปถึงการจงใจให้เกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ ลูกจ้างจะไม่ได้รับสิทธิ์ในการดูแลจากกองทุนเงินทดแทนแต่อย่างใด 

บทสรุป

กองทุนเงินทดแทนจึงถือเป็นผลประโยชน์ของลูกจ้างที่ควรรู้และควรศึกษาเพื่อปกป้องสิทธิ์และเพื่อได้รับความเท่าเทียมไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการทำงาน ตามพรบ.ว่าด้วยกองทุนเงินทดแทนฉบับล่าสุดปี 61 ซึ่งได้รวบรวมและตอบคำถามที่น่าสนใจไว้ครบตั้งแต่การทำความรู้จักกองทุนเงินไปจนถึงเงื่อนไขสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองในกรณีต่าง ๆ รวมไปถึงการแจ้งเรื่องและยื่นเอกสารขอรับสิทธิซึ่งทางเราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ลูกจ้างเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนเงินทดแทนได้ดีมากยิ่งขึ้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง