ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ วิจัย

ผู้ป่วยที่มีภาวะระบบหายใจล้มเหลว มีความจำเป็นต้องใช้ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งทำให้เกิดความไม่สุขสบายและกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารคัดหลั่งเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการนอนโดยใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ระบบทางเดินหายใจ ปี 2560 พบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด 692 คน ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ 610 คน ร้อยละ 88.40 มีอัตราการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจ 4.5 ต่อ 1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ อัตราการเกิดปอดอักเสบสัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ 8.3 ต่อ1,000วันใช้เครื่องช่วยหายใจ สาเหตุเกิดจากพยาบาล มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเครื่องช่วยหายใจไม่เป็นปัจจุบัน ไม่สอดคล้องกับบริบทของปัญหาของผู้ป่วย รวมทั้งวิวัฒนาการของเครื่องมือแพทย์ที่ก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้น ผู้วิจัยจึงพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 วงรอบๆ ละ 4 ขั้นตอน  ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และ การสะท้อนกลับเพื่อนำสู่การปรับปรุงแก้ไขในวงรอบต่อไป วงรอบที่ 1-2 กลุ่มผู้วิจัยพัฒนาแนวปฏิบัติ 6 แนวทาง 1) ส่งเสริมการได้รับออกซิเจนเพียงพอ 2) การดูแลให้ทางเดินหายใจโล่ง 3) การดูแลด้านกิจวัตรประจำวัน 4) การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเครื่องช่วยหายใจ 5) การดูแลไม่ให้เนื้อเยื่อหลอดลมเกิดแผลจากท่อช่วยหายใจ และ 6) การดูแลการทำงานของเครื่องช่วย และพัฒนาแนวปฏิบัติเพิ่ม 1 แนวทาง คือ การดูแลผู้ป่วยในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ วงรอบที่ 3 ปรับปรุงแนวปฏิบัติและพัฒนาแนวปฏิบัติเพิ่ม 1 แนวทาง คือ การลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

ผลการศึกษาพบว่าการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจทำให้มีการปฏิบัติการพยาบาลครอบคลุมทั้ง 8 แนวทางมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Friedman Test Asymp. Sig < 0.01, Mean Rank: 1.71, 2.47, 2.91 และ 2.91)  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอัตราการเกิดปอดอักเสบสัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจลดลงจาก 14.00 เหลือ 11.34 ต่อ1,000วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ อัตราการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจลดจาก 6.68 เป็น 4.73 ต่อ1,000วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ (ข้อมูลก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ 3 เดือน) และความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 95.00  ปัจจัยความสำเร็จเกิดจากการมีส่วนร่วมของพยาบาลในหน่วยงานทำให้เกิดการทบทวนสถานการณ์ เข้าใจเหตุปัจจัยและความเชื่อมโยงของแต่ละปัญหา เห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาเชิงระบบ แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ ร่วมกันพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลครอบคลุมตามเกณฑ์และลดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้

เอกสารอ้างอิง

ปทิตตา ปานเฟือง, อำภาพร นามวงศ์พรหม, นํ้าอ้อย ภักดีวงศ์. (2558). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจต่อความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจและระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤติที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 33(3):159-67.

จิตรศิริ ตันติชาติกุล, วนิดา เคนทองดี. (2556). การพัฒนาแนวปฏิบัติโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแล ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจ. วารสารกองการพยาบาล, 40(3):56-69.

พจนา ปิยะปรณ์ชัย. (2553). การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจ. นนทบุรี : บริษัท ธนาเพลส จำกัด.

ยุพา วงศ์รสไตร, อรสา พันธ์ภักดี, สุปรีดา มั่นคง. (2551). แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ. Rama Nurs J, 14(3):348-65.

Kemmis S, McTaggart R. (2005). Participatory Action Research : Communicative Action and the Public Sphere. The SAGE Handbook of Qualitative Research. 3rd ed. London: SAGE Publications.

เกษราวัลย์ นิลวรางกูร. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น : คลังนานา.

ทวีศักดิ์ นพเกษร. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม 1. นครราชสีมา : โชคชัยเจริญมาร์เก็ตติ้ง.

อุดมลักษณ์ เตียสวัสดิ์, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, อัจฉราวรรณ นาเมืองจันทร์, สุภาพรณ์ ตัณฑ์สุระ, ยุวดี บุญลอย, อภิสรา สงเสริม. (2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจในงานดูแลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลขอบแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(1):194-206.

ทองเปลว กันอุไร, อำภาพร นามวงศ์พรหม, มนพร ชาติชำ, อัญชลี ยงยุทธ. (2554). ผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจากหลักฐานเชิงฐานเชิงประจักษ์ต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสิงห์บุรี. วารสารสมาคมพยาบาลฯภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 29(2):25-34.

ระเบียบ ขุนภักดี. (2555). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ต่อภาวะพร่องออกซิเจน การใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ อัตราการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจ และความพึงพอใจของพยาบาลในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง. วารสารวิชาการเขต, 12(3):71-9.

ดาวน์โหลด

  • PDF

เผยแพร่แล้ว

2021-08-25

ฉบับ

ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 (ธันวาคม 2561)

บท

Original Article

การอนุญาต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเซลล์ของตับอ่อน (Pancreas) โดยมีทั้งการอักเสบชนิดเฉียบพลันที่เกิดขึ้นทันทีทันใด แต่ส่วนใหญ่อาการจะเป็นอยู่ไม่นานและมักจะทุเลาดีขึ้นได้เอง และการอักเสบชนิดเรื้อรังซึ่งจะมีการทำลายเซลล์ของตับอ่อนจนไม่สามารถฟื้นตัวได้ โดยสาเหตุของโรคนี้หลัก ๆ แล้วจะมาจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี และจากการดื่มแอลกอฮอล์จัด

โรคตับอ่อนอักเสบเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่เป็นภาวะร้ายแรงที่มีอันตรายค่อนข้างสูง โดยจัดเป็นโรคของผู้ใหญ่ เพราะมักพบได้ในคนอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จนถึงผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์จัด

หมายเหตุ : ตับอ่อน (Pancreas) เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย มีลักษณะเป็นต่อมขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ทางด้านหลังของกระเพาะอาหารใกล้กับลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม ซึ่งเป็นลำไส้เล็กส่วนต้น โดยจัดเป็นอวัยวะในระบบทางเดินอาหารเช่นเดียวกับตับ (Liver) แต่ตับอ่อนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตับ (เป็นคนละอวัยวะกันและไม่ได้เกี่ยวข้องกัน) ตับอ่อนจะมีลักษณะและขนาดเหมือนกล้วยหอม ประกอบไปด้วยเซลล์หลัก 2 เซลล์ คือ เซลล์จากต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) และเซลล์จากต่อมมีท่อ (Exocrine gland) โดยต่อมไร้ท่อจะมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิด (โดยเฉพาะฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และกลูคากอน (Glucagon) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวาน) ส่วนต่อมมีท่อจะมีหน้าที่สร้างน้ำย่อยอาหาร (Pancreatic juice) ซึ่งจะช่วยย่อยอาหารในลำไส้เล็ก โดยเฉพาะการย่อยไขมัน

ชนิดของโรคตับอ่อนอักเสบ

การอักเสบของตับอ่อนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  1. โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pancreatitis) ได้แก่ โรคที่เกิดการอักเสบขึ้นกับเซลล์ของตับอ่อนอย่างเฉียบพลัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องขึ้นมาอย่างรุนแรงและทันทีทันใด (หรืออาจจะค่อย ๆ มีอาการภายใน 2-3 วัน) ทั้งนี้การอักเสบจะเป็นอยู่เพียงชั่วขณะ และเซลล์ของตับอ่อนจะฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติได้ (อาการของผู้ป่วยมักจะดีขึ้นและหายเป็นปกติได้ภายหลังการรักษาประมาณ 1-2 สัปดาห์) แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการรุนแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดโรคแทรกซ้อน โรคนี้เป็นโรคที่พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยจะพบได้ประมาณ 5-80 รายต่อประชากร 100,000 ราย ทั้งนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและเชื้อชาติ เช่น ในเยอรมนีจะพบได้ประมาณ 17 ราย ส่วนในฟินแลนด์จะพบได้ประมาณ 73 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย เป็นต้น
  2. โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (Chronic pancreatitis) ได้แก่ โรคที่เซลล์ตับอ่อนมีการอักเสบอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง โดยอาจจะเกิดขึ้นตามหลังการอักเสบเฉียบพลันที่รักษาไม่หายเพราะสาเหตุยังคงอยู่ เช่น ผู้ป่วยยังคงดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรัง (เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง) หรือเกิดจากการอักเสบเฉียบพลันซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งในการอักเสบเรื้อรังนี้เซลล์ของตับอ่อนจะค่อย ๆ ถูกทำลายจนไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ และมักกลายเป็นพังผืดอย่างถาวรจนไม่สามารถสร้างน้ำย่อยและฮอร์โมนได้ (ร่างกายจึงขาดน้ำย่อยอาหารและฮอร์โมนต่าง ๆ โดยเฉพาะฮอร์โมนอินซูลิน ผู้ป่วยจึงเกิดภาวะขาดอาหารและมักเกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้นตามมา) หรือบางครั้งเซลล์ที่อักเสบและตายไปจะรวมตัวกันจนเกิดถุงน้ำเทียมขึ้นมาก็ได้ เรียกว่า “ถุงน้ำตับอ่อนที่เกิดจากตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง” (Pancreatic pseudocyst) โรคนี้เป็นโรคที่พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเช่นกัน และมักเป็นในคนวัยหนุ่มหรือกลางคน มาจากสาเหตุการดื่มแอลกอฮอล์จัด (มักจะเกิดขึ้นในคนที่อยู่ในวัย 30-40 ปี) โดยจะพบได้ประมาณ 26-200 รายต่อประชากร 100,000 ราย ทั้งนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและเชื้อชาติ เช่น ในฝรั่งเศสจะพบได้ประมาณ 26 ราย ส่วนในอินเดียตอนใต้จะพบได้ประมาณ 200 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย เป็นต้น
IMAGE SOURCE : Simmedic UKM, www.studyblue.com

กลไกการอักเสบของตับอ่อน

กลไกที่ทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าการอักเสบของตับอ่อนน่าจะเกิดจากน้ำย่อยอาหารจากตับอ่อน โดยเฉพาะชนิดที่เรียกว่า “ทริปซิน” (Trypsin) ซึ่งเป็นน้ำย่อยโปรตีนที่ปกติแล้วจะไม่ทำงานเมื่ออยู่ในตับอ่อน แต่จะทำงานก็ต่อเมื่อเข้าไปอยู่ในลำไส้เล็ก โดยเซลล์ของลำไส้เล็กตอนบนจะสร้างเอนไซม์ ชื่อ “เอนเทอโรไคเนส” (Enterokinase) ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้น้ำย่อยตับอ่อนทำงาน แต่เมื่อเซลล์ของตับอ่อนเกิดการอักเสบจากสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ก็จะส่งผลทำให้เกิดสารเคมีผิดปกติต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งจะไปกระตุ้นให้น้ำย่อยของตับอ่อนโดยเฉพาะทริปซินทำงาน น้ำย่อยเหล่านี้จึงย่อยสลายเซลล์ของตับอ่อนและก่อให้เกิดเป็นโรคตับอ่อนอักเสบขึ้นมา

นอกจากนี้ กลไกการอักเสบยังอาจเกิดจากมีการทำลายหรือก่อให้เกิดการอักเสบโดยตรงต่อเซลล์ของตับอ่อนจากสาเหตุต่าง ๆ ได้ด้วย เช่น จากการดื่มแอลกอฮอล์จัด หรือการอักเสบของเนื้อเยื่อตับอ่อนจากโรคภูมิต้านตนเอง (Autoimmune disease) เป็นต้น

สาเหตุของโรคตับอ่อนอักเสบ

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า โรคตับอ่อนอักเสบทั้งการอักเสบชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรังนั้นมีความเกี่ยวพันกัน เพราะการอักเสบเรื้อรังจะเกิดต่อเนื่องมาจากการอักเสบเฉียบพลัน ดังนั้นสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงจึงเหมือนกัน ซึ่งสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อย ๆ (รวมกันประมาณ 80%) ของโรคตับอ่อนอักเสบทั้งหมดจะมีอยู่ด้วยกัน 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ จากโรคนิ่วในถุงน้ำดีและจากการดื่มแอลกอฮอล์จัด

  1. โรคนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) เกิดจากนิ่วในถุงน้ำดีที่หลุดเข้าไปในท่อน้ำดี (โรคนิ่วในท่อน้ำดี) ซึ่งท่อน้ำดีนี้จะเปิดเข้าลำไส้เล็กในตำแหน่งเดียวกันกับท่อตับอ่อน นิ่วในท่อน้ำดีจึงก่อให้เกิดการอุดตันและการอักเสบของท่อตับอ่อน แล้วกลายเป็นสาเหตุของตับอ่อนอักเสบในที่สุด
  2. การดื่มแอลกอฮอล์จัด เกิดจากพิษของแอลกอฮอล์ที่เข้าไปทำลายเซลล์ของตับอ่อนโดยตรง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นตามหลังจากการดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 2-12 ชั่วโมง (แต่บางคนอาจนาน 1-3 วันได้ และบางคนที่ไวต่อแอลกอฮอล์เป็นพิเศษจะเกิดขึ้นหลังจากการดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยได้)
  3. สาเหตุอื่น ๆ เป็นสาเหตุที่พบได้น้อยกว่า คือ พบได้รวมกันประมาณ 20% ของการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบทั้งหมด ได้แก่
    • การสูบบุหรี่ โดยเกิดจากสารพิษจากบุหรี่ที่เข้าไปทำลายเซลล์ของตับอ่อน
    • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น เตตราไซคลีน (Tetracycline), ยาซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides), ยาขับปัสสาวะไทอะไซด์ (Thiazide) และฟูโรซีไมด์ (Furosemide), ยาสเตียรอยด์ (Steroids), ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs), ยากดภูมิคุ้มกันอะซาไธโอพรีน (Azathioprine), ยาเคมีบำบัดเมอร์แคปโตพิวรีน (Mercaptopurine), ยารักษาวัณโรคบางชนิด, ยากรดวาลโปรอิก (Valproic acid), ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นต้น
    • โรคเรื้อรังบางชนิดที่ก่อให้เกิดสารเคมีเป็นพิษขึ้นในร่างกาย เช่น โรคไตเรื้อรัง
    • ภาวะไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ในเลือดสูง (Hyperlipidemia)
    • ภาวะมีแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercal­cemia) เช่น จากการรับประทานวิตามินดีและแคลเซียมเสริมในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง
    • ภาวะขาดพาราไทรอยด์ (Hypoparathyroidsm)
    • การติดเชื้อแบคทีเรียของตับอ่อน
    • การติดเชื้อไวรัสของตับอ่อน เช่น เชื้อไวรัสมัมพ์ (Mumps virus) ที่ทำให้เกิดโรคคางทูม, เชื้อไวรัสรูเบลลา (Rubella virus) ที่ทำให้เกิดโรคหัดเยอรมัน, เชื้อไวรัสเฮปาไตติส (Hepatitis virus) ที่ทำให้เกิดโรคไวรัสตับอักเสบ, เชื้อไวรัสเอ็บสไตน์-บาร์ (Epstein-Barr virus), เชื้อไวรัสไซโตเมกะโล (Cytomegalovirus)
    • โรคภูมิต้านตนเอง (Autoimmune disease)
    • โรคมะเร็งท่อน้ำดี โรคมะเร็งถุงน้ำดี หรือโรคมะเร็งตับอ่อน (สาเหตุจากโรคมะเร็งเป็นสาเหตุที่พบได้น้อย)
    • ภาวะหรือความผิดปกติทางพันธุกรรมบางอย่างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดมีตับอ่อนอักเสบ (เป็นสาเหตุที่พบได้น้อยมาก มักเกิดขึ้นในคนหนุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ซึ่งอาจเป็นมานานหลายปีก่อนที่แพทย์จะวินิจฉัยได้)
    • การได้รับบาดเจ็บที่ตับอ่อนโดยตรง เช่น จากอุบัติเหตุหรือการได้รับบาดเจ็บที่ช่องท้อง จากการผ่าตัดในช่องท้อง จากขั้นตอนการผ่าตัดทางเดินน้ำดีและต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง (เป็นเหตุทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบหลังการผ่าตัด)
    • บางครั้งอาจไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด
IMAGE SOURCE : www.mayoclinic.org

อาการของโรคตับอ่อนอักเสบ

อาการของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่

  • ปวดท้องเฉียบพลันตรงช่องท้องตรงกลางส่วนบน (บริเวณใต้ลิ้นปี่) ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดอย่างรุนแรง (อาการเมื่อเริ่มปวดจนถึงปวดอย่างรุนแรง อาจใช้เวลาประมาณ 10 นาทีจนถึงหลายชั่วโมง) โดยจะปวดแบบตื้อ ๆ ตลอดเวลาต่อเนื่องกันเป็นวัน ๆ หรือหลายวันติดต่อกัน และมักปวดร้าวไปที่หลัง (พบได้ประมาณ 50% ของผู้ป่วย) เพราะตับอ่อนเป็นอวัยวะที่อยู่ลึกในช่องท้องส่วนที่อยู่ติดทางด้านหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ หรือเคลื่อนไหวหรือเวลานอนหงาย (แต่จะรู้สึกสบายขึ้นเวลานั่งโก้งโค้ง) อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายที่มีโรคเรื้อรังที่มีผลต่อการอักเสบของประสาท อาจมีตับอ่อนอักเสบโดยที่มีอาการปวดไม่มากก็ได้ เช่น ในผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคไตเรื้อรัง
  • อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง
  • มักมีไข้ (ซึ่งมีได้ทั้งไข้สูงและไข้ต่ำ) คลื่นไส้ อาเจียน (ประมาณ 70-90% ของผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ลักษณะของอาเจียนจะเป็นน้ำย่อย แต่อาจจะมีน้ำดีปนด้วย)
  • กดหน้าท้องจะเจ็บ (มักจะไม่มีอาการท้องแข็ง)
  • หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว
  • ถ้าเป็นการอักเสบชนิดรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะขาดน้ำ (กระหายน้ำ ผิวแห้ง ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว และอาจมีภาวะช็อก) และ/หรือมีอาการอ่อนเพลียมาก มีจ้ำเขียวขึ้นที่หน้าท้องหรือรอบ ๆ สะดือ มือเท้าเกร็ง (จากภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ) และ/หรือมีอาการจากการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ หรือไตวายเฉียบพลัน

อาการของโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ได้แก่

  • ผู้ป่วยจะมีอาการเช่นเดียวกับตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันเมื่อเกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันทับซ้อน
  • มีอาการปวดท้องเป็นอาการหลักในลักษณะเช่นเดียวกับการอักเสบเฉียบพลัน (ปวดท้องตรงใต้ลิ้นปี่ หรือชายโครงด้านซ้าย และปวดร้าวไปที่บั้นเอวด้านซ้าย) แต่จะมีความรุนแรงน้อยกว่าและปวดท้องอย่างเรื้อรัง (อาการปวดจะทิ้งช่วงห่างกันเป็นเดือนหรือเป็นปี และจะพบได้บ่อยขึ้นเรื่อย ๆ จนปวดตลอดเวลา) และนอกจากจะปวดมากขึ้นหลังเมื่อรับประทานอาหารและดื่มน้ำแล้ว (โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมัน) ยังปวดมากขึ้นเมื่อดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย
  • ท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระของผู้ป่วยจะมีลักษณะเป็นไขมันจากไขมันย่อยไม่ได้ เมื่อเป็นมากในขณะที่ถ่ายอุจจาระไขมันจะลอยขึ้นมาให้เห็นในโถส้วมและมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก มีลมในท้อง น้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่องทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยยังรับประทานอาหารได้ปกติ และไม่มีอาการเบื่ออาหารแม้แต่น้อย เนื่องจากอาหารดูดซึมไม่ได้เพราะขาดน้ำย่อยอาหาร ทำให้เป็นโรคขาดอาหาร มีอาการอ่อนเพลีย และถ่ายอุจจาระเป็นไขมัน (Oily stool) ดังกล่าว
  • ถ้าเป็นมากจนตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ อาจทำให้มีอาการของโรคเบาหวานร่วมด้วย
  • บางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง (มีภาวะดีซ่าน) จากการอักเสบเรื้อรังและก่อให้เกิดการดึงรั้งปากท่อน้ำดีที่อยู่ติดกับปากท่อของตับอ่อน ส่งผลให้เกิดการอุดกั้นทางเดินน้ำดีจากตับ น้ำดีจึงท้นเข้าหลอดเลือดแล้วก่อให้เกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้ม และน้ำดีไหลลงลำไส้ไม่ได้ (ส่งผลให้อุจจาระมีสีซีด ซึ่งเป็นสีจากน้ำดี)
  • ผู้ป่วยเรื้อรังบางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ เลยก็ได้ หรือบางรายอาการปวดท้องอาจหายไปแม้ว่าโรคจะเลวลงก็ตาม
IMAGE SOURCE : lineshjose.com

ภาวะแทรกซ้อนของโรคตับอ่อนอักเสบ

อาจทำให้เกิดฝีตับอ่อน (Pancreatic abscess), ถุงน้ำเทียม (Pseudocyst) ในช่องท้อง, ภาวะไตวาย (Renal failure), ภาวะช็อก, ปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema), ภาวะขาดอาหาร, โรคเบาหวาน (โดยเฉพาะในคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานมาก่อน มักจะมีแนวโน้มเกิดโรคเบาหวานได้ง่ายขึ้น) และในกรณีที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบรุนแรงจะมีการตายของเซลล์ของตับอ่อนซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อโรคได้ง่าย เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายถึงกับเสียชีวิต

การวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบ

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังได้ด้วยวิธีคล้าย ๆ กัน คือ

  • การซักประวัติต่าง ๆ ได้แก่ ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาทั้งในอดีตและปัจจุบันของผู้ป่วย ประวัติการสูบบุหรี่ และโดยเฉพาะประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ (ผู้ป่วยบางรายอาจมีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์จัดหรือกินเลี้ยงมาก่อนสัก 12-24 ชั่วโมง)
  • การตรวจร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยอาจมีไข้, หน้าท้องกดเจ็บ (มักไม่มีอาการท้องแข็ง), ท้องอืด (เมื่อใช้เครื่องฟังตรวจท้องจะพบเสียงโครกครากของลำไส้ลดลง), อาการดีซ่าน, ภาวะขาดน้ำและภาวะช็อก (กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ)
  • การเจาะเลือดตรวจหาระดับเอนไซม์อะไมเลส (Amylase) และไลเปส (Lipase) ซึ่งในภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันมักพบว่า Amylase จะเริ่มมีค่าสูงขึ้นภายใน 6-12 ชั่วโมง เมื่อเริ่มมีตับอ่อนอักเสบ และจะอยู่ในเลือดได้ประมาณ 3-5 วัน (แต่ในบางกรณีก็อาจพบว่า Amylase มีค่าสูงโดยไม่มีตับอ่อนอักเสบ เช่น ภาวะต่อมน้ำลายอักเสบ หรือมีตับอ่อนอักเสบโดยที่ระดับของ Amylase ในเลือดยังปกติก็ได้ เช่น ภาวะ Hypertriglyceridemia) ส่วนค่าของ Lipase จะพบว่ามีระดับเพิ่มสูงขึ้นในเลือดตั้งแต่วันแรกของการมีตับอ่อนอักเสบ และค่าจะกลับสู่ปกติใน 8-14 วัน (แต่ค่า Lipase ก็อาจจะสูงกว่าปกติได้โดยไม่มีภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน เช่น ภาวะไตวาย)
  • การตรวจภาพตับอ่อนด้วยอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) ซึ่งมักทำให้ 24 ชั่วโมงแรก เพื่อหาสาเหตุว่าตับอ่อนอักเสบเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดีหรือไม่ แต่การตรวจนี้จะได้ประโยชน์น้อยถ้าใช้ในการวินิจฉัยตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน เนื่องจากตับอ่อนจะถูกลมในลำไส้ปิดบังจนทำให้เห็นลักษณะของตับอ่อนได้ไม่ชัดเจน และ/หรือ
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) มักนิยมใช้ในกรณีที่เป็นการตรวจเพื่อดูความรุนแรงของภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (การตรวจในกรณีนี้ผู้ป่วยจะต้องมีอาการตับอ่อนอักเสบเกินกว่า 48-72 ชั่วโมงขึ้นไป), เพื่อตัดสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องออกไป (เช่น ลำไส้ขาดเลือด กระเพาะอาหารทะลุ เป็นต้น), เพื่อดูภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ถุงน้ำเทียม (Pseudocyst) ฯลฯ
  • การตรวจด้วยวิธีเฉพาะอื่น ๆ เพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนที่เรียกว่า “อีอาร์ซีพี” (Endoscopic retrograde cholangiopancreatography – ERCP) ว่ามีนิ่วอุดตันหรือไม่ เป็นต้น
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการทั่วไป เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC), การตรวจการทำงานของตับ (Liver function test), การตรวจระดับแคลเซียมในเลือด, การตรวจน้ำตาลในเลือด (Blood sugar), การตรวจไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
IMAGE SOURCE : radiologypics.com

วิธีรักษาโรคตับอ่อนอักเสบ

การรักษาโรคตับอ่อนอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง คือ การรักษาประคับประคองตามอาการและการรักษาที่สาเหตุ

  1. การรักษาประคับประคองตามอาการ เป็นการรักษาอันดับแรกที่สำคัญมาก เพราะผู้ป่วยมักจะรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้น้อย แพทย์จึงมักต้องรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลและให้การรักษาดังนี้
    • ให้งดการรับประทานอาหารและน้ำเพื่อลดการทำงานของตับอ่อนจนกว่าอาการอักเสบจะทุเลาลง
    • ให้น้ำเกลือและสารอาหารทางหลอดเลือดดำให้เพียงพอ (เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและช็อก) และให้เกลือแร่ต่าง ๆ อยู่ในระดับสมดุลจนกว่าผู้ป่วยจะสามารถรับประทานอาหารทางปากได้ (ในบางครั้งเมื่อผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องใส่สายจากจมูกเข้าสู่กระเพาะอาหารเพื่อดูดน้ำย่อยของกระเพาะอาหารออกให้หมด เพื่อลดการตึงตัวของท้องและลดอาการคลื่นไส้อาเจียน)
    • การให้ยาแก้ปวดตามระดับอาการปวดของผู้ป่วย (บรรเทาอาการปวดท้อง) โดยทั่วไปแพทย์จะเริ่มให้ยาแก้ปวดเบา ๆ ก่อน เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) ถ้าเอาไม่อยู่ก็จะขยับไปใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ยาอิโทริคอกซิบ (Etoricoxib) ที่มีชื่อการค้าว่า อาร์โคเซีย (Arcoxia) แต่ถ้ายังเอาไม่อยู่ก็ไปใช้ยาแรงขึ้นอย่างทรามาดอล (Tramadol) และถ้ายังเอาไม่อยู่อีก (ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องมาก) แพทย์อาจให้ยาที่เข้าพวกฝิ่น เช่น ยาฉีดแก้ปวดเพนตาโซซีน (Pentazocine) ที่มีชื่อทางการค้าว่า Sosegon®
    • การให้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
    • การแก้ไขภาวะกรด (Metabolic acidosis) โดยให้โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicar­bonate)
    • การให้เลือดถ้าผู้ป่วยมีภาวะซีด
    • เมื่อรักษาจนปลอดภัยดีแล้ว แพทย์จะค่อยตรวจหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุต่อไป
  2. การรักษาที่สาเหตุและภาวะแทรกซ้อน เช่น
    • การรักษานิ่วในถุงน้ำดีหรือนิ่วในท่อน้ำดีด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามแต่ขนาดของก้อนนิ่ว ตำแหน่ง อาการ สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การส่องกล้องหรือผ่าตัดเพื่อเอานิ่วออก
    • การให้เลิกดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด รวมถึงให้เลิกสูบบุหรี่ด้วย
    • การให้ยาปฏิชีวนะเมื่อการอักเสบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
    • การผ่าตัดตับอ่อน ถ้าตับอ่อนอักเสบมากจนเกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อตับอ่อน
    • การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคตับอ่อนอักเสบ เช่น การรักษาภาวะไตวาย ถุงน้ำเทียม (Pseudocyst)
  3. สำหรับในผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง แพทย์จะให้การรักษาดังนี้
    • แพทย์อาจจำเป็นต้องรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือ ให้อาหารทางสายผ่านจมูกลงสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งอาจให้ติดต่อกันนานหลายอาทิตย์ถ้าผู้ป่วยอยู่ในภาวะขาดอาหาร
    • ให้รับประทานยาแก้ปวดเป็นประจำ โดยจะมีตารางการรับประทานยาคล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
    • ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับยาคลายเครียด
    • ให้รับประทานยาหรือฉีดวิตามินเสริมต่าง ๆ โดยเฉพาะชนิดที่ละลายในไขมันได้ เพราะร่างกายจะดูดซึมไขมันได้น้อย ผู้ป่วยจึงมักจะขาดวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค
    • ให้รับประทานยาเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร (เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ตามปกติแล้ว) ดื่มน้ำให้มาก เน้นรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูง จัดตารางการรับประทานอาหารที่มีขนาดไม่มากและรับประทานให้บ่อยกว่าปกติ
    • จำกัดการรับประทานอาหารไขมัน เพราะเมื่อตับอ่อนไม่ดีก็จะไม่มีน้ำย่อยมาย่อยไขมัน ถ้าเป็นมากจะถึงขั้นถ่ายออกมาเป็นไขมัน (ในกรณีที่ร่างกายขาดอาหารไขมัน ให้กินไขมันที่เป็น Medium chain triglycerides ซึ่งดูดซึมที่ลำไส้เล็กได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยน้ำย่อยจากตับ เช่น พรีเจสติมิล (Pregestimil) หรือสารอาหารชื่อ โปรชัวร์ (Prosure) หรือถ้าไม่มีก็รับประทานน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มก็ใช้ได้เหมือนกัน)
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีสารกาเฟอีน เช่น กาแฟ เนื่องจากกาเฟอีนเป็นสารที่กระตุ้นกระเพาะอาหาร
    • ให้การดูแลรักษาโรคและอาการที่เกิดจากผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน อาการตัวเหลือง ตาเหลือง (ภาวะดีซ่าน)
    • ในบางครั้งการรักษาอาจต้องผ่าตัดตับอ่อน
    • ส่วนตัวผู้ป่วยเองก็ต้องระวังเรื่องการรับประทานยาต่าง ๆ ให้มาก เพราะยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงที่เป็นพิษต่อเซลล์ของตับอ่อนดังที่กล่าวไปแล้ว
  4. การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
    • เมื่อมีอาการของโรคตับอ่อนอักเสบดังที่กล่าวไปในหัวข้ออาการ ต้องรีบไปพบแพทย์เสมอ อาจภายใน 24 ชั่วโมง หรือฉุกเฉิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
    • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลอย่างเคร่งครัด
    • รับประทานยาต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน โดยเฉพาะยาแก้ปวดและยาช่วยย่อยอาหารต่าง ๆ
    • เลิกดื่มแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด
    • จำกัดการรับประทานอาหารไขมัน (อาหารที่มีไขมันมากควรหลีกเลี่ยง)
    • ไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ อย่าได้ขาด เพราะหากกลายเป็นเรื้อรังหรือมีเบาหวานแทรกซ้อนจะได้รักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ
    • รีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือมีอาการเลวลง หรือเมื่อกังวลในอาการที่เป็นอยู่
    • เมื่อหายดีแล้ว ห้ามดื่มแอลกอฮอล์อีกต่อไป เพราะอาจทำให้อาการกำเริบได้อีก และควรงดอาหารที่มีไขมันมาก ๆ
IMAGE SOURCE : www.steadyhealth.com

วิธีป้องกันโรคตับอ่อนอักเสบ

การป้องกันโรคตับอ่อนอักเสบ คือ การลดปัจจัยเสี่ยง ซึ่งที่สำคัญคือ

  1. ลดหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง “นิ่วในถุงน้ำดี”)
  2. งดการดื่มแอลกอฮอล์หรือจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ (ถ้าจะดื่มควรดื่มไม่เกิน 2 หน่วยสำหรับทั้งหญิงและชาย โดยปริมาณ 1 หน่วย คือ 30 ซีซีของวิสกี้ หรือเบียร์ 1 กระป๋องหรือขวดเล็ก หรือ 1 แก้วไวน์)
  3. ไม่สูบบุหรี่
  4. ไม่ใช้ยาต่าง ๆ อย่างพร่ำเพรื่อ แต่ให้ใช้ยาเฉพาะเมื่อจำเป็น และควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์เสมอก่อนที่จะซื้อยาใด ๆ มารับประทานเอง
  5. รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดี โดยการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ เพื่อช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคตับอ่อนอักเสบ

  • โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันโดยทั่วไปเป็นโรคไม่รุนแรง สามารถรักษาให้หายได้ประมาณ 80% ภายในประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่อีกประมาณ 20% จัดเป็นโรคที่รุนแรง (มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงจนต้องนอนในห้อง ICU) และทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้ประมาณ 30% ซึ่งโอกาสจะเกิดโรครุนแรงจะมีสูงกว่าถ้ามีสาเหตุมาจากโรคนิ่วในถุงน้ำดีหรือนิ่วในท่อน้ำดี (มากกว่าที่มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์จัด)
  • ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันสามารถเกิดเป็นซ้ำได้ ถ้ายังไม่สามารถรักษาหรือควบคุมที่สาเหตุได้
  • ตับอ่อนอักเสบในกลุ่มที่มีอาการรุนแรงมักเกิดจาก เมื่อเซลล์ของตับอ่อนอักเสบจะก่อให้เกิดสารเคมีหลายชนิดเข้าสู่กระแสเลือดและไปก่อให้เกิดการอักเสบในหลาย ๆ อวัยวะ ที่พบได้บ่อย ๆ คือ กล้ามเนื้อหัวใจ ปอด และไต ก่อภาวะหายใจล้มเหลวและภาวะหัวใจล้มเหลว และไตวายเฉียบพลัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
  • ในโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรังนั้น ในทางการแพทย์จัดเป็นโรคที่รุนแรงและรักษาไม่หาย แต่สามารถบรรเทาอาการได้โดยที่ผู้ป่วยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ไปตลอดชีวิต เพราะผู้ป่วยมักมีผลข้างเคียงหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา เช่น อาการปวดท้องเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ภาวะขาดอาหาร โรคเบาหวาน จนส่งผลถึงคุณภาพชีวิตและเป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • นิ่วในถุงน้ําดี (Gallstone) อาการ สาเหตุ การรักษานิ่วในถุงน้ำดี 7 วิธี !!
  • มะเร็งตับอ่อน อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคมะเร็งตับอ่อน 5 วิธี !
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2.  “ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)”.  (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ).  หน้า 519-521.
  2. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.  “Approach to patient with acute pancreatitis”.  (นพ.นรินทร์ อจละนันท์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : med.mahidol.ac.th.  [18 ก.พ. 2017].
  3. หาหมอดอทคอม.  “ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)”.  (ศ.เกียรติคุณ พญ.พวงทอง ไกรพิบูลย์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : haamor.com.  [19 ก.พ. 2017].
  4. Siamhealth.  “ตับอ่อนอักเสบ Pancreatitis”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.siamhealth.net.  [19 ก.พ. 2017].
  5. นพ.มานิตย์ วัชร์ชัยนันท์.  “Pancreatitis”. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : vatchainan2.blogspot.com.  [20 ก.พ. 2017].
  6. ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ.  “ตับอ่อนอักเสบ”.  (นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.bangkokhealth.com.  [18 ก.พ. 2017].

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย

เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง