ส่วนประกอบ ของเครื่องพ่นสี

เครื่องพ่นสีไฟฟ้า
airless sprayer
เครื่องพ่นสี
เครื่องพ่นสี airless
เครื่องพ่นสีแรงดันสูง

เครื่องพ่นสีไฟฟ้า/เครื่องพ่นสีแรงดันสูง TWtools airless TWP4.0 Airless Sprayer เป็นเครื่องพ่นสีระบบไฟฟ้าขนาดกระทัดรัด ไม่จำเป็นต้องใช้ถังลม ระบบอัดสีเป็น ไดอะแฟรม เคลื่อนย้ายง่าย เหมาะกับงาน แบบมืออาชีพ งานพ่นสีอุตสาหกรรม งานพ่นสีโครงการ พ่นสีโรงงาน พ่นสีหลังคา เหมาะสำหรับช่างผู้รับเหมาที่ต้องการงานปริมาณ เยอะ โดยใช้คนน้อย เครื่องพ่นสีรุ่น TWP4.0 สามารถใช้งานกับสีหลากหลายชนิดได้ทั้งvarnish, colorant, latex paint, emulsion, primersสี oil base และ water base

อุปกรณ์มาตรฐานในกล่องเครื่องพ่นสี TWP4.0
1. ตัวเครื่องพ่นสี TWP4.0
2. สายพ่นสียาว 15 เมตร
3. ปืนพ่นสีอย่างดี
4. สเปย์ทิป No. 521 สามารถแลกเปลี่ยนเป็นขนาดอื่นได้
6. สายดูดสี
7.ตัวต่อขยายความยาวปืนพ่น 45 ซม

จุดเด่นของเครื่องพ่นสี TWP4.0
-Induction motor  มอเตอร์ประสิทธิภาพสูงและไออะแฟลมขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับสีที่มีความหนืดสูงได้

-เป็นเครื่องพ่นสีไฟฟ้าระดับมืออาชีพ สำหรับงานพ่นซ่อมสี ได้หลากหลายทั้ง varnish, colorant, latex paint, emulsion, primers พ่นเรซิน กันซึม ปกปิดรอยแตกร้าว
-พ่นสีได้อย่างประหยัด เป็นละอองฝอยอย่างเล็ก เมื่อใช้ร่วมกับปืนพ่นสี TWtools
-ง่ายต่อการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงด้วยตัวเอง มีอะไหล่ขายให้ลูกค้าสามารถเปลี่ยนเองได้
-ขนาดกระทัดรัด เบา เคลื่อนย้ายง่ายไปยังหน้างานก่อสร้าง มีล้อช่วยให้ง่ายในการเคลื่อนย้าย

รีวิวการใช้งานเครื่องพ่นสี TWP4.0

เครื่องพ่นสีแอร์เลส TWP4.0

4L/min Max spray Tip 0.025"


รับประกันสินค้า 6 เดือน

การใช้กาพ่นสีแทนการใช้แปรงทาสีหรือลูกกลิ้งมีประโยชน์มากมาย กาพ่นสีทำให้การทำงานของคุณ เร็วขึ้นเนื่องจากสามารถครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดาย นอกจากนี้ยังสามารถปกปิดพื้นผิวที่ขรุขระหรือไม่เรียบ และเข้าไปในบริเวณที่เข้าถึงได้ยาก เช่น มุมต่างๆ โดยทิ้งพื้นผิวที่ดูเหมือนทำโดยมืออาชีพ หากใช้อย่างถูกต้อง กาพ่นสีจะเสียสีน้อยลง ประหยัดเงิน เมื่อคุณทาสีเสร็จแล้วกาพ่นสีจะทำความสะอาดได้ง่ายกว่าแปรงหรือลูกกลิ้ง และคุณไม่จำเป็นต้องล้างสิ่งต่างๆ เช่น ถาดลูกกลิ้งหรือเครื่องกวนสีนั่นเอง 

ด้วยกาพ่นสีที่มีอยู่ไม่กี่แบบในท้องตลาด สิ่งสำคัญคือต้องเลือกที่เหมาะกับคุณและงานของคุณ กาพ่นสีทั่วไปมีประเภทในการงานงาน มีแบบ สุญญากาศ และแรงดันสูง แรงดันต่ำ (HVLP) เครื่องพ่นสีไร้อากาศมีมอเตอร์ไฟฟ้าที่ดึงสีขึ้นมาและดันออกจากหัวฉีดที่แรงดันสูง ในขณะที่เครื่องพ่น HVLP จะพ่นสีภายใต้แรงดันต่ำเพื่อสร้างสเปรย์ที่ละเอียดมากออกมา

กาพ่นสีสุญญากาศ -มีหลากหลายรุ่นตั้งแต่เครื่องขนาดเล็กแบบใช้มือถือ ไปจนถึงรุ่นกึ่งมืออาชีพสำหรับงานขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับพื้นผิวภายนอกที่มีขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เช่น รั้ว ไม้เลื้อย เพิง กระดานสภาพอากาศ ศาลา ประตูโรงรถ ระแนง และผนัง ใช้กับสีน้ำ (อะคริลิค) และสีน้ำมัน ไพรเมอร์ ทับหน้า (เคลือบฟัน) สีอลูมิเนียม สารกันบูดไม้ ขัดเงา น้ำมันและคราบ

กาพ่นสีลม - เครื่องพ่นลมแบบใช้ลมใช้ลมอัดในการพ่นสีกับพื้นผิว ทำให้ได้พื้นผิวที่เรียบเนียนและสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับทาสีเฟอร์นิเจอร์และตู้ อย่างไรก็ตาม เครื่องพ่นลมอัดนั้นเลอะเทอะและปล่อยสเปรย์เกินออกมามากกว่ารุ่นอื่นๆ พวกเขายังใช้สีมากที่สุด แต่เครื่องพ่นสารเคมีนั้นมีราคาน้อยกว่าเครื่องพ่นสุญญากาศหรือ HVLP หากคุณมีเครื่องอัดอากาศอยู่แล้ว คุณเพียงแค่ต้องมีท่อที่ดีและปืนพ่นสี

กาพ่น HVLP - เครื่องพ่น HVLP นำหยดสีไปบนอากาศในปริมาณที่คงที่แต่มีปริมาณมาก สีจะเคลื่อนที่ช้าลงเพื่อให้มีหยดน้ำเกาะติดกับพื้นผิวมากขึ้น ทำให้เกิดพื้นผิวที่เรียบเนียน เครื่องพ่นสารเคมีเหล่านี้เสียสีน้อยกว่า แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีราคาสูงกว่าเครื่องพ่นอื่นๆ เหมาะสำหรับใช้ในโครงการตกแต่งภายใน เช่น ตู้พ่นสี แผ่นปิด แม่พิมพ์ และประตู หลีกเลี่ยงการใช้สีที่หนากว่า (แลคเกอร์หรือวาร์นิช) เว้นแต่ว่าคุณจะลงทุนในเครื่องพ่นสารเคมีเชิงพาณิชย์ราคาแพง

     ส่วนใหญ่แล้วมือสมัครเล่นอย่างผมมือทำชิ้นงานเสร็จแล้วก็มักจะใช้วิธีการทำสีด้วยแปรงเพราะจำนวนงานมันน้อย แค่ชิ้นสองชิ้น จะใช้วิธีการพ่นก็เปลือง และต้องใช้อุปกรณ์หลายอย่าง แต่ที่สำคัญคือไอ้ตอนล้างอุปกรณ์การพ่นสีนี่ละครับยุ่งยากไปซักนิด ยิ่งถ้าใช้สีน้ำมัน หรือสีแห้งช้าละก็เหนื่อยหน่อยกับชิ้นงานแค่ชิ้นเดียว

แต่ถ้าเราจับงานไม้และชอบมันเข้าแล้ว การพ่นสีจึงเป็นเรื่องจำเป็นเสียแล้ว ประมาณว่าไม่รู้ไม่ได้แล้ว หรือจะรู้แบบงูงูปลาปลา ก็คงไม่ดีนัก งานนี้ผมจึงต้องทำการศึกษาหาความรู้มันสักหน่อย จำได้ว่าเมื่อก่อนเคยลองพ่นสีฝากระโปรงรถเอง และเคยเรียนรู้ด้วยตัวเองบ้างนิดหน่อย และคิดว่าหลักการน่าจะเหมือนกัน จึงกลับไปเอาตำราเก่า และรวบรวมจากเรื่องราวต่างๆและตำราต่างๆที่พอมี รวมถึงเรื่องราวที่พวกพี่ๆมืออาชีพทั้งหลายพูดคุย แชร์กันในเวปนี้มาประติดประต่อกัน ตามแต่จะพอเข้าใจได้ ซึ่งอาจมีข้อผิดพลาดหรือการเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้ ก็ขอให้พี่ๆมืออาชีพ หรือมือสมัครเล่น ที่มีความรู้ทั้งหลายคอยมาชี้แนะ และติเตียนได้น่ะครับ

พอดีว่าจะต้องพ่นสีบานประตูและหน้าต่าง และคิดว่าจะเอาสีพ่นอุตสาหกรรมมาพ่นซะกะหน่อย เนื่องจากมันแห้งเร็วและน่าจะทำงานสีได้เร็วกว่าเลยจำเป็นต้องศึกษาหลักการและวิธีการพ่นกันซักหน่อย ตามประสามือสมัครเล่น ก่อนลงมือจริง

และอีกอย่างนึง ผมก็ลองดูกระทู้เก่าๆ กับข้อมูลที่พอจะหาได้มารวบรวมไว้ตรงกระทู้นี้จะได้หาง่ายนิดนึง และเพื่อว่ามือสมัครเล่นท่านใดจะได้ความรู้ไปด้วยและที่สำคัญเผื่อว่ามืออาชีพในที่นี้หลายๆท่านจะได้เพิ่มเติมเสริมความรู้ให้อีกครับ

ข้อมูลอ้างอิงและความรู้หลายอย่างได้จาก หนังสือเคาะพ่นสีรถยนต์ของอาจารย์พงษ์ศักดิ์ บุญธรรมกุล, คู่มือช่างไม้ในบ้าน(ทำสีให้เครื่องเรือน)ของอาจารย์ศิระ จันทร์สวาสดิ์และพวก, คุณเอ๋เพาะช่าง คุณเดชา คุณดมแต่ฝุ่น คุณ Jack และอีกหลายๆท่านที่แลกเปลียนความคิดเห็นเท่าที่ผมรวบรวมได้ครับ 

ค่อยๆมาเรียนรู้พร้อมๆกันไปกับผมเลยนะครับ

เริ่มเรื่องกันด้วย

เครื่องมือที่ไช้ในการพ่นสี

1.ปั้มลม(ขนาด50 ลิตรขึ้นไป) Air Compressor

2.ตัวปรับแรงดันลมและดักน้ำ Air Control Unit

3.ปินพ่นสี Spay Gun

1. ปั้มลม มีคนถามกันมากว่า ควรใช้ปั้มลมแบบไหนในการพ่นสีถึงจะพอ เท่าที่ทราบคือ มันอยู่ที่การใช้งานของแต่ละท่าน

-ถ้าทำงาน DIY แบบผม เรื่อยๆ ไม่รีบร้อนและงบประมาณพอดีพอดี ก็ต้อง ปั้มลมโรตารี่ ขนาด 50 ลิตร ซึ่งเพียงพอต่องานน้อยชิ้น เพราะมันปั้มลมได้เร็ว เช่น ตู้ หรือชั้นวางของ หรือถ้ามากชิ้นหน่อยก็ยังไหว แต่เราต้องพักเครื่องให้มัน มิเช่นนั้นเครื่องทำงานหนัก (ก็บอกแล้วว่าเหมาะสำหรับงานเรื่อยๆใช้งานไม่หนักมาก)   สำหรับปั้มลมแบบสายพาน อาจจะปั้มลมได้ช้ากว่า แต่ก็พอไหวราคาแพงกว่าหน่อยขอแนะนำว่าควรเป็น 90 ลิตร จะเหมาะกว่า ต่อด้วยปั้มลม oil free ของ puma ยังไงเสียก็ต้อง ใช้อย่างน้อยเป็น รุ่น os 50 ถึงพอจะพ่นสีได้แต่ผมใช้แล้วไม่ค่อยปลื้มเท่าไหร่เพราะปั้มลมช้า แม้มันจะเงียบดีแต่เวลามันตัดลมมีเสียงดังฟี้ ซึ่งจริงๆก็ดังทุกรุ่นเวลามันตัด แต่เพราะตอนมันปั้มลมมันเงียบไงพอมันตัดแล้วตกใจประจำเลยกว่าจะชินกับมัน

สรุปครับ งานDIY, งานอดิเรก,งานพ่นเล็กน้อย ราคาประหยัด ปั้มโรตารี่ ถ้าชอบเงียบมีตังค์หน่อย ก็ puma os 50 ชอบทนมีตังค์หน่อยใจเย็นก็ ปั้มสายพาน 50 หรือ 60 ลิตร

-ถ้าเริ่มจะงานเยอะแล้ว ทำทีละมากๆ งานพ่นสีต้องใช้ปั้มขนาด 90 หรือ 160 ลิตร แล้วครับ จะชอบ oil free เสียงเงียบหรือสายพายจอมทนก็ตามชอบ หรือไม่ก็ มีถังพ่นสีโดยเฉพาะไปเลย งานนี้มืออาชีพรู้ดีอยู่แล้วมิกล้าแนะนำ

 2.ตัวดักน้ำมีที่ปรับแรงดันลม อันนี้สำคัญมากต้องมีเพราะมิเช่นนั้นงานของท่านอาจเป็นฝ้าได้ ต้องหาครีมมาทามาขัดกันมันละท่าน ส่วนใหญ่ที่ตั้งแรงดันลมกันก็ประมาณ 4 บาร์ (60 psi) หรือ ปืนพ่นสีบางตัวดีมากใช้ลมน้อยแค่ 2 บาร์(25-30 psi) ก็ใช้ได้แล้ว และเรื่องสายลมที่ต่อออกจากตัวดักน้ำนั้นไม่ควรยาวมากเพราะอาจเกิดละอองน้ำในสายลมได้ถ้าสายลมยาวมากเนื่องจากอุณหภูมิภายนอกไม่แน่นอนอาจมีความชื้นในอากาศสุงหรืออากาศเย็นเกิดควบแน่นในสายลมก็เป็นได้ขอให้ท่านๆพิจารณาเรื่องนี้ด้วย และอีกอย่างคือสายยาวมากๆระวังสะดุดล้ม สายพันไม่รู้ด้วย

3.ปืนพ่นสี เป็นหนังเรื่องยาวขอกล่าวตอนต่อไป

3. ปืนพ่นสี ที่นิยมใช้กันมีห้าแบบ

3.1แบบไหลลง(Gravity Feed Type)

3.2แบบดูด(Suction Feed Type)

3.3แบบอัด(Air Compression Type)

3.4แบบลมไหลผ่านตลอด/ไม่ไหลผ่านตลอด (Bleeder and Non-Bleeder Type)

3.5แบบพ่นสีล้วน(Airless Spray Type)

เห็นแล้วอึ้งเยอะนะนี่ เอาแบบที่ผมคนเดินดินกินข้าวแกงมีปัญญาใช้ดีกว่าครับ คือ แบบไหลลงกับแบบดูด เห็นไม๊เหลือสองแบบแล้ว คราวนี้เลือกใหม่ งานผมมันงานน้อยแน้นประหยัดขอแบบไหลลง เพราะ

-มันสามารถพ่นได้หลายท่า มุมเงยมุมตะแคงได้หมดโดยปรับกาตามองศาที่เราจะพ่น

-มันประหยัดสี เพราะ สีไหลลงโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกทำให้ใช้สีได้หมดจนหยดสุดท้าย ไม่เหมือนแบบดูดมันจะเหลือสีอยู่ก้นกา ซึ่งการทำงานของปืนพ่นสีแบบดูดและแบบไหลลงจะเหมือนกันมาก จะต่างกันตรงกาใส่สีที่แบบดูดจะใส่สีได้เยอะกว่าตามขนาดกาที่ใหญ่

เมื่อเลือกชนิดกาแล้ว ต่อมาก็ต้องเลือกขนาดของรูพ่นกัน

-ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของรูพ่นสีที่มีส่วนใหญ่จะมีขนาด 0.8-3.0 มม.แน่นอนการใช้งานย่อมแตกต่างกัน งานละเอียดจุดเล็กๆก็มักจะใช้กันที่ 0.8-1.3 มม. งานที่ ใช้ละเอียดปานกลางหรืองานทั่วๆไป จะใช้กันที่ 1.3-1.8 มม. และงานพ่นสีที่มีความเข้มข้นสูงก็จะใช้กันที่ประมาณ 2-2.5 มม. แล้วเราจะใช้ขนาดไหนดีละ อันนี้อยู่ที่งานของท่านล่ะ งานของผมขอเน้นว่าเป็นงานDIY ชนิดทำคนเดียว ผมเลือกขนาดรูพ่นที่ 1.5 มม.เพราะคิดว่ามันกลางๆที่สุดแล้ว พ่นจุดแคบก็พอได้ พ่นพื้นที่กว้างก็ใช้ได้อยู่ แต่ตอนนี้กำลังจะซื้ออีกขนาดคือ 1.8 มม.เิพิ่มอีก ว่าจะเอาไว้พ่นสีรองพื้น หรือสีพื้นบริเวณกว้างหน่อย และด้วยเหตุผลของการใช้งานเฉพาะอย่างรวมถึงการล้างและการดูแลด้วยเพราะ ตัวรูพ่น 1.5 มม.จะเป็นตัวราคาแพง และตัว 1.8 มม.จะเป็นตัวราคาถูกครับ

หมายเหตุ****** ห้ามทำปืนพ่นสีตกเด็ดขาด เพราะมันจะมีอะไรชำรุดอย่างนึงแน่นอน ของผมตกครั้งนีงได้ซ่อมทุกที แบบว่าซวยอ่ะ

ว่าต่อด้วยเรื่อง หัวลม (Air Cap)

หัวลม เป็นตัวจ่ายแรงดันอากาศซึ่งผสมกับสีออกมาเป็นละอองละเอียดเป็นรูปร่างตามที่เราปรับ ซึ่งประกอบด้วย รูตรงกลาง, รูอากาศช่วย และรูด้านข้าง ตามรูปผมถอดออกมาเฉพาะฝาครอบหัวลมมาครับ ส่วนการเลือกหัวลมนั้น แล้วแต่งานและความชอบของท่านครับ ส่วนผมเลือกแบบในรูปครับ คิดว่าทุกอย่างลงตัวสำหรับผม คือ มีรูช่วย 4 รูกำลังดีครับ แต่อันที่จะซื้อที่เป็นขนาด 1.8 นี่ว่าจะหาที่มีรูช่วย 2 รู สำหรับท่านที่อยากได้ละอองออกมาฝอยมากๆควรเลือกที่มีรูช่วยเยอะๆครับ

มาต่อด้วยวิธีการพ่นสีกัน

ระยะห่างของการพ่นสีมีความสำคัญ โดยทั่วไป ปืนพ่นสีขนาดเล็ก เช่น w-88, w-71 ระยะห่างการพ่นสีประมาณ 15-25 ซม. ส่วนปืนพ่นสีขนาดใหญ่เช่น w-87, w-77, w-89, w-70 หรือ w-90 จะมีระยะพ่นสีประมาณ 20-30 ซม. ซึ่งเมือเราปรับการพ่นของการฟุ้งกระจายของสีได้ตามต้องการแล้วการรักษาระยะพ่นจึงจำเป็นมากหากฝึกฝนบ่อยๆก็จะชำนาญเองครับ

ต่ออีกนิดครับ การพ่นชิ้นงานเป็นแผ่น เช่นประตู ควรพ่นขอบตามแนวตั้งก่อน(เช่นขอบประตู) เพื่อป้องกันละอองสีจับเป็นเม็ดหรือเป็นฝุ่นผงหากเราพ่นในแนวนอน(เช่นหน้าบานประตู) และการพ่นขอบควรจะหันหัวลมให้ตั้งฉากกับพื้นเพื่อให้รูปแบบการพ่นเป็นแนวนอนหรือแนวยาวก็จะทำให้ขอบชิ้นงานสีเต็มง่ายและละอองไม่ฟุ้งกระจายมากเกินไป

การพ่นชิ้นงาน ควรเริ่มกดไกปืนพ่นสีก่อนถึงขอบชิ้นงานประมาณ 4 นิ้ว และเดินปืนให้ขนานและตั้งฉากกับชิ้นงานจนเลยขอบชิ้นงานไปประมาณ 4นิ้วจึงจะปล่อยไกปืนพ่นสี จากนั้นเคลื่อนลงต่ำระยะประมาณ 1/3-1/2 ของความกว้างรูปร่างสี และกดไกปืนให้สุด เดินปืนให้ตั้งฉากกับชิ้นงานแล้วย้อนกลับกลับทางแรกจากขวามือไปซ้ายมือ และให้ความกว้างของรูปร่างสีซ้อนทับกัน 50% ของแต่ละเที่ยว (ปืนพ่นสีต้องตั้งฉากกับชิ้นงานเสมอ) ตำราว่าไว้ มาตรฐานความเร็วในการเคลื่อนที่ปืนพ่นสี คือ 600 มม./วินาที (11.81-23.62 นิ้ว/วินาที)

*** เดินปืนพ่นสีช้า สีจะย้อย ***

*** เดินปืนพ่นสีเร็ว สีจะบาง ***


     ปกติก่อนจะพ่นชิ้นงานเราจะต้องปรับลมปืนพ่นสีและทดลองพ่นสี เพื่อดูฝอยสีก่อนที่จะพ่นสีลงบนชิ้นงาน เราจึงต้องตรวจสอบฝอยสีเพื่อแก้ไขต่อไป ดูได้จากรูปภาพ หากลักษณะฝอยสีเป็นรูปพระจันทร์เสียวเราจำเป็นต้องล้างและแปรงตรงบริเวณปลายหัวลม บ้างครั้งอาจต้องเอาเข็มเขี่ยรอบๆรูกลาง พร้อมทั้งล้างด้วยทินเนอร์ หากหัวลมตันเราอาจต้องเอาเข็มเขี่ยรูทุกรู้พร้อมทั้งล้างด้วยทินเนอร์

     เรื่องตัวตักน้ำนี่ผมว่ามันเยอะอยู่เหมือนกันน่ะ แต่เอาที่ผมพอรู้นิดหน่อยน่ะครับ ส่วนใหญ่ตัวที่เป็นที่นิยมและมีชื่อเสียง จะเป็นยี่ห้อ SMC ซึ่งมี Regulator ที่นิ่งและ ตัวกรองของเค้าละเอียด อย่างตัวกรองลมปกติของเค้าละเอียดที่ประมาณ 5 ไมครอน (ไม่รู้เหมือนกันว่าเล็กแค่ไหน) ส่วนตัวละเอียดมากๆของเค้าน่าจะประมาณ 0.01 ไมครอน ซึ่งเอาไว้ใช้ในงานที่สะอาดมากๆๆๆ แต่ในท้องตลาดมักจะเป็นตัวเลียนแบบ เป็นของจีนบ้าง ของใต้หวันบ้าง ถ้าเป็นของใต้หวันจะมีคุณภาพมากกว่าของจีนหน่อย ก็ุคุณภาพตามราคาครับ

แต่ละรุ่นจะต่างกันตรงรายละเอียด ตามภาพครับ และให้เราดูว่า ขนาดเกลียวที่จะต่อข้อต่อสายลมขนาดเท่าไหร่ เช่น รุ่นAWM 40(ที่เก็บน้ำทิ้งประมาณ45 cc.) ข้อต่อ 1/4,3/8 หรือ 1/2 นิ้ว ถ้าของเลียนแบบก็จะประมาณ BFR 2000 (ที่เก็บน้ำทิ้งประมาณ60cc.)ขนาดรูต่อ 1/4 นิ้ว หรือ 2 หุน, หรือ BFR 3000 มีขนาดรูต่อ 3/8 นิ้ว หรือ 3 หุน ก็ให้เราดูรายละเอียดนะครับว่า ปั้มลมเรา รูเกลียวขนาดเท่าไหร่ ซึ่งปกติจะขนาด 1/4 นิ้ว เวลาซื้อ ข้อต่อก็เลือกขนาด 1/4 ให้หมด สายลมก็ด้วยครับ เวลาซื้อก็ดูว่าขนาดเท่าไหร่เช่น สายลมขนาด 5x8 มม. ข้อต่อก็ต้องสวมได้กับสายลม 5x8 มม.ด้วย และบางรุ่นก็มีที่ทิ้งน้ำอัตโนมัติ อันนี้ต้องดูที่ข้างกล่องครับหลายยี่ห้อก็เรียกรหัสไม่เหมือนกันแค่คล้ายๆ ผมว่าดูที่ข้างกล่องดีกว่าครับหรือ รายละเอียดของอันที่จะซื้อครับ

     ตัวที่ผมอยากได้น่ะครับ หาซื้อที่สุราษฎร์ไม่ได้เลย ไม่รู้ซื้อที่ไหน คือ ตัวกรองลมดักน้ำ ของ SMC รุ่น AWM 40 ครับ เพราะ มันดักไอน้ำได้แน่นอนครับ และเก็บน้ำทิ้งได้เยอะหน่อย(ที่บ้านความชื้นสูง) แต่เอาเข้าจริงๆ ใช้ของเลียนแบบรุ่นธรรมดาทั่วไป BFR 2000 ตัวละ 850 บาทก็เอาแล้ว ใช้งานทั่วไป

ส่วนเรื่องสายลม ผมคิืดว่าน่าจะเป็นขนาด 5X8 (ขนาดรูใน 5 มม. ขนาดสายลม 8 มม.) กับ 8x12 มม.ที่คุณหมูถาม เรื่องนี้ผมก็ไม่แน่ใจมากหรอกครับ แต่คิดว่่าสายเล็กน่าจะเหมาะกับเครื่องมือที่ใช้ลมไม่มาก เช่น ปืนพ่นสี และพวกปืนยิงตะปู เครื่องขัดอะไรพวกนี้น่ะครับ ส่วนขนาด 8x12 มม.น่าจะใช้กับพวก บล๊อคลม ตัวกระแทก อะไรพวกนี้น่ะครับ และอีกอย่างนึง สาย 8x12 มม.ก็หนาน่าจะทนกว่าและให้ทางเดินลมเยอะด้วย ผมว่าถ้าใช้กับปืนยิงตะปู หรือเครื่องขัดน่าจะดี แต่ถ้าใช้กับที่เป่าลม ลมน่าจะหมดเร็วน่าดู ยิ่งถ้าปัิมลมเล็กแล้วคงแป๊ปเดียวหมด สรุปว่าสำหรับผมคงยังใช้สายลมแค่ขนาด 5x8 อยู่นะครับเพราะปั้มลมผมเล็กครับ และไม่ค่อยชอบสายอันใหญ่ไปทำให้เทอะทะเวลาพ่นสีครับ และเวลาต่อที่เป่าลมผมว่าปั้มทำงานไม่ทันแน่ๆ ลมน่าจะออกเยอะ

พักงานพ่นสีต้องล้างกาพ่นสีเก็บก่อนนะครับ อันนี้ล้างจริงๆครับ

1.เมื่อพ่นสีเสร็จแล้วให้กดไกปืนพ่นสีที่ค้างในกาออกให้หมดและนำทินเนอร์ใส่ในกา แล้วกดไกปืนพ่นสีเพื่อล้างสีออก(ผมจะใส่ทินเนอร์นิดหน่อย  ในครั้งแรก เพื่อพ่นล้างและนำผ้าชุบทินเนร์ล้างและเช็ดจนภายในกาสะอาด แล้วจึงนำทินเนอร์ใส่ในกาเพื่อพ่นล้างอีก ครึ่งกา
   - พ่นสีใส่ผ้าโดยมีระยะห่างพอประมาณ โดยให้ลมดันทินเนอร์ในกาพ่นสีใหลกลับไปกลับมาในปืนพ่นสี(หากเปิดฝาไว้ระวังทินเนอร์กระเด็นใส่)
   - ล้างกาและฝาให้สะอาด(ผมใช้ผ้าเช็ดเพื่อทำความสะอาดด้วย)

2.ถอดฝาครอบหัวพ่นสี

3.ถอดหัวพ่นสี(ใช้ประแจที่แถมมากับปืนพ่นสีให้หลวมก่อน) แล้วใช้มือกดไกปืนขณะหมุนถอดหัวพ่นสี(ทำเหมือนกันตอนใส่กลับ)

4.ถอดสกรูปรับเข็มจ่ายสี

5.ถอดสปริง และถอดเข็มจ่ายสี

6.ชิ้นส่วนที่ถอด


ถอดแล้วก็ล้างซะหน่อย


     ผมเดาว่า อาจมีคนสับสนเรื่องแรงดันลมกับการใช้งาน เช่น แรงดันลมในถัง กับ ตัวปรับแรงดันลม ซึ่งถ้ามีผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญมาช่วยตอบเพิ่มเติมน่าจะดีน่ะครับ

อันนี้ขอเพิ่มเติมเรื่องนี้จากผู้พอจะรู้บ้างนะครับ (ออกตัวอีกแล้วครับท่านตามประสามือสมัครเล่น)

เริ่มจากแรงดันลมในถังก่อนนะครับ ปกติ ทางโรงงานจะตั้งการทำงานไว้ให้เริ่มเดินเครื่องเมื่อแรงดันลมต่ำที่ประมาณ 4 บาร์ และตัดการทำงานที่ประมาณ 7 บาร์ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถปรับตั้งได้ตามความเหมาะสม (ตามความเข้าใจผมนะครับ) ยกตัวอย่างเลยนะครับ

- เช่น ปืนลม ซึ่งมีหลายขนาด ตามแต่ขนาดลูกแม๊กใช้ยิง ตัวที่กินลมและต้องการแรงดันมากสุดจะเป็นตัวที่ยิงคอนกรีตได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ปืนยิงตะปูต้องการแรงดันลมที่ 6 บาร์โดยประมาณ ถึงจะยิงตะปูจม และทนแรงดันลมได้ไม่เกิน 8 บาร์ (ถ้าใช้กับแรงดันเกินนานๆอาจทำให้ชิ้นส่วนกลไกภายในเสียหายได้ครับ) บางคนอาจเคยสังเกตว่าเมื่อใช้ปินยิงตะปูสักพัก ทำไมยิงตะปุไม่จม เพราะแรงดันลมในถังเหลือต่ำกว่า 6 บาร์มากจนปืนลมไม่มีแรงอัดพอจะยิงตะปูได้ เหตุนี้จึงต้องมีการปรับตั้งการตัดและเปิดการทำงานของปั้มลมครับ

- ปืนพ่นสี ส่วนใหญ่ต้องการแรงดันลมต่ำกว่า 4 บาร์ การตั้งจากโรงงานจึงไม่ค่อยมีผลมากนัก

ต่อมาเรื่อง ตัวปรังแรงดันลม(regulator) ตัวนี้ก็เอาไว้ปรับแรงดันลมไม่ได้เกินกว่าที่เรากำหนด เช่นเราตั้งไว้เมื่อต่อกับปืนพ่นสีที่ 4 บาร์ ถ้าลมในถังเราเพื่งปั้มและตัดที่ 7 บาร์ ตัวปรับแรงดันก็จะรักษาระดับแรงดันลมที่ 4 บาร์ตลอด มันก็จะใช้ได้พอดี แต่ถ้ากรณีเราใช้ตัวปรับแรงดันลมกับปืนลมซึ่งเราตั้งไว้ที่ 6 บาร์ แต่เมื่อเราใช้ลมในถังเหลือมาไม่ถึง 5 บาร์ ตัวปรับแรงดันลมก็ไม่สามารถจะรักษาระดับแรงดันที่ 6 บาร์ได้หรอกครับ ลมก็จะออกมาน้อยยิงตะปูไม่ได้จมไม้แน่นอน

     สรุป ในความคิดของผมนะครับ ถังลมสามารถทนแรงดันได้ประมาณ 10 บาร์ (น่าจะเกินกว่านี้ครับ) ถ้าเราจะตั้งให้มันตัดการทำงานปั้มลมที่ 9 บาร์กว่าๆ และเริ่มให้ปั้มทำงานที่ 6 บาร์ น่าจะดีที่สุด แล้วเราใช้ ตัวปรับแรงดันช่วยในการต่อกับอุปกรณ์ที่เราจะใช้งานครับ ซึ่งเราควรจะมีตัวปรับแรงดันลมสองชุดน่ะครับ เพื่อความสะดวก คือ

1.ตัวดักน้ำและปรับแรงดันลม เพื่อใช้กับกาพ่นสี (ตั้งแรงดันลมที่ 3-4 บาร์)

2.ตัวจ่ายน้ำมันหล่อลื่นและตัวดักน้ำและปรับแรงดันลม เพื่อใช้กับปืนยิงตะปู และอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ตัวขัดกระดาษทราย ไขควงลม ฯลฯ (ตั้งแรงดันลมที่ 6 บาร์)

**************เป็นความเห็นส่วนตัวครับ จากข้อมูลที่รู้มาครับ ผิดถูกแนะนำด้วยครับ****************

หมายเหตู***

ที่ตัวปรับแรงดันลมส่วนใหญ่จะมีสองค่าให้อ่านนะครับ จะมีตัวเลขสีดำ กับ สีแดง (หรือสีอื่นแล้วแต่ละยี่ห้อ) ซึ่งจะบอกค่า ปอนด์ต่อตารางนิ้ว(PSI) และ บาร์(ฺBar) หรือ กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร(Kg/cm2) อาจมีคนสงสัยนิดหน่อยเพราะบางตัวมี PSI และ Bar บอกแต่บางอัน มี PSI และ Kg/cm2 บอก พอดีว่า ตัวค่าวัดของ Bar และ Kg/cm2 จะใกล้เคียงกันมากจึงสามารถเทียบเคียงกันได้ครับ เช่น 4 Bar เกือบเท่าหรือเท่ากับ 4 Kg/cm2 ครับ

1 bar = 1.02 kg/cm2

1 bar = 14.50377 psi

เอาแค่นี้ก่อนนะครับเผื่อบางคนสับสน

เรื่องแรงดันลมนี่ บางท่านอาจจะไม่ทันสังเกตว่ากาพ่นสีใช้ไปได้ระยะหนึงมันจะมีอาการลมรั่วออกมา นั้นเป็นเพราะตัวกาพ่นสีมันรับแรงดันลมมากเกินไป ยิ่งถ้าต่อจากถังตรงๆเลย ยิ่งรั่วไว วีธีป้องกันก็ติดตัวกรองดักน้ำนั้นแหละ เพราะมันสามารถปรับแรงดันลมได้ เราก็ปรับแรงดันลมให้อยู่ในระดับที่กาพ่นสีรองรับได้ วิธีนี้จะช่วยยืดอายุกาพ่นสีเราไปได้อีกนาน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง