แนวคิด อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

Facebook

邮箱或手机号 密码

忘记帐户?

注册

无法处理你的请求

此请求遇到了问题。我们会尽快将它修复。

  • 返回首页

  • 中文(简体)
  • English (US)
  • 日本語
  • 한국어
  • Français (France)
  • Bahasa Indonesia
  • Polski
  • Español
  • Português (Brasil)
  • Deutsch
  • Italiano

  • 注册
  • 登录
  • Messenger
  • Facebook Lite
  • Watch
  • 地点
  • 游戏
  • Marketplace
  • Meta Pay
  • Oculus
  • Portal
  • Instagram
  • Bulletin
  • 本地
  • 筹款活动
  • 服务
  • 选民信息中心
  • 小组
  • 关于
  • 创建广告
  • 创建公共主页
  • 开发者
  • 招聘信息
  • 隐私权政策
  • Cookie
  • Ad Choices
  • 条款
  • 帮助中心
  • 联系人上传和非用户
  • 设置
  • 动态记录

Meta © 2022

แนวคิดเกี่ยวกับไตรภูมิในงานพุทธศิลปกรรมร่วมสมัยของวัดร่องขุ่น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

  • อำนาจ ขัดวิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พุระอธิวัฒน์ รตนวณฺฺโณฺ (ธรรมวัฒน์ศิริ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • จัันทรัสม์ ตาปูลิง
  • ลิปิกร มาแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ: ไตรภูมิ, พุทธศิลปกรรมร่วมสมัย, วัดร่องขุ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัย เรื่อง “แนวคิดเกี่ยวกับไตรภูมิในงานพุทธศิลปกรรมร่วมสมัยของวัดร่องขุ่น             อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย” มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของไตรภูมิในงานพุทธศิลปกรรม และ (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ไตรภูมิในงานพุทธศิลปกรรมของวัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย

ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นมาและความสำคัญของไตรภูมิในงานพุทธศิลปกรรมเป็นคติความเชื่อเรื่องจักรวาลวิทยาพุทธศาสนาที่แสดงออกมาเป็นองค์ความรู้ด้วยวิธีการสร้างจินตภาพที่สะท้อนถึงรูปลักษณ์ของงานด้านพุทธศิลปกรรม โดยอาศัยสัญลักษณ์ต่างๆ ในทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับไตรภูมิ อันประกอบด้วย กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ที่มีรูปแบบและเทคนิคการสร้างสรรค์ที่หลากหลายสะท้อนความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่สัมพันธ์กับงานพุทธศิลป์ ที่ปรากฏอยู่ในพุทธศาสนสถาน

ไตรภูมิที่สะท้อนในงานศิลปะและสถาปัตยกรรมที่วัดร่องชุน จังหวัดเชียงราย เป็นผลงานที่นำมาสร้างสรรค์บนพื้นฐานความเข้าใจของแนวคิดแบบโบราณที่ผสมผสานกับแนวความคิดที่เป็นรูปแบบใหม่ แสดงออกในลักษณะงานที่ร่วมสมัยเป็นรูปแบบที่เป็นปัจเจกทัศนะที่ใส่ความเป็นตัวตนของอาจารย์เฉลิมชัยลงไปในงานออกแบบ ที่สื่อให้เห็นถึงการรับรู้พุทธปรัชญา และการสื่อความหมายภายใต้บริบทในสังคมปัจจุบัน ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างจากในอดีต ลักษณะกระบวนการดังกล่าวมีอิทธิพลอย่างมากต่อการออกแบบของช่างไทยในปัจจุบัน

บรรณานุกรม

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ดาราพร เหมือดนอก. (2541). “เครื่องใช้ในจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดบ้านยางตำบลยาง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเชียน. (2528). ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์การพิมพ์.

พระพงศักดิ์ อภิชฺชโว (รุ่งสง). (2549). “ศึกษาบทบาทสื่อจิตรกรรมฝาผนังในการเผยแผ่พุทธธรรมในพระพุทธศาสนา: ศึกษาเฉพาะกรณีพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญส่งชัย สิงห์กานานนท์. (2541). “ข้อสังเกตต่อทฤษฎีเชิงสร้างสรรค์ทางศิลปะ”. วารสารอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน.

เจตนา นาควัชระ. (2546). ศิลป์ส่องทาง. กรุงเทพมหานคร: คมบาง.

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์. (2549). สร้างพุทธศิลป์เพื่อแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2539). สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 24. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัดร่ำเปิง (ตโปตาราม). (2556). พุทธศิลป์ล้านนา. ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์.

นางสาวจุฑมาศ อินทรรำพันธ์. (2552). “แนวความคิดเรื่องไตรภูมิที่สะท้อนในงานศิลปะและสถาปัตยกรรม วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัดร่ำเปิง (ตโปตาราม). (2556). พุทธศิลป์ล้านนา. ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์.

สมชาติ มณีโชติ. (2529). จิตรกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. “ประกาศเกียรติคุณ”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: //www.culture.go.th/subculture8/attachments/article/161/CHALERMCHAI%20KOSITPIPAT.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562.

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) จิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายอย่าง

ได้มีผลงานเช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป 
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก

และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย

.


ประวัติ

เป็นจิตรกรที่มีฝีมือเป็นที่ยอมรับท่านหนึ่งของประเทศไทย เป็นชาวหมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย

เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายฮั่วชิว แซ่โค้ว
(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายไพศาล) และนางพรศรี อยู่สุขทำคลอดด้วยหมอตำแยชื่อยายตุ่น

ชีวิตตอนเด็กๆ เป็นคนเกเร ไม่ตั้งใจเรียน แต่มีความชอบวาดรูป 
จึงพยายามเข้าเรียนที่เพาะช่าง และมหาวิทยาลัยศิลปากร เคยได้รับเหรียญทองจากการประกวดผลงานระดับชาติ

ในตอนที่เรียนอยู่ตอนปีที่ 4  มีผลงานรูปวาดตามผนังของวัดไทยมากมาย ผลงานปัจจุบัน ท่านตั้งใจที่จะสร้างวัดร่องขุ่น

ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ด้วยศิลปะสมัยใหม่

 (ภาพวาด โดย  อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ )

ลงาน


การแสดงผลงาน เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จัดแสดงผลงานเดี่ยว และร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการสำคัญต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน

    * พ.ศ. 2523 เป็นประธานก่อตั้งกลุ่ม "ศิลปไทย 23" เพื่อต้านอิทธิพลศิลปะจากยุโรป อเมริกา
    * พ.ศ. 2527 เริ่มโครงการจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเดินทางไปเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธปทีป โดยไม่คิดค่าจ้าง
    * พ.ศ. 2539 เริ่มดำเนินการออกแบบก่อสร้างอุโบสถ วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย บ้านเกิดของตนถวายเป็นพุทธบูชาจนถึงปัจจุบัน

รางวัลและเกียรติยศ

    * พ.ศ. 2520 - รางวัลที่ 1 เหรียญทอง จากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 3
    * พ.ศ. 2520 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 จากการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 25
    * พ.ศ. 2522 - รางวัลที่ 2 เหรียญเงิน จากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 4 ของธนาคารกรุงเทพ
    * พ.ศ. 2536 - ได้รับเครื่องหมายเกียรติคุณบุคคลตัวอย่างผู้สร้างเสริมงานวัฒนธรรมด้าน จิตรกรรม จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
    * พ.ศ. 2537 - ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ "เพชรสยาม" (สาขาจิตรกรรม) จากสถาบันราชภัฎจันทรเกษม
    * พ.ศ. 2538 - ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เขียนภาพประกอบ บทพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก" 
และออกแบบเหรียญพระราชทานคณะแพทย์
    * พ.ศ. 2543 - ที่ปรึกษากรมศิลปากร งานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวัง
          o ที่ปรึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย ออกแบบธนบัตรราชาภิเษกสมรส ครบ 50 ปี
          o ถวายการสอนพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

ทุนที่ได้รับ

    * พ.ศ. 2523 - ทุนจากกลุ่มศิลปินร่วมสมัยของศรีลังกา ร่วมกับสถานทูตไทยในโคลัมโบให้พำนักศึกษา พุทธศิลป์ เป็นเวลา 6 เดือน และทุนในการแสดงผลงาน
    * พ.ศ. 2524 - ทุนจากโยฮันเนส ซุลทส์เทสมาร์ ให้พำนักและแสดงผลงานในเยอรมนีเป็นเวลา 6 เดือน - ได้รับเชิญจากบริติชเคาน์ซิล ให้ไปดูงานศิลปะ 
และพบศิลปินมีชื่อของอังกฤษ
    * พ.ศ. 2526 - ทุนจากทูตวัฒนธรรมเยอรมนี ไปศึกษาดูงานพุทธศิลป์ ในประเทศพม่า
    * พ.ศ. 2527 - ทุนจากมูลนิธิวัดพระพุทธศาสนา ณ กรุงลอนดอน และรัฐบาลไทยในการเขียนภาพจิตรกรรม ฝาผนัง วัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน
    * พ.ศ. 2532 - ทุนจากกงสุลเยอรมนีในซานฟรานซิสโก แสดงผลงานในสหรัฐอเมริกา
    * พ.ศ. 2539 - ทุนจากกงสุลไทยในแอลเอ ร่วมกับสภาศิลปกรรมไทยในสหรัฐอเมริกาเพื่อเดินทางไปแสดงผลงาน เนื่องในโอกาสเปิดสถานกงสุลไทย

ที่มา วีกีพีเดีย

(ภาพวาด โดย  อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ )

หากจะนับชื่อศิลปินไทยที่เรารู้จัก แน่นอนว่า “เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์” เป็นศิลปินในลำดับต้นที่ถูกนึกมาเป็นชื่อแรกๆ เขาเป็น 1 ใน 3 ของศิลปินสายจิตรกรรมในประเทศไทย
ที่นักสะสมต้องการความเห็นของเขา ผลงานของเขาอยู่ในแกลเลอรี่ส่วนตัวของเศรษฐี นักธุรกิจชั้นนำหลายคน 
การสร้างงานที่เดินทางมาสู่จุดปลายสุดในสาขาอาชีพของความเป็นศิลปินไทย อันได้แก่ ถวัลย์ ดัชนี, จักรพันธ์ โปษยกฤต ที่อยู่ในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 
(จิตรกรรม) ด้วยการยอมรับจากสังคม และผลงานที่ถูกตีราคาสูง



ด้วยผลผลิตจากบรรยากาศชาตินิยมในช่วงปี 2519 การเกิดขึ้นของภาควิชาศิลปไทยในมหาวิทยาลัยศิลปากรภายใต้การกำกับของ ชลูด นิ่มเจริญ ได้สร้างบัณฑิตรุ่นแรกอย่าง 
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มาผลิตงานศิลปะไทยในช่วงกระแสชาตินิยม



ด้วยเหตุนี้ศิลปะไทยจึงกลายเป็นจุดยืนของเขาที่ชัดเจนจากที่ว่างที่มี อยู่ในสังคมในขณะนั้น ด้วยรูปลักษณ์ “ความเป็นไทยแบบร่วมสมัย” 
นอกจากนั้นการร่วมและจัดตั้งกลุ่ม “ศิลปไทย 23” เพื่อต่อต้านกระแสวัฒนธรรมต่างชาติในปี 2523 ก็ทำให้ลักษณะการพูดจาอย่างไม่กลัวเกรงเป็นจุดเริ่มที่ติดตา 
และได้กลายเป็นการย้ำจุดยืนของเขาที่ชัดเจนในศิลปะไทยต่อสังคมในขณะนั้น ภายหลังจากนั้นอีก 4 ปีถัดมา การเดินทางไปเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพุทธประทีป 
ตำบลวิมเบิลดัน พาร์คไซด์ (Wimbledon Parkside) ประเทศอังกฤษ เป็นการมุ่งสู่ความลึกซึ้งทางธรรม และกลายเป็นอิทธิพลต่องานในแนวทาง 
“พุทธศิลป์” (Buddhistic Art) ที่เขาศรัทธา จนนำไปสู่การสร้างงานประติมากรรมและจิตรกรรมที่ยิ่งใหญ่โดยฝากผลงานทั้ง ชีวิตทิ้งไว้ให้เป็นพุทธบูชา

“วัดร่องขุ่น” ที่จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยว เมื่อเกือบ 2 ปีก่อนเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 18,000 คน ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปีที่แล้ว 
โดยคาดว่าปริมาณคนที่แห่เข้ามาชมผลงานจะมากขึ้นและเหยียบหลักแสนได้ภายในไม่ กี่ปี ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะชาวไทยที่ตั้งใจ 
มาเยี่ยมชมผลงานของเฉลิมชัย ซึ่งสิ่งที่เขากล่าวถึงเสมอก็คือต้องการที่จะสร้างงานตลอดชีวิต เขาบอกว่าเกิดจากความต้องการที่จะสร้างงานระดับโลก 
ไม่ได้มีปัญหาเรื่องขาดเงิน

(ภาพวาด โดย  อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ )

การจัดงานนิทรรศการ “วาดทำบุญ” ที่ผ่านมา 3 ครั้ง เป็นการจากมาและจากไปแต่ละครั้งของชีวิต เมื่อ 7 ปีที่แล้ว

การพักงานเขียนเพื่อที่จะลงมือสร้างวัดร่องขุ่น เริ่มมาตั้งแต่ตอนนั้น แต่ชื่อของเขาก็ยังขายได้มาตลอด

ปัจจุบันงานนิทรรศการของเขาที่ผ่านมาจึงไม่ใช่การขายผลงานจริง แต่เป็นเพียงแค่การแสดงผลงานที่ผ่านมา
ตั้งแต่การเป็นชีวิตนักศึกษา เป็นส่วนที่ต่อจาก ภาพพิมพ์ เสื้อ หนังสือ และการ์ด

ที่จำหน่ายและตั้งใจนำรายได้สมทบทุนสร้างวัดร่องขุ่นโดยให้ทุกคนร่วมทำบุญ 
ในจำนวนจำกัดที่ไม่มากกว่า 1 หมื่นบาท และจะไม่มีการจารึกชื่อใดๆ ทั้งสิ้น



ด้วยคำกล่าวตอนหนึ่งที่เขากล่าวกับ “POSITIONING” ว่าเขาไม่ความจำเป็นใดๆ เพื่อที่จะวาดรูปอีก

เขาไม่ได้ต้องการวาดรูปขายหรือเพื่อประทังชีวิต เพราะสิ่งที่เขามีอยู่ตอนนี้เรียกได้ว่าเกินพอ

การวาดของเขาก็เพื่อศาสนา วาดในวัดแค่นี้ก็คงพอแล้ว การจำกัดไม่ให้ใครคนใดบริจาคมากเกินไป

ก็เพื่อหวังจะให้ผลงานนี้ เป็นของทุกคนในประเทศ และเป็นงานของแผ่นดินจริง เขาเล่าว่า

ได้รับการติดต่อจากวัดหลายแห่งทั่วประเทศเพื่อที่จะสร้างผลงน แต่เขาเลือกที่จะไม่ไป 
โดยพอใจที่จะอยู่ที่ถิ่นเกิด และหมายมั่นตั้งใจว่าจะสร้างผลงานที่นี่ตลอดชีวิต ให้เป็นงานระดับโลก



ปัจจุบันรายได้จากภาพพิมพ์ เสื้อ หนังสือ และการ์ด ที่มาจากผลงานของเขา ที่จำหน่ายในวัดร่องขุ่นเดือนหนึ่ง

รวมถึงเงินบริจาค รายได้ตกอยู่เฉลี่ยเดือนละ 1.2 ล้านบาท 
ถูกบริหารจัดการในรูปแบบบริษัทและมีคณะกรรมการที่มาจากชุมชนเป็นคนคอยดูแล

โดยที่เฉลิมชัยวางตัวและดำรงอยู่ในฐานะเป็นศิลปินผู้ออกแบบเท่านั้น 
เขาเล่าว่าเขาปฏิเสธที่จะรับรู้รายได้ และวิธีการบริหารทั้งหมด คนงานภายในวัดกว่า 48 คน

ถูกจัดแบ่งหน้าที่ตามฝ่ายต่างๆ 6 ฝ่าย ประกอบด้วยลูกศิษย์ที่เป็นช่างฝีมือชาวบ้านจังหวัดเชียงรายทั้งสิ้น

รายได้หมดไปกับเงินเดือนพนักงานราวเดือนละ 2 แสนบาท และวัสดุอุปกรณ์เพื่อสร้างงาน
ที่ส่งมาจากต่างประเทศราคาแพง เป็นสิ่งที่สะท้อนมาจากฝ่ายจัดการอีกว่า

พื้นฐานโครงสร้างที่กำลังจะต่อเติมเพิ่มขึ้นอีก 9 หลัง 
ถูกปรับและรื้อถอนตามความไม่พอใจของเฉลิมชัย ซึ่งตกอยู่ราวประมาณ 2-5 ล้านบาทต่อหนึ่งงานที่จ้างจากภายนอก

ที่เป็นฝ่ายทำให้ชายผู้เรียกตัวเองว่า “บ้า” ระดับหนึ่ง กลายเป็นจริง



ขณะที่ส่วนต่างถูกจัดเก็บเพื่อเป็นกองทุน ในยามที่เฉลิมชัยบอกเล่าออกมาเสมอด้วยความไม่ประมาทว่า

“หากเขาจากไปเมื่อไหร่ทุกส่วนต้องอยู่ได้ตัวของตัวเอง” 


ปัจจุบันเฉลิมชัยเดินทางโดยไม่พกเงิน มีเพียงหมวก และไม้เท้าปลายแหลมเพื่อคอยเก็บเศษขยะชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่อยู่ในวัดภายใน

พื้นที่ราว 3 ไร่ โดยเป็นพื้นที่เมื่อเริ่มแรก ก่อนที่จะได้รับบริจาคและจัดซื้อบริเวณโดยรอบราว 12 ไร่

อันเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านเล่าว่าแต่ก่อนเคยเป็นป่ารกแต่ 7 ปีถัดมาได้กลายสภาพเป็นพื้นที่ร้านค้า

และร้านอาหาร ลานจอดรถ รวมไปถึงบริเวณรอบนอกที่กำลังจะถูกพัฒนา โดยจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นปัญหาสำคัญ

รวมไปถึงการดูแลภูมิทัศน์โดยรอบไม่ว่าบ้านสองหลังในกรุงเทพฯ ที่ซอยอารีย์สัมพันธ์ และบ้านที่สะพานใหม่

พื้นที่ที่เขาใช้สิทธิเลือกตั้ง บ้านที่เชียงใหม่สำหรับโรงเรียนของลูกและที่อยู่ของภรรยา 
และบ้านพักใกล้น้ำตกที่เชียงรายถูกดูแลโดยครอบครัวที่เฉลิมชัยอุปถัมภ์ 3 ครอบครัว การวางแผน

และการจัดการทรัพย์สิน รวมไปถึงภาพเขียนที่เป็นที่ต้องการของตลาด 
เขาเล่าว่าถูกจัดการอย่างเป็นระบบ และเตรียมการมาอย่างดี

 ภาพวัดร่องขุ่น จังหวัด เชียงราย

ขอขอบคุณข้อมูล : //www.sipang-artgallery.com


    กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง