เชื่อม ต่อ บ ลู ทู ธ แล้วเสียงกระตุก

หากเสียงจากหูฟังไร้สายของคุณหายไปหรือมีเสียงเพี้ยน

หากเสียงจากหูฟังบลูทูธของคุณ ซึ่งรวมถึง AirPods และหูฟัง Beats แบบไร้สาย ติดๆ ดับๆ หรือมีเสียงเพี้ยน ให้ดูสิ่งที่ควรทำ

ปรับปรุงการเชื่อมต่อบลูทูธของคุณ

หูฟังของคุณจะสื่อสารโดยใช้บลูทูธ และสัญญาณบลูทูธสามารถถูกรบกวนหรือทำให้สัญญาณอ่อนลงได้ในบางสถานการณ์

หูฟังของคุณอาจสูญเสียการเชื่อมต่อบ่อยกว่าเมื่อสตรีมเสียงหากเทียบกับการสตรีมคอนเทนต์ที่จัดเก็บอยู่ในอุปกรณ์ของคุณ* เมื่ออุปกรณ์ของคุณอยู่ห่างออกไปเพียงไม่กี่ฟุต ให้ลองฟังเพลงหรือคอนเทนต์เสียงอื่นๆ ที่จัดเก็บอยู่ในอุปกรณ์ของคุณและไม่ได้สตรีมด้วยหูฟังของคุณ บนอุปกรณ์ iOS หรือ Android ของคุณ ให้เปิดแอปเพลง บน Mac ที่มี macOS Catalina ให้เปิดแอปเพลง บนเครื่อง Mac ที่มี macOS Mojave หรือก่อนหน้าหรือบน PC ให้เปิด iTunes จากนั้นเล่นเพลงที่ไม่มีปุ่มดาวน์โหลด 

 ที่อยู่ติดกัน หรือแตะปุ่มดาวน์โหลด 
 เพื่อดาวน์โหลดเพลงดังกล่าว

หากหูฟังของคุณยังคงมีการเชื่อมต่อโดยเสียงไม่ผิดเพี้ยนในระหว่างการทดสอบ ต่อไปนี้คือบางสิ่งที่สามารถช่วยได้ในสถานการณ์อื่นๆ

  • นำ iPhone หรืออุปกรณ์อื่นๆ มาวางไว้ใกล้ตัวคุณเพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง เช่น ผนังหรือพื้น มากั้นระหว่างตัวคุณและอุปกรณ์
  • หากเป็นไปได้ ให้ย้ายไปยังสถานที่อื่น โดยอยู่ห่างจากสถานที่ที่มีคนจำนวนมากหรือมีการใช้ Wi-Fi อย่างหนาแน่น, สายเคเบิลที่มีฉนวนหุ้มไม่ดี, เตาอบไมโครเวฟและลำโพงไร้สาย (หรือปิดเตาอบหรือลำโพง)

หากการเชื่อมต่อหูฟังของคุณยกเลิกการเชื่อมต่ออยู่เรื่อยๆ

หากคุณทดสอบหูฟังตามวิธีการที่อธิบายไว้ในส่วนก่อนหน้าแล้ว แต่เสียงของอุปกรณ์ยังขาดการเชื่อมต่อหรือติดๆ ดับๆ อยู่เรื่อยๆ ให้ยกเลิกการจับคู่หูฟังแล้วจับคู่อีกครั้ง

ยกเลิกการจับคู่หูฟังของคุณ

ยกเลิกการจับคู่จาก iPhone:

  1. แตะการตั้งค่า > บลูทูธ
  2. ค้นหาอุปกรณ์ที่คุณต้องการเลิกจับคู่แล้วแตะปุ่มข้อมูล 
  3. แตะลบอุปกรณ์นี้
  4. รีสตาร์ท iPhone ของคุณ

ยกเลิกการจับคู่จากอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ของ Apple:

  1. บนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ของ Apple ให้ไปที่การตั้งค่าสำหรับบลูทูธ แล้วตรวจสอบให้แน่ใจว่าบลูทูธเปิดอยู่ ตัวอย่างเช่น บนอุปกรณ์ Android ให้ไปที่การตั้งค่า >อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ >การตั้งค่าการเชื่อมต่อ > บลูทูธ
  2. ยกเลิกการจับคู่หรือเลิกใช้หูฟังของคุณ
  3. รีสตาร์ทอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ของ Apple

จับคู่หูฟังของคุณอีกครั้ง

* แหล่งสัญญาณเสียงของคุณ เช่น iPhone, Mac หรือคอมพิวเตอร์ Windows หรือโทรศัพท์มือถือ Android

วันที่เผยแพร่: 17 พฤษภาคม 2565

ในปัจจุบันเทคโนโลยีไร้สายถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ซึ่งในกลุ่มสินค้าหูฟัง ลำโพงก็ถูกพัฒนายกระดับให้สามารถใช้งานในรูปแบบไร้สายผ่านสัญญาณบลูทูธมากขึ้นด้วยเช่นกัน เริ่มตั้งแต่ Apple ที่ส่งหูฟัง Airpod ไร้สายเข้าสู่ตลาดสร้างความตื่นเต้นฮือฮาให้กับวงการหูฟังเป็นอย่างมาก ด้วยรูปลักษณ์ที่ถูกตัดทอนเหลือเพียงตัวหูฟังชนิดไฮบริด (กึ่ง In-Ear กึ่ง Earbud) มีขนาดเล็ก ไร้สาย พกพาง่าย ส่งผลให้แบรนด์หูฟังใหญ่ๆ ต้องยกระดับสินค้าของตนเองขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น Jabra ที่ส่งรุ่น Elite Sport สำหรับออกกำลังกาย หรือแบรนด์น้องใหม่อย่าง Earin ที่ออกหูฟังชนิดนี้มาโดยเฉพาะ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคนั่นเอง

ต้องบอกว่า ถึงแม้หูฟังไร้สายหรือหูฟังบลูทูธจะพัฒนามากมากแล้วก็ตาม ยังมีหลายๆคนที่มีความเชื่อแบบเก่าๆ หรือความเข้าใจที่ไม่ถูกซะทีเดียว โดยวันนี้ทาง Mercular.com จะขอนำเสนอ 4 ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับหูฟังไร้สาย เพื่อที่จะเปิดมุมมองใหม่ๆกับหูฟังประเภทนี้ หรือใครที่ยังเลอยุ่จะได้นำไปตัดสินใจได้ง่ายขึ้น  มาติดตามกันเลย

ใช้หูฟังไร้สาย หรือลำโพง Bluetooth เสียงจะกระตุกไหม?

มีคำถามที่หลายๆคนกังวลและสงสัย ว่าถ้าใช้หูฟังบลูทูธจะกระตุกหรือดีเลย์ อาการภาพไม่ตรงกับเสียงไหม ข้อนี้ตอบเลยว่าในปัจจุบัน ไม่มีให้เห็นแล้ว ซึ่งต้องบอกว่า สาเหตุทีทำให้สัญญาณบลูทูธ กระตุกหรือดีเลย์นั้นเกิดจากร การใช้ Bluetooth version เก่าๆใช่ 1 หรือ 2 ที่มี Bandwidth หรือการถ่ายโอนสัญญาณเป็นไปอย่างจำกัด จึงทำให้เกิดอาการกระตุก โดยเฉพาะหูฟังไร้สายออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด จึงทำให้การจับสัญญาณในหูฟังบลูทูธรุ่นเก่าๆทำได้ไม่ดี และมีอาการกระตุกได้

หรืออีกกรณีคือลำโพงหรือหูฟังตามท้องตลาดที่ไม่ได้มาตรฐาน มักจะมีการเชื่อมสัญญาณที่ไม่ดีจึงทำให้เกิดขึ้นได้แต่ แต่ถ้าเป็นหูฟัง ลำโพงไร้สายที่มีคุณภาพจากแบรนด์ชั้นนำ ปัญหานี้ก็จะไม่มีให้เห็นแล้ว เพราะปัจจุบันบลูทูธส่วนใหญ่จะใช้เวอร์ชั่นตั้งแต่ 3 ขึ้นไป และนิยมใช้ Bluetooth 4.0 หรือกระทั่ง 4.2 ด้วยซ้ำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูที่ต้นทางด้วย (สมาร์ทโฟน หรือเครื่องเล่นเพลง) ว่ารองรับบลูทูธเวอร์ชันใด เพราะตรงนี้มีผลในเรื่องของอาการเสียงขาดๆหายๆเช่นกัน (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง สัญญาณ Bluetooth มีผลกับอุปกรณ์อย่างไร? ได้ที่นี่)

หูฟังไร้สายเสียงไม่ดีเท่าแบบมีสาย

เรื่องนี้ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่มาก แต่จากที่ทีมงานเราได้ลองหูฟังและลำโพงมาพอสมควรก็ตอบได้เลยครับว่า ในปัจจุบันหูฟัง หรือลำโพงไร้สายในช่วงราคาตั้งแต่ หลักร้อยจนไปถึงหลักหมื่นถึง 2 หมื่นนั้น หูฟังและลำโพงไร้สาย ให้เสียงได้แทบไม่ต่างจาก หูฟังมีสายแล้ว เพราะว่าหูฟังไร้สายถูกพัฒนาขึ้นมาเยอะมาก มีการนำเทคโนโลยีการส่งสัญญาณเสียงผ่าน Bluetooth ที่รองรับ apt-X เข้ามาใช้มากขึ้นซึ่งตรงจุดนี้ ทำให้เสียงที่ได้ออกมามีคุณภาพเทียบเท่ากับ CD เลยทีเดียว ในขณะเดียวกันแบรนด์ระดับโลกอย่าง Sony เองก็นำ LDAC (เป็นการถอดรหัสเสียง ที่ให้ความละเอียดสูง ส่งสัญญาณไร้สาย) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของตัวเอง เพื่อยกระดับการฟังเพลงแบบ Hi-Res ไม่แพ้หูฟังแบบมีสายก็ว่าได้

นอกจากเทคโนโลยีบลูทูธที่ดึขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว หลายๆคนยังบอกว่าหูฟังไร้สายบางตัวที่ให้เสียงได้ดีกว่ามีสาย ก็เพราะว่าหูฟังไร้สายบางตัวนั้นมี DAC ที่จูนเสียงให้เข้ากับตัวหูฟังโดยเฉพาะ จึงทำให้ได้เสียงที่ดียิ่งขึ้นไปอีกเช่นกัน แต่ถ้าใครที่เป็น Audiophile โดยแท้และมีชุด เครื่องเสียงหลักแสนขึ้นไปหรือหลายหมืนนั้น ทางเราก็คิดว่าการใช้สายยังเป็นทางเลือกทีดี่กว่าครับ เพราะว่าเสียงที่ผ่านสายที่มีคุณภาพแล้ว เทคโนโลยีไร้สายยังไม่สามารถที่จะทดแทนได้ทั้งหมด

สรุปได้ว่า ถ้าเป็นในระดับ การใช้งานทั่วไปฟังเพลงในชุดที่ไม่เกินประมาณ สองหมื่นบาท ทางทีมงานเห็นตรงกันว่า ไม่ให้ความรู้สึกแตกต่างกับมีสาย อย่างมีนัยยะสำคัญแล้ว (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Bluetooth apt-X ได้ที่นี่)

หูฟังไร้สายมีราคาแพง?

จริงอยู่ว่าแรกๆ หูฟังไร้สายมีราคาเริ่มต้นที่ค่อนข้างสูง แต่ด้วยการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ณ ชั่วโมงนี้ หูฟังไร้สาย มีราคาแทบไม่ต่างจากหูฟังมีสายไปมากเท่าไหร่ เพราะแต่ละแบรนด์ที่ออกหูฟังบลูทูธ หรือลำโพงบลูทูธเอง ก็จะมี Tier หรือช่วงราคาที่เหมาะสมกันอยู่แล้ว ก็จะมีตั้งแต่ถูกยันแพง เช่นเดียวกับหูฟังมีสาย ความแตกต่างในแต่ละช่วงราคาจะเป็นเรื่องของฟังก์ชันการใช้งานอื่นๆที่เพิ่มเติมเข้ามามากกว่า เช่นสามารถรองรับ NFC หรือป้องกันเสียงรบกวน (Noise Cancelling) ได้ หรือแม้กระทั่งเป็นหูฟังบลูทูธกันน้ำได้นั่นเอง จะเห็นได้ว่าราคาของหูฟังไร้สายที่หลายคนมองว่ามีราคาสูง แท้จริงแล้วก็มีการไล่ระดับความฟังก์ชันการใช้งาน เหมือนกับหูฟังมีสายทั่วๆไปนั่นเอง โดยหูฟังไร้สายนั้นก็มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักพันนิดๆ ไปจนถึงหลักหมื่นหลักแสนทีเดียว

ไม่คิดว่าความสะดวกจะเพิ่มขึ้นเท่าไหร่

ข้อนี้ต้องบอกว่าแปลกแต่จริงๆ ที่แม้กระทั่งทีมงานของเรารู้สึกว่ามีสายกับไร้สายความสะดวกการใช้งานไม่ต่างกันเท่าไรหรอก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ต่อให้นั่งทำงานอยู่เฉยๆ ถ้าใครได้ลองหูฟังไร้สายแล้ว ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าสะดวกกว่ามาก เพราะจะขยับ หยิบจับอะไรไม่ต้องพะวงเรื่องสาย เรียกว่าถ้าได้ลองใช้แล้วจะติดใจ แล้วถ้ากลับไปใช้หูฟังมีสายจะรู้สึกหงุดหงิดและไม่สะดวกเท่าไรทีเดียว

อีกประเด็นที่บางคนคิดว่า มันยุ่งยากเพราะต้องมานั่งต่อบลูทูธไม่ใช่เสียบสายเล่นเลย อันนี้ก็ทางเราก็มองว่าไม่จริงเท่าไร เพราะมันทำการเชื่อมต่อแค่เพียงครั้งแรก ด้วยการกดปุ่มเพียงไม่กี่ปุ่มก็พร้อมเล่นแล้วเช่นกัน แต่แลกมากับความสะดวกที่ต่างกันชัดเจน โดยเฉพาะเวลาเดินทาง หรือออกกำลักงายเรียกว่าหูฟังไร้สายนั้นกินขาดในด้านความสะดวกสุดๆเลย

ก็สรุปเลยว่า ถ้าใครที่ลังเลหูฟังไร้สายหรือมีสายอยู่นั้น ทางเราแนะนำว่าลองปรับความเชื่อเหล่านี้ซะใหม่แล้วคุณอาจจะค้นพบว่าหูฟังไร้สายมีดีกว่าที่คุณคิดไว้มากเลยครับ เพราะสื่งที่เราอยากจะฝากมากที่สุดก็คือ ต่อให้เสียงดีแค่ไหนแต่ถ้าใช้ไม่สะดวก โอกาสการใช้งานก็จะลดลงและไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่เราซื้อมาเช่นกันครับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง