สัญญา หัก เงิน ประกัน ผล งาน

การให้บริการรับเหมาก่อสร้างจะมีการเก็บเงินจ่ายล่วงหน้าจากผู้ว่าจ้าง ส่วนใหญ่ผู้ว่าจ้างจะหักเงินดังกล่าวออกจากเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างจะได้ รับในแต่ละงวด เพื่อชดเชยกับเงินจ่ายล่วงหน้าที่รับไปจนกว่าจะครบถ้วน พร้อมทั้งหักเงินค่าประกันผลงานของผู้รับจ้างไว้อีกส่วนหนึ่ง และจะคืนเงินประกันผลงานให้แก่ผู้รับจ้าง เมื่อหมดระยะเวลาประกันผลงานจะต้องมีภาระภาษี คือ

  • ผู้ รับจ้างจะต้องนำเงินจ่ายล่วงหน้ามารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ว่าจ้าง เมื่อจ่ายเงินล่วงหน้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินล่วงหน้า
  • ผู้รับจ้างต้องนำเงินจ่ายล่วงหน้ามารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร

เงินประกันผลงาน (RETENTION)

  • เงิน ประกันผลงานที่ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ว่าจ้างตามจำนวนที่ตกลง ในสัญญา โดยยินยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินดังกล่าวจากเงินค่าจ้างในแต่ละงวดเพื่อเป็น ประกันผลงานนั้น เมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายเงินค่าจ้างแต่ละงวดให้ผู้รับจ้างโดยหักเงินประกันผลงาน ดังกล่าว ให้ถือเป็นรายได้ของผู้รับจ้างเต็มจำนวนมูลค่าของงานที่แล้วเสร็จในแต่ละงวด และเมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายคืนเงินประกันผลงานให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้างไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอีก
  • ผู้ รับจ้างต้องนำเงินประกันผลงานที่ถูกผู้ว่าจ้างหักจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดมา รวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อมีการจ่ายเงินประกันผลงานให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างไม่ต้องนำเงินประกันผลงานมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก

บทความน่ารู้อื่นๆ

นักบัญชีเวลารับงานบัญชีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง มักจะพบปัญหาว่า บางธุรกิจไม่ได้มีการบันทึกเงินประกันผลงานเอาไว้ หรือธุรกิจที่รับงานหลายที่ ไม่รู้ว่าใครหักเงินประกันผลงานไว้บ้าง และถึงกำหนดชำระเมื่อไร ซึ่งนักบัญชีสามารถใช้โปรแกรมบัญชีเป็นตัวช่วยในการบันทึกบัญชีเงินประกันผลงานได้แล้ว

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมีความแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป และด้วยความแตกต่างนี้ทำให้นักบัญชีจะต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อจะได้ทำบัญชีได้อย่างถูกต้อง หนึ่งในข้อแตกต่างที่สำคัญมากๆ คือ เรื่องเงินประกันผลงาน ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างระยะยาวส่วนใหญ่แล้วเจ้าของธุรกิจเองมักถูกหักเงินประกันผลงาน 5-10% ทุกครั้งที่รับเงิน และนี่เองที่ทำให้งานบัญชีของเรายุ่งยากขึ้นกว่าเดิมค่ะ 

 

ในวันนี้ถ้าใครกำลังสับสนเรื่องเงินประกันผลงานอยู่ ว่ามันคืออะไร มีผลกระทบกับงานบัญชียังไง และเราจะบันทึกบัญชีเงินประกันผลงานอย่างไรบ้าง ก็อยากชวนนักบัญชีมาร่วมศึกษาทำความเข้าใจตรงนี้ไปพร้อมๆ กันค่ะ

 

เลือกอ่านได้เลย!

เงินประกันผลงานคืออะไร มีผลอย่างไรต่อธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

 

เงินประกันผลงาน หมายถึง เงินที่ผู้ว่าจ้างหักเอาไว้บางส่วนจากค่ารับเหมาก่อสร้างตามที่ตกลงในสัญญาแต่ละงวด เพื่อเป็นหลักประกัน กรณีที่ก่อสร้างใช้งานไปสักพักแล้วมีความเสียหายเกิดขึ้น หรืองานรับเหมาเกิดข้อผิดพลาด หรือไม่มีคุณภาพตามที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งหากผู้ว่าจ้างพบปัญหาระหว่างระยะเวลาที่รับประกัน เงินส่วนนี้ก็จะถูกริบไป แต่ถ้าหมดระยะเวลาประกันผลงานแล้ว ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น เจ้าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างก็จะได้รับเงินส่วนนั้นคืนตามที่ตกลง

 

ในวันที่ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างเจ้าของธุรกิจเองก็จะต้องตกลงกับผู้ว่าจ้างให้เรียบร้อย 2 เรื่อง

  • สัดส่วนเงินประกันผลงาน เช่น 5 หรือ 10% 
  • ระยะเวลาการประกันผลงาน เช่น 6 เดือน, 1 ปี, หรือ 2 ปี 

 

ในส่วนของนักบัญชีเอง ถ้ารับงานบัญชีสำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ปัญหาที่พบหลักๆ จะมี 2 เรื่อง ได้แก่

 

1. ไม่ได้บันทึกบัญชีเงินประกันผลงานที่ถูกหักเอาไว้

 

ต้นตอของปัญหานี้เกิดจากการที่นักบัญชีไม่มีข้อมูลอย่างเพียงพอในการบันทึกบัญชี เช่น เราอาจมีแค่ Bank Statement ในการบันทึกบัญชี เจ้าของธุรกิจไม่ได้ให้สัญญามาหรือว่าไม่ได้ส่งเอกสารใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินให้ สุดท้ายแล้ว ถ้าบันทึกบัญชีตาม Bank Statement ก็จะกลายเป็นการบันทึกรับเงินด้วยยอดสุทธิเลย

 

2. ไม่รู้ว่าใครหักเงินประกันผลงานไว้บ้าง และถึงกำหนดชำระเมื่อไร

 

ปัญหาข้อนี้มักเกิดกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่รับงานหลายโครงการ และไม่มีนักบัญชีคอยช่วยเช็กข้อมูลให้ว่าจริงๆ แล้วมีใครหักเงินประกันผลงานไว้บ้าง และถึงกำหนดรับชำระเมื่อไร 

ทำให้ธุรกิจไม่ได้เรียกเก็บชำระเงินประกันผลงานตามเวลาที่ควรจะเป็น บางทีอาจได้รับเงินช้า และบางครั้งอาจต้องสูญเงินจำนวนนี้ทิ้งไป เพราะติดต่อลูกค้าไม่ได้แล้ว

 

เงินประกันผลงานเป็นสินทรัพย์ธุรกิจหรือไม่

 

เงินประกันผลงาน เป็นส่วนหนึ่งของ “รายได้รับเหมาก่อสร้าง” เพียงแต่ว่าเราได้รับเงินช้าเท่านั้นเอง ฉะนั้นเงินประกันผลงานจึงถือเป็นสินทรัพย์ชนิดหนึ่งในงบแสดงฐานะการเงิน เพราะถือว่าเราจะได้รับประโยชน์จากการเรียกเก็บเงินในอนาคต

 

ถัดมา นักบัญชีอาจต้องมาคิดต่อว่าสินทรัพย์ประเภทเงินประกันนี้ควรเป็นสินทรัพย์ประเภท หมุนเวียน หรือไม่หมุนเวียน ซึ่งวิธีการง่ายๆ ก็คือ การย้อนกลับไปดูสัญญารับเหมาก่อสร้างว่าเงินประกันมีระยะเวลาประกันนานกว่า 1 ปีหรือไม่ ถ้าระยะเวลาประกันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ปีก็ยังถือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แต่ถ้ามีระยเวลามากกว่า 1 ปีเมื่อไร ก็จะถูกจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนทันที

 

 

ใช้ FlowAccount บันทึกบัญชีเงินประกันผลงานอย่างไร

 

นักบัญชีที่กำลังหาตัวช่วยในการบันทึกบัญชีเงินประกันผลงาน เพื่อลดปัญหาการเก็บข้อมูลผิดพลาด และติดตามเงินประกันไม่ได้ FlowAccount ช่วยแบ่งเบาภาระตรงนี้

 

 

1. เก็บข้อมูลเงินประกันผลงาน

 

ทุกครั้งที่เจ้าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างออกเอกสารใบแจ้งหนี้ จะมีการออกเอกสารด้วยจำนวนเงินเต็มจำนวนตามแต่ละงวดอยู่แล้ว แต่ในขั้นตอนการรับเงินเราจะได้รับเงินแบบไม่เต็มจำนวนเพราะโดนหักค่าประกันผลงานไว้

 

ในเอกสาร “ใบเสร็จรับเงิน” และ “ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี” นักบัญชีหรือเจ้าของธุรกิจสามารถเลือกส่วนลดพิเศษจากเงินประกันผลงาน เพื่อหักออกจากยอดเงินรับได้

 

ขณะเดียวกันเองในระบบบัญชีก็จะบันทึกเงินประกันผลงานนี้เป็นสินทรัพย์ประเภทลูกหนี้ของธุรกิจเอาไว้ให้อย่างอัตโนมัติ

 

 

และเมื่อพิมพ์เอกสาร จะพบรายการปรับลด “เงินประกันผลงาน” จะแสดงในเอกสาร

 

 

2. ตรวจสอบจำนวนเงินประกันผลงาน

 

นักบัญชีช่วยเจ้าของธุรกิจตรวจสอบจำนวนเงินประกันผลงานที่เหลืออยู่อย่างง่ายๆ ที่เมนูบริหารบัญชี งบทดลอง เลขที่บัญชี เงินประกันผลงาน ที่กิจการได้ตั้งผังบัญชีไว้ ว่า ณ สิ้นเดือนนี้มีเงินประกันคงค้างอยู่เท่าใด 

 

เมื่อทำการบันทึกเอกสารระบบบัญชีหลังบ้านจะทำการบันทึกคู่บัญชีให้อัตโนมัติ ในตัวอย่างทางบริษัท จะตั้งเลขที่บัญชี 11922 สำหรับการบันทึกเงินประกันผลงาน

 

 

3. ติดตามเงินประกันผลงาน

 

สำหรับการติดตามเงินประกันผลงาน นักบัญชีสามารถแนะนำเจ้าของธุรกิจเรียกดูรายงานการเก็บเงิน และดาวน์โหลด File Excel จากระบบ FlowAccount เพื่อตรวจสอบยอดการปรับลดในแต่ละบิล จากนั้น filter เฉพาะรายการที่ปรับลดจากเงินประกันผลงานเพื่อเช็กช่วงเวลา และติดตามกับลูกค้าได้

 

 

เมื่อดึงรายงานการเก็บเงิน สามารถตรวจสอบยอดเงินประกันตามแต่ละโปรเจกต์ได้เลยค่ะ

 

 

โดยสรุปแล้ว แม้ว่าธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจะมีปัญหาจุกจิกเรื่องเงินประกันผลงาน ทำให้ต้องระมัดระวังในการบันทึกบัญชีทุกๆ ขั้นตอน แต่ถ้าเราทำความเข้าใจดีๆ แล้วเราจะพบว่าการบันทึกบัญชีเรื่องเงินประกันผลงานอาจจะไม่ได้ยากอย่างที่คิด และยิ่งถ้ามีตัวช่วยในการทำบัญชีให้ง่ายขึ้น นักบัญชีเองก็งานเบาลง และมั่นใจในการทำบัญชีมากยิ่งขึ้นค่ะ

 

 

About Author

Yonlawan C.

นักบัญชี ผู้สอบบัญชี และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ cpdacademy.co คอร์สอบรมบัญชี CPD ออนไลน์สำหรับผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี ที่มีประสบการณ์ในวิชาชีพมากกว่า 10 ปี และอยากส่งต่อความรู้เพื่อเพื่อนนักบัญชีให้มีทักษะอย่างมืออาชีพและก้าวทันโลกดิจิทัล

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง