บทความการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน

โลกของเราในยุคปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  มีหลายอย่างเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย  กาลเวลาได้สร้างค่านิยมให้แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย อาหารการกิน แฟชั่น เครื่องมือสื่อสาร การศึกษา ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว บ้างก็ก่อให้เกิดผลที่ดีขึ้น บ้างก็ลิดรอนประโยชน์ ก่อให้เกิดโทษแต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ทุกคนในสังคมไม่อยากให้เปลี่ยนแปลงไป นั่นคือ  การใช้ภาษา  ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ  โดยเฉพาะภาษาเขียน พบว่า การเขียนภาษาไทยในปัจจุบันมีการเขียนผิดมาก โดยเฉพาะในสื่อออนไลน์  และมีการคิดค้นคำเขียนหรือคำพูดที่ผิดออกไปจากการเขียนที่ถูกต้องของภาษาไทย

ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นรวมถึงการสื่อสารที่ทันสมัยทำให้เกิดค่านิยมใหม่ ๆ ขึ้น ซึ่งเยาวชนไทยในปัจจุบันหรือวัยรุ่นไทยได้รับค่านิยมที่ผิด ๆ มาใช้ นั่นคือการใช้ภาษาแบบผิด ๆ โดยไม่คิดว่าจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ส่วนใหญ่วัยรุ่นจะคิดว่าเป็นเรื่องที่เก๋ เท่ห์ หากไม่ได้ใช้ภาษานี้จะถูกมองว่า “ตกเทรนด์” แต่หารู้ไม่ว่า การใช้ภาษาเหล่านี้ทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชนรุ่นหลังใช้ภาษาที่ผิด ๆ ตามไปด้วย ประเทศไทยเรานั้นมีภาษาชาติ เป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง แสดงถึงความเป็นเอกราชทางภาษาและความภาคภูมิใจ แต่เยาวชนบางส่วนกลับไม่รู้คุณค่าของสิ่งล้ำค่านี้

โดยเยาวชนกลุ่มนั้นคิดว่าเมื่อการใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆ ของวัยรุ่นนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไปจริง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารกันทาง   MSN   Line  Facebook หรือ Twitter  เช่นคำว่า หวัดดี/หวาดดี-สวัสดี, ทามไรอยุ่-ทำอะไรอยู่, ฝรรดีนะ/ฝานดีนะ-ฝันดีนะ, ค่า/คร๊ะ/ค้ะ-คะ, ชิมิ/ชิมะ/ชะมะ-ใช่ไหม, ขอโทดนะค่ะ-ขอโทษนะคะ เป็นต้น คำเหล่านี้มีผลทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทย 1 คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ อาจเป็นเพราะภาษาไทยมีพยัญชนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไป เป็นเสมือนการสร้างคำ สร้างภาษาให้มีการวิบัติมากขึ้น

การที่คนไทยเรา พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยเป็นประจำทุกวัน จนเกิดความเคยชิน อาจจะทำให้หลาย ๆ คนไม่รู้สึกว่า “ภาษาไทย” มีความสำคัญแค่ไหน และมีคุณค่าเพียงไร หากจะเปรียบก็คงเหมือนกับ “อากาศ” ที่เราหายใจเข้าหายใจออกอยู่ตลอดเวลา จนเราแทบไม่รู้ค่าว่า หากขาดอากาศเมื่อไร เราก็ตายเมื่อนั้น ถึงแม้ว่า “ภาษาไทย” จะไม่เหมือนอากาศที่ทำให้เราถึงกับตาย แต่ถ้าหากชาติไทยเราขาด “ภาษาไทย” แล้วเราจะภาคภูมิใจในภาษาที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมได้อย่างไร

ดังนั้น เราทุกคนในชาติควรร่วมกันอนุรักษ์ภาษาไทย ฝึกฝนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร แสดงออกทักษะทางภาษาด้วยการแสดงความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์อย่างพินิจพิเคราะห์ สามารถเลือกใช้คำ เรียบเรียงความคิด ความรู้ และใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ได้ตรงตามความหมาย และถูกต้องตามกาลเทศะบุคคลและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  รักษาความเป็นไทย  เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และสืบทอดความภาคภูมิใจในฐานะ “คนไทย” ได้อย่างเต็มภาคภูมิ

วิกฤติภาษาไทยในวัยรุ่นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้

อังคารที่ 7 สิงหาคม 2555 เวลา 00.00 น.

บอกต่อ : 0

0

0

0

ภาษาไทยเป็นทั้งวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และความภูมิใจของคนไทย แต่ปัจจุบันคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ใช้ภาษาไทยได้ไม่ดีพอ ไม่รู้ว่าพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีกี่รูป กี่เสียง และยังมีคนไทยอีกจำนวนมากที่ยังพูดภาษาไทยผิดบ้าง เขียนผิดบ้าง หรือบ้างก็จับใจความผิด ฟังผิด อ่านผิด บ้างก็พูดภาษาไทยคำภาษาอังกฤษคำ จนเกิดปัญหาการสื่อสารและเข้าใจความหมายของภาษาในทางที่ผิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่จะทำให้เสน่ห์ของภาษาไทยค่อย ๆ เลือนหายไป

’ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนือง ๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคน จึงมีหน้าที่จะตัองรักษาไว้...“ พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2512

เราจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ำให้ประชาชนชาวไทยตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยและพระราชทานแนวความคิดในการอนุรักษ์ภาษาไทยในโอกาสต่าง ๆ อยู่เสมอ ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือ เป็นที่ประจักษ์ว่าพระองค์มีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทย ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องและเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทยมาโดยตลอด

กลุ่มคนที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยใช้ภาษาไทยอย่างผิดเพี้ยนนั้นต่างมุ่งเป้าไปที่กลุ่มดาราวัยรุ่น นักแสดง นักร้อง นักการเมือง และสื่อมวลชน ที่มักใช้ภาษาอย่างไม่เหมาะสม มีการใช้คำแสลงจนภาษาไทยเข้าขั้นวิกฤติ นอกจากนี้ยังมองว่าพ่อแม่ผู้ปกครองก็ไม่ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กได้อ่านหนังสืออย่างอื่นนอกจากตำราเรียน อีกทั้งสถานศึกษาอีกจำนวนมากไม่ได้สนับสนุนให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมหรือโครงการดี ๆ ที่เน้นการอ่าน การเขียน การพูด หรือกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้คลุกคลีกับตัวหนังสือ   ในขณะที่ห้องสมุดก็ไม่ค่อยจะมีกิจกรรมดึงดูดให้เด็กเข้าไปศึกษาหาความรู้

แม้ปัญหาการใช้ภาษาไทยได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานหลายสิบปี แต่ในยุคปัจจุบันนี้ปัญหายิ่งวิกฤติความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีปัจจัยหนุนนำที่สำคัญนั่นคือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว เราจึงพบการใช้ภาษาไทยแบบผิด ๆ มากมายจนเกือบจะกลายเป็นความคุ้นชิน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ยิ่งน่าเป็นห่วงมากที่สุด เป็นกลุ่มที่นิยมใช้ภาษาที่มีวิวัฒนาการทางภาษาที่เฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นภาษาที่เกือบจะไม่มีไวยากรณ์ ไม่ว่าจะจากการรับส่งข้อความสั้น (SMS) การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การสนทนาออนไลน์ (MSN)  หรือแม้แต่การแสดงความคิดเห็นในโลกอินเทอร์เน็ต

สำหรับภาษาของวัยรุ่นที่พบเห็นกันบ่อย ๆ นั้น มีทั้งภาษาที่ใช้ในการพูด  โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย เช่น ตัวเอง = ตะเอง ครับ = คับ จริง = จิง เปล่า = ป่าว ส่วนภาษาที่ใช้ในการเขียน ซึ่งจะมีทั้งคำพ้องเสียง เช่น เธอ = เทอ ใจ = จัย หนู = นู๋ ผม = ป๋มไง = งัย กรรม = กำ เสร็จ = เสด ก็ = ก้อ หรือบางคำที่พิมพ์ด้วยความรีบเร่ง ซึ่งจะใกล้เคียงกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกดแป้น Shift อาจทำให้เสียเวลา จึงไม่กด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้ายกันแทน เช่น รู้ = รุ้ เห็น = เหน เป็น = เปน ใช่ไหม = ชิมิ และยังมีกลุ่มที่ใช้สื่อสารในเกม โดยใช้ตัวอักษรภาษาอื่นที่มีลักษณะคล้ายตัวอักษรภาษาไทย เช่น เทพ = Inw นอน = uou เกรียน = เกรีeu หรือแม้แต่การเน้นเขียนคำให้
สั้นที่สุดโดยใช้สัญลักษณ์แทน เช่น 555 แทนเสียงหัวเราะ เป็นต้น

และยังมีคำอีกมากมายที่ถูกบัญญัติขึ้นโดยกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นวัยรุ่น จนแทบจะกลายเป็นภาษาทางการของกลุ่มวัยรุ่นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและนับวันยิ่งขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากทุกภาคส่วนในสังคมยังคงปล่อยวางไม่เร่งรีบหาทางแก้ไข และยังคงมีการใช้บ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดความเคยชิน อีกทั้งมีการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนในที่สุดก็จะกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งน่าหวั่นเกรงยิ่งนักว่าในอนาคตปัญหาวิกฤติภาษาไทยก็จะยิ่งยากเกินการเยียวยาแก้ไข

ณ วันนี้ หากฝืนปล่อยให้กลุ่มคนที่ชอบใช้ภาษาแบบผิด ๆ ด้วยค่านิยมที่ผิด ๆ  เพียงรู้สึกว่าการใช้ภาษาตามค่านิยมวัยรุ่นเหล่านั้นดูเป็นคำที่น่ารักและยังช่วยให้พิมพ์ง่ายขึ้น โดยที่ไม่คำนึงถึงสิ่งที่จะตามมา นั่นคือการทำลายภาษาไทยโดยทางอ้อม และที่น่ากลัวยิ่งคือวัยรุ่นบางกลุ่มได้นำคำเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและได้แพร่หลายเข้าไปในสถานศึกษา ซึ่งจะเป็นหนทางที่จะนำพาความหายนะมาสู่วงการภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่ทุกฝ่ายไม่ควรมองข้าม

คงต้องฝากถึงผู้ดูแลระดับนโยบายทั้งหลายว่าทำอย่างไรที่จะสามารถกระตุ้นเตือน และปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย รวมถึงการสร้างความร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย

ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้มีความถูกต้องงดงามคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป.

ฟาฏินา  วงศ์เลขา



ย้อนกลับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง