สถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน 2565

ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ยุทธศักดิ์ สุภสร ระบุ เปิดเผยว่า คาดการณ์ว่าช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 7.5 ล้านคน สร้างรายได้ 4.03 แสนล้านบาท

สำหรับสถานการณ์การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยในช่วงครึ่งปีแรก ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-30 มิ.ย.2565 มีจำนวน 2.12 ล้านคน และล่าสุดจำนวนทะลุ 4 ล้านคนแล้ว และเมื่อดูแนวโน้มการเดินทางเข้าประเทศไทยในครึ่งปีหลัง คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย 7.5 ล้านคน เมื่อรวมกับครึ่งปีแรกอยู่ที่ 9.62 ล้านคน แต่มั่นใจว่าจะผลักดันให้ถึง 10 ล้านคน รวมนักท่องเที่ยวไทย 160 ล้านคนครั้ง จะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งปีได้ 1.2 ล้านล้านบาท และคาดว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะกลับเป็นปกติเหมือนก่อนเกิดโควิดได้ในปี 2567

ผนึกพันธมิตรท่องเที่ยวดันรายได้โตตามเป้า

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยว ททท.ได้ผนึกกำลังกับเซ็นทรัลพัฒนา และพันธมิตรด้านการท่องเที่ยว กระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทย ผลักดันรายได้ของประเทศ ร่วมพลิกฟื้นเศรษฐกิจ กระตุ้นท่องเที่ยวทั้งระบบทั้งในประเทศ-ต่างประเทศ ผ่านแคมเปญ “The Great Collaboration for Thailand’s Tourism Ecosystem” รองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลักดันรายได้ของประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมาย

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ดร. ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ระบุปัจจุบันตัวเลขทราฟฟิกศูนย์การค้าเซ็นทรัล กลับมาเกือบ 100% ทั่วประเทศ สำหรับทัวร์ริสต์มอลล์ ในกรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ พัทยา ฯลฯ มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และธุรกิจโรงแรม ศูนย์อาหารก็ฟื้นตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มั่นใจว่ายอดนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยจะเป็นไปตามเป้าที่ ททท.วางไว้ที่ 10 ล้านคนในปี 2565 สำหรับ Top 3 นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไทยมากที่สุด ได้แก่ มาเลเซีย อินเดีย และสิงคโปร์ ตามลำดับ สำหรับภาพใหญ่ของการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาประเทศไทย

โดยวางกลยุทธ์ที่ชัดเจนเพื่อผลักดันให้ไทยเป็น Global Preferred Destination ด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 Stimulate Spending & Spread income ชูบทบาทศูนย์การค้าเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยง Retail & Tourism Ecosystem เข้าด้วยกัน เพื่อเติมเต็มการท่องเที่ยวทั้งระบบ ด้วยจุดแข็งของศูนย์การค้าเซ็นทรัลที่มีสาขาทั่วประเทศ โดยมี 19 สาขา อยู่ใน 15 จังหวัดท่องเที่ยวทั้งเมืองหลักและเมืองรอง โดยร่วมกับ ภาครัฐ ตั้งแต่ Tourism Sandbox, ร่วมกับททท. สำนักงานต่างประเทศ ดูไบ และฮ่องกง จัดทำ Fam Trip รวมถึง Co-Promotion ต่างๆ กับศูนย์การค้าเซ็นทรัลเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว / TCEB รองรับธุรกิจ MICE ซึ่งในอนาคตภาครัฐอาจต้องส่งเสริมการเป็นเจ้าภาพหรือ host งานระดับโลกมากขึ้น ร่วมกับสถาบันการเงิน บัตรเครดิต รวมถึง Payment online platform ใน Ecosystem ทั้งระบบ รวมถึงสายการบินชั้นนำ

กลยุทธ์ที่ 2 Springboard Rising Cities : ขยายโครงการต่อเนื่อง ปั้นเมือง Rising Cities โปรโมทเมืองรอง จับคู่กับเมืองหลัก เช่น กรุงเทพฯ - ไปอยุธยา – สุโขทัย, เชียงใหม่ - ไปลำพูน – ลำปาง, ภูเก็ต – ไปกระบี่ เป็นต้น

กลยุทธ์ที่ 3 Spotlight on Global Shopping Destination: ผลักดันกรุงเทพฯ และภูเก็ตเป็นเมืองช้อปปิ้งระดับโลก พัฒนา shopping destination หลากหลายฟอร์แมตเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทุกประเภท

สำหรับตลาดต่างประเทศนั้น ททท.จะมุ่งส่งเสริมกับกลุ่มเป้าหมายคุณภาพ เน้นทำการตลาดผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ และรักษาความสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 

ส่วนตลาดในประเทศ ททท.จะมุ่งส่งเสริมและสนับสนุน “ไทยเที่ยวไทย” ภายใต้แนวคิด BCG และ Local Economy Development Model ควบคู่กับการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ เพิ่มการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ และเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรมท่องเที่ยว โดยเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการในลักษณะอัพสกิลและรีสกิล

ปี 2566 เป็นปีแห่งความหวังสำหรับทุกธุรกิจ ไม่เว้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย หลังจากต้องเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 ปะทุมากว่า 2 ปี จนทำรายได้ท่องเที่ยวสูญมหาศาล เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติแทบเป็นศูนย์ โดยครึ่งปีแรกของปี 2564 รายได้จากการท่องเที่ยวหดหายไปถึง 1.30 แสนล้านบาท


ส่วนอัตราการเข้าพักของสถานพักแรมทั่วประเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า น่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ประมาณ 52%-60% จาก 44% ในปี 2565 (ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 อัตราการเข้าพักสถานพักแรมทั่วประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 41.21%) แต่ยังต่ำกว่าปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 70.08% โดยพื้นที่ที่ฟื้นตัวดียังเป็นกลุ่มที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวไทยจะมีอัตราการเข้าพักที่สูง เช่น ภาคตะวันตก (เช่น กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี) และภาคเหนือ (เช่น เชียงใหม่ เชียงราย น่าน) เป็นต้น เช่นเดียวกันภาคใต้และกรุงเทพฯ อัตราการเข้าพักสถานพักแรมทยอยปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าปี 2562 โดยเป็นผลจากในพื้นที่มีจำนวนห้องพักที่ค่อนข้างสูง

ขณะที่รายได้ธุรกิจโรงแรมและที่พัก คาดว่า น่าจะอยู่ที่ประมาณ 5-6 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีมูลค่าประมาณ 3.8 แสนล้านบาท แต่การฟื้นตัวยังไม่ครอบคลุมทุกตลาด เนื่องจากนักท่องเที่ยวยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังไม่กลับเข้าสู่ระดับปี 2562 ขณะเดียวกันการแข่งขันในธุรกิจของโรงแรมและที่พักที่สูง ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถปรับราคาห้องพักขึ้นได้มากนัก ประกอบกับต้องใช้กลยุทธ์ด้านราคาในการกระตุ้นตลาดต่อเนื่อง ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการสร้างรายได้ อย่างไรก็ดี จากทิศทางตลาดการจัดงานและการประชุมสัมมนาที่ปรับตัวดีขึ้น จะช่วยหนุนรายได้ของผู้ประกอบการ

โรงแรม-ที่พัก ราคาไม่เกิน 3,000 บาท “ฟื้นตัว” เร็วสุด 

สำหรับปัจจัยหนุนการฟื้นตัวทางรายได้ของธุรกิจโรงแรมและที่พักในปี 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยเพิ่มขึน ซึ่งเป็นแรงบวกสำคัญของธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชีย อาทิ มาเลเซีย อินเดีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ เป็นต้น สำหรับนักท่องเที่ยวจากจีนและยุโรปซึ่งเป็นตลาดหลักในช่วงก่อนโควิด แม้ในปี 2566 คาดว่าจะเพิ่มจากปี 2565 แต่ยังไม่มาก เนื่องจากทางการจีนยังดำเนินนโยบายการควบคุมการระบาดของโรคที่เข้มงวด แม้จะยืดหยุ่นกว่าเดิม (Dynamic Zero-COVID Policy)

ส่วนการเดินทางแบบกรุ๊ปทัวร์อาจจะต้องรอความชัดเจนอีกครั้งในการแถลงนโยบายเศรษฐกิจจีนในเดือนมีนาคม 2566 นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปที่ส่งผลต่อการเดินทาง ท่องเที่ยวต่างประเทศ นอกจากนี้ แม้เงินบาทที่อ่อนค่าลงจะช่วยหนุนตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติบางกลุ่ม แต่เงินยูโรและเงินปอนด์ที่อ่อนค่าลงเช่นกัน ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนอาจจะไม่เป็นปัจจัยหลักสำหรับการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว

โดยโรงแรมและที่พักที่ฟื้นตัวได้ดีจะเป็นกลุ่มระดับราคาเฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาทต่อคืน เช่น กลุ่ม Economy และ Middle Scale เนื่องจากกำลังซื้อ และกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Young Traveler และเดินทางมาคนเดียว ซึ่งมี Budget จำกัด เน้นที่พักตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เช่น ภูเขา อ่างเก็บน้ำ และชายทะเล โดยส่วนใหญ่เป็น 3 รูปแบบที่พัก ได้แก่ Resort/Villa ที่พักชุมชน หรือที่พักที่มีลานกางเต้นท์ การท่องเที่ยวแบบแคมปิ้ง (Camping Tourism) และมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ทำในที่พักและถ่ายภาพ ซึ่งสอดคล้องไปกับพฤติกรรมการท่องเที่ยว

5 โจทย์ท้าทายผู้ประกอบการ ที่ต้องระวังในปีหน้า 

แม้แนวโน้มของธุรกิจโรงแรมและที่พักจะกลับมาฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวยังเปราะบางและในระยะข้างหน้า ยังต้องเผชิญกับโจทย์ท้าทายมากขึ้น ทั้งจากตลาดนักท่องเที่ยวที่ยังมีความไม่แน่นอนและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจหลายอย่าง ได้แก่

  • ความเสี่ยงโรคโควิดยังคงอยู่ เป็นข้อจำกัดในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวบางกลุ่ม เนื่องจากการที่โรคโควิดยังมีการกลายพันธุ์ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดเป็นระลอก ทั้งในและต่างประเทศ
  • ความเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย และสถานการณ์รัสเซียและยูเครนที่ยังยืดเยื้อ สร้างความเสี่ยงต่อตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2566 รวมถึงเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับหลากหลายปัจจัยลบทั้งปัญหาเงินเฟ้อที่สูง ราคาพลังงานที่ยังมีแนวโน้มผันผวนและปรับตัวขึ้นอีก ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชน ขณะเดียวกันสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนมีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้หลายประเทศในยุโรปยังเผชิญกับปัญหาวิกฤติพลังงานรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ
  • การแข่งขันในภาคธุรกิจโรงแรมและที่พักที่สูง จากแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่เพิ่มขี้นและจำนวนที่พักเปิดใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น เป็นแรงกดดันต่อธุรกิจ โดยในปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติเกิดใหม่มากขึ้น ทำให้เกิดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยว ขณะที่ธุรกิจยังต้องเผชิญกับสถานที่พักเปิดใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวหลัก สร้างแรงกดดันในการแข่งขัน โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมและที่พักที่สร้างมานานและอยู่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวจะเสียเปรียบ
  • เทรนด์และพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เน้นประสบการณ์ ส่งผลต่อการออกแบบที่พักและการบริการในโรงแรมและที่พัก เช่น นักท่องเที่ยวแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนอยู่ใกล้ธรรมชาติ ซึ่งจะมีผลต่อรูปแบบและทำเลในการพัฒนาตกแต่งโรงแรมและที่พักที่เน้นความเป็นธรรมชาติ รวมไปถึงการสร้างกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ทำระหว่างการพักผ่อน
  • แนวโน้มต้นทุนทางธุรกิจของผู้ประกอบการปรับตัวสูงขึ้น เช่น ต้นทุนราคาสินค้า พลังงาน รวมถึงต้นทุนทางการเงินอย่างอัตราดอกเบี้ยยังมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น ทำให้การใช้กลยุทธ์ด้านราคามีข้อจำกัดมากขึ้น และอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของผู้ประกอบการในระยะยาว

จากปัจจัยแวดล้อมดังกล่าว ทำให้ปี 2566 ธุรกิจโรงแรมและที่พักยังมีความไม่แน่นอนสูง ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจึงต้องเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ต่างๆ ตลอดเวลา โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย แนะว่า ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์การตลาดด้วยการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส เช่น ในช่วงที่ภูมิภาคยุโรปกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติพลังงานรุนแรงในฤดูหนาวที่จะถึงนี้ อาจปรับแพ็คเกจที่พักเป็นรูปแบบแพ็คเกจอยู่ยาวเจาะกลุ่มชาวยุโรปที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นตลาดชาวต่างชาติเที่ยวไทย อย่างมาตรการขยายระยะเวลาพำนักในไทย (Long-Term Resident Visa) ควบคู่ไปกับการทำตลาดประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องระมัดระวังในการลงทุน รวมถึงการศึกษาตลาดมากขึ้น ทั้งในเรื่องเทรนด์และความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะเทรนด์ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและตอบแทนสู่สังคมของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ โดยผู้ประกอบการควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในพื้นที่ที่มี Supply ห้องพักสูง และหากจะลงทุนในพื้นที่ใด ควรศึกษาพฤติกรรมกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าไปท่องเที่ยวในแต่ละปี ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงฤดูกาลท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าว และถ้าเป็นไปได้ควรเลือกลงทุนในแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เพื่อนำข้อมูลมากำหนดรูปแบบที่พัก ขนาดหรือจำนวนของห้องพัก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ รวมไปถึงการออกแบบกิจกรรมภายในที่พักที่จะให้บริการนักท่องเที่ยว

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

      

KResearchTouristtravelนักท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวต่างชาติศูนย์วิจัยกสิกรไทยอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโรงแรมและที่พัก

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง