ฟัน ปลอม ทำ ที่ไหน ดี

เมื่อถึงวัยหนึ่งร่างกายอาจเริ่มเสื่อมถอย ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายเริ่มลดลง ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องของ ‘ฟัน’ ที่เมื่อเราอายุมากขึ้นก็ถึงเวลาเสื่อมสมรรถภาพไปตามระยะเวลา แน่นอนว่า ก็ต้องหาเครื่องมือทดแทนที่จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม นั่นก็คือ ‘ฟันปลอม’ แต่ว่าจะเลือกฟันปลอมแบบไหนดี ควรเลือกทำที่ไหน มีข้อดีอย่างไร และใครบ้างที่ควรใส่ฟันปลอม วันนี้ทางคลินิกทันตกรรมสีวลีของเรามีคำตอบมาฝากแล้ว

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

ฟันปลอม คืออะไร

ฟันปลอม (Prosthodontics) คือ ฟันที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ทดแทนฟันตามธรรมชาติที่สูญเสียไป รวมถึงเนื้อเยื่อข้างเคียงซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดฟันแตกหรือฟันหัก อายุที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเกิดจากการถอนในการรักษาฟันผุ หรือฟันโยกจากอาการเหงือกอักเสบ และเหงือกร่นได้ ส่วนวัสดุที่นำมาทำฟันปลอมนั้นมักทำจากโลหะเจือนิเกิล-โครเมียม ไททาเนียม หรือ อะคริลิกเรซิน โดยฟันปลอมฟันเทียมในปัจจุบันมีให้เลือกด้วยกันหลายแบบ ซึ่งคุณสามารถดูรายละเอียดได้ในหัวข้อถัดไป

ฟันปลอม มีกี่แบบ

สำหรับประเภทของฟันปลอมจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ ได้แก่

  1. ฟันปลอมแบบติดแน่น (Fixed Prosthodontics)
  2. ฟันปลอมแบบถอดได้ (Removable Prosthodontics)

ฟันปลอมแบบติดแน่น (Fixed Prosthodontics)

ฟันปลอมแบบติดแน่น คือ ฟันปลอมที่ต้องอาศัยการยึดฟันธรรมชาติโดยการกรอฟันให้เล็กลง เพื่อจะต้องทำการครอบฟันให้ติดกับตัวฟันปลอม และฟันปลอมชนิดนี้ผู้ที่ใส่ไม่สามารถถอดออกมาเพื่อทำความสะอาด ภายนอกช่องปากได้ ซึ่งปัจจุบันนี้มีวิธีการทำฟันปลอมแบบติดแน่นหลายแบบ เช่น

1. ครอบฟัน (Crown)

วิธีการครอบฟัน คือ การครอบหรือคลุมฟันที่เสียหายไว้ด้วยฟันปลอมติดเเน่นที่ทำจากวัสดุประเภทโลหะหรือเซรามิก ทำให้สามารถทดแทนฟันจริง เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตัวฟัน เพื่อความสวยงามในฟันหน้าได้ เพื่อปกป้องเนื้อฟันเดิมที่เหลืออยู่ และเป็นการรักษารากฟันไว้ได้ นอกจากนี้ การทำครอบฟันนั้นจะทำบนฟันธรรมชาติที่มีราก หรือทำบนรากเทียมเท่านั้นด้วย

2. สะพานฟัน (Bridge)

การทำสะพานฟัน คือ วิธีการทำฟันเทียมบางส่วนให้ติดแน่นกับส่วนของครอบฟันยึดติดกับฟันธรรมชาติทั้งสองข้าง และมีส่วนของฟันแขวนอยู่ตรงกลาง ใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่หายไป 1-2 ซี่ โดยทันตแพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้คนไข้เลือกใช้สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกผสมโลหะ สำหรับการทดแทนฟันกรามซึ่งใช้ในการบดเคี้ยว และแบบเซรามิกล้วนในการทดแทนฟันหน้า ซึ่งการทำสะพานฟันแบบเซรามิกจะมีความใส สวยงาม เหมือนฟันตามธรรมชาติจึงเหมาะจะเลือกใช้ทำฟันหน้าเป็นพิเศษ

3. การอุดฟัน Onlays และ Inlay

การอุดฟัน Onlays และ Inlay คือ การอุดฟันด้านในของตัวฟัน (Intracoronal Restoration) ซึ่งช่วยในการซ่อมแซมฟันที่มีการสูญเสียเนื้อฟันไปค่อนข้างมาจากฟันผุหรือฟันแตกจนเกิดเป็นโพรงขนาดใหญ่เกินกว่าจะทำการอุดฟันตามปกติ แต่ก็ต้องมีเนื้อฟันเหลือเพียงพอที่จะทำการซ่อมแซมได้ด้วย

4. วีเนียร์ (Veneer)

การทำวีเนียร์ หรือ เคลือบฟันเทียม เป็นวิธีการปิดแผ่นเคลือบฟันลงไปที่บริเวณผิวหน้าฟันที่สามารถแก้ความบกพร่องของฟันให้กลับมาสวยงาม เคลือบฟันขาว ยิ้มได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง จึงเหมาะกับผู้ที่มีความผิดปกติของฟันเพียงเล็กน้อย เช่น สีฟันไม่สวย ฟันไม่สบกัน ฟันไม่เท่ากัน ปัญหาฟันเล็ก เป็นต้น

5. รากฟันเทียม (Dental Implants)

รากฟันเทียม คือ การฝังวัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันลงบนกระดูกขากรรไกร กระดูก รากฟัน หรือใต้เหงือก เพื่อทดแทนรากฟันจริงในตำแหน่งที่สูญเสียฟันเเละรากฟันธรรมชาติไป และให้เหมาะกับการใส่ฟันปลอม ทั้งแบบถอดได้และแบบติดแน่น

ฟันปลอมแบบถอดได้ (Removable Prosthodontics)

จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ

1. ฟันปลอมทั้งปาก (ใช้แทนฟันบนหรือฟันล่างทั้งหมดของคนไข้)

จะเป็นฟันปลอมที่ทำขึ้นเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปทั้งปาก โดยจะมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

  • ฟันปลอมทั้งปากแบบดั้งเดิม จะเป็นการทำฟันปลอมที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นเนื้อเยื่อหลังจากทำการถอนฟันออก ทำให้ช่วงหนึ่งคุณจะไม่มีฟัน โดยจะเหมาะกับผู้ที่สูญเสียฟันไปทั้งปากหรือเหลืออยู่เพียงไม่กี่ซี่ (โดยมากจะไม่เกิน 6 ซี่)
  • ฟันปลอมทั้งปากแบบใส่ได้ทันที ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากเพื่อทำฟันปลอม ก่อนที่จะทำการถอนฟันให้คนไข้ ซึ่งหลังจากการถอนฟัน คนไข้สามารถที่จะสวมใส่ฟันปลอมได้ทันที แต่การทำฟันปลอมประเภทนี้จะช่วยแก้ปัญหาการสูญเสียฟันระดับเบื้องต้นและชั่วคราวเท่านั้น หลังจากที่บริเวณเหงือกมีสภาพปกติดีแล้ว ทันตแพทย์จะเริ่มทำฟันปลอมแบบดั้งเดิมให้แทน

2. ฟันปลอมบางส่วน สำหรับใส่ทดแทนที่ฟัน 1-3 ซี่ที่หายไป

จะเป็นฟันปลอมที่ทำขึ้นสำหรับคนไข้ที่สูญเสียฟันไปบางซี่เท่านั้น แต่ยังมีฟันแท้เหลืออยู่ ทำได้จากวัสดุหลายประเภท เช่น โลหะ อะคริลิกเรซิน ไนลอน แต่ยังมีข้อจำกัดในการใช้งาน ซึ่งจะใช้ฟันปลอม-ฟันเทียมชนิดไหนขึ้นอยู่กับลักษณะฟัน และจุดประสงค์ของคนไข้รายนั้นๆ ด้วย

ฟันปลอม แต่ละแบบใช้วัสดุอะไรในการทำ

วัสดุทำฟันปลอมแบบติดแน่น

จะมีอยู่ด้วยกันประมาณ 3 ชนิด คือ

  • ฟันปลอมติดแน่นแบบโลหะ

วัสดุจะทำมาจากทั้งโลหะทั้งแผ่น ส่วนใหญ่จะใช้กับฟันกรามสำหรับบดเคี้ยว

  • ฟันปลอมติดแน่นแบบพลาสติก

จะเหมาะสำหรับการใส่แบบชั่วคราว ส่วนใหญ่จะใช้ในช่วงที่รอให้แผลถอนฟันหายดี

  • ฟันปลอมติดแน่นแบบผสม

เช่น เซรามิก ฐานโลหะพอกด้วยพอสเลน จะเหมาะกับบริเวณฟันหน้าที่ต้องการให้ฟันมีความสวยงามเหมือนฟันแท้ และสามารถรับแรงบดเคี้ยวได้อย่างเป็นธรรมชาติ

วัสดุทำฟันปลอมแบบถอดได้

จะใช้วัสดุหลักๆ อยู่ด้วยกันประมาณ 3 ชนิด ได้แก่

  • ฟันปลอมแบบฐานพลาสติก

จะมีลักษณะเป็นฟันปลอมพลาสติกเป็นซี่ๆ ยึดอยู่กับฐานฟันปลอมที่ทำจากอะคริลิกสีชมพู ตกแต่งให้ดูคล้ายคลึงกับเหงือกธรรมชาติ โดยทำออกมาได้ทั้งแบบเป็นซี่ๆ หรือหลายซี่ ส่วนใหญ่จะใช้ในคนไข้ที่ยังไม่เคยใส่ฟันปลอม เพื่อช่วยในการปรับตัวว่าใช้งานได้ถนัดหรือไม่

  • ฟันปลอมแบบฐานนิ่ม

จะมีลักษณะคล้ายกับฟันปลอมฐานพลาสติก แต่ในส่วนบริเวณฐานฟันปลอม แทนที่จะทำด้วยอะคริลิกแข็ง จะทำด้วยวัสดุพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นที่ตกไม่แตก และไม่ค่อยหักง่ายแทน ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่ฟันหายไปจำนวนน้อยๆ เช่น 1 หรือ 2 ซี่ แต่ในบางกรณี อาจใช้ในผู้ที่มีฟันหายไปมากกว่านั้น

  • ฟันปลอมแบบฐานโลหะ

จะมีลักษณะบางเเละเเนบกับเหงือกได้มากกว่าจากการที่เปลี่ยนในส่วนบริเวณฐานเป็นโครงโลหะแทน จึงทำให้คนไข้รู้สึกรำคาญน้อยกว่าเเบบฐานพลาสติกเเละมีความทนทานมากกว่า รวมถึงมีอายุการใช้งานที่มากกว่า เนื่องจากโลหะไม่ดูดสีและกลิ่น โดยถ้าดูแลรักษาดีๆ ฟันปลอมถอดได้โครงโลหะ อาจมีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี แต่อาจจะมีข้อเสียอยู่บ้างตรงที่อาจมองเห็นตะขอสีเงินได้ในบางบริเวณ

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ฟันปลอมติดแน่นและฟันปลอมถอดได้

ฟันปลอมทั้ง 2 รูปแบบมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกัน ซึ่งคุณสามารถนำมาใช้ในการพิจารณาเลือกรูปแบบของฟันปลอมที่คุณต้องการได้ ดังนี้

ข้อดี-ข้อเสียของฟันปลอมแบบติดแน่น

ข้อดี

  • ดูสวยงามและเป็นธรรมชาติเหมือนกับฟันแท้
  • แข็งแรง ทนทาน มีประสิทธิภาพเหมือนกับฟันธรรมชาติ
  • ไม่รู้สึกรำคาญเวลาเคี้ยว
  • อายุการใช้งานยืนยาว เพราะเป็นฟันปลอมถาวร
  • ไม่ทำให้สันเหงือก หรือสันกระดูกเกิดการยุบตัว

ข้อเสีย

  • มีราคาที่ค่อนข้างแพง
  • ใช้ระยะเวลาในการทำนานกว่า เนื่องจากมีความซับซ้อน และต้องทำในช่องปากของคนไข้
  • อาจเกิดฟันผุใต้ที่ครอบฟันได้ ถ้าทำความสะอาดไม่ดี
  • อาจจะทำให้เกิดการเจ็บมากกว่าการทำฟันปลอมแบบถอดได้ เนื่องจากต้องมีการใส่ยาชา เพื่อกรอฟันธรรมชาติ

ข้อดี-ข้อเสียของฟันปลอมแบบถอดได้

ข้อดี

  • ราคาถูกกว่าการทำฟันปลอมแบบติดแน่น
  • สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ง่าย
  • ใช้เวลาในการทำเร็วและไม่ซับซ้อน
  • ใช้ในกรณีที่ฟันหลักไม่แข็งแรงและไม่สามารถทำการติดฟันปลอมแบบติดแน่นได้
  • ใช้ทดแทนฟันที่หายไปได้หลายๆ ซี่
  • ใช้เป็นฟันปลอมชั่วคราวระหว่างรอการรักษาแบบอื่นๆ ได้ อีกทั้งช่วยประเมินความสวยงามและการใช้งานของฟันปลอมติดแน่นได้ด้วย
  • สามารถทดแทนและแก้ไข้กรณีที่มีเหงือกและกระดูกหายไปเป็นจำนวนมาก

ข้อเสีย

  • ก่อให้เกิดความรำคาญในขณะใส่ เนื่องจากมีโอกาสหลุดได้
  • อาจมีเศษอาหารติดอยู่ตามใต้ฟันปลอมได้
  • อาจจะไม่ค่อยสวยงาม เพราะอาจจะเห็นตะขอติดฟันปลอม
  • หากทำฟันปลอมที่เป็นฐานอะคริลิก (พลาสติก) อาจเปราะหักได้ง่าย
  • อาจทำให้สันเหงือก หรือสันกระดูกเกิดการยุบตัว เนื่องจากรับแรงกดจากการบดเคี้ยวอาหารอยู่เป็นประจำ

ลักษณะการทำฟันปลอม

ฟันปลอม ทั้งปากแบบดั้งเดิม

สำหรับใครที่ต้องการทำฟันปลอมทั้งปากแบบดั้งเดิมจะพบว่า หลังจากทำการถอนฟันออกจนหมดแล้ว จำเป็นที่จะต้องพักฟื้นเนื้อเยื่อ และต้องรอให้แผลจากการถอนฟันสมานตัวดีเสียก่อน (ซึ่งอาจใช้เวลาหลายเดือน และช่วงนี้คุณจะยังไม่มีฟัน) จึงจะทำการพิมพ์ปากเพื่อสร้างแบบจำลองฟัน การทำแบบจำลองฟันช่วยให้ทันตแพทย์สามารถวินิจฉัยและทำฟันปลอมให้มีขนาดและรูปร่างที่เหมาะสมที่สุด

หลังจากนั้นทันตแพทย์จะนัดให้คุณลองฟันปลอมแบบชั่วคราวแก่คนไข้เพื่อตรวจดูตำแหน่ง และรูปร่างรวมถึงความสะดวกสบายขณะสวมใส่ และปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะทำการผลิตฟันปลอมชุดจริง ซึ่งหลังจากที่คุณได้รับฟันปลอมทั้งปากแบบดั้งเดิมไปใช้งานแล้ว ทันตแพทย์จะยังทำการนัด เพื่อติดตามผลการใช้งานอีกครั้งประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะนัดมาตรวจเช็กทุก 6 เดือน หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์

ฟันปลอม ทั้งปากแบบทันที

ฟันปลอมทั้งปากแบบทันที ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากก่อนการถอนฟัน เพื่อให้ช่างสามารถทำฟันปลอม ที่มีลักษณะเหมือนฟันเดิมได้ทันที เมื่อถึงวันนัดถอนฟันคนไข้จะมีฟันปลอมใส่ได้ทันที

และถึงแม้ว่าฟันปลอมทั้งปากแบบทันทีจะช่วยให้คนไข้ไม่ต้องอยู่แบบไม่มีฟัน แต่ฟันปลอมชนิดนี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนหลายเดือนหลังจากที่ใส่ไปแล้ว เนื่องจากระดูกรองรับฟันและเหงือกบริเวณนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงและยุบตัวลง คนไข้อาจจำเป็นต้องเข้ารับการปรับแต่งฟันปลอมดังกล่าวให้มีความพอดีกับบริเวณนั้นๆ เพื่อความสะดวกสบายของคนไข้ขณะสวมใส่ และจะเป็นฟันปลอมที่ใช้ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น

ฟันปลอม แบบบางซี่

จะเป็นการทำฟันปลอมให้โครงโลหะยึดติดกับฟันธรรมชาติ บางครั้งอาจต้องมีการครอบฟันที่ฟันธรรมชาติเพื่อทำหน้าที่เหมือนฟันปลอมด้วยในกรณีที่ไม่ได้สูญเสียฟันนั้นไปทั้งซี่ แต่ถ้าหากเกิดจำเป็นต้องถอนฟันออกไปเลยทั้งซี่ ก็อาจจะต้องติดตั้งเครื่องมือโดยมีครอบฟันไว้ตรงกลางทดแทนซี่ที่สูญเสีย และทำสะพานฟันเพื่อยึดซี่ข้างเคียงไว้

ใครบ้างที่ควรใส่ฟันปลอม

  • คนที่ฟันเริ่มมีปัญหา รูปร่างฟันผิดปกติจากการ บิ่น เเตก
  • คนที่สูญเสียฟันในตรงตำแหน่งนั้นไป และไม่สามารถรักษารากฟันได้
  • ผู้สูงอายุ
  • ไม่มีความมั่นใจในการพบปะผู้คนจากการสูญเสียฟันตามธรรมชาติ
  • มีปัญหาฟันผุ เพราะเศษอาหารมันจะเข้าไปติดตามซอกเหงือกที่ไม่มีฟัน
  • มีปัญหาพูดไม่ชัดในกรณีที่ฟันด้านหน้าหลุด
  • มีปัญหาเรื่องการเคี้ยวอาหาร โดยมักจะเคี้ยวอาหารเพียงข้างเดียวทำให้บดเคี้ยวไม่ละเอียดเกิดความเมื่อยล้าบริเวณกรามและกระเพาะอาหารทำงานหนัก
  • คนที่ต้องถอนฟันเนื่องจากปัญหาสุขภาพ
  • คนที่ต้องใส่ฟันปลอมอยู่เเล้ว แต่ฟันปลอมไม่พอดี ต้องมีการปรับฟันปลอมใหม่ (Reline) เพื่อใส่ให้กระชับไม่เจ็บเหงือก

ใครบ้างที่ไม่ควรใส่ฟันปลอม

จริงๆ แล้วคนไข้ทุกคนควรทำฟันปลอมไม่แบบใดก็แบบหนึ่งเมื่อเกิดการสูญเสียฟันแท้ขึ้น ยกเว้นว่า อยากทำฟันปลอมด้วยเทคนิคบางประเภทที่อาจจะไม่เหมาะกับคนบางกลุ่ม เช่น ต้องการทำฟันปลอมด้วยการทำรากฟันเทียม ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับเด็กที่อายุยังไม่ถึง 18 ปีเพราะกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ในกรณีที่คนไข้ตั้งครรภ์ ควรคลอดบุตรก่อนทำรากเทียม เป็นต้น

ทั้งนี้ ควรปรึกษาทันตแพทย์ว่า คุณเหมาะที่จะทำฟันปลอมประเภทใดมากที่สุด แต่รับรองว่า จะมีรูปแบบการทำฟันปลอมที่เหมาะกับช่องปากของคุณอย่างแน่นอน

เลือกทำฟันปลอมแบบไหนดี

หากคุณสนใจทำฟันปลอม จะต้องไปพบกับทันตแพทย์เพื่อตรวจสภาพช่องปากเสียก่อน เนื่องจากคนเราแต่ละคนก็เหมาะกับฟันปลอมแตกต่างกัน ซึ่งก็ควรเลือกให้เหมาะสมที่สุด โดยคุณจะต้องแจ้งเกี่ยวกับโรคประจำตัวโดยละเอียดให้ทันตแพทย์ได้รับรู้ เพื่อจะได้ประเมินและวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง เช่น

หากคุณสูญเสียฟันไปหลายๆ ซี่ก็จะเหมาะกับการทำฟันปลอมแบบถอดได้ หรือถ้าหากฟันข้างเคียงไม่เเข็งเเรง พอที่จะรองรับตะขอใส่ฟันปลอม ก็อาจจะใช้การติดฟันปลอมแบบติดแน่นมากกว่า ส่วนในผู้สูงอายุก็มีวิธีการทำฟันปลอมหลายรูปแบบที่เหมาะสม ถ้าหากขี้ลืม หรือมีปัญหาเรื่องการบดเคี้ยว เบื่ออาหาร ขี้รำคาญ การทำฟันปลอมแบบติดแน่นด้วยการทำรากฟันเทียมอาจจะเหมาะสม ยกเว้นภาวะกระดูกพรุน เบาหวาน โรคปริทันต์อักเสบรุนแรง โรคมะเร็งที่ต้องฉายแสง หรือมีปัญหาตำแหน่งกระดูกไม่เหมาะที่จะฝังรากฟันเทียมก็อาจจะต้องพิจารณาทำฟันปลอมในรูปแบบอื่นๆ ต่อไป

ขั้นตอนการทำฟันปลอม

การทำฟันปลอมกับคลินิกนั้นไม่ได้ยุ่งยาก ซับซ้อนมากนัก โดยมี 4 ขั้นตอนคร่าวๆ ที่คุณจะต้องทำและใช้เวลา 3 สัปดาห์ – 1 เดือน เพื่อพัฒนาฟันปลอมให้ใช้งานได้อย่างเต็มที่ ดังต่อไปนี้

1. เข้าพบทันตแพทย์

โดยทันตแพทย์จะทำการซักถามประวัติจากคนไข้ เริ่มการตรวจช่องปาก ถ่ายรูป X-ray พิมพ์แบบจำลองช่องปากของคนไข้ หรือสแกนแบบดิจิทัลเพื่อวัดช่องว่างของฟันเเละลักษณะการกัด

2. ตรวจการเรียงตัวของฟัน

ทันตแพทย์จะทำการตรวจการเรียงตัวของฟัน เลือกสีฟันที่ใกล้เคียงกับฟันเดิม เเละสร้างฟันปลอมขึ้นมาบนแบบจำลอง เพื่อให้ได้รูปฟันที่สวยงาม และมีขนาดพอดีใส่ในช่องปากมากที่สุด

3. เตรียมช่องปากให้พร้อม

สำหรับเคสที่ต้องมีการถอนฟันร่วมด้วย ต้องเลือกรูปแบบการทำฟันว่าต้องการทำฟันปลอมแบบดั้งเดิม หรือต้องการทำฟันปลอมแบบใส่ได้ทันที (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์ร่วมด้วย) ถ้าหากเลือกทำแบบดั้งเดิมต้องรอให้แผลหายดีก่อน แต่ถ้าเลือกแบบใส่ได้ทันที ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากก่อนไว้ก่อน และจัดเตรียมฟันปลอมที่มีลักษณะเหมือนฟันเดิมได้ทันที และทำการนัดถอนฟันคนไข้ภายหลัง เพื่อใส่ฟันปลอมให้

4. สวมใส่ฟันปลอมพร้อมปรับแก้ไปด้วย

ทันตแพทย์ใส่ฟันปลอมเเละแก้ไขตำแหน่งกดเจ็บในระหว่างการทำฟันปลอม ทันตแพทย์จะนัดพบคนไข้ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อทำการตรวจเช็กอย่างละเอียด (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับรูปแบบของฟันปลอมด้วย)

ข้อดีของการทำฟันปลอม

  1. ป้องกันการเคลื่อนหรือล้มของฟันซี่ข้างเคียง
  2. ป้องกันฟันล้มหรือเอียง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียฟัน
  3. ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเผยรอยยิ้มและการพูดคุย
  4. ช่วยในเรื่องของการออกเสียงบางเสียง หลังจากสูญเสียฟันในบางตำแหน่งไป
  5. ช่วยในการบดเคี้ยวอาหาร
  6. ช่วยในการรักษารูปลักษณ์และความอูมนูนของใบหน้า

วิธีดูแลฟันปลอม

ไม่ว่าจะเป็นการทำฟันปลอมแบบถอดได้หรือติดแน่น ก็ควรปฏิบัติตนหลังจากทำฟันมาแล้ว ดังนี้

การดูแลฟันปลอมแบบติดแน่น

  • แนะนำให้เริ่มจากการรับประทานอาหารอ่อน เพื่อให้คุ้นชินกับการใส่ฟันปลอมก่อนสักพัก
  • ควรรักษาความสะอาดร่วมกับการทำความสะอาดช่องปาก เหงือก ลิ้น และเพดานปากตามปกติด้วยวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้องร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ
  • ให้ทำความสะอาดใต้ฟันปลอมด้วยเครื่องมือร้อยไหมขัดฟัน (Floss Threader) ร่วมกับไหมขัดฟัน ซึ่งทันตแพทย์จะแนะนำถึงวิธีการให้คุณสามารถดูแลทำความสะอาดฟันและช่องปากได้ด้วยตนเอง
  • ควรเข้าพบทันตแพทย์ตามนัด เพื่อทำการตรวจเช็กสุขภาพในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ

การดูแลฟันปลอมแบบถอดได้

  • ฟันปลอมชนิดถอดได้ควรรักษาความสะอาดด้วยการถอดฟันปลอมออกมาแปรงทุกครั้งหลังอาหาร รวมทั้งทำความสะอาดช่องปาก เหงือก ลิ้น และเพดานปากด้วยการแปรงฟัน
  • แนะนำให้เก็บฟันปลอมไว้ในแก้วที่ใส่น้ำในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันฟันปลอมบิดงอ
  • ทำความสะอาดฟันตามธรรมชาติที่เหลืออยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่ต้องถอดเอาฟันปลอมออกก่อน
  • ไม่ควรใส่ฟันปลอมแบบถอดได้นอน เนื่องจากอาจทำให้เกิดการสะสมของเชื้อรา ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อบุภายในช่องปากได้
  • ไม่ควรทิ้งฟันปลอมไว้ให้แห้ง ใกล้ความร้อน หรือหล่นกระแทก เพราะจะทำให้ฟันเทียมผิดรูป ไม่สามารถใส่เข้าที่ได้
  • พบทันตแพทย์ถ้าฟันปลอมหัก บิ่น แตก หรือหลวม ห้ามปรับฟันปลอมด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น
  • ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีความเหนียวเเข็ง เพราะทำให้ฟันปลอมทำงานหนัก เเละอาจหลุดออกมาในขณะที่เคี้ยวได้

ฟันปลอม ราคา

ราคาฟันปลอมประเภทต่างๆ ทั้งฟันปลอมถอดได้ และฟันปลอมติดแน่นมีราคาที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เลือกใช้ จำนวนซี่ และความต้องการของคนไข้ ทั้งนี้ ทันตแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำถึงความเหมาะสมของฟันปลอมแต่ละชนิดร่วมกับคนไข้เอง

ราคาฟันปลอมแบบติดแน่น

ราคาฟันปลอมแบบติดแน่นจะมีราคาค่อนข้างสูง อาจจะราคาสูงขึ้นหรือถูกลง ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เลือกใช้ 

รายการราคาComposite Veneerเริ่มต้นที่ ซี่ละ 3,000 บาทCeramic Veneerเริ่มต้นที่ ซี่ละ 12,000 บาทครอบฟันโลหะเริ่มต้นที่ ซี่ละ 9,000 บาทครอบฟัน All Ceramicเริ่มต้นที่ ซี่ละ 14,000 บาทรากฟันเทียมเริ่มต้นที่ ซี่ละ 29,000 บาท

ราคาฟันปลอมแบบถอดได้

โดยราคาของฟันปลอมแบบถอดได้ที่เป็นโลหะจะแพงกว่าแบบพลาสติก เพราะมีน้ำหนักเบา แข็งแรงและคลุมฟันได้มากกว่า

รายการราคาฟันปลอมบางส่วนแบบถอดได้เริ่มต้นที่ 1,700 บาทฟันปลอมทั้งปากแบบถอดได้เริ่มต้นที่ 10,000 บาท

ฟันปลอม ทำที่ไหนดี

แม้จะหาข้อมูลหรือรีวิวอ่านมากแค่ไหน สิ่งสำคัญที่สุดก็ยังคงเป็นการเลือกคลินิกที่น่าเชื่อถือ มีประสบการณ์และรีวิวที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจว่าจะได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทันตกรรม และเป็นคลินิกที่พร้อมให้คำปรึกษาทั้งก่อนทำและหลังทำ และที่สำคัญควรเป็นคลินิกทันตกรรมที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อให้คุณสะดวกในการเดินทางไปพบทันตแพทย์ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

ซึ่งถ้าคุณสนใจอยากทำฟันปลอมที่สะดวกสบายต่อการสวมใส่จากฝีมือแพทย์ที่มีประสบการณ์ สามารถปรึกษากับเรา ‘คลินิกทันตกรรมสีวลี’ เพราะเราพร้อมให้คำแนะนำแบบเคสต่อเคสด้วยความพิถีพิถัน และใส่ใจ เพื่อให้คุณได้รับฟันปลอมที่สมบูรณ์และเหมาะสมที่สุดในการใช้งานในชีวิตประจำวัน

คำถามที่พบบ่อย

ใส่ฟันปลอมแล้วเจ็บไหม

หากคุณเลือกใช้ฟันปลอมแบบถอดได้ ในช่วงแรกของการใช้งานอาจทำให้คุณรู้สึกเจ็บหรือระคายเคืองบ้าง แต่พอเริ่มคุ้นชินอาการก็จะดีขึ้น ส่วนถ้าหากคุณเลือกใช้ฟันปลอมแบบติดแน่น คุณจะไม่ได้รู้สึกเจ็บ แต่อาจจะรู้สึกเสียวฟันบ้างในช่วงแรก แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายไปได้เองในที่สุด

ทำฟันปลอมกี่วันได้

สำหรับการทำฟันปลอมแบบถอดได้แบบดั้งเดิมหากนับระยะเวลาตั้งแต่ทำหัตถการ เช่น การถอนฟันไปจนถึงช่วงที่คนไข้จะได้รับฟันปลอม จะใช้เวลาทั้งหมด 8 – 12 สัปดาห์ โดยในช่วงที่รอให้แผลจากการถอนสมานตัวคนไข้จะยังไม่มีฟันไว้สำหรับใช้งาน แต่ถ้าหากเป็นการทำฟันปลอมทั้งปากแบบทันทีจะสามารถสวมใส่ได้ในทันทีหลังจากที่ฟันทั้งหมดถูกถอนออก โดยทันตแพทย์จะจะทำการวัดและสร้างแบบจำลองของขากรรไกรเอาไว้ก่อน

ฟันปลอมอยู่ได้นานกี่ปี

อายุของฟันปลอมจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการทำฟันปลอมและการดูแลรักษา โดยฟันปลอมแบบโครงโลหะหากดูแลรักษาดีๆ จะมีอายุการใช้งานถึง 15 ปี, ฟันปลอมแบบอะคริลิกหรือพลาสติกจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 6 เดือนถึง 1 ปีจึงเหมาะจะเป็นฟันปลอมที่ใช้แบบชั่วคราว และฟันปลอมที่ออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่นโดยใช้วัสดุจำพวกเทอร์โมพลาสติกเรซิ่น (Thermoplastic Resin) หรือเทอร์โมพลาสติกไนลอน (Thermoplastic Nylon) จะมีอายุการใช้งานประมาณ 5-8 ปี

ใส่ฟันปลอม แล้วหลวมทำอย่างไร

การใส่ฟันปลอมแบบถอดได้อาจจะเจอกับการใส่ฟันปลอมแล้วหลวม ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เรามาดูกันทีละสาเหตุพร้อมหาวิธีแก้ไปพร้อมๆ กันเลย ดังต่อไปนี้

  1. ตะขอหลวม วิธีแก้คือปรับตะขอให้พอดีกับฟันธรรมชาติหรือฟันหลักที่ยึดอยู่
  2. เกิดจากฟันปลอมไม่พอดีกับเหงือกจากการใช้มานาน วิธีแก้ไขถ้าหลวมมากๆ อาจจะต้องเสริมฐานฟันปลอมหรือทำฟันปลอมใหม่ แต่ถ้าหลวมไม่มากอาจจะใช้วิธีทากาวได้
  3. เกิดจากถอนฟันไปนานแล้วกระดูกสันเหงือกยุบตัวลงไปเยอะมากทำให้ฟันปลอมหลุดง่าย วิธีแก้ไขคืออาจจะใช้กาวติดฟันปลอมหรือใส่รากเทียมรองรับฟันปลอมก็จะทำให้ยึดแน่นมากขึ้น

ใส่ฟันปลอมแล้วพูดไม่ชัดเกิดจากอะไร

ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่ชิน เช่นเดียวกันกับการดัดฟัน คุณจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัวสักเล็กน้อย ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววัยรุ่นหรือเด็กจะใช้เวลาประตัวประมาณ 2-3 วัน ส่วนในวัยผู้สูงอายุอาจจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ไปจนถึง 1 เดือน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการปรับตัวและการฝึกฝนของแต่ละบุคคล

ฟันปลอมต้องใส่ตลอดไปเลยไหม

หากคุณทำฟันปลอมแบบถอดได้ ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ฟันปลอมตลอดเวลา เมื่อถึงเวลาเข้านอนควรถอดทำความสะอาดและแช่น้ำไว้ ทั้งนี้ ก็เพื่อลดแรงกดทับของฐานฟันปลอมต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก รวมถึงลดโอกาสการเกิดการระคายเคืองที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก การอักเสบ หรือเกิดก้อนเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงขึ้นที่บริเวณขอบหรือใต้ฐานฟันปลอมได้

ใส่ฟันปลอมแล้วต้องมาหาทันตแพทย์ตลอดไปไหม

หลังจากใส่ฟันปลอมควรมาพบทันตแพทย์ตรวจช่องปากและฟันปลอมทุก 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อตรวจเช็กสุขภาพในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคเหงือกอักเสบ ฟันผุที่คนใส่ฟันปลอมมักเป็นอยู่บ่อยครั้ง

ฟันปลอมกดทับเหงือก เป็นอย่างไร

เมื่อฟันปลอมกดทับเหงือกจะก่อให้เกิดแผลกดจากฟันปลอม (Denture Sores) โดยจะเป็นบริเวณขอบๆ ฟันปลอมที่ไม่แนบสนิทกับเหงือก และจะรู้สึกอักเสบบวมแดง มีอาการเจ็บปวด หรือแสบบริเวณแผล ในรายที่ใส่ฟันปลอมตลอดเวลาไม่ได้ถอดแช่น้ำในเวลากลางคืน ก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อราที่ใต้ฐานฟันปลอมได้ โดยบริเวณเพดานหรือเหงือกข้างใต้จะมีฝ้าขาวเป็นปุยร่วมกับการอักเสบ และปวดแสบปวดร้อนด้วย

สรุป

เมื่อสูญเสียฟันแท้ตามธรรมชาติไปแล้ว ฟันปลอม ก็ถือเป็นเครื่องมือทดแทนที่ช่วยให้ใครหลายคนสามารถรับประทานอาหารได้อร่อย หรือออกเสียงได้ชัดตามปกติ ดังนั้น จึงควรดูแลฟันปลอมให้เหมือนกันกับการดูแลฟันแท้ ทั้งการทำความสะอาด การดูแลรักษา ตลอดจนถึงการเข้าพบกับทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพของช่องปากและฟันปลอมเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้ฟันปลอมสามารถอยู่กับคุณไปได้อีกนานเท่านาน

หากสนใจปรึกษาเรื่องการทำฟันปลอมสามารถสอบถามคลินิกทันตกรรมสีวลี ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมได้ที่ Line และ Facebook

ฟันปลอมถาวรอยู่ได้กี่ปี

ฟันปลอมสามารถอยู่ได้นานเท่าใด ขึ้นอยู่กับลักษณะการสวมใส่ ซึ่งถ้าทำและใส่อย่างถูกวิธีก็ยาวๆกันเป็น 10 ปี ในกรณีที่ดูแลดี โดยหลักการคือ การเปลี่ยนฐานฟันปลอมใหม่โดยที่ยังคงตัวฟันไว้อยู่

ฟันปลอมถาวรซี่ละกี่บาท

ฟันปลอมถาวร ถอดได้ ฐานเป็นโลหะ ชิ้นละ 14,000-16,000 บาท ครอบฟัน ซี่ละ 8,000-20,000 บาท

ฟันปลอมแบบนิ่ม แพงไหม

ฟันปลอมแบบนิ่ม valplast : ซี่เดียวราคา 5,000 ซี่ต่อไปเพิ่ม 500. ฟันปลอมแบบ RB : ซี่เดียวราคา 5,000 ซี่ต่อไปเพิ่ม 500. ฟันปลอมฐาน/โครงโลหะ : ฐานโลหะราคา 9,000 ฟันปลอมซี่ละ 500. ฟันปลอมทั้งปาก : บน/ล่าง 22,000-25,000.

ทำฟันปลอมทั้งปากแพงไหม

ราคา ราคา ฟันปลอมทั้งปากโดยประมาณ (acrylic full denture) 25,000 บาท โปรชั่นจัดฟัน ทำฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ฟัน 2023.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง