กรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันบริษัท คือ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

คอลัมน์...  เรื่องน่ารู้ว่านนี้...กับคดีปกครอง  โดย... นายปกครอง

          การลงลายมือชื่อในเอกสารต่างๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ... ครับ !! เพราะมีผลผูกพันเจ้าของลายมือชื่อ


          ดังนั้น ก่อนลงลายมือชื่อจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่านเอกสารให้เข้าใจเนื้อหาสาระให้ถ่องแท้ว่าเป็นไปตามความประสงค์ของการลงลายมือชื่อหรือไม่ หรือต้องลงลายมือชื่อเพื่อกิจการงานในเรื่องใด

          ดังเช่น ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในศาลปกครองที่นายปกครองจะนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้


          มูลเหตุเกิดจาก นาย ก. ทำหน้าที่พ่อครัวในโรงแรมแห่งหนึ่ง ได้ลงลายมือชื่อในเอกสาร พร้อมทั้งมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง เพราะความเกรงใจไม่กล้าปฏิเสธ “เจ้านาย” โดยไม่อ่านรายละเอียดเนื้อความในเอกสารและไม่เห็นข้อความบนหัวกระดาษว่า “กรรมการเข้าใหม่” 


          จนกระทั่งหลายวันผ่านไป นาย ก. จึงได้ทราบว่าเอกสารที่ตนเองลงลายมือชื่อไปนั้น คือเอกสารเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทและได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทจากนายหนึ่งซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทและเป็นผู้ถือหุ้น 99.99% เป็นนาย ก. เรียบร้อย !!!


          นาย ก. จึงมีหนังสือขอให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เพิกถอนชื่อตนออกจากการเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัท เนื่องจากไม่ได้ยินยอมหรือไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัท และไม่เคยเข้าร่วมประชุมหรือดำเนินกิจการของบริษัทแต่อย่างใด แต่นายทะเบียนฯ ไม่เพิกถอน ... ครับ !! 


          เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่สามารถยืนยันได้ว่ามีการประชุมเพื่อมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการจริงหรือไม่ ... นาย ก. จึงฟ้องคดีต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้นายทะเบียนฯ เพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการฯ


          ข้อกฎหมายสำคัญของเรื่องนี้ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1151 บัญญัติว่า อันผู้เป็นกรรมการนั้น เฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่เท่านั้นอาจจะตั้งหรือถอนได้ ประกอบกับมาตรา 1178 บัญญัติว่า ในการประชุมใหญ่ ถ้าไม่มีผู้ถือหุ้นเข้ามาประชุมรวมกันแทนหุ้นได้ถึงจำนวนหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัทเป็นอย่างน้อยแล้ว ท่านว่าที่ประชุมอันนั้นจะปรึกษากิจการอันใดหาได้ไม่ ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่จะทำให้เกิดอำนาจออกคำสั่งจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทชอบด้วยกฎหมาย คือ การประชุมเพื่อมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการ ครับ

          คดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อนายหนึ่งซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ของหุ้นทั้งหมด ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ไม่ทราบว่ามีการบอกกล่าวนัดประชุมและมีการประชุมกันจริงหรือไม่ ประกอบกับรายงานที่ประชุมคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองคำอุทธรณ์ฯ เกี่ยวกับการจดทะเบียนธุรกิจ ก็มีความเห็นว่ายังไม่มีหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่จะสามารถยืนยันได้ว่ามีการประชุมจริงหรือไม่


          จึงย่อมหมายความว่านายหนึ่งไม่ได้เข้าร่วมประชุมกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เมื่อนายหนึ่งไม่ได้มาประชุม การประชุมวิสามัญเพื่อมีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการจึงไม่อาจดำเนินการประชุมและมีมติใดๆ ได้ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เกิดอำนาจออกคำสั่งทางปกครองไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาที่ออกคำสั่ง ย่อมเป็นผลให้คำสั่งจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการและผู้ถือหุ้น (คำสั่งทางปกครอง) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย … (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.921/2561)


          คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ จึงน่าจะเป็นอุทาหรณ์ที่ดีให้กับประชาชนทั่วไปว่า จะต้องระมัดระวังในการลงลายมือชื่อในเอกสารต่างๆ โดยสมควรที่จะต้องอ่านรายละเอียดเนื้อความในเอกสารเสียก่อนแล้วค่อยลงลายมือชื่อเมื่อเห็นว่าเนื้อความในเอกสารเป็นไปตามความประสงค์ของตน 


          นอกจากนี้ คดีนี้ยังเป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะการใช้อำนาจจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทต้องปรากฏข้อเท็จจริงสำคัญว่าได้มีการประชุมกรรมการตามที่กฎหมายกำหนดและหากข้อเท็จจริงสำคัญดังกล่าวไม่เกิดขึ้น ณ เวลาที่ใช้อำนาจจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท คำสั่งจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท ซึ่งเป็น “คำสั่งทางปกครอง” ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงย่อมมีอำนาจเพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการนั้นได้ (ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง 1355)

สอบถามเรื่องความรับผิดชอบของกรรมการบริษัทกรณีไม่ได้ระบุว่ามีอำนาจลงนามผูกพันกับบริษัทหน่อยครับ

ไม่รู้ถามถูกห้องไหมนะครับ
คือเพื่อนผมมีชื่อเป็น กรรมการบริษัท แต่ไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นกรรมการซึ่งผูกพันบริษัทได้ กรรมการมี 3 คนครับ แต่มีอำนาจลงนามได้แค่คนเดียว ไม่ใช่คนหนึงคนใดนะครับระบุแค่คนเดียวซึ่งไม่ใช่เพื่อนผม เลยอยากสอบถามว่ากรณีบริษัทมีปัญหาการเงินคือไม่สามารถชำระหนี้ได้ กรรมการทุกคนต้องรับผิดชอบไหมครับหรือเฉพาะคนที่มีชื่อผูกพันกับบริษัทครับ และถ้ามีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นด้วยต้องรับผิดชอบอะไรด้วยไหมครับ

ขอคำแนะนำด้วยครับ
ขอบคุณครับ


คณะกรรมการบริษัท บริษัทมีกรรมการบริษัททั้งหมดจำนวน 10 ท่าน ประกอบด้วย…..

       ผศ.ดร.วิชัย  โถสุวรรณจินดา ประธานกรรมการ/กรรมการอิสระ

       นายเลิศชัย วงค์ชัยสิทธิ์ กรรมการ / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร / กรรมการบริหาร

       นายธานินทร์ ตันประวัติ กรรมการ / กรรมการผู้จัดการ / กรรมการบริหาร

       นายภาณุพงศ์ วิจิตรทองเรือง กรรมการ / กรรมการบริหาร

       นายสมภพ จูโล่ห์ ผู้อำนวยฝ่ายบัญชีและการเงิน/กรรมการ / กรรมการบริหาร

       นางประครอง นามนันทสิทธิ์ กรรมการ

       นายธาราพงษ์ รุจิวงศ์  กรรมการ / กรรมการบริหาร

        นายสมภพ จูโล่ห์ กรรมการ/เลขานุการบริษัท

       ดร. สุรเดช จันทรานุรักษ์ กรรมการ / ประธานกรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ

       นายนำพล เงินนำโชค กรรมการ / กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ

       นายชนะ สิงห์รุ่งเรือง กรรมการ / กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ

กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

      กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท คือ นายเลิศชัย วงค์ชัยสิทธิ์ หรือ นายธานินทร์ ตันประวัติ หรือ นายภาณุพงศ์ วิจิตรทองเรือง หรือ นางประครอง นามนันทสิทธิ์ สองในสี่คนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท

ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการบริษัท

      ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 มีมติให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการบริษัท ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัท โดยสรุปอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญได้ดังนี้…..

          1. จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น เป็นการประชุมสามัญประจำปีภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท

          2. จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง

          3. จัดให้มีการทำงบดุลและงบกำไรขาดทุนของบริษัท ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท ซึ่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วและนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและ อนุมัติ

          4. คณะกรรมการอาจมอบอำนาจให้กรรมการคนหนึ่ง หรือหลายคน หรือบุคคลอื่นใดปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนคณะกรรมการได้โดยอยู่ภายใต้ การควบคุมของคณะกรรมการ หรืออาจมอบอำนาจเพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร และภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเห็นควร ซึ่งคณะกรรมการอาจยกเลิกเพิกถอนเปลี่ยนแปลง
หรือแก้ไขบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจ หรืออำนาจนั้นๆ ได้เมื่อเห็นสมควรนอกจากนี้ คณะกรรมการอาจมอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ต่างๆ โดยมีรายละเอียดการมอบอำนาจตามขอบเขตอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร ทั้งนี้ การมอบอำนาจนั้นต้องไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจที่ทำให้คณะกรรมการบริหาร หรือผู้รับมอบอำนาจสามารถพิจารณาและอนุมัติรายการที่คณะกรรมการบริหาร หรือผู้รับมอบอำนาจ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้เสีย หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัทหรือบริษัทย่อย ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบาย และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณาและอนุมัติไว้แล้ว ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

          5. กำหนดเป้าหมาย แนวทาง นโยบาย แผนงานและงบประมาณของบริษัท ควบคุม กำกับดูแลการบริหารและการจัดการของคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามนโยบายที่ ได้รับมอบหมาย เว้นแต่ในเรื่องดังต่อไปนี้ คณะกรรมการต้องได้รับมติอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนการดำเนินการอัน ได้แก่ เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับมติอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การออกหุ้นกู้ การขายหรือโอนกิจการของบริษัททั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่บุคคลอื่น หรือการซื้อหรือรับโอนกิจการของบริษัทอื่นมาเป็นของบริษัท การแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับ เป็นต้นนอกจากนี้ คณะกรรมการยังมีขอบเขตหน้าที่ในการกำกับดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่า ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ อาทิเช่น การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการซื้อหรือขายทรัพย์สินที่สำคัญตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

          6. พิจารณาโครงสร้างการบริหารงาน แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการ และคณะกรรมการอื่นตามความเหมาะสม

          7. ติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานและงบประมาณอย่างต่อเนื่อง

          8. กรรมการจะต้องไม่ประกอบกิจการอันมีสภาพ อย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นกรรมการของบริษัทเอกชน หรือบริษัทอื่นที่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ตน
หรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เว้นแต่จะได้แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง

          9. กรรมการต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า หากมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในสัญญาที่บริษัททำขึ้น หรือถือหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นเพิ่มขึ้นหรือลดลงในบริษัท หรือบริษัทในเครือ

คณะกรรมการตรวจสอบ

ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 มีมติแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบจำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย…..

          - ดร. สุรเดช จันทรานุรักษ์ ประธานกรรมการตรวจสอบ

          - นายนำพล เงินนำโชค กรรมการตรวจสอบ

          - นายชนะ สิงห์รุ่งเรือง กรรมการตรวจสอบ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะทำหน้าที่สอบทานความน่าเชื่อ ถือของงบการเงินโดยมีนางกรกมล เกลาเทียน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

คุณสมบัติของกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีความเป็นอิสระตามนิยามความเป็นอิสระของกรรมการอิสระ โดย

          1.  ถือหุ้นไม่เกิน 1% ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือ นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง โดยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย

          2.  ไม่เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน / พนักงาน / ลูกจ้าง/ ที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ / ผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ปัจจุบันและช่วง 2 ปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง)

          3.  ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยการ จดทะเบียนในลักษณะที่เป็นบิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร กับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้บริหารหรือผ็มีอำนาจควบคุมของบริษัท หรือบริษัทย่อย

          4.  ไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ หรือผู้บริหาร ของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

          5.  ไม่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่เป็นกรรมการอิสระ หรือผู้บริหาร ของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

          6.  ไม่เป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง รวมทั้งไม่เป็นผู้

          7.  ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ให้บริการทางวิชาชีพด้วย

          8.  ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของบริษัท

          9.  ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระได้

          10.  ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะ กรรมการบริษัท ให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง และไม่เป็นกรรมการของบริษัทจดทะเบียนที่เป็นบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน

          11.  มีหน้าที่ในลักษณะเดียวกับที่กำหนดไว้ในประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย ว่าด้วยคุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ

ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการตรวจสอบ

ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 มีมติให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้…..

          1.  สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและพอเพียง

          2.  สอบทานให้บริษัทมีการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภาย ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้างานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน

          3.  สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

          4.  พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่ผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

          5.  พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการ ที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลัก ทรัพย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า รายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท

          6.  จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบและต้องประกอบด้วย ข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้                                                                                                     (ก)  ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท
               (ข)  ความเห็นเกี่ยวกับความพอเพียงของระบบควบคุมภายในของบริษัท
               (ค)  ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ
               (ง)  ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
               (จ)  ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
               (ฉ)  ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโชยน์
               (ช)  จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน
               (ซ)  ความเห็นหรือข้อสังเกต โดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร
               (ฌ)  รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท

          7.  ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง