ติด ตั้ง โซ ล่า เซลล์ ต้องขออนุญาต หรือ ไม่

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ถ้าตอบเร็วๆก็คือ “ยุ่งยากมาก” ครับ ถ้าสำหรับเจ้าของบ้านท่านใดที่อยากติดตั้งโซลาเซลล์แล้วผมแนะนำให้ท่านทำเอกสารมอบอำนาจให้คนขายระบบโซลาเซลล์เป็นคนยื่นขออนุญาตให้จะดีกว่าครับ

จริงๆการขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิด และ ขนาดการติดตั้งของโซลาเซลล์ แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงการขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์ในกรณีของโซลาเซลล์ภาคประชาชนขนาดไม่เกิน 10 kW ที่กำลังเป็นประเด็นที่มีคนให้ความสนใจกันมากอยู่ตอนนี้นะครับ โดยโซล่าภาคประชาชนปี 62 นั้นสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก

การไฟฟ้านครหลวง (MEA) : //spv.mea.or.th/

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA : //ppim.pea.co.th/

โดยขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาเซลล์และขออนุญาตขายไฟฟ้ามีดังนี้

การขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ จะมีขั้นตอนเริ่มจากการยื่นแบบคำขอขายไฟฟ้า online โดยผู้สมัคร หรือ คนขายระบบโซลาเซลล์ที่ได้รับมอบอำนาจ upload เอกสาร หลังจากนั้นจะต้องรอ MEA/PEA พิจารณาแบบคำขอขายไฟฟ้า ประมาณ 7-10 วัน และจะ ตรวจสอบ capacity ของหม้อแปลงว่าสามารถรับระบบ โซลาเซลล์ได้หรือไม่ หลังจากนั้นจะดำเนินการแจ้งผล ซึ่งตั้งแต่เริ่มการยืนแบบ คำขอขายไฟฟ้า จนถึง ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครับ เมื่อแล้วเสร็จจะดำเนินการชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า และ ลงนามซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งจะต้องไปชำระค่าบริการที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ การไฟฟ้านครหลวงประจำท้องที่ที่ติดตั้งครับ

เมื่อชำระค่ามิเตอร์ และ ลงนามแล้ว จะต้องมีการแจ้งทางโยธาส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/เขต) โดยมีแบบสำรวจสถานที่ตั้ง และ การคำนวนความปลอดภัยด้านโครงสร้างซึ่งมีวิศวกรโยธารับรอง โดยทางวิศวกรโยธาจะพิจารณาว่ามีจำเป็นจะต้องเสริมโครงสร้างหรือไม่ และหลังจากนั้นจะต้องนำเลขสัญญา เอกสารแจ้งกับทางส่วนท้องถิ่น เพื่อมายื่นขอ การประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต กับทาง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งเมื่อได้เอกสารชุดนีแล้วทางการไฟฟ้าจะส่ง วิศวกรมาตรวจระบบโซล่าเซลลว่าเป็นไปตามมาตราฐานการติดตั้งหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วทางการไฟฟ้าจะมาเปลี่ยนมิเตอร์เป็นแบบ digital เพื่อที่จะ ดำเนินการขายไฟฟ้าคืนให้กับทางการไฟฟ้าต่อไป

โดยเบื้องต้นเอกสารประกอบการยื่นขออนุญาตการไฟฟ้า มีดังนี้

รายการ หมายเหตุ
1 หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้าฯ มิเตอร์ 1 เฟส ขอติดตั้งได้สูงสุด 5kW มิเตอร์ 3 เฟส ขอติดตั้งได้สูงสุด 10kW
2 ชนิด รุ่น ยี่ห้อ แผง solar cell
3 ชนิด รุ่น ยี่ห้อ ต้องเป็นรุ่นที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้าแล้วเท่านั้น
4 แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) มีการเซ็นรับรองแบบโดยวิศวกร และแนบสำเนาใบประกอบวิชาชีพ
5 เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ)
6 ข้อมูลอื่นๆ เช่น แผนที่บ้าน รูปถ่ายบ้าน

ระยะเวลาการพิจารณา                         ประมาณ 30 วัน

ค่าใช้จ่ายในการยื่นขออนุญาต             9,095 บาท (8,500 บาท + VAT 595 บาท) เป็นค่าเปลี่ยน Smart Meter

Post Views: 37,241

จากข้อมูล เว็บของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน Energy Regulatory Commission ระบุว่า ผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าแล้ว หรือเพื่อใช้ภายในอาคารหรือกิจการซึ่งไม่ได้จำหน่ายเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสามารถยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับได้ Online บน Website ของสำนักงาน กกพ. ส่วนกลางหรือสำนักงาน กกพ. ประจำเขตในแต่ละพื้นที่อาคารตั้งอยู่

สรุปว่าการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ออนกริด เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าซึ่งไม่ได้จำหน่ายเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า มีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการดังนี้

1.จัดทำแบบการติดตั้งโดยให้วิศวกรโยธาตรวจสอบและลงนาม แล้วแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล,อบต. เป็นต้น) รับทราบการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ บนหลังคาที่พักอาศัย

2.ผู้ขออนุญาตติดตั้งได้รับหลักฐานจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3.ดำเนินการติดตั้งจนเสร็จสิ้น

4.ลงทะเบียนแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต (สำนักงาน กกพ./Online )

5.แจ้ง กฟน. หรือ กฟภ. ให้เข้าตรวจสอบระบบแล้วชำระค่าใช้จ่ายต่างๆน

6.สำนักงาน กกพ. ออกหนังสือแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ

7.ยื่นสำเนาหนังสือรับแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ ต่อ กฟน. หรือ กฟภ.

8.เมื่อผ่านการตรวจสอบระบบผลิต/เชื่อมโยงไฟฟ้า ตามข้อกำหนด

9.เริ่มผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าหรือใช้งานระบบฯ

Credit: //www.erc.or.th/ERCWeb2/Front/StaticPage/StaticPage.aspx?p=200&Tag=SolarRooftop และ www.solarone.asia

ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออนกริดแบบง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก

                การติดตั้ง โซล่าเซลล์ เพื่อลดค่าไฟฟ้าเริ่มได้รับความนิยมในหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันมีผู้คนจำนวนมากสนในที่จะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งหนึ่งในระบบที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากนั่น คือ โซล่าเซลล์ ระบบออนกริด แต่คำถามคือ นอกจากการซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ และทำการติดตั้งแล้ว ต้องมีขั้นตอนอะไรอื่น ๆ อีกหรือเปล่า และคำตอบ คือ มีครับ การจะติดตั้ง โซล่าเซลล์ระบบออนกริด คุณจะต้องยื่นเอกสารแจ้งต่อสำนักงาน กกพ. โดยข้อมูลจากเว็บของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน Energy Regulatory Commission ระบุว่า ผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าแล้ว หรือเพื่อใช้ภายในอาคารหรือกิจการซึ่งไม่ได้จำหน่ายเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสามารถยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับได้ทางบนเว็ปไซต์ของสำนักงาน กกพ. ส่วนกลางหรือสำนักงาน กกพ. ประจำเขตในแต่ละพื้นที่ที่บ้านของคุณตั้งอยู่ โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


1. จัดทำแบบการติดตั้งโดยให้วิศวกรโยธาเป็นผู้ตรวจสอบและลงนาม จากนั้นแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล หรือ อบต. รับทราบการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ บนหลังคาที่พักอาศัย

2. เมื่อได้รับหลักฐานการอนุญาตติดตั้งจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ก็ทำการติดตั้งได้เลย

3. ลงทะเบียนแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่สำนักงาน กกพ. หรือบนเว็ปไซต์ของสำนักงาน กกพ.

4. แจ้ง กฟน. หรือ กฟภ. ให้เข้าตรวจสอบระบบแล้วชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อให้สำนักงาน กกพ. ออกหนังสือแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ

5. ยื่นสำเนาหนังสือรับแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ จาก กกพ. ต่อ กฟน. หรือ กฟภ.

6. เมื่อผ่านการตรวจสอบระบบผลิต และเชื่อมโยงไฟฟ้าต่าง ๆ ตามข้อกำหนดแล้ว ก็สามารถเริ่มใช้งานโซล่าเซลล์ระบบออนกริดกันได้เลย.


ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เองได้ไหม

ปัจจุบันการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อใช้งานในภาคครัวเรือนสามารถทำได้กันแล้ว เพราะเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโซล่าเซลล์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการออกแบบอุปกรณ์ให้มีขนาดเล็ก กระทัดรัด ลงมาเรื่อยๆ และยังคงมีประสิทธิภาพสูงหรือดีกว่า

โซล่าเซลล์ติดตั้งอย่างไร

ผู้ขออนุญาตติดตั้งต้องเตรียมเอกสารต่างๆ เข้าไปยื่นที่การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยเอกสารที่ต้องนำไปยื่นคือ รูปถ่ายแสดงการติดตั้งของอุปกรณ์ สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งราชการส่วนท้องถิ่น ในขั้นตอนนี้คุณสามารถทำเรื่องขอไปที่ สำนักงานเขต เพื่อทำการแจ้งขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนที่พักอาศัย

ออนกริดไฮบริดต้องขออนุญาติไหม

คำตอบคือ “ต้องขออนุญาตกับการไฟฟ้าครับ “

ติดแผงโซล่าเซลล์ดีไหม

ข้อดี – ไม่ต้องเสียค่าไฟจากการไฟฟ้าสักบาทเดียว เป็นการผลิตไฟฟ้าใช้เองเลย ข้อเสีย – มีค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องใช้แบตเตอรี่มาใช้ในการเก็บไฟสำรอง และต้องคำนวณการใช้ไฟให้เพียงพอต่อความต้องการ เหมาะกับ : บ้านหรือสถานที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง หรือไม่คุ้มที่จะเดินลากสายไฟยาวๆเข้ามาด้านในที่มีค่าใช้จ่ายสูง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง