ดาวน์โหลด แบบ ฟอร์ม กรมสรรพากร ภ อ 03

Q1 : การลงทะเบียนสมัครยื่นแบบสำหรับนิติบุคคล ผ่านระบบ New e-Filing มีขั้นตอนอย่างไร

A1 : ขั้นตอนการลงทะเบียนสมัครยื่นแบบสำหรับนิติบุคคล จากการประกอบกิจการ ผ่านระบบ New e-Filing มีขั้นตอน ดังนี้

            1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > สมัครสมาชิก

            2. ระบุเลขประจำตัวประชาชน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลือก Captcha (ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ)

            3. เลือก ประสงค์ลงทะเบียนเพื่อ “ยื่นแบบภาษีอื่นๆ จากการประกอบกิจการ” ระบุ ข้อมูลผู้เสียภาษี

            4. ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ทางอีเมล

            5. ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไข

            6. ยืนยันการลงทะเบียน

            7. ส่งเอกสารยืนยันตัวตน ภายใน 30 วัน   

            8. ตรวจสอบผลการยื่นคำขอได้บนเว็บไซต์แจ้งผลการอนุมัติทางอีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้

            9. ได้รับแจ้งผลการอนุมัติและชื่อผู้ใช้งาน (Username) ทางอีเมล พร้อมลิงก์สำหรับตั้งรหัสผ่าน (Password) เพื่อเข้าใช้งานระบบ

Q2 : นิติบุคคลลงทะเบียนสมัครยื่นแบบผ่านระบบ New e-Filing ต้องนำส่งเอกสารอะไรบ้าง

A2 : หลังจากลงทะเบียนต้องนำส่งเอกสารดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน

          1. เอกสาร ภ.อ.01 และเอกสารข้อตกลงในการใช้งานระบบที่ได้รับจากอีเมล พร้อมลงลายมือชื่อ

          2. บัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทาง ของกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันทุกคน หรือสำเนาพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง

          หากมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจ (ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท) และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทาง ของผู้มอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชน / ใบสำคัญคนต่างด้าว / หนังสือเดินทาง ของผู้รับมอบอำนาจ หรือสำเนาพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง

Q3 : นิติบุคคลลงทะเบียนสมัครยื่นแบบผ่านระบบ New e-Filing สามารถนำส่งเอกสารผ่านช่องทางใด

A3 : สามารถนำส่งเอกสารได้ 3 ช่องทาง คือ

          1. นำส่งด้วยตนเอง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ ห้องบริการข้อมูลข่าวสารกองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ อาคารจอดรถและสวัสดิการกรมสรรพากร ชั้น 1 จะได้รับสิทธิใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทของกรมสรรพากร

          2. นำส่งเอกสารทางอีเมล โดยการสแกนเอกสารรูปแบบไฟล์ PDF ส่งทางอีเมล และต้องใช้อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ แล้วส่งถึงหน่วยงาน (ตามที่ระบุในอีเมล) ซึ่งการนำส่งช่องทางนี้ผู้เสียภาษีจะได้รับสิทธิยื่นแบบแสดงรายการเท่านั้น ไม่ได้สิทธิใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ของกรมสรรพากร

          3. นำส่งเอกสารด้วยการอัปโหลดผ่านเว็บไซต์ สำหรับกรณีเอกสารที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่ออกจากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority : CA) จะได้รับสิทธิใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทของกรมสรรพากร

Q4 : หากต้องการเอกสารที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) สามารถติดต่อได้ที่ไหน

A4 : การลงลายมือชื่อผ่านใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ต้องใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่ออกจาก ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority : CA) ที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งอยู่ภายใต้การรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (Thailand National Root Certification Authority : Thailand NRCA) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันมี 2 บริษัท คือ

           1. บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด โทร. 02-029-0290 กด 4

           2. บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-257-7111

Q5 : หลังจากนำส่งเอกสารการสมัครยื่นแบบ สามารถตรวจสอบผลการอนุมัติได้ที่ใด

A5 : สามารถตรวจสอบผลการยื่นคำขอได้จากอีเมล หรือเมนูสมัครสมาชิก เลือก ตรวจสอบผลการยื่นคำขอ เมื่อได้รับอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ระบบจะส่งอีเมลพร้อมกับชื่อผู้ใช้งาน (User Name) และลิงก์เพื่อกำหนดรหัสผ่าน

Q6 : ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ต่อมามีความประสงค์ จะขอยกเลิกการเป็นสมาชิก ต้องดำเนินการอย่างไร

A6 : กรณีที่ประสงค์จะขอยกเลิกการใช้บริการ สามารถขอยกเลิกการใช้บริการได้ทางอินเทอร์เน็ต ดังนี้

          1. เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ > ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน> เลือก “ข้อมูลผู้เสียภาษี”

          2. กดปุ่ม “ปรับปรุงข้อมูลผู้ใช้งาน”     

          3. กดปุ่ม “สร้างคำขอ” ระบบจะแสดงหน้าต่าง “ขอยกเลิกการใช้บริการ” 

          4. กดปุ่ม “ยืนยันการยกเลิก” ระบบจะแสดงหน้าต่างการยกเลิกบัญชีผู้ใช้งานสำเร็จ และเอกสารคำขอยกเลิกการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของกรมสรรพากร ภ.อ.04 ให้ดาวน์โหลดไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งกรมสรรพากรจะยกเลิกการเป็นสมาชิกให้ทันที

          ทั้งนี้ การดำเนินการเพื่อยกเลิกบัญชีผู้ใช้งาน สำหรับใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของกรมสรรพากร จะมีผลรวมถึงผู้ดูแลสาขา (Admin) และผู้ใช้งานทั่วไป (User) ที่อยู่ภายใต้บัญชีผู้ใช้งานของท่านด้วย (ถ้ามี) ต่อมาหากประสงค์จะเข้าใช้งานระบบฯ ต้องทำการลงทะเบียนใหม่

Q7 : กรณีสมัครยื่นแบบภาษีอื่นๆ จากการประกอบกิจการ ไม่ได้นำส่งเอกสารเพื่อยืนยันตัวตนภายใน 30 วันหลังลงทะเบียนบนเว็บไซต์ ต้องดำเนินการอย่างไร

A7 : กรณีไม่ได้นำส่งเอกสารภายใน 30 วัน จะไม่สามารถใช้งานคำขอได้ ให้ดำเนินการยื่นคำขอใหม่

Q8 : กรณีสมัครสมาชิกยื่นแบบภาษีอื่นๆ จากการประกอบกิจการ นำส่งเอกสารและได้รับแจ้งผลอนุมัติ    การลงทะเบียนแล้ว แต่ไม่ได้รับอีเมลสำหรับตั้งรหัสผ่าน ต้องดำเนินการอย่างไร

A8 : กรณีได้รับอนุมัติการลงทะเบียนแล้ว ระบบจะส่งลิงก์ให้ตั้งรหัสผ่านทางอีเมล กรณีไม่พบลิงก์จากระบบในกล่องข้อความ ให้ตรวจสอบที่เมนูถังขยะ (Junk Mail) หากตรวจสอบแล้วไม่พบข้อมูลสามารถขอรับอีเมลแจ้งผลใหม่ได้ โดยเข้าที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > สมัครสมาชิก > ตรวจสอบผลการยื่นคำขอ > ระบุหมายเลขอ้างอิงการยื่นคำขอ หรือ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร > ขอรับอีเมลแจ้งผล ระบบจะส่งอีเมลให้ตั้งรหัสผ่านใหม่ทันที

Q9 : การพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน กรณียื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต มีขั้นตอนอย่างไรและสามารถดำเนินการได้เมื่อใด

A9 : หลังจากทำรายการยื่นแบบและชำระภาษี (ถ้ามี) ผ่านอินเทอร์เน็ตเสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงสามารถดำเนินการพิมพ์ใบเสร็จรับเงินได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้ คือ

          1. กรณีมีภาษีที่ต้องชำระ หลังจากทำรายการยื่นแบบฯ และชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตเสร็จสมบูรณ์แล้ว ขอให้ท่านตรวจสอบสถานะการชำระเงินหลัง 2 วันทำการ จึงสามารถพิมพ์แบบและใบเสร็จรับเงินได้จากเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ > ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน > ตรวจสอบผลการยื่นแบบ > กดปุ่ม จุด 3 จุด > เลือก พิมพ์ภาพแบบ/ภาพใบเสร็จ > กดปุ่ม ดาวน์โหลด

          2. กรณีไม่มีภาษีที่ต้องชำระหรือขอคืนเงินสามารถพิมพ์แบบและใบเสร็จรับเงินได้ทันทีในวันที่ทำรายการยื่นแบบฯ เสร็จสมบูรณ์ โดยไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ > ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน > ตรวจสอบผลการยื่นแบบ > กดปุ่ม จุด 3 จุด > เลือก พิมพ์ภาพแบบ/ภาพใบเสร็จ > กดปุ่ม ดาวน์โหลด

          หมายเหตุ : หากต้องการพิมพ์แบบและใบเสร็จก่อนเดือนภาษีกันยายน 2564 สามารถพิมพ์ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ > ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน > บริการอื่นๆ > เลือก ดาวน์โหลดภาพแบบ/ใบเสร็จ (ย้อนหลัง) > เลือกประเภทแบบแสดงรายการ และปีภาษี > กดปุ่ม จุด 3 จุด > เลือก พิมพ์ภาพแบบ/ภาพใบเสร็จ > กดปุ่ม ดาวน์โหลด

Q10 : การ Download โปรแกรม ประกอบการยื่นแบบ กรณีแบบแสดงรายการที่มีใบแนบ

A10 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด1ก, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.2ก, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.3ก, ภ.ง.ด.53, ภ.พ.30, ภ.ธ.40 ที่มีใบแนบ โปรแกรมบันทึกแบบแจ้งรายการคนต่างด้าว จะต้องดาวน์โหลดโปรแกรมของกรมสรรพากร ไปติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > โปรแกรมจัดเตรียมข้อมูลใบแนบ RD Prep > ดาวน์โหลดทันที หรือเลือกไฟล์สำหรับ Windows 32-bit / Windows 64-bit

Q11 : เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องขอคัดแบบแสดงรายการภาษีที่ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

A11 : กรณียื่นคำขอคัดรับรองแบบด้วยตนเอง ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือที่กรมสรรพากรสำนักงานใหญ่ ได้แก่

          1. แบบการขอรับบริการข้อมูลสำเนาแบบแสดงรายการภาษี สามารถ Download ได้จากเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th ได้ 2 ช่องทาง ดังนี้

              (1) เลือกเมนู บุคคลธรรมดา > หัวข้อ การจดทะเบียน/สมัคร/ขออนุมัติ เลือก ขอคัดค้นแบบแสดงรายการภาษีและข้อมูลข่าวสาร > แบบฟอร์มคำร้อง

              (2) เลือกเมนู นิติบุคคล > หัวข้อ การสอบถาม/ตรวจสอบสถานะ/ตรวจสอบสิทธิ เลือก บริการคัดค้นข้อมูลแบบแสดงรายการ > แบบฟอร์มคำร้อง

          2. กรณีผู้มารับเอกสารเป็นผู้มีเงินได้/กรรมการผู้มีอำนาจ (สำหรับกรณีกรรมการผู้มีอำนาจเพียงคนเดียว) ให้แนบบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง

          3. กรณีผู้รับเอกสารเป็นผู้รับมอบอำนาจ/กรรมการผู้มีอำนาจ/อื่นๆ

              (1) หนังสือมอบอำนาจ (โดยกรรมการการผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคลพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท)

              (2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ

              (3) บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้มารับเอกสาร

          4. กรณีผู้รับเอกสารไม่ใช่บุคคลที่ระบุชื่อไว้ในแบบคำร้อง

              (1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ

              (2) บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้มารับเอกสาร

              (3) หนังสือมอบอำนาจที่มอบให้กับผู้มารับเอกสาร (โดยกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคลพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท)

          กรณียื่นคำขอคัดรับรองแบบผ่านระบบ e-Filing ได้แก่

          1. แบบการขอรับบริการข้อมูลสำเนาแบบแสดงรายการ

          2. กรณีผู้มารับเอกสารเป็นผู้มีเงินได้/กรรมการผู้มีอำนาจ (สำหรับกรณีกรรมการผู้มีอำนาจเพียงคนเดียว) ให้แนบบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง

          3. กรณีผู้รับเอกสารเป็นผู้รับมอบอำนาจ/กรรมการผู้มีอำนาจ/อื่นๆ

              (1) หนังสือมอบอำนาจ (โดยกรรมการการผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคลพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท)

              (2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ

              (3) บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้มารับเอกสาร

          4. กรณีผู้รับเอกสารไม่ใช่บุคคลที่ระบุชื่อไว้ในแบบคำร้อง

              (1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ

              (2) บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้มารับเอกสาร

              (3) หนังสือมอบอำนาจที่มอบให้กับผู้มารับเอกสาร (โดยกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคลพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท)

Q12 : บริษัทได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ต่อมาได้ทำรหัสผ่านหาย หรือลืมรหัสผ่านที่กรมสรรพากรออกให้นั้น สามารถนำส่งแบบ ภ.อ.03 และเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรหัสผ่านใหม่ทางไปรษณีย์ได้หรือไม่

A12 : เอกสารประกอบการยื่นคำขอ มีดังนี้

              1. แบบ ภ.อ.03 ที่ได้รับจากอีเมล พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)

              2. บัตรประจำตัวประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง ของกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันทุกคน หรือสำเนาพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง

              หากมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจ (ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท) และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง ของผู้มอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง ของผู้รับมอบอำนาจ หรือสำเนาพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง

          ช่องทางการส่งเอกสารมีดังนี้

              1. นำส่งด้วยตนเอง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ ห้องบริการข้อมูลข่าวสาร กองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ อาคารจอดรถและสวัสดิการกรมสรรพากร ชั้น 1

              2. นำส่งเอกสารทางอีเมล ด้วยการสแกนเอกสารรูปแบบไฟล์ PDF ส่งทางอีเมลโดยใช้อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ แล้วส่งถึง (...ชื่อหน่วยงาน...)@rd.go.th ตามที่ระบุในอีเมล ซึ่งการนำส่งช่องทางนี้ผู้เสียภาษีจะได้รับสิทธิยื่นแบบแสดงรายการเท่านั้น ไม่ได้สิทธิใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ของกรมสรรพากร

              3. นำส่งเอกสารด้วยการอัปโหลดไฟล์เอกสาร ภ.อ.03 ที่ได้รับจากอีเมลเท่านั้น พร้อมลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดเอกสารได้ที่อีเมลทีได้รับ โดยกดลิงค์ “อัปโหลดไฟล์ที่นี่”

              หมายเหตุ : การลงลายมือชื่อผ่านใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ต้องใช้ใบรับรอง อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่ออกจากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority : CA) ที่มีความ น่าเชื่อถือ ซึ่งอยู่ภายใต้การรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรอง อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (Thailand National Root Certification Authority : Thailand NRCA) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม (ปัจจุบันมี 2 บริษัท คือ บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด, บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน))

          หลังจากนำส่งเอกสารแล้ว ตรวจสอบผลการยื่นคำขอได้จากอีเมล หรือเมนูสมัครสมาชิก เลือก ตรวจสอบผลการยื่นคำขอ เมื่อได้รับอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ระบบจะส่งอีเมลพร้อมกับลิงก์เพื่อกำหนดรหัสผ่านใหม่

Q13 : บริษัทได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ต่อมาทำรหัสผ่านหาย หรือลืมรหัสผ่านและไม่ต้องการเปลี่ยนอีเมล ต้องดำเนินการอย่างไร

A13 : การเปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิก กรณีรหัสผ่านหายหรือลืมรหัสผ่าน และไม่ต้องการเปลี่ยนอีเมล สามารถขอรหัสผ่านใหม่ได้ ดังนี้    

          1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ > ระบบแสดงหน้าจอ Login ให้ คลิก ลืมรหัสผ่าน

          2. ระบุ “ระบุเลขประจำตัวประชาชน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร”

          3. ทำเครื่องหมาย ü ลงในช่อง o ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ > คลิกปุ่ม ถัดไป ระบบจะแสดงหน้าจอ ยืนยันตัวตนด้วยอีเมล

          4. ยืนยันตัวตนด้วยอีเมลที่ผู้ใช้งานระบุ ไว้ในขั้นตอนการลงทะเบียน โดยกดปุ่ม “ขอรหัส”

          5. ระบุรหัส OTP

          6. กดปุ่ม ถัดไป ระบบแสดงหน้าจอ “ลืมรหัสผ่าน” เพื่อทำการกำหนดรหัสผ่านใหม่

          7. ระบุ “รหัสผ่าน” ใหม่ และยืนยันรหัสผ่านใหม่ให้ตรงกัน

          8. กดปุ่ม บันทึกรหัสผ่าน ระบบแสดงหน้าจอ “กำหนดรหัสผ่านใหม่สำเร็จแล้ว” สามารถใช้งานรหัสผ่านที่กำหนดได้ทันที

Q14 : บริษัทได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ต่อมาทำรหัสผ่านหาย หรือลืมรหัสผ่านและต้องการเปลี่ยนอีเมล ต้องดำเนินการอย่างไร

A14 : การเปลี่ยนแปลงข้อมูลสมาชิก กรณีรหัสผ่านหายหรือลืมรหัสผ่าน และต้องการเปลี่ยนอีเมล สามารถขอรหัสผ่านใหม่ได้ ดังนี้    

              1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ > ระบบแสดงหน้าจอ Login ให้ คลิก ลืมรหัสผ่าน

              2. ระบุ “ระบุเลขประจำตัวประชาชน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร”

              3. ทำเครื่องหมาย ü ลงในช่อง o ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ > คลิกปุ่ม ถัดไป ระบบจะแสดงหน้าจอ ยืนยันตัวตนด้วยอีเมล กดปุ่ม เลือก เส้นทางอื่น ระบบแสดงหน้าจอข้อมูลผู้เสียภาษี

              4. ระบุอีเมลใหม่ กดปุ่ม ขอรหัส เพื่อรับรหัส OTP

              5. ระบุรหัส OTP ที่ได้รับภายใน 5 นาที 

              6. กดปุ่ม ถัดไป ระบบแสดงหน้าจอ “ยืนยันการเปลี่ยนแปลงรหัสผ่าน” ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

              7. เมื่อกดปุ่ม ยืนยันยื่นคำขอ ระบบแสดงหน้าจอ “ยื่นคำขอสำเร็จ” พร้อมหมายเลขอ้างอิงการยื่นคำขอ ระบบจะดำเนินการส่งอีเมลยืนยันการยื่นคำขอ พร้อมเอกสาร ภ.อ.03 ผ่านอีเมลที่แจ้งข้อมูลไว้ หรือกดลิงก์ “ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่” เพื่อดาวน์โหลดเอกสาร ภ.อ.03

              8. เมื่อเจ้าหน้าที่อนุมัติเรียบร้อยแล้ว ระบบจะส่งอีเมลพร้อมกับลิงก์เพื่อกำหนดรหัสผ่านใหม่

              9. ระบุรหัสผ่านใหม่ และยืนยันรหัสผ่านใหม่ให้ตรงกัน กดปุ่ม บันทึก จะสามารถเข้าสู่ระบบด้วยบัญชีผู้ใช้งานพร้อมกับรหัสผ่านที่ตั้งไว้

          เอกสารประกอบการยื่นคำขอ มีดังนี้

              1. แบบ ภ.อ.03 ที่ได้รับจากอีเมล พร้อมลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันและประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)

              2. บัตรประจำตัวประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง ของกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันทุกคน หรือสำเนาพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง

              หากมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจ (ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท) และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง ของผู้มอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง ของผู้รับมอบอำนาจ หรือสำเนาพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง

          ช่องทางการส่งเอกสารมีดังนี้

              1. นำส่งด้วยตนเอง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ ห้องบริการข้อมูลข่าวสาร กองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ อาคารจอดรถและสวัสดิการกรมสรรพากร ชั้น 1

              2. นำส่งเอกสารทางอีเมล ด้วยการสแกนเอกสารรูปแบบไฟล์ PDF ส่งทางอีเมลโดยใช้อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ แล้วส่งถึง (...ชื่อหน่วยงาน...)@rd.go.th ตามที่ระบุในอีเมล ซึ่งการนำส่งช่องทางนี้ผู้เสียภาษี  จะได้รับสิทธิยื่นแบบแสดงรายการเท่านั้น ไม่ได้สิทธิใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ของกรมสรรพากร

              3. นำส่งเอกสารด้วยการอัปโหลดไฟล์เอกสาร ภ.อ.03 ที่ได้รับจากอีเมลเท่านั้น พร้อมลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดเอกสารได้ที่อีเมลทีได้รับ โดยกดลิงค์ “อัปโหลดไฟล์ที่นี่”

              หมายเหตุ : การลงลายมือชื่อผ่านใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ต้องใช้ใบรับรอง อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่ออกจากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority : CA) ที่มีความ น่าเชื่อถือ ซึ่งอยู่ภายใต้การรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรอง อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (Thailand National Root Certification Authority : Thailand NRCA) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม (ปัจจุบันมี 2 บริษัท คือ บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด, บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน))

Q15 : บริษัทได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ต่อมามีความประสงค์ จะขอเปลี่ยนรหัสผ่าน ต้องดำเนินการอย่างไร

A15 : หลังจากได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว สามารถขอเปลี่ยนรหัสผ่านได้ด้วยตนเองทางเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ > ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน > คลิกที่ชื่อผู้ประกอบการ (มุมขวาบน) เลือก “เปลี่ยนรหัสผ่าน” โดยกรอกรายการข้อมูลตามที่ระบบแจ้ง ดังนี้

          1. ระบุ “รหัสผ่านปัจจุบัน”

          2. ระบุ “กำหนดรหัสผ่าน”

          3. ระบุ “ยื่นยันรหัสผ่านอีกครั้ง”

          4. กดปุ่ม “ยืนยัน” หลังจากนั้นระบบจะเปลี่ยนรหัสผ่านให้ทันที

Q16 : ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ต่อมามีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงอีเมลต้องดำเนินการอย่างไร

A16 : กรณีที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงอีเมล สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองทางเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ ดังนี้  

          1. เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ > ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน > คลิกที่ชื่อผู้ประกอบการ (มุมขวาบน) เลือก “ข้อมูลผู้เสียภาษี”               

          2. ที่รายการข้อมูลเพื่อการติดต่อ กดปุ่ม “แก้ไข”

          3. ระบุอีเมล ที่ต้องการผูกกับบัญชีผู้ใช้งาน

          4. กดขอรหัส OTP แล้วตรวจสอบจากอีเมลที่ได้ระบุไว้

          5. กรอกรหัส OTP ที่ได้รับเพื่อยืนยันตัวตน

Q17 : หากรหัสควบคุม (Control Code) ที่ระบบออกให้ เพื่อนำไปสั่งชำระเงิน ณ หน่วยรับชำระภาษีสูญหาย ต้องดำเนินการอย่างไร

A17 : กรณีรหัสควบคุม (Control Code) การชำระภาษีสูญหายสามารถขอรับรหัสควบคุม (Control Code) ใหม่ได้ ดังนี้

          1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ > ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน > หัวข้อ ชำระภาษี ระบบแสดงหน้าจอ “รายการภาษีที่ต้องชำระ”

          2. ทำเครื่องหมาย ü ลงในช่อง o หน้ารายการที่ต้องการชำระ 

           3. กดปุ่ม ชำระภาษี ระบบแสดงหน้าจอ “รายะเอียดการชำระ”

          4. ระบบจะให้เลือกช่องทางการชำระภาษีใหม่อีกครั้ง

Q18 : การยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถเลือกชำระภาษีด้วยบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ของกรมศุลกากร/บัตรเครดิตบนอินเทอร์เน็ต ได้หรือไม่

A18 : กรณียื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถชำระภาษีด้วยบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Tax Compensation) ของกรมศุลกากร หรือบัตรเครดิตบนอินเทอร์เน็ตของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารทหารไทยธนชาตได้ 

          (ดูรายละเอียดคำแนะนำหน่วยรับชำระภาษีได้จาก www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > หัวข้อ แนะนำบริการ > ชำระภาษี)

Q19 : บริษัทมีรายรับจากดอกเบี้ยที่ให้กรรมการกู้ยืมเงิน แต่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ สามารถยื่นแบบ ภ.ธ.40 ทางอินเทอร์เน็ตได้หรือไม่

A19 : กรณีที่บริษัทมีรายรับจากดอกเบี้ยที่ให้กรรมการกู้ยืมเงิน ถือเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ ตามมาตรา 91/2(5) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ สามารถยื่นแบบ ภ.ธ.40 ทางอินเทอร์เน็ตได้

Q20 : บริษัทเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบ ภ.พ.30 ทางอินเทอร์เน็ต และมีการประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ด้วยจะยื่นแบบ ภ.ธ.40 ผ่านอินเทอร์เน็ตได้หรือไม่

A20 : บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ สามารถยื่นแบบ ภ.ธ.40 ทางอินเทอร์เน็ตได้ ดังนี้

          1. เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ > ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน ทั้งนี้ชื่อผู้ใช้งานต้องเป็นระดับสำนักงานใหญ่เท่านั้น

          2. กดปุ่ม “ยื่นแบบ” ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ.40   

          3. เลือกประเภทกิจการ “การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์”

          หากเป็นผู้ประกอบกิจการประเภทอื่นและต้องการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ.01 ก่อนจึงจะสามารถทำการยื่นแบบ ภ.ธ.40 ผ่านอินเทอร์เน็ตได้

Q21 : ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตและได้แจ้งช่องทางการชำระภาษี หรือธนาคารที่ใช้บริการต่อกรมสรรพากรแล้ว ต่อมามีความประสงค์จะขอเปลี่ยนแปลงช่องทางการชำระภาษีหรือธนาคารที่ใช้บริการอยู่ ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อกรมสรรพากรหรือไม่และต้องดำเนินการอย่างไร

A21 : กรณีที่ยื่นแบบแสดงรายการผ่านอินเทอร์เน็ตและได้เลือกช่องทางการชำระภาษีแล้ว ต่อมาไม่สะดวกในการชำระภาษีผ่านช่องทางเดิมที่เลือกไว้ สามารถเปลี่ยนแปลงช่องทางการชำระภาษีได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งกรมสรรพากร ดังนี้

              1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ > ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน > หัวข้อ ชำระภาษี ระบบแสดงหน้าจอ “รายการภาษีที่ต้องชำระ”

              2. ทำเครื่องหมาย ü ลงในช่อง o หน้ารายการที่ต้องการชำระ 

              3. กดปุ่ม ชำระภาษี ระบบแสดงหน้าจอ “รายละเอียดการชำระ”

              4. ระบบจะให้เลือกช่องทางการชำระภาษีใหม่อีกครั้ง

Q22 : บริษัทเป็นผู้ใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ต่อมาประสงค์จะใช้บริการชำระภาษีแบบรวมรายการ ต้องดำเนินการขออนุมัติต่อกรมสรรพากรหรือไม่และต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

A22 : กรณีเป็นผู้ใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว ต่อมาประสงค์ใช้บริการชำระภาษีแบบรวมรายการ ไม่ต้องดำเนินการขออนุมัติกรมสรรพากรแต่อย่างใด สามารถดำเนินการชำระภาษีแบบรวมรายการได้ทันที ทั้งนี้ สามารถรวมหลายประเภทแบบที่ยื่นชำระภาษี แม้จะมีกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ ไม่เหมือนกัน เพื่อนำส่งภาษีเป็นยอดรวมเพียงยอดเดียวได้ ทั้งนี้ ระบบจะกำหนดวันชำระตามแบบฯ ที่มีกำหนดการยื่นเร็วที่สุด โดยวิธีการชำระภาษีแบบรวมรายการ มีดังนี้

          1. ยื่นแบบฯ ทุกแบบให้เสร็จสิ้นก่อน

          2. ไปที่เมนูชำระภาษี จะพบแบบฯ ที่ยื่นไว้ทั้งหมด

          3. ให้เลือกแบบฯ ที่ต้องการรวมชำระภาษี หน้าจอจะแสดงจำนวนรายการและจำนวนเงินที่ต้องชำระ

          4. เมื่อกดปุ่มชำระ จะปรากฏหน้าจอแสดงหมายเลขอ้างอิงการชำระ และช่องทางชำระเงินที่ต้องการใช้บริการ

Q23 : เมื่อได้อนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ต้องดำเนินการตามขั้นตอนในการยื่นแบบฯ อย่างไรบ้าง

A23 : ขั้นตอนการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต มีดังนี้  

          1. เข้าสู่เว็บไซต์กรมสรรพากร กรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ

          2. Log in เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งาน (User Name) และรหัสผ่าน (Password) จะปรากฏแบบแสดงรายการภาษี

          3. คลิกปุ่มยื่นแบบ และกรอกรายละเอียดข้อมูลตามประเภทแบบแสดงรายการภาษี หรือจัดทำข้อมูลใบแนบด้วยโปรแกรม RD Prep แล้วคลิกอัปโหลดไฟล์หรือลากและวางไฟล์ใบแนบก็ได้

          4. กรณีไม่มีภาษีที่ต้องชำระหรือชำระไว้เกิน กรมสรรพากรจะยืนยันข้อมูลและตอบรับการยื่นแบบฯ โดยแจ้งผลการยื่นแบบพร้อมหมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบให้ทราบทันทีที่หน้าจอ   

          5. กรณีมีภาษีที่ต้องชำระ ให้เลือกช่องทางการชำระภาษีที่ใช้บริการและปฏิบัติตามขั้นตอนของหน่วยรับชำระภาษีนั้น 

          6. พิมพ์แบบแสดงรายการภาษีเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยจะมีหมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบปรากฏอยู่บนแบบฯ  

          7. เมื่อกรมสรรพากรได้รับแบบฯ และชำระภาษี (ถ้ามี) เรียบร้อยแล้ว จะมีหลักฐานยืนยันให้ทราบดังนี้

              (1) ยืนยันการตอบรับทันทีที่หน้าจอ

              (2) ยืนยันการรับแบบฯ และชำระภาษี (ถ้ามี) โดยสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินได้ด้วยตนเองถัดจากวันทำรายการยื่นแบบฯ เสร็จสมบูรณ์ ประมาณ 2 วันทำการ

          หมายเหตุ : สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > คู่มือ-สื่อความรู้ หรือ ถาม-ตอบ

Q24 : รหัสผู้ใช้ ในการจัดเก็บข้อมูลในโปรแกรมยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 คืออะไร

A24 : รหัสผู้ใช้ คือ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

Q25 : บริษัทยื่นแบบ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3 และภ.ง.ด.53 ผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องการชำระภาษีแบบรวมรายการ ระบบถามหมายเลขผู้ใช้ และรหัสผ่านต้องกรอกเลขอะไร

A25 : การชำระภาษีแบบรวมรายการแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

          1. กรณีไม่มีหมายเลขผู้ใช้ที่เป็นตัวแทน ให้คลิกปุ่ม “ชำระภาษี” > ทำเครื่องหมาย þ ที่ประเภทแบบที่ต้องการชำระแบบรวมรายการ > คลิก “ชำระ”

          2. กรณีที่มีหมายเลขผู้ใช้ที่เป็นตัวแทน (ขึ้นต้นด้วย PA ตามด้วยตัวเลข 8 หลัก) ให้คลิกปุ่ม “ชำระภาษี” > ทำเครื่องหมาย þ ที่ประเภทแบบที่ต้องการให้ตัวแทนชำระ เป็นผู้ชำระแทนจากนั้นคลิกปุ่ม “ส่งตัวแทนชำระ” > กรอกตัวแทนชำระและรหัสผ่านของตัวแทนชำระ จากนั้นคลิกปุ่ม “ตกลง”

Q26 : บริษัทยื่นแบบ ภ.พ.30 ทางอินเทอร์เน็ต ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อมีภาษีชำระเกิน เมื่อกดถัดไป ระบบแจ้ง โปรดเลือกการขอคืนภาษี ต้องดำเนินการอย่างไร

A26 : กรณีมีภาษีชำระเกินให้กดเลือกวิธีการขอคืนภาษีวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ จึงจะสามารถทำรายการถัดไปได้

          1. คืนเงินสด

          2. คืนผ่านธนาคาร

          3. ขอนำภาษีไปชำระในเดือนถัดไป

Q27 : กรณียื่นแบบผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเลือกช่องทางการชำระภาษีแบบรวมรายการไว้ หากภายหลังต้องการยกเลิกแบบรวมรายการที่ยื่นแบบไว้ จะต้องดำเนินการอย่างไร

A27 : ขั้นตอนการยกเลิกการชำระภาษีแบบรวมรายการ มีดังนี้

          1. เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท

          2. ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ

          3. ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน

          4. เลือก “ชำระภาษี”

          5. เลือก “รายการรวมชำระ”

          6. กดปุ่ม จุด 3 จุด และเลือก “ยกเลิกรวมบางรายการ หรือ ยกเลิกรวมรายการ”

          7. กดปุ่ม “ตกลง”

Q28 : การบันทึกข้อมูลใบแนบ กรณีโอนย้ายข้อมูลแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถจัดเก็บข้อมูล โดยตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลเองได้หรือไม่

A28 : การจัดเก็บแฟ้มข้อมูลใบแนบ ระบบจะตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลให้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถเปลี่ยน Drive ในการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูลได้

         โดยชื่อแฟ้มข้อมูลจะเป็น 1111111111111P302564120000-010000.rdx มีความหมายดังนี้

          1111111111111 = เลขผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้

          P30 = ประเภทแบบ ภ.พ.30

          2564 = ปีภาษี

          12 = เดือนภาษี

          0000 = ยื่นแบบปกติ

          010000 = Version

Q29 : คัดแบบ ภ.พ.30 กรณียื่นรวมผ่านอินเทอร์เน็ต จะมีรายละเอียดใบแนบหรือไม่

A29 : สามารถคัดใบแนบ ภ.พ.30 ได้

Q30 : บริษัทจะคัดแบบฯ ภ.ง.ด.50 ของปีที่ผ่านมาที่ยื่นทางอินเทอร์เน็ต สามารถยื่นคำขอคัดแบบได้ที่ไหน

A30 : ผู้ประกอบการที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถยื่นคำขอคัดรับรองแบบ พร้อมเอกสารประกอบได้ด้วยตนเอง ดังนี้         

          1. ยื่นคำขอคัดแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > ยื่นแบบทุกประเภท E-FILING > ยื่นแบบออนไลน์ หรือเข้าสู่ระบบ > ระบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน > บริการอื่นๆ > เลือก ยื่นคำขอคัดรับรองแบบ > กดปุ่ม สร้างคำขอคัดแบบ > เลือกประเภทแบบแสดงรายการ และปีภาษี > กดปุ่ม ค้นหา > กดปุ่ม เลือกคัดแบบ > บันทึกรายละเอียดแบบที่ต้องการขอคัด (ผู้ยื่นคำขอสามารถมารับแบบได้หลังจากยื่นคำขอไปแล้ว 3 วันทำการ) หรือ

          2. สามารถขอคัดแบบฯ ได้ที่ห้องบริการข้อมูลข่าวสาร กองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ อาคารจอดรถและสวัสดิการกรมสรรพากร ชั้น 1 กรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 หรือ

          3. สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ (แจ้งหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้นให้ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนการขอคัดแบบฯ เพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้น)

          ทั้งนี้ มีค่าธรรมเนียมการคัดสำเนาและรับรองแบบฯ ฉบับละ 6 บาท

Q31 : บริษัทยื่นแบบ ภ.พ.30 ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีใบแนบ ต้องการพิมพ์ใบแนบ ภ.พ.30 ที่บันทึกไว้แล้ว ต้องทำอย่างไร

A31 : โดยผู้เสียภาษีสามารถพิมพ์ใบแนบได้ 2 ช่องทาง ดังนี้

          1. กรณีจัดทำใบแนบด้วยโปรแกรมบันทึก RD Prep สามารถพิมพ์ใบแนบได้ ดังนี้

              - เลือก โอนย้ายข้อมูล คลิก ภ.พ.30 ยื่นแบบรวมกัน

              - ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ประเภทสาขา สาขาที่

              - เลือกไฟล์ที่ต้องการพิมพ์ ระบุ เดือน/ปีภาษี ลำดับการยื่นแบบ รูปแบบการแบ่งข้อมูล คลิก ถัดไป

              - เลือก โอนย้าย คลิก ถัดไป เลือก พิมพ์ใบแนบ เพื่อจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบ PDF File

              - เลือกไฟล์ PDF ที่จัดเก็บไว้ เพื่อสั่งพิมพ์ใบแนบ

          2. กรณีบันทึกใบแนบ Online แยกยื่นรายสถานประกอบการและยื่นรวมกัน ยังไม่ได้ยืนยันการยื่นแบบ สามารถพิพม์ใบแนบได้ โดยดำเนินการ ดังนี้

              - ยื่นแบบ ภ.พ.30 ผ่านอินเทอร์เน็ต

              - ขั้นตอนสรุปรายการภาษี

              - พิมพ์ภาพใบแนบเพื่อใช้สำหรับตรวจสอบความถูกต้อง

          3. กรณีบันทึกใบแนบ Online แยกยื่นรายสถานประกอบการและยื่นรวมกัน ยืนยันการยื่นแบบแล้ว ไม่สามารถพิมพ์ใบแนบได้

Q32 : ภายหลังจากดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต และเลือกช่องทางการชำระเงินแล้วแต่ยังไม่ได้ชำระเงิน พบว่ารายการข้อมูลในใบแนบไม่ถูกต้องต้องดำเนินการอย่างไร

A32 : กรณีที่ยังไม่พ้นกำหนดการยื่นแบบ เมื่อพบว่ารายการข้อมูลในใบแนบไม่ถูกต้องหลังจากดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว แต่ยังไม่ได้ชำระเงิน สามารถดำเนินการแก้ไขข้อมูลได้โดยการ Log in เข้าสู่ระบบ และกดปุ่มเมนู “ชำระภาษี” ให้ทำการยกเลิกการยื่นแบบฯ ฉบับนั้น โดยกดปุ่ม จุด 3 จุด และเลือก “ยกเลิกแบบ” แล้วทำการยื่นแบบฯ ใหม่

Q33 : รูปแบบของ File การยื่นแบบนายจ้างยื่นแทน ภ.ง.ด.91 มีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง

A33 : รูปแบบของ File สำหรับนำเข้าโปรแกรมโอนย้ายข้อมูลนายจ้างยื่นแทน ภ.ง.ด.91  มีข้อจำกัดดังนี้

          1. แบบยื่นเพิ่มเติม

          2. แบบที่มีใบแนบฯ เช่น ใบแนบเงินได้จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน เป็นต้น

          3. แบบขอคืนเงินภาษีที่ชำระไว้เกิน

          4. ผู้มีเงินได้ และคู่สมรสรวมคำนวณภาษี

          5. ผู้มีเงินได้ที่คู่สมรสเป็นคนต่างด้าวและไม่มีเงินได้

          6. ใช้สิทธิลดหย่อนอายุ 65 ปี หรือผู้พิการ

          7. ใช้สิทธิลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการและหรือคนทุพพลภาพ

          8. ใช้สิทธิยกเว้นเงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ

          9. ใช้สิทธิลดหย่อนเงินบริจาคพรรคการเมือง

          10. ใช้สิทธิแสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง

          11. ใช้สิทธิเงินลงทุนในหุ้น หรือการเป็นหุ้นส่วนเพื่อจัดตั้ง หรือเพิ่มทุนบริษัท หรือห้างหุ่นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคมและได้จดแจ้งการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม

          12. ผู้มีเงินได้ที่เป็นคนต่างด้าวที่มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย “601”

Q34 : กรณีนายจ้างมีความประสงค์ที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 แทนพนักงาน ต้องบันทึกข้อมูลในโปรแกรม RD Payroll 90/91 อย่างไร

A34 : กรณีนายจ้างจะยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 แทนพนักงาน นายจ้างสามารถจัดเตรียมข้อมูลแบบของพนักงานลูกจ้าง ด้วยวิธีการโอนย้ายข้อมูล ภ.ง.ด.91 นายจ้างยื่นแทน ผ่านโปรแกรม RD Payroll 90/91

          ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรม RD Payroll 90/91 ได้จากเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > โปรแกรมจัดเตรียมข้อมูล RD Payroll 90/91 (สำหรับนายจ้างยื่นแทน)

          การบันทึกโอนย้ายข้อมูล ภ.ง.ด.91 มีขั้นตอน ดังนี้

          1. เปิดโปรแกรม RD Payroll 90/91 กดปุ่ม โอนย้ายข้อมูล

          2. เลือก ภ.ง.ด.91 นายจ้างยื่นแทน > กดปุ่ม จัดทำข้อมูลแบบ

          3. โปรแกรมแสดงหน้าจอ โอนย้ายแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด.91 นายจ้างยื่นแทน ให้ระบุข้อมูล และเลือกไฟล์สำหรับการโอนย้าย

          4. กำหนดตำแหน่งข้อมูล โดยการลากรายการข้อมูลทางขวามาวางให้ตรงกับตำแหน่งข้อมูล ตำแหน่งข้อมูลของผู้มีเงินได้ที่ต้องบันทึก ได้แก่ เลขประจำตัวประชาชน, คำนำหน้าชื่อ, ชื่อกลาง(ถ้ามี), นามสกุล, สถานะผู้มีเงินได้, เงินได้พึงประเมิน, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, รวมภาษี, รายการลดหย่อนต่างๆ(ถ้ามี) และรวมค่าลดหย่อน

          5. เมื่อกำหนดตำแหน่งข้อมูลเรียบร้อย กดปุ่ม โอนย้าย และตรวจสอบผลการโอนย้ายข้อมูล 

              กรณีมีรายการข้อมูลผิดพลาด โปรแกรมจะแสดงตำแหน่ง, รายการ และสาเหตุของรายการที่ผิดพลาดมาแสดงให้ เมื่อผู้ใช้งานแก้ไขไฟล์ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้นำไฟล์นั้นกลับมาอัปโหลดในระบบใหม่อีกครั้ง

          6. เมื่อบันทึกข้อมูลครบถ้วนแล้ว เลือกบันทึกและสร้างไฟล์ข้อมูล เลือก Directory ที่ใช้จัดเก็บไฟล์ โดยระบบจะจัดเก็บไฟล์ที่บันทึกแล้วในรูปแบบนามสกุล .RDX สามารถนำไฟล์นี้ไปยื่นแบบผ่านเว็บไซต์ E-FILING ด้วยวิธีการอัปโหลดไฟล์ข้อมูลได้ทันที

          หมายเหตุ : สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.rd.go.th > E-FILING ยื่นแบบทุกประเภท > คู่มือ-สื่อความรู้ หรือ ถาม-ตอบ

Q35 : การชำระอากรแสตมป์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หากมีรหัสผ่านในการยื่นแบบผ่านทางอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว จะต้องสมัครเพื่อขอรหัสผ่านใหม่หรือไม่

A35 : ไม่ต้องสมัครใหม่ สามารถใช้หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านที่ใช้สำหรับการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรได้เลย

Q36 : ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตอยู่ก่อนแล้ว ภายหลังมีความประสงค์จะยื่นขอเสียอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ต้องดำเนินการอย่างไร

A36 : กรณีได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตอยู่ก่อนแล้ว ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอเสียอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ในระบบได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งเพิ่มสิทธิการใช้บริการแต่อย่างใด

Q37 : ผู้เสียภาษีประเภทใดบ้าง ที่สามารถชำระอากรเป็นตัวเงินด้วยแบบ อ.ส.9 ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร

A37 : ที่มีหน้าที่เสียอากร ที่สามารถชำระอากรเป็นตัวเงินตามแบบ อ.ส.9 ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร มีดังนี้             

          1. ผู้เสียอากรที่เป็นบุคคลธรรมดา

          2. ผู้เสียอากรที่เป็นนิติบุคคล

          3. ผู้เสียอากรกรณีหมายเลขผู้ใช้จากระบบ Tax Single Sign On (Tax SSO)

          โดยผู้เสียภาษีอากรดังกล่าว ต้องลงทะเบียนยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตในระบบ E- Filing กับกรมสรรพากร หรือลงทะเบียนในระบบ Tax Single Sign On (Tax SSO) กับกระทรวงการคลังแล้ว

Q38 : ถ้าหากผู้เสียภาษีลงทะเบียนเพื่อยื่น อ.ส.9 ผ่านอินเตอร์เน็ต หากมีบางเดือนประสงค์ยื่นด้วยแบบ อ.ส.4 จะสามารถกระทำได้หรือไม่

A38 : ได้ โดยในแต่ละเดือนภาษี สามารถเลือกได้ว่าจะยื่นแบบและชำระอากรด้วยแบบ อ.ส.9 หรือ อ.ส.4  

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง