ช่วง ใด ใน ประวัติศาสตร์ ที่ พระพุทธ ศาสนา ใน ประเทศ เมีย น มา ไม่ ได้ รับ การ ทำนุบำรุง

          พม่าหรือเมียนมามีความโดดเด่นในเรื่องการศรัทธาพุทธศาสนา  มีเจดีย์และศาสนสถานในพุทธศาสนาจำนวนมาก ประชากรกว่า 87 % นับถือพุทธศาสนา  แต่ในขณะเดียวกันมีประชากรบางส่วนที่นับถือพลังเหนือธรรมชาติจำนวน 4.5%  คริสต์ศาสนา 4 % อิสลามและฮินดู 1.5%  (Steven, 2002:62)

            ความสำคัญของพระพุทธศาสนาไม่ได้อยู่ที่จำนวนผู้นับถือเพียงอย่างเดียว แต่พุทธศาสนายังเป็นรากฐานสำคัญของสังคมพม่า โดยมีประวัติย้อนหลังไปถึงสมัยปยูและอาณาจักรพุกาม ในช่วงระยะเวลาจากอดีตถึงปัจจุบันซึ่งเป็นเวลากว่าพันปี ได้หล่อหลอมให้พระพุทธศาสนาในพม่ามีลักษณะเฉพาะของตนเอง นั่นคือ การมีลักษณะผสมผสานของศาสนาและความเชื่อต่างๆ ที่มีอยู่ในดินแดนพม่า (นฤมล  ธีรวัฒน์ และคณะ.2551:233)  


พระพุทธศาสนา

            ชนชาติมอญเป็นชนกลุ่มแรกในพม่าที่รับนับถือพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจากทักษิณนิกาย หรือ นิกายพุทธทางใต้ ของอินเดีย (Steven, 2002:55) เชื่อกันว่าพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศพม่า เมื่อครั้งที่พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดียให้การอุปถัมภ์การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ได้มีการส่งพระสมณทูตไปเผยแพร่พุทธศาสนาในแถบประเทศต่างๆ รวม 9 สาย (ฟื้น ดอกบัว, 2554:182) โดยพม่าอยู่ในส่วนของสุวรรณภูมิ ชาวพม่ายังเชื่อว่า สุวรรณภูมิ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสะเทิมทางตอนใต้ของพม่า พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในพม่าราวพุทธศตวรรษที่ 6  เนื่องจากพบหลักฐานเป็นคำจารึกภาษาบาลี นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งชื่อว่า ตารนาถ เชื่อว่าพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้เข้าสู่พม่า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช  (ประวัติพุทธศาสนาพม่า, 2015)

            พม่าบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติตั้งแต่ปีค.ศ.1974 ปัจจุบันพุทธศาสนาเป็นสถาบันที่แข็งแกร่งที่สุดในพม่า สืบเนื่องจากประเพณีปฏิบัติอันยาวนานหลายประการ  ประการแรก ความใกล้ชิดระหว่างสถาบันกษัตริย์กับสถาบันภิกษุ ซึ่งต่างก็พึ่งพาอาศัยกันและกัน ประการที่สอง การรักษาความเข้มข้นขององค์ความรู้และวินัย โดยผ่านการปะทะสังสรรค์กับผู้นำทางศาสนาประเทศอื่นๆในเครือพุทธศาสนาเถรวาท โดยเฉพาะศรีลังกาและไทย และประการที่สาม คือการทุ่มเททรัพยากร สมบัติวัตถุ และงานฝีมืออันประณีตบรรจงให้กับภิกษุ ปูชนียสถาน และโลกทางกายภาพของชาวพุทธ (นฤมล  ธีรวัฒน์ และคณะ.2551:234-235)  

            ด้วยลักษณะเด่นของพุทธศาสนาเถรวาทของพม่าที่สามารถเป็นแกนหลักในความหลากหลาย ในขณะเดียวกัน พุทธศาสนาก็มีความลึกซึ้งในหลายระดับทั้งระดับปรัชญา ระดับการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา ไปจนถึงพุทธศาสนาระดับชาวบ้าน ศาสนาพุทธจึงสามารถสร้างความเป็นปึกแผ่นในความหลากหลายให้สังคมพม่าได้และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นเอกภาพร่วมกัน ผู้ปกครองพม่าแต่ละยุคจึงไม่อาจปฏิเสธความสำคัญของศาสนาพุทธ  ความรู้ในพระไตรปิฎกของชาวบ้านทั่วๆไป ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ทางศีลธรรม และโศลกคำสอนที่เรียกว่า “โต้ว” บางบทที่ชี้แนะทางสายกลาง เช่นโศลกว่าด้วยเรื่องหน้าที่ศีลธรรมที่เรียกว่า  มินกลาโต้ว ในส่วนที่เป็นพระอภิธรรมซึ่งเป็นความรู้ขั้นสูงนั้นมักไม่เป็นที่รู้จักมักคุ้นของชาวบ้าน แม้แต่ผู้ที่เคยผ่านการบวชเรียนมาแล้วก็ตาม ชาวบ้านทั่วไปจะมีความรู้ความเข้าใจในพุทธศาสนาอยู่ 3 เรื่องด้วยกันคือ 1. ความคิดในเรื่องกรรม และบุญ 2. ศีลและการถือปฏิบัติ 3.ความเชื่อแบบดั้งเดิมในสังคมพม่า (นฤมล  ธีรวัฒน์ และคณะ.2551:246)

            นอกจากนี้พุทธศาสนาและพระสงฆ์ในพม่ายังมีบทบาททางการเมืองที่สำคัญตั้งแต่ในช่วงปีค.ศ.1930 ในการเป็นผู้นำต่อต้านอาณานิคมอังกฤษ ต่อมาในปี ค.ศ.1988 พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการเป็นแกนนำต่อต้านรัฐบาลทหารภายใต้การนำของนายพลเนวิน ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนตั้งแต่ปี ค.ศ.1962 ส่งผลให้เกิดการปะทะกับทหาร มีการนองเลือดและมีผู้เสียชีวิตนับพันคน จนนานาชาติต้องหันมาให้ความสนใจและจับตามองบทบาททางการเมืองของพระสงฆ์ในพม่ามากขึ้น ปัจจุบันพุทธศาสนาและพระสงฆ์ยังคงเป็นผู้นำหลักทางจิตวิญญาณของชาวพม่าทั้งในการดำรงชีวิตและการเมือง ดังพบได้อยู่เสมอว่าในพม่าพระสงฆ์มักเป็นแกนนำในการต่อต้านรัฐบาล สนับสนุนนักการเมืองในประเทศ  ตลอดจนต่อต้านศาสนิกชนต่างศาสนา 

“นัต” กับความเชื่อของชาวพม่า

            พม่าได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนาและพุทธเจดีย์ พุทธศาสนิกชนชาวพม่าต่างให้ความเคารพในพระสงฆ์ซึ่งถือเป็นเนื้อนาบุญและเป็นที่พึ่งแห่งกุศล แต่ภายใต้ร่มเงาแห่งพุทธศาสนานั้น สังคมพม่ายังคงแฝงไปด้วยกลิ่นอายความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาผีอยู่ไม่น้อย และที่ปรากฏเป็นภาพเด่นชัดคือ การบูชานัต ดังพบว่าภายในบ้านของชาวพม่าบางบ้านมีหิ้งบูชานัตตั้งอยู่ใกล้หิ้งพระพุทธรูป หลายบ้านปลูกศาลคล้ายศาลพระภูมิ ไว้ที่หน้าบ้าน ในขณะที่ริมทางตามต้นไม้ใหญ่ยังมีศาลนัตอยู่ทั่วไป แม้แต่ในเขตลานพระเจดีย์ยังพบว่ามีรูปนัต ปั้นเป็นองค์เทพ เทวี ผู้เฒ่า รูปยักษ์ เห็นชัดว่าชาวพม่าจำนวนไม่น้อยยังคงกราบไหว้บูชานัต ทั้งที่บ้านและที่สาธารณะ ตลอดจนในเขตพุทธสถาน (วิรัช นิยมธรรม และ อรนุช นิยมธรรม, 2551:143)

            คำว่า “นัต” ปราชญ์ชาวพม่า เชื่อว่าคำนี้น่าจะมาจากคำว่า นาถ ในภาษาบาลี หมายถึง “ผู้เป็นที่พึ่ง” ตามกล่าวไว้ในตำรานิรุกติศาสตร์เก่าแก่เล่มหนึ่งของพม่า คือ โวหารลีนตฺถทีปนี แต่งโดย มหาเชยสงขยา และในสารานุกรมพม่า เล่ม 6 ได้นิยามคำว่า นัตไว้ในทำนองเดียวกัน โดยจัดแบ่งนัตไว้ 3 ส่วน คือ วิสุทินัต คือ ผู้บริสุทธิ์ อันหมายถึง พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ อุปปตฺตินัต คือ เทวดาและพรหมาที่อยู่บนสรวงสวรรค์ และ สมฺมุตินัต คือ พระราชา พระราชินี ตลอดจนราชบุตรราชธิดา นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเทพประจำจักรวาลว่าเป็นนัต เช่น เทพประจำดาวนพเคราะห์ สุริยเทพ จันทราเทพ อัคนีเทพ และวาโยเทพ ดังนั้นนัตตามนัยของคำว่า นาถ นี้ ก็คือ เหล่าเทพเทวาบนชั้นฟ้าตลอดถึงผู้ประเสริฐและผู้ทรงอำนาจบนโลกมนุษย์ ถือเป็นนัตตามโลกทัศน์ในพุทธศาสนา ส่วนพจนานุกรมพม่า ของรัฐบาลเมียนมาร์ กล่าวถึงนัตไว้ 3 นัย ได้แก่ 1. เทพอุปปัติทรงฤทธิ์คุ้มครองมนุษย์ 2.วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของผู้ตายร้าย และ 3. คำขยายสิ่งซึ่งอุบัติขึ้นเอง เช่น นัตสะบา “ข้าวนัต หรือ ข้าวป่า” และ นัตเย-ดวีง “สระนัต หรือ สระรรมชาติ”  เป็นต้น สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจึงถือว่าเป็นด้วยอำนาจแห่งนัต ดังนั้นนัตตามคติของชาวพม่าจึงหมายถึง ผู้ทรงฤทธิ์ เป็นได้ทั้งเทพยดาและวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่รวมถึงพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ตลอดจนพระราชา หรือ ราชตระกูล (วิรัช นิยมธรรม และ อรนุช นิยมธรรม, 2551:143-144)

            ชาวพม่า เชื่อว่า มนุษย์ประกอบด้วยร่างกาย ที่เรียกว่า โก่ก่ายะ และ ขวัญ ที่เรียกว่า เละปยา เมื่อตายไปขวัญจะกลายเป็นดวงวิญญาณล่องลอยอยู่ในโลก สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้คนทั่วไปได้ หรืออาจเข้าสิงร่างของผู้อื่นและบังคับให้ผู้นั้นกระทำสิ่งต่างๆ ตามความประสงค์ของดวงวิญญาณ และเมื่อพิจารณาสภาพการกลายเป็นนัตของคนพม่าแล้วจะเห็นว่าสอดคล้องกับความเชื่อเรื่องดวงวิญญาณ คือ ธาตุที่ไม่ดับสูญ ในหนังสือ โตงแซะคุนิจ์มีง หรือ นัต 37 ตน เขียนโดย อูโพจา ได้บรรยายเรื่องนัตไว้ว่า “เรื่องการกลายเป็นนัตนั้นจดจำแลเชื่อกันว่า  ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นคนเผ่าพันธุ์ใดกษัตริย์หรือสามัญชน มั่งมีหรือยากไร้ หญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ หากแต่เป็นผู้ที่คนทั่วไปยกย่อง ยึดเป็นที่พึ่งได้และเป็นผู้ที่มีเมตตา ยามตายก็จากไปอย่างน่าเวทนา เมื่อผู้คนทั่วไปรับรู้ จึงบังเกิดความสะเทือนใจ โจษจันกันไปทั่ว วิญญาณของผู้นั้นจึงกลายเป็นนัต” (วิรัช นิยมธรรม และ อรนุช นิยมธรรม, 2551:145)

            ชาวพม่าติดต่อกับนัตในหลายรูปแบบ มีทั้งการกราบไหว้ เซ่นสรวง ลงทรง เพื่อขอความคุ้มครอง บนบานศาลกล่าว หรือบัดพลีเมื่อคำขอเป็นผลสัมฤทธิ์ รูปแบบของการเซ่นไหว้นัตในเรือน นัตตามศาล และนัตที่อยู่รายรอบพระเจดีย์นั้นส่วนใหญ่กระทำคล้ายๆกัน จะแตกต่างกันอยู่บ้างขึ้นอยู่กับนัตแต่ละตน เช่น นัตบางตนนิยมมังสวิรัติ กินเฉพาะผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ นัตบางตนชอบอาหารดิบ เช่น ปลาดิบ เนื้อดิบ นัตบางตนชอบของมึนเมา ดื่มเหล้าเมามายยามประทับทรง และบางตนชอบบุหรี่ เป็นต้น (วิรัช นิยมธรรม และ อรนุช นิยมธรรม, 2551:161)

            ความเชื่อเกี่ยวกับนัตของชาวพม่าในส่วนที่เกี่ยวกับนัตตามนัยของผีอารักษ์นั้นดูจะเป็นความเชื่อพื้นถิ่นที่ปรากฏอยู่คู่สังคมพม่ามายาวนานยิ่งกว่าพุทธศาสนา บทบาทของนัตในความเชื่อของพม่าดั้งเดิมมีความสำคัญถึงระดับร่วมสร้างบ้านแปงเมืองในพุกามยุคแรกๆ จนได้รับความสำคัญเป็นมิ่งเมือง เป็นไปได้ว่าในยุคของพระเจ้าอโนรธา การรับพุทธศาสนาจากภายนอกได้ทำให้นัตในคติความเชื่อพื้นถิ่นถูกลดบทบาทลงเป็นเพียงนัตที่คอยพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา แต่อย่างไรก็ตามชาวพม่าไม่อาจปฏิเสธอำนาจนัตอย่างสิ้นเชิง สังคมพม่าจึงเป็นสังคมพุทธที่แฝงอยู่ด้วยความเชื่อในนัตระคนกัน (วิรัช นิยมธรรม และ อรนุช นิยมธรรม, 2551:168)


ศาสนาฮินดู

            ผู้นับถือศาสนาฮินดู ในพม่า  มีประมาณ 840,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าเชื้อสายอินเดีย มีพระพรหม เป็นที่เคารพสักการบูชา ศาสนาดังกล่าวเข้าสู่พม่าตั้งแต่ยุคโบราณ เนื่องจากรัฐระคาย หรือ ยะไข่ ของพม่า มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐมณีปุระ ของ อินเดีย ดังนั้นศาสนาฮินดูจึงผ่านเข้าสู่พม่าทางรัฐดังกล่าว (Religion in Myanmar, 2015)

            ฮินดูเป็นศาสนาที่ทรงอิทธิพลในราชสำนักพม่าในช่วงก่อนอาณานิคม สิ่งแสดงถึงอิทธิพลดังกล่าว ประกอบไปด้วย สถาปัตยกรรมทางศาสนาในเมืองพุกาม และ ภาษาพม่าที่รับเอาภาษาบาลี-สันสกฤต มาใช้ ปัจจุบัน แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่ในพม่าจะเป็นพุทธศาสนิกชนในพุทธศาสนา แต่ยังมีความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับ พระเจ้าสักกะมิน ชาวพม่าเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของพระอินทร์ ในศาสนาฮินดู เทพเจ้าฮินดูหลายองค์เป็นที่เคารพบูชาของชาวพม่า อาทิเช่นพระศิวะ หรือ Paramizwa พระวิษณุ หรือ Withano   พระนางสุรัสวดี หรือ Thuyathadi   นอกจากนี้วรรณกรรมจำนวนมากของพม่ายังได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู เช่น รามายณะ  ภาษาพม่าเรียกว่า Yama Zatdaw เป็นต้น (Religion in Myanmar, 2015)    

            ปัจจุบันชาวพม่าที่นับถือศาสนาฮินดู มีอยู่เป็นจำนวนมากในเมืองย่างกุ้ง และ มัณฑะเลย์ ศาสนสถานฮินดูในยุคโบราณยังคงมีหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมากในเมืองต่างๆ ของพม่า เช่น วัด Nathlaung Kyaung ในเมืองพุกาม ที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ  เป็นต้น (Religion in Myanmar, 2015)


คริสต์ศาสนา

            คริสต์ศาสนาในพม่าได้รับการเผยแพร่จากคณะมิชชันนารีเป็นเวลากว่า 150 ปีมาแล้ว คริสต์ศาสนาจากคณะอเมริกันแบบทิสต์ เป็นคณะแรกที่เดินทางเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนายังดินแดนพม่า สามารถเปลี่ยนความเชื่อทางศาสนาของชาวพุทธในพม่าได้บ้างเป็นส่วนน้อย แต่ขณะเดียวกันในหมู่ชนกลุ่มน้อยที่นับถือสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติกลับมีแนวโน้มที่จะรับนับถือคริสต์ศาสนาได้มากกว่า เช่น กะเหรี่ยง กะฉิ่น และ ฉิ่น  คริสต์ศาสนิกชนในพม่าจึงมักเป็นชนกลุ่มน้อย (Steven, 2002:62)


ศาสนาอิสลาม

            ศาสนาอิสลามเข้าสู่พม่าในปีค.ศ.1827 โดยพ่อค้าชาวอาหรับ ชาวมุสลิมในพม่าประกอบไปด้วย 2 กลุ่ม คือ โรฮิงญา และ ปันทาย  สำหรับชาวมุสลิมโรฮิงญา ในรัฐอาระกันหรือรัฐระคาย ทางชายแดนทางตะวันตกของประเทศพม่า ติดกับชายแดนบังคลาเทศ มีลักษณะร่างกาย ภาษาที่ใช้ใกล้เคียงกับภาษาเบงกาลี ในบังคลาเทศ ประเทศเพื่อนบ้านมุสลิมทางตะวันตก จากเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์และความแตกต่างทางชาติพันธุ์ที่ชัดเจน ชาวโรฮิงยาไม่เคยถูกยอมรับว่าเป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า เนื่องจากผลพวงของสงครามระหว่างอังกฤษกับพม่า  (M.Athyal, 2015:194)

            แม้ว่าภายหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ ชาวโรฮิงยาถูกรับรองความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในสมัยรัฐบาลอูนุ ในการประชุมสภาในปีค.ศ. 1950 แต่ภายหลังการยึดอำนาจของนายพล เน วิน ในปีค.ศ. 1978 ได้ใช้วิถีทางสังคมนิยมแบบพม่า สร้างความรู้สึกชาตินิยมพม่าพุทธขึ้น จึงนำไปสู่ความเกลียดชังกลุ่มชาติพันธุอื่นที่ต่างจากพม่า คือผู้อาศัยในดินแดนอาระกัน หรือระคายในปัจจุบัน มีลักษณะใกล้เคียงกับคนในบังคลาเทศ มากกว่าพม่า นับถือทั้งศาสนาอิสลาม ฮินดูและพุทธ  (ศิววงศ์ สุขทวี, 2013)  

           อย่างไรก็ตามประเด็นของชาวโรฮิงญายังคงเป็นประเด็นปัญหาที่รอการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ยังคงได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิต ประสบกับปัญหาค้าแรงงานข้ามชาติ ตลอดจนปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน เนื่องจากไม่มีสถานะของพลเมืองในประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงก่อให้เกิดประเด็นปัญหาดังกล่าวและอีกหลายด้านตามมา

บรรณานุกรม

    Jesudas M Athyal. (2015). Religion in Southeast Asia : an encyclopedia of faiths and cultures. California: Santa Barbara.

    M.,Mic,L.,Michael,C.,and Joe,.C. Steven. (2002). Myanmar (Burma). Australia: Lonely Planet Publications Pty Ltd.

    Religion in Myanmar. (26 November 2015). เรียกใช้เมื่อ 2 December 2015 จาก wikipedia Web site: //en.wikipedia.org/wiki/Religion_in_Myanmar

    นฤมล ธีรวัฒน์ และคณะ. (2551). มองพม่าผ่านชเวดากอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

    ประวัติพุทธศาสนาพม่า. (2015). เรียกใช้เมื่อ 08 11 2015 จาก เว็บไซต์ธรรมะไทย: //www.dhammathai.org/thailand/missionary/burma.php

    ฟื้น ดอกบัว. (2554). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: โสภณการพิมพ์.

    วิรัช นิยมธรรม และ อรนุช นิยมธรรม. (2551). เรียนรู้สังคมและวัฒนธรรมพม่า. พิษณุโลก: โรงพิมพ์ตระกูลไทย.

    ศิววงศ์ สุขทวี. (29 8 2013). โรฮิงยา ชีวิตภายใต้อำนาจ จากชายแดนพม่าถึงไทย. เรียกใช้เมื่อ 8 11 2015 จาก เว็บไซต์ประชาไท: //www.prachatai.com/journal/2013/08/48462
     

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง