อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ eec

  ธปท.มองเศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทาย 4 ด้าน มองโครงการ EEC ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนด้านดิจิทัล-ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานช่วยเศรษฐกิจรอดพ้นวิกฤติในระยะยาวได้ ด้าน ส.อ.ท.ชี้มี 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายหนุนเศรษฐกิจ

  นายโยชิยูกิ โฮริโอะ ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ (JPC/MNC) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY กล่าวเปิดงานสัมมนา Krungsri Business Talk ในหัวข้อ Managing a Business in The VUCA World จับทิศทางอนาคตธุรกิจภายใต้สถานการณ์โลกที่พลิกผันและเปลี่ยนแปลง ที่จัดขึ้นสำหรับลูกค้าธุรกิจ เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพด้านธุรกิจของลูกค้าธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน แบ่งปันข้อมูลความรู้ให้ลูกค้าธุรกิจได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลเชิงลึกจากวิทยากรชั้นแนวหน้า มุ่งสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างโอกาสในการต่อยอดธุรกิจให้กับลูกค้า

  ดร. ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา Krungsri Business Talk ในหัวข้อ Managing a Business in The VUCA World จับทิศทางอนาคตธุรกิจภายใต้สถานการณ์โลกที่พลิกผันและเปลี่ยนแปลง ซึ่งจัดโดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ให้มุมมองว่า เศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทายที่สำคัญ 4 ประการ

   ประการแรกคือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ 3 ยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจทั้ง ยุโรป จีน และ สหรัฐฯ ที่มี GDP รวมกันคิดเป็น 2 ใน 3 ของโลกพร้อมใจกันชะลอตัว ประการที่สอง คือ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ของหลายๆ ประเทศ ทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครนและความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน ที่จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของโลก ประการที่สาม คือ การปรับตัวสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ และประการสุดท้าย คือ แนวทางการฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นแบบ K-Shaped Recovery ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจบางกลุ่ม “ฟื้นตัวกลับมาได้เร็ว” และบางกลุ่มที่ “ยังไม่ฟื้นตัวและแย่ลงเรื่อยๆ”

  ทั้งนี้เพื่อให้เศรษฐกิจรอดพ้นวิกฤตได้ในระยะยาว ในอนาคตโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC จะเป็นคำตอบสำคัญ เพราะมีเครือข่าย 5G ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด EEC จึงเป็นที่สนใจของธุรกิจ Digital จากทั่วโลก ขณะเดียวกัน EEC ยังตอบโจทย์การลงทุนด้านยานยนต์ไฟฟ้า EV ด้วยการเป็นฐานการผลิตแบตเตอรี่ที่จะใหญ่ที่สุดในอาเซียนและเป็นพื้นที่ทดลองวิ่ง EV ด้วยการติดตั้งสถานีเติมไฟจำนวนมาก

  นอกจากนั้นภายในพื้นที่ยังจะมีศูนย์นวัตกรรมสำคัญ อาทิ EECi หรือ ศูนย์การศึกษาถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร / ดิจิทัล / หุ่นยนต์ / โดรน / แบตเตอรี่ / EV, EECd หรือ DATA Center และ EECh หรือ Digital Hospital รวมไปถึงมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ท่าเรือแหลมฉบัง รถไฟฟ้าความเร็วสูง และสนามบินอู่ตะเภา เป็นต้น

  ด้าน นายวิวรรธน์ เหมมณฑารพ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน) หรือ PJW เปิดเผยมุมมองการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพยายามเชื่อมโยงการพัฒนาภาคเกษตรกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้ GDP มีการกระจายตัวอย่างทั่วถึงและมีความยั่งยืน ให้เป็นการเติบโตที่ทุกคนมีส่วนร่วม

   โดยประเทศไทยมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น คาดการณ์การส่งออกอาหารทั้งปี 65 จะมีมูลค่า 1.2-1.3 ล้านล้านบาท เท่ากับขยายตัว 8-12% ด้านนักลงทุนเข้ามาลงทุนมากขึ้น ทั้งจากยุโรปและรัสเซีย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัจจัยที่เอื้อต่อการตั้งฐานการลงทุนระยะยาว ทำให้มีการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาไทยมากขึ้น และยังมีโอกาสในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียน การสร้างความมั่นคงทางห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Security) ความมั่นคงทางอาหาร และการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตร โดยใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น

  ในภาพรวมประเทศไทยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย 12 ประเภท แบ่งเป็น First S-curve อุตสาหกรรมที่จะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น คือ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ EV โดยในปี 2030 ตั้งเป้าจะมีรถยนต์ไฟฟ้า 30% จากปริมาณยานยนต์ทั้งหมดของประเทศ, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ, อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ส่วนต่อมาคือ New S-curve ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ซึ่งจะเกิดมาจากการมีอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ มีการใช้หุ่นยนต์เหมือนคนที่มีสมองมีความจำและต่อไปจะสามารถขับรถยนต์เองได้,

  อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ, อุตสาหกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะ e-commerce ต่างๆ ที่เกิดขึ้นช่วงโควิดได้ช่วยเปลี่ยนและเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น, อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ซึ่งปัจจุบันมีการใช้ telemedicine มากขึ้นและในอนาคตอาจมีการรักษาด้วยหุ่นยนต์, อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ, อุตสาหกรรมพัฒนาคนและการศึกษา ข

  ขณะเดียวกันแนวทางอุตสาหกรรมก็มีการปรับตัวมุ่งสู่ BCG Model โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมนำอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Security) โดยนำพลังงานทดแทนเข้ามามีบทบาทในภาคอุตสาหกรรม และเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัจจุบันสภาอุตสาหกรรมกำลังดำเนินการเรื่อง Smart Agriculture Industry หรือ เกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ซึ่งเป็นการนำเอาเกษตรสมัยใหม่มาปรับใช้ โดยการผสมผสาน สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง และ สมาร์ท อินดัสทรี เพื่อปลูกสิ่งที่โลกต้องการ สร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างการเติบโตของประเทศไทยบนแพลตฟอร์มใหม่ เพื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้ผลประโยชน์มากขึ้นและเพื่อให้ GDP ประเทศไทยเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นเกษตรอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

อุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยกว่า 40 ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีมูลค่าถึงร้อยละ 5.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และได้รับการกล่าวถึงอย่างมากจากผู้ประกอบการยานยนต์ทั่วโลก นอกจากนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้น เพื่อสนับสนุนการเติบโตในอนาคตควรมีการมุ่งเน้นสาขาต่างๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์ดังนี้

กลุ่มอุตสาหกรรมย่อยเพิ่มเติม

  • พัฒนาเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยเริ่มจากการประกอบร่วมกับผู้ผลิต (OEM) เพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมแบตเตอรี่และระบบขับเคลื่อนรถไฟไฟ้าต่อไป
  • ขยายธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะในด้านการออกแบบและจัดทำต้นแบบ (Surface Integration Design & Prototyping)
  • ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูง(Catalytic Manufacturing)
  • พัฒนาธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนรถยนต์ที่ก้าวทันมาตรฐานโลกเช่น ชิ้นส่วนระบบความปลอดภัย ชิ้นส่วนระบบกำลังส่ง (Transmission System Parts)
  • ผลิตจักรยานยนต์ (ขนาดมากกว่า 248 cc) โดยมีการขึ้นรูปชิ้นส่วนของเครื่องยนต์

 

2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ(SMART ELECTRONICS)

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นเสาหลักสำคัญในภาคการส่งออกของประเทศไทยในปัจจุบัน คิดเป็นมูลค่าถึงร้อยละ 24 ของรายได้การส่งออกของประเทศในปีพ.ศ. 2557 นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นผู้ผลิตสำคัญระดับโลกในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์และวงจรรวม (Integrated Circuits) อีกด้วย ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีเครื่องรับรู้ (Sensors) และวงจรรวม (Integrated Circuits) ที่มีขนาดเล็กลงและมีความซับซ้อนมากขึ้น ประเทศไทยควรส่งเสริมอุตสาหกรรมย่อยที่ผลิตอุปกรณ์ซึ่งใช้เทคโนโลยีระดับสูงมากขึ้น ได้แก่

กลุ่มอุตสาหกรรมย่อยเพิ่มเติม

  • ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตวงจรรวมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
  • ผลิตระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในยานยนต์ และอุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น อุปกรณ์โทรคมนาคม
  • ออกแบบและผลิตระบบที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ (SmartAppliances) ซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things)
  • ออกแบบและผลิตอุปกรณ์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ประเภทสวมใส่ เช่น Fitbits
  • การออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก(Microelectronics) และการออกแบบระบบฝังตัว (Embedded Systems) รวมถึงการผลิตสารหรือแผ่นไมโครอิเล็กทรอนิกส์

 

3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ(AFFLUENT, MEDICAL AND WELLNESS TOURISM)

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวถือเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยประเทศไทยถือได้ว่าเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ จากนโยบายที่เน้นเรื่องการเพิ่มคุณภาพของนักท่องเที่ยวต่างประเทศและไทย-เที่ยว-ไทย อย่างไรก็ดี แนวโน้มของโลกจะมีผลต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงควรมีการเพิ่มเติมทิศทางสำหรับอนาคตดังนี้

กลุ่มอุตสาหกรรมย่อยเพิ่มเติม

  • ยกระดับประสบการณ์และคุณค่าจากการท่องเที่ยว (Value Proposition)เพื่อดึงดูดกล่มุ นักทอ่ งเที่ยวทมีี่รายไดป้ านกลางถงึ สูงจากประเทศแถบเอเชียแปซฟิ ก
  • จัดระเบียบและส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่หลากหลายตามสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มคุณค่าและประสบการณ์ เช่น กีฬาทางน้ำ (Water Sports)
  • สนับสนุนธุรกิจทางการแพทย์ และศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ (Wellness andRehabilitation) โดยต่อยอดจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ(Medicaltourism) ที่เข้มแข็ง
  • ส่งเสริมประเทศไทยในการเป็นศูนย์รวมของการแสดงสินค้าและนิทรรศการระดับนานาชาติ (MICE)

 

4. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ(AGRICULTURE AND BIOTECHNOLOGY)

การเกษตรเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากที่สุดภายในประเทศไทยมีมูลค่าถึงร้อยละ 8.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ นอกจากนี้ สัดส่วนแรงงานไทยที่ทำงานในภาคการเกษตรยังสูงถึงร้อยละ 40 ส่งผลให้การเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชน อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันภาคเกษตรกรรมในไทยยังมีผลิตภาพแรงงานอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำจึงมีศักยภาพที่จะสามารถยกระดับจากการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ๆมาใช้ เกิดเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมย่อยที่เป็นเป้าหมายคือ

กลุ่มอุตสาหกรรมย่อยเพิ่มเติม

  • ธุรกิจเทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูง เช่น การใช้ระบบเครื่องรับรู้ (Sensors) การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูง (Advance Danalytics) และระบบอัตโนมัติ
  • การลงทุนและการวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์
  • อุตสาหกรรมการคัดคุณภาพ บรรจุ เก็บรักษาพืชผัก ผลไม้ หรือดอกไม้ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การใช้ระบบเซ็นเซอร์ตรวจสอบเนื้อในผลไม้
  • กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ

 

5. อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร(FOOD FOR THE FUTURE)

อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญระดับสูงต่อประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้จำนวนแรงงานมากที่สุด มีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุด มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุด และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาสูงที่สุดในบรรดาสาขาต่างๆ ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทย ในปัจจุบันมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในตลาดอาหารทั่วโลกอยู่ 3 แขนง ซึ่งมีโอกาสส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร แนวโน้มดังกล่าว ได้แก่ 1) ความต้องการมาตรฐานความปลอดภัยและความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่สูงขึ้นจากผู้บริโภคอาหาร 2) การเพิ่มขึ้นของความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และ 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแหล่งโปรตีนทางเลือกซึ่งใช้พลังงาน ทรัพยากร และต้นทุนในการผลิตน้อยกว่าแหล่งโปรตีนจากสัตว์ในปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถใช้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นโอกาสในการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยส่งเสริมอุตสาหกรรมย่อยดังนี้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง