งานดูแลผู้สูงอายุ ญี่ปุ่น 2565

ฟูจิเซ็นเซ จะพาไปรู้จัก “คุณแอน - ชลลดา ประทุมเชาว์” คนไทยที่ทำงานไคโงะในญี่ปุ่นมาถึง 16 ปี ซึ่งกว่าจะมาเป็นไคโงะได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย เรียนยาก แถมการทำงานจริงยิ่งยากกว่า แต่ก็เป็นอาชีพที่มั่นคงสำหรับคนไทยที่สนใจมาทำงานดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่น

คุณแอนได้ชี้แนะแนวทางการเตรียมตัว และให้ข้อคิดไว้ว่า ชัยชนะเป็นของคนที่สู้ แล้วรางวัลที่ได้คือความสำเร็จที่จะทำให้คุณได้ภาคภูมิใจในตัวเอง

ติดตามชมได้ในรายการ ดูให้รู้ ตอน ไคโงะ : งานดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่น งานที่เหมาะสำหรับคนไทย วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live และติดตามความเคลื่อนไหวของรายการได้ที่ www.facebook.com/Dohiru

อาชีพบริบาล (NA)Nurse Aide หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า KAIGO(介護)อ่านว่าไคโหงะ ที่แปลตรงๆ ว่า การดูแลผู้สูงอายุ

รายได้ต่อเดือน : ~150,000-200,000 เยน
ระยะเวลาในการทำงาน : 8 ชั่วโมง/วัน มีทั้งหมด 4 กะ

คุณสมบัติของบริบาลไทยที่ต้องการไปเป็นKAIGOหรือบริบาลในประเทศญี่ปุ่นมีอะไรบ้าง
มีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ ม.6 ขึ้นไป
เพศชาย และหญิง อายุ 19~45 ปี
หลักสูตรการเรียนคือการดูแลผู้สูงอายุและเด็กเล็ก (NA) Nurse Aide
ผู้ต้องการเดินทางมาฝึกปฎิบัติงานในประเทศญี่ปุ่น จำเป็นต้องเรียนภาษาญี่ปุ่น(พูด อ่าน เขียนและการสนทนาขั้นพื้นฐาน)ให้ได้ถึงระดับ N4ตามกฎหมายกำหนดไว้

หน้าที่ของKAIGO介護 บริบาลฯในประเทศญี่ปุ่น
 การดูแลช่วยเหลือด้านการรักษาความสะอาด เช่น การเปลี่ยนเสื้อผ้า / การดูแลสุขภาพในช่องปาก / การอาบน้ำ / การแช่น้ำร้อน / การเปลี่ยนผ้าอ้อมและการทำความสะอาดหลังการขับถ่าย เป็นต้นฯ
 การดูแลช่วยเหลือด้านโภชนาการ เช่น การป้อนอาหาร / การจัดอุปกรณ์ก่อนรับประทานให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายของแต่ละคน / การป้องการกันสำลักและการจัดอาหารเครื่องดื่มให้แต่ละคนที่มีสภาวะร่างกายแตกต่างกัน
 การดูแลช่วยเหลือในการเคลื่อนไหว เช่น การพาเดินและเคลื่อนไหวโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆอย่างถูกต้องและเหมาะสม
 การดูแลสภาพจิตใจ เช่น การชวนพูดคุย การรับฟัง และการหากิจกรรมให้ทำเพื่อความเพลิดเพลินและไม่ปล่อยให้เครียด
 การดูแลโดยรับคำสั่งจากพยาบาลฯในด้านต่างๆ เช่น การทำความสะอาดบาดแผล หรือแผลกดทับ เป็นต้นฯ
การเขียนรายงานสภาวะร่างกายของผู้สูงอายุแต่ละท่านในแต่ละวันให้แก่พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้รับทราบ และการอ่านรายงานจากผู้ที่เข้าเวรก่อนหน้านั้น รวมถึงการเขียนรายงานด้านการรับประทาน ปริมาณเครื่องดื่ม การสำลัก และข้อควรระวังในแต่ละคนให้ทราบโดยทั่วถึงกัน

Credit : เพจ บริบาลไทยในญี่ปุ่น

#บริบาลไทยในญี่ปุ่น
#บริบาลผู้สูงอายุ
#KAIGO
#ทำงานที่ญี่ปุ่น ดูน้อยลง

หากผู้ถึงปัญหาของโลกในปัจจุบัน นอกจากปัญหาที่เราควบคุมได้อย่างอย่างวิกฤติโลกร้อนหรือปัญหาภูมิอากาศแล้ว ในสังคมมนุษย์เองก็กำลังประสบปัญหาเช่นเดียวกัน นั่นก็คือ “ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ” อันมีสาเหตุมาจากการที่มีอัตราการเกิดต่ำ ขณะที่ประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มจำนวนสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการสำรวจประชากรโลกในปี 2020 พบว่า ประเทศที่มีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดก็คือ “ประเทศญี่ปุ่น”

ประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาสังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ในปัจจุบัน ปี 2020 ที่ทำการสำรวจนั้น ปรากฏว่าญี่ปุ่นมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึง 36.17 ล้าน คิดเป็น 28.7% ของประชากรทั้งหมด และจะพุ่งสูงไปถึง 35.3% ในปี 2040 (Ref. www.japantimes.co.jp)

สำหรับประเทศไทยเรานั้นเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2005 ปัจจุบันปี 2021 มีประชากรสูงอายุคิดเป็น 12.8% ของประชากรทั้งหมด และจะกลายเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” หรือมีผู้สูงวัยมากถึง 14% ของคนทั้งประเทศในปี 2565 ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ปัญหาสังคมนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และองค์กรต่าง ๆ ควรตั้งรับให้พร้อม โดยเฉพาะการวางระบบการศึกษาให้รองรับปัญหานี้ในอนาคต.

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจได้เลย

อาชีพที่กำลังมาแรงในสังคมผู้สูงอายุของญี่ปุ่น

หากใช้ประเทศญี่ปุ่นเป็น Case Study ในการศึกษาการรับมือสังคมผู้สูงอายุ จะเห็นได้ว่าช่วงหลังมานี้ “ญี่ปุ่นมีนโยบายเปิดรับแรงงานและนักศึกษาจากต่างชาติเพิ่มมากขึ้น” เพื่อแก้ไขปัญหาวัยแรงงานชาวญี่ปุ่นที่มีจำนวนลดลง ในขณะเดียวกันก็มีสาขาอาชีพใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุเกิดขึ้นมากมายในญี่ปุ่น

นักบริบาล

ในภาษาญี่ปุ่น เราจะเรียกอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุว่า “ไคโงะ” หรือนักบริบาล ปัจจุบันญี่ปุ่นมีธุรกิจที่เปิดรับเจ้าหน้าที่ตำแหน่งนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติเพื่อตอบสนองความต้องการใช้สถานบริบาลที่เพิ่มมากขึ้นของผู้สูงวัยชาวญี่ปุ่น สำหรับอาชีพนักบริบาลนี้จะต้องทำหน้าที่คอยช่วยเหลือผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือทำบางอย่างได้เหมือนวัยหนุ่มสาม เรื่องรายได้นั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะไคโงะยังเป็นอาชีพที่หาคนมาทำงานได้ยาก “ในแต่ละเดือนอาจได้ค่าตอบแทนมากถึง 60,000-100,000 บาทเลยทีเดียว”

สำหรับประเทศไทยก็เริ่มมีสถาบันด้านการบริบาลเพื่อส่งนักศึกษาไปเป็นบุคคลากรด้านการบริบาลที่ญี่ปุ่นโดยเฉพาะ เช่น โรงเรียนราชสีมาการบริบาล จังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนรามบริรักษ์เชียงใหม่ ที่เปิดหลักสูตรการบริบาลดูแลผู้สูงอายุ พร้อมเรียนภาษาญี่ปุ่น เพื่อไปฝึกงานและทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น ปกติแล้วหลักสูตรบริบาลจากสถาบันต่าง ๆ จะทำการฝึกเป็นเวลา 8-12 เดือน นอกจากนี้มหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัยอาชีวศึกษาของญี่ปุ่นยังมีทุนการศึกษาสำหรับหลักสูตรบริบาลมอบให้กับนักศึกษาต่างชาติอีกด้วย

แนะนำอ่านต่อ : มาทำความรู้จักกับระบบวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่ญี่ปุ่น

นักโภชนาการผู้สูงอายุ

แน่นอนว่าปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของเราคือ “อาหาร” และเมื่อประชากรในญี่ปุ่นมีจำนวนสูงขึ้น และความต้องการใช้สถานบริบาลก็เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องดูแลเลยคือ โภชนาการของผู้สูงอายุ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในญี่ปุ่นจึงตื่นตัวกันมาก และนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ก็ย่อมต้องเป็นที่ต้องการสูงขึ้นเป็นธรรมดา

ธุรกิจสถานบริบาล

จากการสำรวจของสภาสวัสดิการผู้สูงอายุแห่งชาติของญี่ปุ่นได้ทำการสำรวจบ้านพักคนชรา 951 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นแล้วพบว่า ปี 2019 มีจำนวนผู้สูงอายุเข้ารับบริการมากถึง 89.9% ของจำนวนที่สามารถรองรับได้ และคาดว่าจะมีจำนวนสูงมากยิ่งขึ้นในอนาคต ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจสถานบริบาลนั้นกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก (Ref. prtimes.jp)

หลักสูตรที่มีการเปิดวิชาเฉพาะทางเพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

ด้วยสภาพปัญหาสังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเช่นนี้ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยเฉพาะ “วิทยาลัยอาชีวศึกษา” จึงเริ่มเปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรการพยาบาลเพื่อการบริการและการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ (Nursing (caregiving) and wellness) ในสาขาการศึกษาและสวัสดิการทางสังคม (Education/ Social Welfare) ขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อผลิตบุคคลากรไปทำหน้าที่ช่วยเหลือและดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย สุขภาพ และจิตใจ รวมถึงผู้ที่สามารถให้คำแนะนำการดูแลผู้สูงอายุแก่คนอื่นได้อย่างมืออาชีพ ซึ่งจะครอบคลุมความรู้ด้านการพยาบาล โภชนาการ สุขภาพ และจิตวิทยาของผู้สูงอายุ

สภาพปัญหาสังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจึงเริ่มเปิดหลักสูตรการบริการและการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ

ผู้ที่เรียนจบในสาขานี้ ส่วนมากแล้วจะไปเป็น “นักบริบาล ดูแลผู้สูงอายุตามบ้านพักคนชราต่าง ๆ” ซึ่งในหนึ่งวันจะต้องดูแลทั้งอาหารการกิน ดูแลสถานบริบาลให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ตรวจเช็คสุขภาพของผู้สูงอายุ ในกรณีที่ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ นักบริบาลจะต้องคอยช่วยเหลือด้านการทานอาหาร การอาบน้ำ เป็นต้น นักบริบาลจะมีทั้งผู้ที่ประจำอยู่ในสถานที่นั้น และผู้ที่ต้องไปเยี่ยมผู้สูงอายุตามบ้าน

หากมีประสบการณ์เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังสามารถทำงานสายวิชาการในด้านการดูแลผู้สูงอายุได้อีกด้วย เช่น “ครูในโรงเรียนฝึกอบรมนักสวัสดิการผู้สูงอายุ” ได้อีกด้วย สำหรับอาชีพนี้ จะต้องมีประสบการณ์ในด้านการสวัสดิการสังคม เช่น พยาบาล แพทย์ นักสวัสดิการผู้สูงอายุ มาแล้ว 5 ปีขึ้นไป รวมไปถึง “ผู้บรรยายให้นักฝึกอบรมบุคลากรด้านงานบริบาลขั้นต้น” ซึ่งต้องมีประสบการณ์ทางด้านนี้ 5 ปีขึ้นไปเช่นเดียวกัน (Ref. www.acpa-main.org)

วิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนในด้านการดูแลผู้สูงอายุสำหรับนักศึกษาต่างชาติ

Asahikawa Welfare Professional Training College

วิทยาลัยอาชีวศึกษาของจังหวัดฮอกไกโดแห่งนี้ มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านสวัสดิการทางสังคมอย่างมืออาชีพ มีทั้งหลักสูตรการดูแลเด็ก การดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น

Photo : Asahikawa Welfare Professional Training College All Right Reserved.

สำหรับหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุนั้น มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุที่สามารถให้บริการได้จากใจจริง สามารถเข้าใจผู้สูงอายุได้อย่างลึกซึ้งจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน “การันตีด้วยอัตราการจ้างงาน 100% ของผู้สำเร็จการศึกษา” มีการลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานจริง และที่สำคัญคือ มีนักศึกษาต่างชาติ ทั้งจากไทย เวียดนาม เกาหลี เข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก

เงื่อนไขการรับสมัคร

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย หรือระดับมหาวิทยาลัย
  • ต้องมีการส่งเรียงความแสดงสาเหตุที่อยากเข้าเรียน และเข้ารับการสัมภาษณ์จากสถาบัน
  • มีผลการสอบวัดระดับ N2 ขึ้นไป
  • ระยะเวลาหลักสูตร 2 ปี
  • มีทุนสำหรับนักศึกษาต่างชาติ และเมื่อจบแล้วจะต้องเข้าทำงานในสถานบริบาลที่จังหวัดฮอกไกโด เป็นเวลา 5 ปี

เว็บไซต์หลักสูตร : www.hokko.ac.jp/kyokufuku/course_kaigo

O-hara College of Business

วิทยาลัยอาชีวศึกษาแห่งนี้ตั้งอยู่ที่โตเกียว เปิดทำการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 จนปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 60 แล้ว จุดเด่นของที่นี่ก็คือมีหลักสูตรที่ครอบคลุมในหลากหลายอาชีพ ทั้งด้านการแพทย์ การสวัสดิการสังคม เกม เป็นต้น ซึ่งจะทำการเรียนการสอนอย่างเข้มข้น ทั้งวิชาการและการปฏิบัติจริง สำหรับหลักสูตรนักบริบาลผู้สูงอายุนั้นจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ “หลักสูตรสำหรับปฏิบัติงานจริง” และ “หลักสูตรสำหรับการต่อยอดอาชีพ” เปิดรับสมัครช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี

  • หลักสูตรสำหรับปฏิบัติงานจริงนั้น จะเน้นการเรียนการสอนให้สามารถสอบใบวิชาชีพนักบริบาลได้ภายใน 2 ปี และจะมีการฝึกงานเพื่อให้ได้สัมผัสกับผู้สูงอายุในสถานการณ์จริง
  • หลักสูตรสำหรับการต่อยอดอาชีพ นอกจากจะเรียนวิชาด้านการบริบาลแล้ว นักศึกษายังสามารถเลือกเรียนวิชาเสริมได้ตามอิสระ เหมาะสำหรับผู้ที่มีงานประจำ 

แต่สำหรับวิชาเรียนทั่วไปของทั้งสองแบบจะไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น วิชาการเข้าใจมนุษย์ เทคนิคการสื่อสาร การบริบาลในชีวิตประจำวัน องค์ประกอบของจิตใจและร่างกาย การบริบาลในทางปฏิบัติ เป็นต้น

เงื่อนไขสำหรับผู้สมัคร

  • ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย
  • มีการเขียนเรียงความแสดงความต้องการเข้าศึกษากับทางสถาบัน และมีการสัมภาษณ์
  • มีผลการสอบวัดระดับ N2 ขึ้นไป
  • ระยะเวลาหลักสูตร 2 ปี
เว็บไซต์หลักสูตร : www.o-hara.ac.jp/senmon/hukushi

Kitakami Professional Preschool Education and Welfare Training College, Senshu University

วิทยาลัยอาชีวศึกษาแห่งนี้เป็นวิทยาลัยในเครือของมหาวิทยาลัยเซนชูซึ่งมุ่งหวังผลิตนักศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลสวัสดิการต่าง ๆ และสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้แบบมืออาชีพ

Photo : Senshu University All Right Reserved.

สำหรับภาควิชาสวัสดิการและการบริบาลของวิทยาลัยแห่งนี้จะเน้นการเรียนการสอนใน 4 องค์ความรู้หลัก ๆ คือ มนุษย์และสังคม การบริบาล การทำงานของจิตใจและร่างกาย และการดูแลเชิงการแพทย์ นอกจากนี้ที่นี่ยังมีจุดเด่นคือ “เน้นสอนให้นักศึกษาสามารถสอบใบวิชาชีพนักบริบาลได้แบบรวดเร็วมากที่สุด” หลักสูตรมีความเข้มข้น ให้ความสำคัญทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติงานจริงในสถานบริบาลกว่า 117 แห่ง

ตัวอย่างวิชาในวิทยาลัยแห่งนี้ เช่น ภาษามือ หลักการบริบาล เทคนิคการช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน เทคนิคการสื่อสาร เป็นต้น

เงื่อนไขการรับสมัคร

  • ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย
  • มีการเขียนเรียงความประกอบการสมัคร
  • ต้องเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนและชีวิตของมนุษย์ และพร้อมพัฒนาความรู้ด้านการบริบาล
  • มีผลการสอบวัดระดับ N2 ขึ้นไป
  • ระยะเวลาหลักสูตร 2 ปี
เว็บไซต์หลักสูตร : kitakami-fukushi.ac.jp/fukushikaigoka

เป็นอย่างไรกันบ้างกับหลักสูตรน่าสนใจเหล่านี้ ถ้าน้อง ๆ สนใจอยากเรียนและสอบใบวิชาชีพนักบริบาลในประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะต้องมีความชอบในด้านนี้แล้ว ภาษาญี่ปุ่นก็ยังคงจำเป็นจะต้องใช้งานอีกด้วย ขอให้กำลังใจน้อง ๆ ทุกคนได้ทำตามความฝันนะคะ.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง