ค่าติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า 2564

ค่าบริการขอใช้ไฟฟ้าแรงต่ำในพี้นที่การจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงระบบสายใต้ดิน

การขอใช้ไฟฟ้า ในช่วง (แอมแปร์)เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (แอมแปร์)เฟสค่าติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (บาท)ค่าเช่าอุปกรณ์/1 เดือน (บาท)เงินประกันการใช้ไฟฟ้า (บาท)ประเภท 1ประเภท 2
ไม่เกิน 30 15 (45) 1 400 0 2,000 10,000
31-75 30 (100) 1 500 930 4,000 20,000
76-100 50 (150) 1 600 1,320 8,000 30,000
ไม่เกิน 30 15 (45) 3 1,000 2,250 6,000 30,000
31-75 30 (100) 3 1,200 2,550 12,000 60,000
76-100 50 (150) 3 1,500 3,090 24,000 90,000
101-200 200 3 2,500 4,440 48,000 150,000
201-400 400 3 4,000 22,800 96,000 300,000

*** หมายเหตุ ***

    • 1

      อัตราค่าบริการตารางนี้ ใช้คิดค่าใช้จ่ายในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราวแรงต่ำไม่ต้องติดตั้ง หรือเปลี่ยนสายนอกหรือหม้อแปลงไฟฟ้า

    • 2

      ประเภท 1 หมายถึง ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราวสำหรับการปลูกสร้างอาคารเกินกว่า 1 หลังขึ้นไป หรือห้องแถวหรืออาคารพาณิชย์ หรือขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราวภายในบ้านของตนเอง

    • 3

      อาคารพาณิชย์ หรือขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราวสำหรับอาคาร เกินกว่า 1 ห้องขึ้นไป หรือโรงงาน/อาคารพาณิชย์ และผู้ขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราวอื่นๆ ที่มิได้อยู่ในข่ายประเภท 1

เมื่อต้องขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าบ้านของตัวเอง มีค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง ขณะที่ หากได้สิทธิรับค่าประกันมิเตอร์คืน จะได้คืนเท่าไหร่

จะมีบ้านใหม่หลังหนึ่ง นอกจากเราจะต้องเสียเงินซื้อบ้าน สร้างบ้าน เสียค่าใช้จ่ายวันโอนกรรมสิทธิ์ ค่าตกแต่ง ค่าช่าง ต่างๆมากมาย จิปาถะแล้ว สิ่งสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การแจ้งติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องไปแจ้งที่การไฟฟ้าฯในพื้นที่อยู่อาศัยของเรา และทุกบ้าน จำเป็นจะต้อง "จ่ายค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า" ให้กับการไฟฟ้าฯ อ้าว! มิเตอร์ไฟบ้านของตัวเองแท้ๆ ค่าไฟก็ต้องจ่ายเอง ยังต้องจ่ายค่าประกันมิเตอร์ไฟด้วยเหรอ? พักก่อน!! แม่บอกให้อ่านก่อน คอนเทนท์นี้ มีคำตอบ


จะขอมิเตอร์ไฟใหม่ได้ ต้องมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง

สำหรับ ใครที่มีบ้านของตัวเองหรือมีบ้านใหม่ ตามกฎหมายแล้ว เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน จะต้องไปแจ้งกับการไฟฟ้าพื้นที่ของตนเอง เพื่อขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า และจะต้องมีการจ่ายค่าประกันมิเตอร์ไฟล่วงหน้า โดยผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้าได้ จะต้องมีคุณสมบัติที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ จะต้องเป็นเจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า , ผู้ขอใช้ไฟฟ้ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟฟ้า หรือ ผู้เช่า-เช่าซื้อสถานที่ใช้ไฟฟ้า หรือ เป็นผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้านั้นๆ

ใช้หลักฐานอะไรบ้าง หากต้องการเปิดมิเตอร์ไฟฟ้า

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเอง จะต้องมีเอกสาร เพื่อใช้ยื่นประกอบคำร้องขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้าให้ครบถ้วน ได้แก่

1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า และสำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

3. สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน), สัญญาเช่า (กรณีเช่าบ้าน)

4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)

5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

6. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า

7. ใบยินยอมผ่านที่หรือใบยินยอมในกรณีต่างๆ (กรณีผ่านที่ดินผู้อื่น), สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านขอผู้ยินยอม

8. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าข้างเคียงของเสาที่จะติดตั้งมิเตอร์ (ถ้ามี)


cr:facebook การไฟฟ้านครหลวง

ติดตั้งมิเตอร์ไฟใหม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

เมื่อเรามีเอกสารหลักฐานพร้อมในการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟแล้ว ก่อนที่จะยื่นหลักฐานต่างๆ สิ่งที่จำเป็นต้องรู้สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าก็คือ อัตราค่าติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งจะแตกต่างไปตามแต่ขนาดของมิเตอร์ไฟของแต่ละบ้าน

ตารางราคาติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า


cr:การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

เมื่อเรายื่นหลักฐานการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบการเดินสายไฟในอาคาร หากยังไม่เดินสายไฟฟ้าให้เดินสายให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ จากนั้น เมื่อตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแล้วพบว่ามีการเดินสายไฟที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แต่ถ้าการเดินสายไฟไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัยก็จะแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง โดยค่าธรรมเนียมนั้นการไฟฟ้าจะกำหนดไว้ตามประเภทและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าก็จะต้องชำระค่าธรรมเนียมและรับใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน เพื่อทำเรื่องโอนมิเตอร์ไฟฟ้าได้ที่การไฟฟ้านครหลวง

บ้านมีไฟฟ้าใช้ ต้องจ่ายค่าประกันมิเตอร์ไฟด้วย

และนอกจากค่าติดตั้งมิเตอร์ไฟแล้ว ผู้ใช้ไฟยังต้องเสียค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าล่วงหน้า ซึ่งจำเป็นต้องจ่ายทุกบ้าน เพื่อเป็นเงินประกันการใช้ไฟฟ้า หรือค่าธรรมเนียมในการขอใช้ไฟฟ้า โดยเงินก้อนนี้จะเสียครั้งแรกเมื่อยื่นขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งการไฟฟ้าจะเรียกเก็บเงินประกันการใช้ไฟฟ้า และจะคืนให้เมื่อมีการยกเลิกการใช้ไฟฟ้า

ทำไมต้องเก็บเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า

เหตุผลที่ต้องมีการเก็บเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ก็เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินล่วงหน้า เพื่อเป็นเงินประกันการใช้ไฟฟ้า เช่น หากเกิดกรณีผู้ใช้ไฟไม่ยอมจ่ายค่าไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าจะยึดเงินประกันการใช้ไฟฟ้านั้นแทน แต่!! ใช่ว่าผู้ใช้ไฟฟ้าจะมีแต่เสียกับเสีย หากเป็นกรณีผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย จะได้รับดอกเบี้ยออมทรัพย์ทุก 5 ปี โดยคิดในอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธนาคารกรุงไทยด้วย


เงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าต้องเสียเท่าไหร่

อัตราค่าธรรมเนียมเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าจะเสียตามขนาดมิเตอร์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. มิเตอร์ขนาด 5(15) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 300 บาท (บ้านพักขนาดเล็ก ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มาก)

2. มิเตอร์ขนาด 15(45) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 2,000 บาท (เป็นขนาดมิเตอร์ที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้กัน)

3. มิเตอร์ขนาด 30(100) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 5,000 บาท (บ้านพักขนาดใหญ่ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด)

4. มิเตอร์ขนาด 15(45) เฟส 3 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 6,000 บาท (บ้านพักส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้)

การขอคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าเบื้องต้น

การขอคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งมาจากมาตรการพิเศษของรัฐที่ต้องการช่วยเหลือประชาชน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นบ้านพักอาศัย และกิจการขนาดเล็กนั้น ผู้ที่จะได้รับเงินคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า มีจำนวนประมาณ 21.5 ล้านราย คิดเป็นวงเงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาท เพื่อลดผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 โดยมีรายละเอียด "เบื้องต้น" ดังนี้

1. การจ่ายคืนเป็น "เงินสด" ให้ทุกหลังคาเรือนตามขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า ตั้งแต่ 300-6,000 บาท ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่เฉลี่ย 2,000-3,000 บาท

2. เริ่มทยอยคืนได้ในรอบบิล "สิ้นเดือนมีนาคม 2563"

3. สามารถดำเนินการขอคืนเงินกับหน่วยงานที่ยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า แบ่งเป็น

- กฟน. ให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ

- กฟภ. ให้บริการในทุกจังหวัดของประเทศไทย ยกเว้น 3 จังหวัดในข้อ 1

4. ผู้ที่ได้รับเงินคืนจะต้องเป็นผู้วางเงินประกัน ณ เวลาที่มาแจ้งขอมิเตอร์เท่านั้น แต่หากผู้วางเงินประกันเสียชีวิตแล้ว ผู้ที่รับเงินคืนแทนจะต้องมีหลักฐานแสดงความเป็นผู้เกี่ยวข้อง หรือหากผู้วางเงินประกันยังไม่เสียชีวิตจะต้องมีการมอบฉันทะ เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์

อย่างไรก็ดี มาตรการที่จะคืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟนี้ ยังคงอยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียด ซึ่งเมื่อมีความชัดเจน เชื่อว่ารัฐบาลจะมีการประกาศเงื่อนไขให้ประชาชนทราบอีกครั้งแน่นอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- Exclusive Content :อัพเดต!อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน แบงก์ไหนให้ต่ำสุด

- Exclusive Content : ทำอย่างไร?เมื่อได้รับจดหมายแจ้งภาษีที่ดินฯ

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : www.tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง