ใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง

เมื่อก่อนเราซื้อของ ซื้อสินค้า ซื้อบริการ จะได้รับใบกำกับภาษีอย่างย่อ แต่สำหรับบางหน่วยงานที่ต้องเอาใบเสร็จไปเบิกกับต้นสังกัด จะต้องใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นรูปแบบกระดาษ ประกอบด้วย เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ที่อยู่ ลายเซ็นของผู้ออกใบกำกับภาษี ซึ่งหากซื้อของหลายชิ้น ก็จะพบว่าใช้กระดาษหลายใบ เมื่อมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย การเก็บข้อมูลใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จึงช่วยลดการทำงานและพื้นที่การจัดเก็บของผู้ประกอบการและสรรพากร

บริษัทที่จะออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบได้ จะต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียน VAT เช่นเดียวกัน บริษัท ห้าง ร้าน ที่ที่จะออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ ก็ต้องจดทะเบียนทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน ในปี พ.ศ.2566 มีผู้ประกอบการจำนวน 2,798 ราย ที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ทันโครงการช้อปดีมีคืน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566

ผู้ประกอบการส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทางอีเมล ในรูปแบบ PDF ดังนั้นกรมสรรพากรจึงต้องออกระบบที่ตรวจสอบได้ทั้งผู้ประกอบการ และผู้ซื้อสินค้า ว่ามีตัวตนจริงหรือไม่ ระบบนี้จะช่วยให้ติดตาม คำนวณภาษี และตรวจสอบได้ง่าย โดยไม่ต้องจัดเก็บกระดาษจำนวนมากๆ ในคลัง

e-Tax Invoice คือ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) เป็นใบเสร็จที่ส่งเข้ามาทางอีเมล ได้รับการรับรองทางกฎหมายว่าใช้อ้างอิงกับสรรพากรในการยื่นภาษีได้ ลดความยุ่งยากในการกรอกใบกำกับภาษี ลดการจัดเก็บในรูปแบบกระดาษ โดยมีขั้นตอนการออก e-Tax Invoice ดังนี้

1. ทำฟอร์มการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2. การลงลายมือชื่อดิจิตัล (Digital Signature)
3. ประทับเวลา (Time Stamp)

ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนออกใบกำกับภาษีเมื่อต้องการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ก็จดทะเบียนกับสรรพากร หลังจากนั้นก็รับแบบฟอร์มในรูป Excel, PDF, Microsoft Word ให้อยู่ในรูปแบบ XML file เมื่อมีการซื้อขายแล้วทั้งสองฝ่ายก็ลงนาม เอกสารใบกำกับภาษีก็ถูกส่งไปยังสรรพากรให้จัดเก็บเช็คใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ และของผู้ซื้อก็เก็บทางอีเมล

ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)

ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานรับเงิน หรือรับชำระราคาจากผู้ขาย ผู้ให้เช่า ผู้รับเงิน หรือผู้รับชำระราคา เกิดขากการขายสินค้า หรือให้บริการของผู้ประกอบการที่จด VAT และผู้ประกอบการที่รับเงิน รับชำระเงิน ในรูปแบบ SBT

1. ใบรับเกิดจากการซื้อขาย ให้บริการรายย่อยครั้งละเกิน 1,000 บาท
2. ใบรับเกิดจากการซื้อขาย ให้บริการกิจการขนาดย่อม แต่ครั้งละเกิน 500 บาท
3. ขายสินค้า หรือให้บริการที่ไม่เข้าข่ายข้อ 1 และ 2 หรือกิจการแต่ละครั้งเกิน 100 บาท
4. ขายสินค้า หรือให้บริการหรือกิจการยกเว้น VAT, SBT แต่ละครั้งเกิน 100 บาท

ตัวอย่าง e-Tax Invoice by Email

ตัวอย่างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ทางอีเมล หรือ e-Tax Invoice by email ประกอบด้วย

1. ต้องเป็นไฟล์ PDF/A-3
2. ต้องแนบข้อมูลเป็นไฟล์ XML
3. ต้องประทับรับรองเวลา (Time Stamp) กับระบบ e-Tax Invoice by email

ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบประกอบด้วย

ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบด้วย 6 ส่วน คือ

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นเด่นชัด
2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 หรือผู้ทอดตลาดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนมาตรา 86/3 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม (ถ้ามี)
5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้า และหรือของบริการให้ชัดเจน
7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

ตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการ e-tax invoice ร่วมโครงการช้อปดีมีคืน 2566 ได้ที่นี่

โครงการ e-Tax Invoice by Email เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำขึ้นเพื่อรองรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

“e-Tax Invoice หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล

ข้อดีของ e-Tax Invoice

  • เจ้าของธุรกิจจะลดภาระในการจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะเมื่อกรมสรรพากรได้รับข้อมูลภาษีซื้อ-ภาษีขายทางอิเล็กทรอนิกส์ครบถ้วนแล้ว ระบบจะจัดทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขายได้โดยอัตโนมัติ (Electronic VAT Report)
  • ลดต้นทุนในการจัดทำเอกสารใบกำกับภาษีและใบรับจากกระดาษเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
  • สะดวก ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร

ขั้นตอนการใช้ e-Tax Invoice

1. เช็กคุณสมบัติว่ามีสิทธิ์ใช้ “e-Tax Invoice”

  • บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ….. ล่าสุด ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2560 ได้ยกเลิกระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการจัดทำดังกล่าว ฯ พ.ศ.2555 ฉบับเดิม โดยมีการปรับปรุงเงื่อนการจัดทำฯ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ คือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลสามารถยื่นคำขอจัดทำฯ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้ จากเดิมต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 10 ล้านบาท เป็น ผู้ยื่นคำขอดังกล่าวมีทุนจดทะเบียนเท่าใดก็ได้
  • มีความมั่นคงและความน่าเชื่อถือในการประกอบการ เช่น มีประวัติการเสียภาษีที่ดี ไม่มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษี ไม่มีประวัติการใช้ใบกำกับภาษีปลอม หรือมีทรัพย์สินสุทธิมากกว่าหนี้สินสุทธิ
  • มีการจัดทำบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด
  • มีระบบการควบคุมภายในที่ดี และสามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำและส่งให้แก่ผู้รับมีข้อความถูกต้องครบถ้วนเช่นเดียวกับขณะที่สร้าง ส่งและรับโดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ และสามารถแสดงข้อความได้ในภายหลังโดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องมีระบบงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยไร้ร่องรอยหรือมีการเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารที่ออกระหว่างทาง

2. ยื่นคำขอ

เมื่อเช็กคุณสมบัติแล้วว่าครบถ้วนก็สามารถยื่นคำขอและเอกสารดังต่อไปนี้

  1. ยื่นคำขอทางอินเทอร์เน็ต : ยื่นคำขอ แบบ บอ.01 ผ่านทางเว็ปไซต์กรมสรรพากร
  2. ส่งเอกสาร : ดังต่อไปนี้ไปที่สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ยื่นคำขอ
    • แบบคำขอจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (บ.อ.01)
    • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือนนับถึงวันส่งเอกสาร
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทหรือหน่วยงานของรัฐ
    • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นจัดส่งเอกสาร)
    • แผนผังการทำงานรวมของระบบงานทั้งหมด (System Flowchart) และคำอธิบายระบบงาน ระบบรักษาความปลอดภัย และวิธีการเรียกพิมพ์
    • กรณียื่นคำขอเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วน ให้ส่งแผนผังกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ของการขายสินค้าหรือให้บริการนั้น

การออก “e-Tax Invoice”

เมื่อได้รับสิทธิ์ใช้ e-Tax Invoice เรียบร้อยแล้วให้ดำเนินการดังนี้

  1. จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการลงลายมือชื่อดิจิทัลทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าและผู้รับบริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และจัดเตรียมข้อมูลใบกำกับภาษีหรือใบรับในรูปแบบโครงสร้าง XML File ตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) สำหรับนำส่งกรมสรรพากร
  2. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรด้วยช่องทางการนำส่ง ได้แก่ Host to Host หรือ Service Provider หรือ Upload XML ทั้งนี้วิธีการเลือกช่องทางนำส่งขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการและความพร้อมทางเทคโนโลยีของผู้ประกอบการแต่ละราย
  3. ติดตามและตรวจสอบผลการนำส่งข้อมูล ที่ระบบ Tracking
  4. เก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องปลอดภัยตาม พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ขนาดผู้ประกอบการรายได้เริ่มเข้าระบบ e-Tax invoiceขนาดใหญ่มากกว่า 500 ล้านบาทภายใน 31 ธันวาคม 2560กลางมากกว่า 30 ล้านแต่ไม่เกิน 500 ล้านบาทภายใน 31 ธันวาคม 2560เล็กมากกว่า 1.8 ล้านแต่ไม่เกิน 30 ล้านบาทภายใน 31 ธันวาคม 2562ไมโครน้อยกว่า 1.8 ล้านบาทภายใน 31 ธันวาคม 2564

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) หน้าตาเป็นอย่างไร?

รายละเอียดเนื้อหาข้อมูลบนใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax invoice

  1. ส่งเอกสาร : ดังต่อไปนี้ไปที่สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ยื่นคำขอ
    • .pdf (Portable Document Format)
    • .doc, .docx (Microsoft Word Document)
    • .xls, .xlsx (Microsoft Excel)
  2. 1 ไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 3 MB
  3. ข้อมูลรายละเอียดที่อยู่ในไฟล์เอกสารจะต้องไม่ใช่รูปภาพ ห้ามใช้การถ่ายภาพหรือการแปลงไฟล์จากเอกสารกระดาษให้เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
  4. ต้องมีการลงลายเซ็นดิจิตอล (Digital Signature)หรือประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ผ่านระบบ e-tax invoice by email เพื่อให้เอกสารนี้ถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถใช้ต่อสู้ในชั้นศาลในกรณีที่เกิดข้อพิพาท ทั้งนี้วิธีการประทับรับรองนี้จะทำด้วยวิธีไหนขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจที่จะกล่าวต่อไป

เอกสารที่ทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์และต้องส่งสรรพากร

ทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-tax invoice) ขึ้นมาได้แล้ว จะส่งให้กรมสรรพากรได้อย่างไร?

ผู้ประกอบการสามารถจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-tax invoice)และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-receipt) ด้วยการลงลายเซ็นดิจิตอล (Digital Signature) ได้ 2 วิธี

  1. สำหรับผู้ประกอบการที่มีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ของตนเอง หรือมีโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป หรือโปรแกรม ERP สามารถจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัลตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กำหนด และนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรตามช่องทางการนำส่งข้อมูลที่เหมาะสมกับลักษณะของกิจการ โดยมีทางเลือกในการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ได้ 3 ทางเลือกดังนี้

    ทางเลือกที่ 1 จัดทำข้อมูลรูปแบบ XML File ตามข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ

    (ขมธอ.3-2560)  เท่านั้น ซึ่งต้องลงลายเซ็นดิจิตอล (Digital Signature)

    ทางเลือกที่ 2 จัดทำข้อมูลรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น PDF, Word ,Excel ซึ่งต้องลงลายเซ็นดิจิตอล (Digital Signature)

    ทางเลือกที่ 3 จัดทำข้อมูลผ่านระบบบริการ RD Portal ของกรมสรรพากร ซึ่งต้องลงลายเซ็นดิจิตอล (Digital Signature) ที่โปรแกรมสร้างและตรวจสอบลายเซ็นดิจิตอล (Ultimate Sign & Viewer) สำหรับการส่งมอบข้อมูลให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการสามารถทำได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล หรือวิธีการอื่นใด ตาม พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

  2. สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป หรือ โปรแกรม ERP

    - จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ลงลายมือชื่อดิจิทัลด้วยระบบ RD Portal ของกรมสรรพากร

    - จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น Microsoft Word (.doc, .docx) หรือ Microsoft Excel (.xls, .xlsx) หรือ PDF/A-3 และส่งให้ระบบ e-Tax Invoice by Email เพื่อประทับรับรองเวลา (Time Stamp)

สำหรับกิจการที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี และยังไม่พร้อมที่จะเข้าสู่ระบบการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการลงลายเซ็นดิจิตอล (Digital Signature) สามารถจัดทำได้ด้วยระบบ e-Tax invoice by Email แทน แต่ในกรณีนี้กรมสรรพากรบังคับว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นี้จะต้องเป็นไฟล์ PDF/A-3 เท่านั้น (บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป)

จะเห็นได้ว่า การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ยังคงใช้รูปแบบเดิมเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบจากส่งมอบ “กระดาษ“ เป็น “ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์” แม้ช่วงแรกจะต้องเรียนรู้และปรับตัวบ้าง แต่ในอนาคตวิธีนี้จะเพิ่มความสะดวกสบาย ประหยัดเวลาและทรัพยากร สอดคล้องกับนโยบาย National e-Paymen ในยุค Thailand 4.0 อย่างแน่นอน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง