การตรวจ สอบ ประวัติพนักงาน ออนไลน์

HIGHLIGHTS

  • Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
  • แต่ไม่ว่า Background Checks จะสำคัญแค่ไหน องค์กรต้องทำให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายเท่านั้น ไม่สามารถตรวจสอบจนละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้สมัครเด็ดขาด 
  • Background Checks เป็นเรื่องละเอียดอ่อน องค์กรต้องปฏิบัติกับผู้สมัครทุกรายอย่างเท่าเทียม ไม่ตรวจสอบแบบเลือกเป็นบางคนอย่างไร้ระบบ เพราะจะทำให้องค์กรไม่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้หากได้ผลลัพธ์ในแง่ลบ HR ควรเปิดโอกาสให้พนักงานชี้แจงก่อนตัดสินใจปฏิเสธ
  • Background Checks ช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กได้มาก เพราะจะลดโอกาสการเซ็นสัญญาที่ผิดพลาด (Bad Hiring) ซึ่งจะทำให้งบประมาณที่เดิมก็มีจำกัดอยู่แล้วสูญเปล่า
  • Background Checks มีวิธีและเคล็ดลับใหม่ ๆ เกิดขึ้นเสมอ สอดคล้องไปกับความต้องการของตลาดแรงงาน HR จึงต้องหมั่นหาความรู้ ไม่ให้ถูกบริษัทคู่แข่งแซงหน้าจนไม่สามารถคว้าผู้สมัครที่ต้องการได้

การรับสมัครพนักงานแต่ละครั้ง นอกเหนือจากการตรวจเช็คว่าข้อมูลที่ปรากฏในตอนสัมภาษณ์เป็นเรื่องจริงไหมตามกระบวนการ Reference Checks แล้ว สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปก็คือ Background Checks เพื่อดูว่าผู้สมัครดังกล่าวมีประวัติอาชญากรรม หรือปัญหาใด ๆ ติดตัวมาหรือไม่ เพราะแม้พนักงานจะมีฝีมือดีแค่ไหน แต่หากมีแง่มุมที่อาจทำให้องค์กรเสื่อมเสียชื่อเสียง ก็คงดีกว่าหากองค์กรจะหันไปเลือกคนที่มีประวัติขาวสะอาด ไม่ต้องมานั่งกังวลในประเด็นที่อยู่นอกเหนือจากเรื่องงาน 

การเช็คประวัติ Background Checks ที่ดีมีขั้นตอนอย่างไร และสามารถช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้มากแค่ไหน หาคำตอบได้ที่นี่

Contents

  • Background Check การเช็คประวัติสำคัญอย่างไร 
  • Background Check การเช็คประวัติมีวิธีการอย่างไร 
    • ข้อผิดพลาดที่ควรระวังในการเช็คประวัติ Background Checks
      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้
  • Background Checks การเช็คประวัติช่วยธุรกิจเล็ก ๆ หรือ SMEs ได้อย่างไร 
  • Background Checks การเช็คประวัติช่วงหลังเกิดโควิด-19 เป็นอย่างไร 
  • บทสรุป

Background Check การเช็คประวัติสำคัญอย่างไร 

เราขออธิบายให้เห็นภาพจากกรณีที่เกิดขึ้นกับ Disneyland สวนสนุกชื่อดังระดับโลกซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความเข้มข้นในการรับพนักงาน แต่ก็ยังมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น โดยเหตุการณ์เกิดในเดือนมิถุนายน ค.ศ.2022 เมื่อดิสนีย์รับอดีตนักมวยปล้ำท่านหนึ่งที่มีคดีล่วงละเมิดทางเพศเข้ามาทำงาน ซึ่งเมื่อข่าวหลุดออกไป ทางดิสนีย์ก็ไล่พนักงานคนดังกล่าวออกทันทีและให้เหตุผลว่าดิสนีย์แลนด์ทำ Background Checks แล้วจริง ๆ แต่เป็นการทำโดยตรวจสอบจากชื่อจริงเท่านั้น ไม่ใช้ชื่อในวงการ (Ring Name) ทำให้หลุดรอดจากสายตาของ HR Recruiter ไปได้ ดังนั้นเราจะเห็นว่า Background Checks มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้ เพราะการเปลี่ยนพนักงานแต่ละครั้งมีต้นทุนสูงถึงกว่า 200% การให้ความรู้ในเรื่องนี้กับ HR จึงเป็นอีกหนึ่งรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้การสรรหาบุคลากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กล่าวได้ว่าการเช็คประวัติ Background Checks คือเทรนด์เก่าที่ถูกนำมาเล่าใหม่ให้เข้มข้นมากขึ้นโดยเฉพาะในโลกหลังโควิด-19 ที่การเปลี่ยนงานเกิดขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ รวมถึงมนุษย์เองก็มีความเป็นปัจจักบุคคล (Individualism) มากกว่าที่เคย การรู้ว่าเบื้องหลังของผู้สมัครมีประเด็นอะไรที่ควรเฝ้าระวัง โดยไม่ก้าวล่วงความเป็นส่วนตัวจึงเป็นดั่งการเตรียมตัวรับมือเบื้องต้น เพื่อให้องค์กรสามารถก้าวเดินต่อไปหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น โดยเราสามารถอธิบายความสำคัญของการเช็คประวัติได้ดังนี้

1. เหตุผลด้านความปลอดภัย : ในอดีตคุณอาจคิดว่าการทำ Background Checks มีไว้สำหรับบางตำแหน่งเท่านั้น เช่นตำแหน่งที่ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินอย่างพนักงานบัญชี หรือตำแหน่งสูง ๆ อย่างผู้บริหารที่มีผลกับส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรโดยตรง แต่จริง ๆ เราสามารถทำการเช็คประวัติพนักงานได้ทุกตำแหน่ง เพราะเป้าหมายสูงสุดของการสรรหาบุคลากรคือการแน่ใจว่าพนักงานดังกล่าวไม่ใช่พนักงานที่ไร้ประสิทธิภาพ (Bad Hires) และการรู้ข้อมูลเบื้องต้นของพนักงาน นอกจากจะช่วยเรื่องความปลอดภัยแล้ว ยังทำให้เราเข้าใจว่าพนักงานเติบโตมาจากบริบททางสังคมแบบใดซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ HR วางแผนการจัดอบรมและตั้งความหวังตามความเป็นจริงมากขึ้น ทั้งนี้องค์กรก็ต้องรู้จักวางแผนและตรวจสอบตามความเหมาะสม ไม่ทำให้พนักงานรู้สึกถูกคุมคามหรือละเมิดเรื่อง PDPA จนก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา

2. เหตุผลด้านการรักษาชื่อเสียงขององค์กร : เป็นเรื่องธรรมดาที่พอพนักงานคนใดทำผิดร้ายแรงและสังคมจะต่อว่าย้อนกลับมาถึงองค์กรที่สังกัด ซึ่งหากเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นบริษัทก็จะเสียชื่อเสียงโดยแทบไม่มีโอกาสได้แก้ตัว การทำ Background Checks จะทำให้ HR เห็นว่าพนักงานดังกล่าวมีพฤติกรรมอย่างไรและอยู่ในรูปรอยที่องค์กรสามารถรับได้หรือไม่ รวมถึงมีข้อมูลส่วนใดที่ขัดแย้งกับตอนสัมภาษณ์งานหรือไม่ ทั้งนี้เราต้องพิจารณาจากความเป็นจริงว่าแม้มนุษย์ทุกคนจะปรับตัวได้ แต่สุดท้ายความผิดพลาดก็สามารถเกิดขึ้นได้อยู่ดี ซึ่งพอถึงจุดนั้นสิ่งที่สำคัญกว่าก็คือทัศนคติว่าแต่ละคนมองปัญหาแบบเดียวกันในแง่มุมใด หากมององค์กรเป็นที่ตั้ง การรับมือก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากพนักงานทำทุกอย่างโดยเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง สุดท้ายผู้ที่เสียประโยชน์ก็อาจเป็นองค์กรเพียงอย่างเดียว ความเสียหายตรงนี้จะทำให้ผลประกอบการแย่ลงและต้องใช้เวลาพักใหญ่ ๆ กว่าจะกลับมาสู่สภาวะปกติอีกครั้ง

3. เหตุผลด้านการเก็บข้อมูล (Big Data) : ปัจจุบันหลาย ๆ องค์กรมีแนวคิดว่าพนักงานในแบบเดียวกัน จะมีข้อมูลบางส่วนที่ตรงกัน ดังนั้นการทำ Background Checks จะช่วยให้เรามีข้อมูลมากพอมาเปรียบเทียบกับพนักงานในอดีตที่เคยลาออกหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันก็ได้ข้อมูลในแง่บวกว่าผู้สมัครคนไหนบ้างที่มาจากบริบทใกล้เคียงกับพนักงานที่ประสบความสำเร็จในองค์กร ข้อมูลเหล่านี้จะใช้ประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อองค์กรให้เวลากับมันอย่างจริงจัง ดังนั้นหากองค์กรใดยังไม่เคยทำ Background Checks คุณสามารถเริ่มได้เลยหลังอ่านบทความนี้จบ !

Background Check การเช็คประวัติมีวิธีการอย่างไร 

Background Checks มีรูปแบบที่หลากหลายขึ้นอยู่กับว่าเราจะเน้นเก็บข้อมูลในเรื่องใด ทั้งนี้หากคุณเป็นมือใหม่ ทาง Business News Daily ได้แนะนำให้เริ่มต้นจาก 5 หัวข้อหลัก ดังนี้

1. การยืนยันตัวตน (Identity Verification) : ขั้นตอนเริ่มต้นของการทำ Background Checks ทุกประเภทคือการยืนยันว่าบุคคลที่มาสัมภาณ์นั้นมีสิทธิ์ทำงานตรงนี้จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัญชาติ, ใบอนุญาตทำงาน, บัตรประชาชน เป็นต้น เพราะการว่าจ้างพนักงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทางกฎหมาย แม้จะเกิดจากการปิดบังข้อมูลของผู้สมัคร แต่ก็ทำให้องค์กรเจอปัญหาได้เช่นกัน ดังนั้น HR ต้องใส่ใจข้อมูลทุกอย่างโดยละเอียด ไม่มองข้ามเพียงเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะเคยมีกรณีที่พนักงานเอาข้อมูลของฝาแฝดมาสมัคร หรือออกเอกสารส่วนบุคคลปลอม ๆ มาอ้างอิง ซึ่งหากไม่นำไปเข้ากระบวนการ Reference Checks ก็อาจถูกหลอกได้อย่างง่ายดาย

2. การเช็คประวัติอาชญากรรม (Criminal Check) : หน้าที่ตรงส่วนนี้ต้องทำร่วมกับฝ่ายกฎหมาย และต้องทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องเท่านั้น ไม่แอบสืบข้อมูลโดยละเมิดสิทธิมนุษยชนแม้พนักงานดังกล่าวจะมีแนวโน้มของการก่ออาชญากรรมเมื่อในอดีตก็ตาม อนึ่งต้องเข้าใจก่อนว่าแม้พนักงานบางท่านจะเคยมีประวัติอาชญากรรม แต่หากมีข้อมูลเสริมว่าได้รับโทษ หรือมีผลงานอื่น ๆ ในด้านบวกมาเสริม ฝ่าย HR มีสิทธิ์ให้โอกาสทำงานได้ตามความเหมาะสม แต่อย่างไรก็เสียก็ต้องคำนึงถึงบริบทในภาพรวมขององค์กรด้วยว่าสามารถทำได้หรือไม่ เช่นหากเป็นงานที่ต้องพบปะกับลูกค้าต่างเพศ ก็ควรหลีกเลี่ยงพนักงานที่มีประวัติล่วงละเมิดเอาไว้ก่อน ซึ่ง HR Recruiter สามารถพิจารณาแยกเป็นกรณีได้เลย

3. การตรวจสอบประวัติทางการเงิน (Credit Check) : ปกติแล้วการตรวจเช็คประวัติทางการเงินหรือภาระหนี้สินเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อคนที่อยู่ในตำแหน่งเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายภายในองค์กร ทั้งนี้หากพนักงานมีประวัติด้านการเงินไม่ดี องค์กรก็ต้องเปิดโอกาสให้พนักงานอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนที่จะตัดสินใจเชิญพนักงานออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้เรื่องเกี่ยวกับการเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน องค์กรต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎหมายอย่างเคร่งครัด

4. การตรวจสอบประวัติด้านการศึกษา (Educational Check) : ข้อมูลส่วนนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญไม่ต่างกับข้อมูลด้านการยืนยันตัวตน โดยเฉพาะในสายงานที่มีวุฒิการศึกษากำหนดไว้อย่างจริงจัง ซึ่ง HR ต้องยืนยันให้ได้ว่าข้อมูลที่ระบุเอาไว้ในใบสมัครเป็นข้อมูลจริง และนอกเหนือจากใบจบการศึกษาแล้ว ยังควรเช็คด้วยว่าผู้สมัครมีประวัติอื่น ๆ เช่นการทุจริตสอบหรือไม่ ข้อมูลนี้จะสะท้อนถึงทัศนคติในการทำงานโดยตรง

5. การตรวจสอบการใช้สื่อโซเชียล (Social Network Check) :ในยุคที่มนุษย์ใช้เวลาส่วนใหญ่บนโลกออนไลน์แบบนี้ สิ่งที่เหลืออยู่แน่ ๆ ก็คือประวัติการใช้โซเชียลหรือเรียกเป็นภาษาทางการว่า Digital Footprint ซึ่งถือเป็นข้อมูลดิบที่ลบไปจากโลกออนไลน์ได้ยาก และสามารถสะท้อนถึงตัวตนของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี จุดที่ต้องโฟกัสของเรื่องนี้ก็คือปัจจุบันโลกโซเชียลมีแพลตฟอร์มมากมาย และการใช้ชีวิตมนุษย์ในแต่ละแพลตฟอร์มล้วนแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นในแพลตฟอร์มที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวตนซึ่งอาจทำให้คนกล้าแสดงความเห็นมากกว่า หรือแพลตฟอร์มที่จำกัดตัวอักษรอย่างทวิตเตอร์ที่อาจทำให้คนใช้คำพูดที่ลงรายละเอียดน้อยกว่าปกติ เป็นต้น 

ดังนั้นการเข้าใจพนักงานจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ HR นำข้อมูลจากทุกแพลตฟอร์มมารวมและวิเคราะห์ออกมาเท่านั้น ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินพนักงานคนใดก็ตาม ให้คิดว่ามนุษย์ทุกคนมีหลายด้านเสมอ พฤติกรรมใดที่อาจไม่ถูกใจเรา แต่ไม่ได้ผิดครรลองของสังคม ไม่ถือเป็นสิ่งที่ต้องถูกต่อว่า HR ต้องรู้จักแยกแยะและให้ความเป็นธรรมกับการทำ Background Checks เสมอ

ข้อผิดพลาดที่ควรระวังในการเช็คประวัติ Background Checks

ในโลกของการสรรหาพนักงานจริง ๆ มีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงมากมาย นั่นแปลว่าเราอาจไม่ได้มีเวลาพิจารณาข้อมูลของผู้สมัครแต่ละคนซ้ำหลาย ๆ รอบ ดังนั้นการแน่ใจว่า Background Check ของเราไม่ผิดพลาดจึงเป็นสิ่งที่ HR ต้องทำให้ได้เสมอ โดยเราสรุปตัวอย่างของข้อผิดพลาดและวิธีแก้ไขเบื้องต้นมาให้ ดังนี้

1. องค์กรเลือกปฏิบัติและตรวจประวัติไม่ครบทุกคน : นี่คือปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นมากที่สุดและทำให้ผู้สมัครมองเห็นความไม่เป็นธรรม ลดทอนความน่าเชื่อถือขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ไม่สำคัญเลยว่า HR จะมีเหตุผลที่สวยหรูขนาดไหน เพราะการเลือกปฏิบัติจะทำให้คำตัดสินดูไม่เป็นกลางในทุกกรณี

วิธีแก้ไข : ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติก็คือองค์กรต้องการประหยัดเวลาและเลือกตรวจสอบเฉพาะผู้สมัครที่ต้องการคัดเลือกในขั้นตอนสุดท้ายเท่านั้น ดังนั้นวิธีแก้ที่ควรทำก็คือให้ HR คุยกับทีมและหาคำตอบให้ได้ว่าข้อมูลด้านใดที่จำเป็นต้องการทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ มากที่สุด และโฟกัสแค่การทำ Background Checks เรื่องนั้นก่อนมาลงรายละเอียดในอนาคต วิธีนี้จะประหยัดเวลาและทำให้องค์กรสามารถตรวจสอบประวัติของผู้สมัครทุกคนอย่างเท่าเทียม

2. องค์กรไม่เปิดโอกาสให้พนักงานได้ชี้แจง : บางองค์กรนั้น เมื่อได้ข้อมูลดิบมาแล้ว ก็จะพิจารณาอ้างอิงจากสิ่งที่ได้โดยไม่ตั้งคำถามซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินที่ผิดพลาด ไม่เป็นธรรม ซึ่งท้ายสุดแล้วอาจทำให้ชื่อเสียงขององค์กรตกต่ำและสูญเสียพนักงานที่มีฝีมือไปโดยไม่รู้ตัว

วิธีแก้ไข :ทุกการกระทำของมนุษย์มีเหตุผลเสมอ และการทำ Background Checks ก็เช่นกัน ดังนั้นแทนที่เราจะมองข้อมูลที่ได้มาเป็นถูก – ผิด หรือ ขาว – ดำ สิ่งที่ HR ควรทำคือเปิดโอกาสให้พนักงานได้ชี้แจงว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และหากจริง จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร ซึ่งถ้าตอบได้ด้วยเหตุผลที่ฟังขึ้น ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายหากองค์กรจะตัดสินใจรับเข้าทำงาน

3. เมื่อองค์กรสืบข้อมูลจนล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัว : นอกเหนือจากการปฏิบัติตามกฎหมาย, กฎ PDPA แล้ว สิ่งที่ HR ต้องคำนึงเป็นพิเศษก็คือจริยธรรมของอาชีพ ห้ามปฏิบัติกับผู้สมัครหรือพนักงานจนเหมือนตั้งธงตั้งแต่ต้นว่าพวกเขาเป็นคนร้ายเสมอ บางองค์กรจึงตัดสินใจสืบข้อมูลจนเสียมารยาทเพียงเพราะหวังจะช่วยคัดกรองพนักงานให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด นี่คือพฤติกรรมในด้านลบที่ทุกองค์กรควรหลีกเลี่ยงทันที

วิธีแก้ไข :หลักการเบื้องต้นคือ HR ต้องหาความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานให้มากขึ้น ต้องเข้าใจว่าพื้นที่แต่ละแห่งมีข้อกำหนดแตกต่างกัน ดังนั้นหากไม่แน่ใจว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่ถูกต้องหรือไม่ ให้ปรึกษากับฝ่ายกฎหมายขององค์กรก่อนลงมือทุกครั้ง ทั้งนี้ HR สามารถถามผู้สมัครโดยตรงเช่นกันหากมองว่า Background Checks ที่กำลังทำอยู่สุ่มเสี่ยงต่อความไม่สบายใจของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้

Q: เราสามารถถามบริษัทเดิมของพนักงานเกี่ยวกับพฤติกรรมในอดีตได้หรือไม่ ?

อยากได้ข้อมูลส่วนนี้ไว้ประกอบการทำงาน แต่ไม่แน่ใจว่าผิดจริยธรรมของ HR หรือกฎหมาย PDPA รึเปล่า

A: บริษัทควรเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็น

กรณีนี้บริษัทจะใช้วิธีการขอความยินยอม (Consent) เป็นหลัก โดยแจ้งการขอใช้ – เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านใบสมัคร หรือ Recruitment Privacy Policy ในระบบรับสมัคร หากส่วนใดไม่ได้ระบุไว้ ก็ให้หลีกเลี่ยงตามความเหมาะสม

,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

Background Checks การเช็คประวัติช่วยธุรกิจเล็ก ๆ หรือ SMEs ได้อย่างไร 

ในโลกหลังโควิด-19 ที่มนุษย์อยู่กับบ้านและมีเวลาคิดมากกว่าที่เคย หลายคนเริ่มหันมาประกอบธุรกิจส่วนตัว บ้างก็สำเร็จ บ้างก็ผิดพลาด แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือธุรกิจขนาดเล็กเติบโตมากขึ้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าการทำ Background Checks นี่แหละที่ถือเป็นเคล็ดลับความสำเร็จของบริษัทที่เพิ่งตั้งใหม่ อธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้ 

1. Background Checks ช่วยปรับมุมมองให้ธุรกิจพร้อมเติบโตมากขึ้น : การตรวจประวัติเป็นวิธีที่องค์กรใหญ่ ๆ ทำเป็นปกติ ดังนั้นหากคุณเป็นบริษัทขนาดเล็กที่มีเป้าหมายใหญ่โต การนำแนวคิดของคนที่ประสบความสำเร็จมาปรับใช้ก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะเมื่อถึงเวลาที่จำเป็นเราก็จะมีความรู้และพร้อมปรับตัวมากกว่าบริษัทอื่ นๆ ที่เพิ่งหันมาให้ความสำคัญแค่ตอนถึงคราวต้องทำเท่านั้น

2. Background Checks ช่วยประหยัดเวลา : บริษัทขนาดเล็กแปลว่ามีพนักงานจำกัด การใช้พนักงานส่วนหนึ่งไปดูแลเรื่องการสรรหาบุคลากรโดยตรงจึงส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นหากเราทำการคัดกรองประวัติของผู้สมัครตั้งแต่ต้น แล้วค่อยเลือกสัมภาษณ์แค่คนที่มั่นใจเท่านั้น บริษัทก็จะสามารถนำบุคลากรที่มีไปคิดค้นงานหรือพัฒนาในด้านที่จำเป็นมากกว่า

3. Background Check ช่วยดึงดูดนักลงทุน : ปกติแล้วสิ่งที่บริษัทเล็ก ๆ ต้องการก็คือผู้ร่วมลงทุน ซึ่งเหตุผลในการลงทุนนั้นนอกเหนือจากโอกาสในการสร้างเม็ดเงินแล้ว วิธีรักษาและสร้างโอกาสในอนาคตก็ถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะคงไม่มีประโยชน์อะไรหากเงินลงทุนที่ให้มาไม่ได้ถูกบริหารจัดการโดยบุคลากรที่มีความพร้อมมากพอ ซึ่ง Background Checks ถือเป็นกลไกของมืออาชีพ และทำให้ผู้ลงทุนมั่นใจได้ว่าองค์กรนี้มีพนักงานที่ผ่านการคัดกรองมาแล้วจริง ๆ

4. Background Checks ช่วยปกป้องความลับขององค์กร : ปกติแล้วระบบป้องกันภัยของธุรกิจเล็ก ๆ จะไม่ได้สมบูรณ์แบบนักหากเทียบกับบริษัทใหญ่ ๆ และที่สำคัญความสำเร็จของธุรกิจแบบนี้ล้วนมาจากไอเดียที่หาไม่ได้ตามท้องตลาด นั่นหมายความว่าในเชิงกระบวนการแล้วถ้าข้อมูลของสินค้าหลุดออกไปสู่ภายนอก โอกาสที่ธุรกิจจะพังไม่เป็นท่าก็เป็นไปได้สูง ดังนั้น Background Checks คือวิธีเบื้องต้นที่ทำให้องค์กรเข้าใจว่ามีพนักงานคนใดที่มีประวัติอาชญากรรมหรือแนวโน้มที่จะนำข้อมูลไปเผยแพร่สู่ภายนอกหรือไม่ ทั้งนี้ต้องทำโดยใช้พื้นฐานของความเป็นจริง ไม่ตรวจสอบโดยมีอคติเป็นที่ตั้งเด็ดขาด

5. Background Checks ช่วยให้ทีมแน่นแฟ้นขึ้น :ธุรกิจเล็ก ๆ มักเริ่มจากกลุ่มเพื่อน ดังนั้นในการขยายทีมแต่ละครั้งที่ต้องนำพนักงานจากภายนอกเข้ามาจึงไปสร้างความกังวลใจได้เสมอ โดยเฉพาะคำถามว่าพนักงานใหม่จะเข้ากับพนักงานเดิมได้อย่างไร ?

คำตอบในเรื่องนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในด้านของทักษะเท่านั้นแต่ยังรวมถึงทัศนคติ, ความเข้าใจวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงบริบทอื่น ๆ หมายความว่าในขณะที่ทุกฝ่ายกำลังปรับตัวเข้าหากัน Background Checks จะเป็นข้อมูลสำคัญที่ยืนยันว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีพิษมีภัย ทุกคนสามารถเชื่อใจได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นรากฐานที่จะทำให้ SMEs พัฒนา ต่อไปได้อย่างแข็งแรง

Background Checks อาจมีค่าใช้จ่ายมากเป็นพิเศษในบางครั้ง แต่รับประกันได้เลยว่ามันจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าแน่นอน

Background Checks การเช็คประวัติช่วงหลังเกิดโควิด-19 เป็นอย่างไร 

เทรนด์หนึ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ ‘การเซ็นสัญญาแบบฉับพลัน’ (Instant Hiring) กล่าวง่าย ๆ คือผู้สมัครในปัจจุบันต้องการคำตอบเร็วขึ้น ขณะที่การแข่งขันในตลาดแรงงานก็สูงขึ้นตามไปเช่นกัน ดังนั้นหากเราให้เวลากับการทำ Background Checks มากเกินไป ก็มีโอกาสสูงที่ผู้สมัครจะไปเลือกองค์กรอื่นที่ให้คำตอบเร็วกว่าแม้จะมีชื่อเสียงสู้เราไม่ได้ก็ตาม 

ดังนั้นแทนที่จะทำ Background Checks ในขั้นตอนแรกแบบที่เคยเป็น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ย้ายไปทำในช่วงทดลองงานแทน เพื่อลดความยุ่งยากในการสรรหา และทำให้ผู้สมัครมีประสบการณ์ (Hiring Experiences) ที่ดีกับองค์กร ได้เห็นความเป็นมืออาชีพของ HR Recruiter ทั้งนี้หากเป็นตำแหน่งที่มองข้าม Background Checks ไม่ได้จริง ๆ ก็ให้ตรวจสอบข้อมูลที่จำเป็นที่สุดก่อน แล้วค่อยมาลงรายละเอียดอื่น ๆ ขณะทดลองงาน

เคล็ดลับของการตรวจประวัติในช่วงหลังโควิด-19 จึงเป็นการเซ็นสัญญาให้เร็วที่สุด (Onboard Faster) เพื่อเพิ่มศ้กยภาพการแข่งขันในตลาดแรงงาน ภายใต้ความเป็นมืออาชีพอย่างที่สุดนั่นเอง

บทสรุป

Background Checks คือแนวทางเบื้องต้นที่ทุกองค์กรต้องทำเพื่อลดโอกาสในการเซ็นสัญญากับผู้สมัครที่ไม่เหมาะสม (Bad Hiring) ซึ่งจะทำให้บริษัทสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ โดยเฉพาะในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการเงินและในธุรกิจเล็ก ๆ แบบ SMEs ที่มีงบประมาณจำกัด 

หากคุณอยากเริ่มทำ Background Checks แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร หรือกลัวว่าจะมีส่วนที่ขัดแย้งกับข้อกฎหมาย เราแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรง หรือหันไปใช้บริการ HR Explore แพลตฟอร์มแรกของไทยรวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการ HR เอาไว้มากที่สุด ครอบคลุมทั้งการสรรหาบุคลากร (Recruiting) ทีมกฎหมาย (Legal) ตลอดจนที่ปรึกษา (Consult) ไม่ว่าคุณจะเป็นองค์กรเล็กหรือใหญ่ ที่นี่มีตัวช่วยให้คุณแน่นอน !

กำลังหาข้อมูลบริการและผลิตภัณฑ์ HR อยู่รึเปล่า?

HR Explore แพลตฟอร์มแรกในไทยที่รวบรวม HR Products & Services มากที่สุด

มาพร้อมระบบเปรียบเทียบราคาเพื่อช่วยตัดสินใจ จะเป็น SMEs หรือธุรกิจใหญ่ ที่นี่มีครบ !

Sources

  • //bit.ly/3cmLuBH
  • //bit.ly/3QSMbBO
  • //bit.ly/3wssrwr
  • //bit.ly/3Re7tt8
  • //bit.ly/3ArJ7FE

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง