วิศวะ โล จิ สติ ก ส์ ศิลปากร ดีไหม

Skip to content

    • Search for:

    Industrial Engineering and Management

    • About Us
      • History
    • Academics
      • Industrial Engineering
      • Management Engineering and logistics
    • Facilities
    • Faculty & Staff
      • Faculty
      • Staff
    • Publications
    • Contract Us

    • Home
    • Academics
    • Management Engineering and logistics

     หลักสูตรระดับปริญญาตรี

    รายละเอียดของหลักสูตร

    สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์

    (หลักสูตร พ.ศ. 2560)

     หลักสูตร พ.ศ.2550 วิศวกรรมการจัดการและโลจิสต์

     หลักสูตร พ.ศ.2555 วิศวกรรมการจัดการและโลจิสต์

    รู้จักสาขาวิชา "โลจิสติกส์"
    สาขาวิชาโลจิสติกส์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ แต่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น สายงานด้านนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจอีกด้วย

    เรียนยังไง เจอวิชาอะไรบ้าง?
    สำหรับคนที่เข้ามาเรียนในสาขาทางด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นคณะหรือสาขาของมหาวิทยาลัยที่ไหน ในเรื่องหลักสูตร จะได้เจอวิชาหลักคล้ายกัน นั่นคือ น้องๆ ปี 1 จะได้เรียนพื้นฐานวิชาทั่วไป เช่น ธุรกิจ การบริหารจัดการ การตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส สถิติ มนุษยศาสตร์ เป็นต้น

    ส่วนในปีต่อๆ มาจะได้เรียนรายวิชาเฉพาะ เช่น การขนส่งและการกระจายสินค้า วัสดุและการบรรจุภัณฑ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ เป็นต้น และจากนั้นน้องๆ จะได้เรียนการสัมมนาทางโลจิสติกส์ รวมถึงออกสหกิจศึกษาในชั้นปีที่ 4


    จบไปทำงานอะไรด้านไหน?
    วิศวกรทางด้านโลจิสติกส์ที่มีหน้าที่หลักในการออกแบบ และจัดการระบบต่างๆ เช่น ระบบคลังสินค้า ระบบการผลิต ระบบการบรรจุภัณฑ์ ระบบการกระจายสินค้า รวมถึงการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ งานด้านโลจิสติกส์และซับพลายเชน จึงถือเป็นอีกสายงานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจและบริการ และนี่คือสายงานและตำแหน่งที่น้องๆ บัณฑิตสาขานี้สามารถทำได้

    ระดับปฏิบัติการ
    เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัททางขนส่งสินค้ามากกว่า 500 แห่ง รวมถึงบริษัทนำเข้าส่ง-ออก

    ระดับบริหาร
    เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน,  นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า, นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ

    ประกอบธุรกิจส่วนตัว
    เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ

    รับราชการ 
    รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

    งานสายวิชาการ
    เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือเรียนต่อระดับสูงขึ้น


    สาขานี้เหมาะกับใคร
    สำหรับน้องๆ คนไหนที่รู้ตัวว่า เป็นคนช่างคิด สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรม ชอบคำนวณ ชอบวิเคราะห์ทางฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ มีความเป็นผู้นำ ความสามารถในการวางแผนและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ยึดมั่นในหลักเหตุและผล ก็เหมาะอย่างยิ่งที่จะเรียนในสาขานี้


    ตัวอย่างสถาบันที่เปิดสอน "วิศวกรรมโลจิสติกส์"
    มหาวิทยาลัยศิลปากร
    คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์

    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
    คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
    สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 
    ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

    ตัวอย่างสถาบันที่เปิดสอน "การจัดการโลจิสติกส์"
    สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
    คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    คณะพาณิชยศาสตร์  สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศโลจิสติกส์และการขนส่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
    สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
    คณะเทคโนโลยีสังคม สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก
    คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรังสิต
    คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
    คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
    วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  

    วิศวกรรมโลจิสติกส์ ถือเป็นสายงานสำคัญอีกสาขาหนึ่งที่รองรับการเติบโตโลกธุรกิจยุคปัจจุบัน หากน้องๆ คนไหนมีความชอบและคิดว่าอนาคตตัวเองเหมาะกับงานทางด้านนนี้ก็อย่าลังเลที่จะเรียนต่อสายวิศวกรรมโลจิสติกส์

    วิศวกรรมโลจิสติกส์จะตกงานไหม

    หลายคนมองว่าเรียนโลจิสติกส์แล้วไม่ตกงานแน่ ๆ ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องนะครับ ทุกสาขาที่จบมามีสิทธิตกงานครับ ถ้าคุณเลือกงานมาก ทุก ๆ การเลือกงานคุณก็ต้องหันกลับมามองตัวเองว่ามีคุณสมบัติพอรึเปล่าที่จะให้บริษัทต่าง ๆ มาจ้างงานคุณ บางคนถามอะไรตอบไม่ได้สักอย่าง อันนี้ผมว่าบริษัทก็คงคิดหนักครับ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสายงานทางด้าน ...

    วิศวกรรมโลจิสติกส์ ที่ไหนดี

    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์.
    มหาวิทยาลัยศรีปทุม สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์.
    มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์.
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์.
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ-โลจิสติกส์.
    มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์.

    วิศวกรรม โลจิสติกส์ ทำงานอะไร

    วิศวกรทางด้านโลจิสติกส์ที่มีหน้าที่หลักในการออกแบบ และจัดการระบบต่างๆ เช่น ระบบคลังสินค้า ระบบการผลิต ระบบการบรรจุภัณฑ์ ระบบการกระจายสินค้า รวมถึงการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ งานด้านโลจิสติกส์และซับพลายเชน จึงถือเป็นอีกสายงานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของ ...

    วิศวกรรมโลจิสติกส์ เรียนกี่ปี

    วิศวกรรมโลจิสติกส์ เปิดรับนักเรียน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระบบ ม.6 ปวช. ทุกสาขาวิชา ในภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี และ ปวส. ในหลักสูตรเทียบโอนภาคปกติ 3 ปี และภาคพิเศษ เรียนเฉพาะวันอาทิตย์ เข้าศึกษาต่อในระบดับปริญญาตรี สามารถกู้ กรอ. และยศ. ได้ (สำหรับผู้กู้รายเก่ามอบตัวไม่ต้องสำรองจ่าย ผู้กู้รายใหม่มอบตัวชำระ 2,000 บาท ...

    กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง