ตัวอย่าง โครงงาน แก้ปัญหาน้ำท่วม

เชิงคุณภาพ : ระบบการไหลเวียนของน้ำเสียภายในโรงเรียนมีความคล่องตัวมากขึ้น เชิงปริมาณ : มีท่อระบายน้ำที่กว้าง ได้ระดับตลอดพื้นที่ภายในโรงเรียน


แนวทางการติดตามและประเมิณผล :
สรุปรายงานผลการดำเนินการ:
เปรียบเทียบการใช้งบประมาณ:สรุป
งบประมาณการรายรับ 0.00 บาท รายรับจริง 0.00 บาท
งบประมาณการรายจ่าย 0.00 บาท รายจ่ายจริง 0.00 บาท
รายรับจริง เท่ากับ ประมาณการรายรับ
รายจ่ายจริง เท่ากับ ประมาณการรายจ่ายอยู่
รายรรับจริง เท่ากับ รายจ่ายจริง

ผู้รับผิดชอบ :
ผู้จัดทำ :

รายชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ

เนื่องในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีทางด้านต่างๆได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้อำนวยความสะดวกในการช่วยเตือนภัยมากขึ้นและได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากยิ่งขึ้น สืบเนื่องจากทางโรงเรียนของเราได้มีโอกาสเข้าร่วม โครงการอบรมค่ายอิคคิวซัง 1 ปี 2558 ที่ผ่านมานั้น จึงได้เกิดแนวคิดที่จะสร้างระบบเตือนอุทกภัยขึ้นมา เพื่อ ป้องกันพื้นที่บริเวรลุ่มน้ำ ซึ่งภัยธรรมชาติโดยเฉพาะอุทกภัยนั้นเป็นปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ และเพิ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน และนอกจากนี้ในการเกิดปัญหาอุทกภัยในแต่ละครั้งมักนำมาซึ่งความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชนเป็นจำนวนมาก

เพื่อจะได้เตรียมแผนรับมือจากผลกระทบและความเสียหายของการเกิดอุทกภัยได้ทันเวลา ทางโรงเรียนของเราจึงได้คิดประดิษฐ์ ระบบเตือนอุทกภัยขึ้นมาโดยใช้ GoGo Board ในการควบคุมและประมวลผล

วัตถุประสงค์

  • เพื่อทำการตรวจวัดปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ หรือระดับน้ำในลำน้ำ
  • เพื่อเตือนภัยการเฝ้าระวังน้ำท่วมจะยังมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วมได้ทันเวลาไม่ก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน อาคาร บ้านเรือน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ประโยชน์ที่ได้รับสามารถรับมือน้ำท่วมได้ทันเวลาไม่ก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน อาคาร บ้านเรือน ของประชาชนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำและพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย

ขั้นตอน และวิธีการทำโครงงาน

  • วางแผน
  • จัดหาอุปกรณ์
  • ลงมือปฏิบัติ
  • สังเกตการณ์
  • วิเคราะห์ว่าระบบเตือนภัยที่ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นว่าใช้ได้จริงหรือไม่และมีวิธรการแก้ไขปัญหาอย่างไร

ระยะเวลาและแผนงานในการดำเนินงานโครงงาน

  • ระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมด ประมาณ  10 เดือน ตั้งแต่ โครงงานถูกอนุมัติ
  • แผนงานในการทำโครงงาน (ตัวอย่างตารางแผนงาน)

ภาพหรือแผนผังหรือไดอะแกรมหรือแนวคิด/ของผลงาน

วัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณในการทำโครงงาน (ไม่รวมค่าจ้าง)

การทดสอบโครงงาน และเก็บผลการทดสอบ

  • สมมติฐาน  เครื่องเตือนภัยสามารถแจ้งเตือนให้รู้ล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมแผนรับมือจากผลกระทบและความเสียหายของการเกิดอุทกภัยได้ทันเวลา
  • ตัวแปรต้น แผงควบคุม GoGo Bord และ อุปกรเสริมที่ใช้ควบคุมระบบเตือนอุทกภัย
  • ตัวแปรตาม ระบบเตือนอุทกภัย มีประสิทธิภาพในการแจ้งเตือนทำให้ประชาชนรู้ล่วงหน้าก่อนเกิดอุทกภัย
  • ตัวแปรควบคุม ระบบเตือนอุทกภัย

แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้

จากโครงงานระบบเตือนอุทกภัย นี้สามารถนำไปขยายผลและสร้างเป็นระบบเตือนภัยแบบจริงได้ในอนาคต และสามารถนำไปติดตั้งตามหมู่บ้านหรือพื้นที่ ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยได้

โครงการแก้ปัญหาอุทกภัยแบบยั่งยืน

            จากวิกฤติน้ำท่วมประเทศไทย ปี 2554 ทำให้ทุกฝ่ายเริ่มตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดจากภัยธรรมชาติ หรือสาธารณภัยทุกหน่วยงานต้องหันไปมองที่ต้นเหตุของปัญหา และคำนึงถึงทิศทางในการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันป่าไม้ลดเหลือน้อยลงโดยสาเหตุจากการบุกรุกป่าไม้ การเจริญเติบโตของท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็น อบต.หรือเทศบาล เมื่อมีความเจริญเกิดขึ้นที่ไหนก็จะมีการถมที่ดิน การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนโดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพธรรมชาติ ทำให้แม่น้ำลำคลอง หนองบึงหลายแห่งเริ่มเปลี่ยนสภาพ ดังนั้น ผลจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ทำให้ทุกจังหวัดเริ่มมีการบูรณาการทำงานแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างจริงจัง มีการขุดลอกลำคลอง หนองบึง ฯลฯ การป้องกันน้ำท่วมจึงกลายเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน เริ่มตั้งแต่ภาคประชาชนที่จะต้องช่วยกันปลูกป่า การไม่บุกรุกธรรมชาติ หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำก็ต้องบูรณาการทำงานให้สอดคล้องกัน
            พื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา มีแม่น้ำปัตตานีไหลผ่านเป็นระยะทาง 16 กิโลเมตร ทำให้ในอดีตจึงมีน้ำท่วมแทบทุกปี แต่จากการวางแผนและทำการแก้ปัญหาน้ำท่วมของเทศบาลนครยะลามาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาประมาณ 30 ปี ทำให้เรามีคันดินกั้นแม่น้ำปัตตานีตลอดแนวเขตเทศบาล พร้อมกับมีประตูระบายน้ำตามจุดต่างๆ นอกจากนี้ ระบบระบายน้ำที่เป็นคูคลอง ท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำ ท่อลำเลียงน้ำขนาดใหญ่ใต้ พื้นถนน ก็สามารถเชื่อมต่อกันหมด ส่งผลให้การระบายน้ำในเมืองยะลาเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว ยกเว้นกรณีฝนตกหนักมากจริงๆ อาจจะมีน้ำท่วมขังบ้าง แต่ไม่นานนักก็สามารถระบายได้
นับตั้งแต่ นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา เข้ามาบริหารงานเทศบาลนครยะลา เป็นเวลากว่า 8 ปี ได้มุ่งมั่นตั้งใจแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างครบวงจร โดยมีโครงการต่างๆ มากมายเพื่อต่อยอดจากเดิมดังต่อไปนี้
            1. โครงการเสริมคันป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำปัตตานี
เพื่อให้มีความคงทนแข็งแรง พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนว จากวิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา จนถึง บ้านจารู (ตลาดเก่า) โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการตั้งแต่สะพานท่าสาป จนถึงชุมชนจารูพัฒนา (ตลาดเก่า) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในปีนี้ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย จะมีการดำเนินการเพิ่มเติม โดยเริ่มจากบริเวณใกล้วิทยาลัยอาชีวศึกษายาวไปจนถึงหลังเรือนจำกลางยะลา และในอนาคตก็จะทำการของบประมาณ จากรัฐบาล เพื่อดำเนินการจากช่วงสามแยกบ้านทนายพงศ์ไปจนถึงสะพานท่าสาปต่อไป เนื่องจากคันดินบริเวณดังกล่าวก่อสร้างมานานแล้วอาจจะทำให้เกิดการรั่วซึม ซึ่งที่ผ่านมาเทศบาลนครยะลาใช้วิธีการสำรวจตรวจสอบตลิ่งทุกปี เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในส่วนที่ถูกกัดเซาะ ดังนั้น หากได้รับงบประมาณมาดำเนินการตลอดแนวก็จะสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในเขตเทศบาลได้มากขึ้น

            2. โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ
เพื่อระบายน้ำจากเขตเมืองลงสู่แม่น้ำปัตตานี ผ่านประตูระบายน้ำหลัก 3 จุด คือ ปั๊ม A ที่สะพานท่าสาป รองรับน้ำจากคลองอุเทน ปั๊ม B ใกล้ตลาดเมืองใหม่ รองรับน้ำจากคลองตาย และปั๊ม C ที่ตลาดเก่า (บริเวณ บ้านจารู) รองรับน้ำจากคลองแบเมาะ นอกจากนี้ ยังมีประตูน้ำขนาดเล็กเสริมตามจุดต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่จุด C จะเป็นพื้นที่รับน้ำมากที่สุด เพราะนอกจากเป็นจุดรับน้ำในตัวเมืองแล้ว ยังรับน้ำในเขต เทศบาลเมืองสะเตงนอก และเทศบาลตำบลบุดี ซึ่งไหลมาสมทบอีกด้วย ที่ปั้ม C มีประตูระบายน้ำ จำนวน 6 บาน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในจุดนี้ ก็คือ หากน้ำในแม่น้ำปัตตานีมีระดับสูงกว่าระดับน้ำในบึงแบเมาะ ก็จำเป็นจะต้อง ปิดประตูระบายน้ำ แล้วอาศัยเครื่องสูบน้ำแทน ซึ่งเดิมมีเครื่องสูบน้ำอยู่เพียง 4 เครื่องเท่านั้น ประสิทธิภาพในการระบายน้ำเครื่องละ 1 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เวลาใช้งานจริงจะสลับพัก 1 เครื่อง ทำงาน 3 เครื่อง ดังนั้น จึงสามารถระบายน้ำได้เพียง 3 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในปีนี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ดำเนินการติดตั้งเพิ่ม อีก 6 เครื่อง โดยประสิทธิภาพของเครื่องใหม่ จะระบายน้ำได้เครื่องละ 3 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คิดเป็น 18 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือได้มากขึ้นกว่าเดิมถึง 6 เท่าตัว คาดว่าจะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ดีกว่าในอดีตอย่างแน่นอน และก่อนฤดูฝนของทุกปีจะมีการตรวจสอบความพร้อมของประตูระบายน้ำทุกแห่ง และซ่อมแซมอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้ดีอยู่เสมอ
           3. โครงการขุดแก้มลิงเพื่อรองรับน้ำ
เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการป้องกันน้ำท่วม โดยต้องหาพื้นที่เพื่อเป็นจุดรองรับน้ำก่อนที่จะระบายลงสู่แม่น้ำปัตตานี ซึ่งในปี 2555 ได้รับการสนับสนุนจากกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการขุดลอกแก้มลิงขนาดใหญ่ พื้นที่ 213 ไร่ บริเวณบึงแบเมาะ (ตลาดเก่า) โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม 2555 ใช้งบประมาณ 50 ล้านบาทในการขุดลอก เพื่อให้ทันกับหน้าฝนและสามารถรองรับน้ำจำนวนมากก่อนที่จะระบายลงสู่แม่น้ำปัตตานีที่บ้านจารูต่อไป และในอนาคตเทศบาลนครยะลาจะทำการของบประมาณเพื่อปรับภูมิทัศน์ให้เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของเมืองยะลา
           4. โครงการก่อสร้างท่อลำเลียงน้ำ (ขนาดใหญ่ใต้พื้นถนน)
เทศบาลนครยะลาได้ดำเนินการก่อสร้างท่อลำเลียงน้ำมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เส้นแรก จากหน้าโรงเรียนรัชตะผ่านถนนเทศบาล 2 ไปออกคลองตายบริเวณท้ายซอยยิ้มจินดา เส้นที่ 2 จากบริเวณถนนผังเมือง 4 ถึงคลองรัชตะ เส้นที่ 3 จากถนนผังเมือง 3 หลังมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา สถาบันการพลศึกษา และถนนธนวิถี เส้นที่ 4 รับน้ำจาก หน้าวัดพุทธภูมิไปยังโรงแรมแกรนด์พาเลซ เส้นที่ 5 จากโรงเรียนคณะราษฎร์ฯ ผ่านถนนพิพิธภักดี ถนนรถไฟออกหลังตลาดสดรถไฟ เส้นที่ 6 จากถนนวิภากุลถึงถนนภูมาชีพ ซึ่งท่อลำเลียงน้ำขนาดใหญ่ จะช่วยไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังตามถนนสายต่างๆ รวมทั้งทำหน้าที่รวมน้ำและแบ่งน้ำไประบายตามจุดต่างๆ ที่เทศบาลเห็นว่าเหมาะสม ในปี 2555 นี้ ได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอีก 18 ล้านบาทเศษ เพื่อก่อสร้างท่อลำเลียงน้ำบริเวณวัดยะลาธรรมาราม และบริเวณตลาดนัดต้นมะพร้าว เพื่อแก้ปัญหาการระบายน้ำบริเวณชุมชนหลังวัดยะลาธรรมารามและพื้นที่ใกล้เคียง จะเห็นได้ว่า ประสิทธิภาพของท่อลำเลียงน้ำผสมผสานกับระบบท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำในเขตเทศบาลนครยะลา ตามถนนทุกสาย จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี และตลอดทั้งปีจะมีการขุดลอกทำความสะอาดหมุนเวียนทุกจุด เพื่อไม่ให้มีการอุดตันอีกด้วย
           5. โครงการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือช่วยเหลือกรณีเกิดน้ำท่วม
เทศบาลได้มีการจัดเตรียมหินคลุก กระสอบบรรจุทราย เรือไฟเบอร์ เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ อุปกรณ์เครื่องครัวสำหรับทำอาหารบริการประชาชนในพื้นที่ถูกน้ำท่วม จัดเตรียมอาคารเรียนเพื่อเป็นสถานที่รองรับผู้ประสบภัยน้ำท่วม มีการจัดซื้อเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่สะสมอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งปัจจุบันมี เครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว จำนวน 7 เครื่อง เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 นิ้ว จำนวน 4 เครื่อง และเครื่องปั่นไฟเคลื่อนที่ รวมทั้งมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา น้ำท่วมทุกหน่วย
            แต่สิ่งที่เทศบาลนครยะลากังวล และคิดว่าเป็นอุปสรรคอย่างมากในปีนี้ คือ เส้นทางไหลของน้ำจากบริเวณวัดตรีมิตร ชุมชนหมู่บ้านเมืองทอง พื้นที่เขตมัรกัส หลังวัดยะลาธรรมาราม หลังโรงเรียนจีน และชุมชน วิฑูรอุทิศสัมพันธ์ ไปถึงบึงแบเมาะ ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างเขตเทศบาลนครยะลา และเทศบาลเมืองสะเตงนอก ซึ่งได้มีการซื้อขาย ถมที่ดิน ก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เป็นจำนวนมาก ทำให้การระบายน้ำช่วงดังกล่าวเพื่อลงสู่ บึงแบเมาะเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงได้เชิญพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ร่วมปรึกษาหารือ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาระยะสั้นและระยะยาว และได้ออกไปสำรวจพื้นที่จริงเพื่อขอเจรจากับเจ้าของที่ดินและ สำรวจแนวลำคลองสาธารณะ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันจะนำมาซึ่ง ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง