ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก

กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning สู่สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา

กระบวนการจัดกิจกรรม

ละลายพฤติกรรมทบทวนความรู้

1. ผู้เรียนทบทวนความรู้เรื่องพยัญชนะ สระ ด้วยการร้องเพลง และแสดงท่าทางประกอบเพลง ก-ฮ และสระ จาก YouTube 

 (ที่มา เพลินใจ Channel)

2. ผู้เรียนทบทวนความรู้เรื่องพยัญชนะ สระด้วยใบกิจกรรมที่ 1 และ 2

ฝึกฝนทักษะการคิด และทักษะกระบวนการกลุ่มด้วยการเล่นเกม

3. ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม ศึกษาวิธีการเล่นเกมสระ…อยู่ไหนโดยใช้เพลงสระ…อยู่ไหน และเพลง พยัญชนะ…อยู่ไหน ประกอบและร่วมเล่นเกมตามตัวอย่างการจัดกิจกรรม (ตัวอย่างการจัดกิจกรรมจากเว็บไซต์ YouTube
//vt.tiktok.com/ZSdfcNsbH/.  ที่มา @Kamon426 ห้องเรียนครูเอ๋ย)

นักเรียนแจกลูกคําและอ่านออกเสียงได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่ว

4. ผู้เรียนฝึกฝนการแจกลูกคําตามใบกิจรรมที่ 3 และทําแบบฝึกหัดที่ 1 ฝึกอ่านออกเสียงให้ถูกต้องคล่องแคล่ว

5. ผู้เรียนฟังเพลงจากเว็บไซต์ YouTube  //youtu.be/tqF84RxxKCI (ที่มา ห้องเรียนครูอ้อย)
6. ผู้เรียนนําคําจากแบบฝึกหัดที่ 1 มาแต่งคําร้องใส่ทํานอง (เพลงไก๊ ไก่ โหน่ง ชะชะช่า) สั้น ๆ อย่างง่าย ๆ ในใบกิจกรรมที่ 4 และแสดงท่าทางประกอบอย่างอิสระ
7. ผู้เรียนสรุปความรู้ โดยร้องเพลงและแสดงท่าทางอิสระ

เล่มที่ 1 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา

Post Views: 985

Comments

comments

กระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า หรือสร้างสรรค์สิ่งต่างๆและพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ได้ร่วมอภิปรายให้ฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเป็น 70% การนำเสนอผลงานทางการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่างๆ จะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90%

รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning) ครอบคลุมวิธีการจัดการเรียนรู้หลากหลายวิธี เช่น

– การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning)

– การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning)

– การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)

– การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning)

– การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด (Thinking Based Leaming)

– การจัดการเรียนรู้การบริการ (Service Learning)

– การจัดการเรียนรู้จากการสืบค้น (Inquiry-Based Learning)

– การจัดการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery Learning)

อย่างไรก็ตาม รูปแบบ วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ มีพื้นฐานมาจากแนวคิดเดียวกัน คือให้ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการเรียนรู้ของตนเอง

ที่มา : //www.kruchiangrai.net

ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่านครับ

  • Active Reading
  • Brainstorming
  • Agree & Disagree Statement
  • Carousel
  • Concept Map
  • Gallery Walk
  • Jigsaw
  • Problem/Project-based Learning หรือ Case Study
  • Role Playing
  • Think – Pair – Share
  • Predict – Observe – Explain
  • Clarification Pause
  • Card Sorts
  • Chain Note
  • Team – pair – solo
  • Students’ Reflection
  • Simultaneous round table

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดม สมอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทากรณีศึกษา เป็นต้น โดยกิจกรรมที่นามาใช้ควรช่วยพัฒนาทักษะการ คิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสื่อสาร/นำเสนอ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม บทบาทของผู้เรียน

นอกจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและผู้เรียนกับ ผู้เรียนด้วยกันด้วย ผู้สอนควรลดบทบาทในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนในลักษณะการบรรยายลง และเพิ่มบทบาท ในการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะทากิจกรรมต่างๆ รวมถึงการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมใน การเรียนรู้

ตัวอย่างกิจกรรมเพื่อส่งเสริม Active Learning

Active Reading

Active Reading

เป็นวิธีที่ให้แต่ละคนอ่านบทความแล้วแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านกับเพื่อน นำมาเขียนแผนผังมโนทัศน์ (Concept Map) ลงในกระดาษโปสเตอร์เพื่อท้ากิจกรรม Walk Gallery ต่อไป

Brainstorming

Brainstorming

กำหนดหัวข้อและเวลา จากนั้นแบ่งกลุ่มผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อหาข้อสรุปของกลุ่ม แล้วทุกคนนำเสนอแนวคิดของตนและบันทึกทุกแนวคิดที่มีผู้นำเสนอ

Agree & Disagree Statement

Agree & Disagree Statement

ผู้สอนตั้งคำถาม โดยมีตัวเลือกให้ผู้เรียนว่าเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เช่น อาจใช้ไม้ปิงปองที่มีสี 2 ด้านต่างกันเป็นอุปกรณ์ช่วยตอบ แล้วเลือกผู้ตอบในแต่ละกลุ่มให้อธิบาย หลังจากนั้นจึงอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน

Carousel

Carousel

กำหนดหัวเรื่อง แล้วแบ่งเป็นหัวข้อย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน แบ่งกลุ่มผู้เรียนให้ได้จำนวนกลุ่มเท่ากับจำนวนหัวข้อย่อย จากนั้นเขียนหัวข้อย่อยๆ ลงบนกระดาษโปสเตอร์แล้วติดไว้รอบๆ ห้อง แต่ละกลุ่มระดมความคิดและเขียนลงในกระดาษโปสเตอร์เมื่อครบ 2-3 นาทีเปลี่ยนไประดมความคิดหน้าโปสเตอร์ถัดไป โดยอ่านแนวคิดของกลุ่มก่อนหน้า ถ้าเห็นด้วยให้ใส่เครื่องหมายถูกและเพิ่มสิ่งที่คิดเห็นแตกต่าง จากนั้นสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน

Concept Map

Concept Map

ลักษณะคล้ายการเขียน Mind Map แต่การเขียนแผนผังมโนทัศน์จะแสดงแนวคิดและใช้คำเชื่อมโยงระหว่างแนวคิด

Gallery Walk

Gallery Walk

กำหนดหัวข้อเรื่อง เขียนแนวคิด วิธีการ ลงบนกระดาษโปสเตอร์แล้วติดไว้รอบๆ ห้อง เพื่อให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการเดินชมผลงาน

Jigsaw

Jigsaw

   ผู้สอนเลือกเนื้อหาที่แบ่งเป็นส่วนๆ 3-4 ชิ้น แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มๆ โดยมีสมาชิกในกลุ่มเท่าๆ กันกับเนื้อหา (Home group) สมาชิกแต่ละคนเลือกเนื้อหาที่ตนสนใจแล้วไปร่วมกับสมาชิกจากกลุ่มอื่น (Expert group) เพื่อศึกษา ท้าความเข้าใจหรือหาค้าตอบร่วมกันในกลุ่ม จากนั้นกลับไปสอนที่กลุ่มเดิมของตนจนครบถ้วน

Problem/Project-based Learning หรือ Case Study

Case Study

ใช้เรื่องจริงหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน บ้าน โรงเรียน หรือที่เกิดขึ้นกับบุคคลใด บุคคลหนึ่ง เพื่อให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการบูรณาการความรู้ที่ได้เรียนกับประสบการณ์ตรงหรือสืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติม

Role Playing

Role Playing

การแสดงบทบาทสมมุติเป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกการแสดงออกตามสถานการณ์ที่กำหนดให้เพื่อเป็นประสบการณ์ที่จะน้าไปแก้ไขปัญหาและสถานการณ์จริงในชีวิต ผู้เรียนได้เรียนรู้การแสดงออก ฝึกวางแผนการท้างานร่วมกัน เข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและของผู้อื่น เช่น การทำกิจกรรม “คุ๊กกี้คาเฟ่” ผู้สอนจะกำหนดบทบาทแล้วเขียนไว้ในกระดาษ ให้ผู้เรียน 6 คน จับฉลากเลือกว่าจะแสดงบทบาทใด โดยไม่ให้ปรึกษากัน แล้วให้แสดงบทบาทสมมติตามบทบาทที่ตนเองได้รับ หลังจากนั้นจะตั้งคำถามและให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นว่า ผู้แสดงแต่ละคนทำหน้าที่อะไร และทำหน้าที่นั้นได้ดีหรือไม่ มีจุดใดต้องแก้ไขหรือปรับปรุง เป็นต้น

Think – Pair – Share

Think – Pair – Share

ผู้สอนเป็นผู้ตั้งคำถามให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบด้วยตนเอง หลังจากนั้นจึงอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับเพื่อนในชั้นเรียน

Predict – Observe – Explain

Predict – Observe – Explain

จำลองสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเรียนรู้ โดยผู้เรียนเขียนทำนายสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้น สังเกตและบันทึกผล อธิบายสิ่งที่สังเกตได้อาจทำการทดลอง สำรวจหรือค้นคว้าเพิ่มเติมได้ และนำเสนอผลงานกลุ่มหน้าชั้นเรียน เป็นต้น

Clarification Pause

เมื่ออธิบายถึงประเด็นที่สำคัญ ผู้สอนควรให้เวลาผู้เรียนตกผลึกความคิด และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามหากต้องการค้าอธิบายเพิ่มเติม (ผู้สอนควรจะเดินไปรอบ ๆ ห้อง เพราะผู้เรียนมักไม่กล้าถามหน้าชั้นเรียน)

Card Sorts

Chain Note

ผู้สอนจัดเตรียมบัตรคำ/บัตรภาพไว้ให้ผู้เรียนจัดกลุ่มบัตรภาพนั้นๆ และต้องอธิบายเกณฑ์ที่ใช้จัดกลุ่มให้เพื่อนและผู้สอนฟัง และอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน

Chain Note

ผู้สอนเตรียมคำถาม/ข้อความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ต้องการไว้ โดยอาจพิมพ์ลงบนกระดาษ A4 แล้วให้ผู้เรียนแต่ละคนตอบคำถามหรือข้อความนั้นๆ เพียง 1-2 ประโยค จากนั้นส่งต่อกระดาษแผนนั้นให้เพื่อนที่นั่งถัดไปเพื่อช่วยกันตอบคำถามนั้นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถใช้ก่อนเรียนหรือหลังเรียนได้และควรส่งกระดาษแผ่นนั้นกลับในทิศทางเดิม เพื่อให้ผู้ที่เขียนก่อนได้อ่านความเห็นทั้งหมดด้วย

Team – pair – solo

เทคนิคการทำเป็นกลุ่ม ทำเป็นคู่  และทำคนเดียว  เป็นเทคนิคที่ผู้สอนกำหนดปัญหาหรืองานให้แล้วนักเรียนทำงานร่วมกันทั้งกลุ่มจนงานสำเร็จ  จากนั้นจะแยกทำงานเป็นคู่จนงานสำเร็จ  สุดท้ายผู้เรียนแต่ละคนแยกมาทำเองจนสำเร็จได้ด้วยตนเอง

Students’ Reflection

Students’ Reflection

เป็นการให้ผู้เรียนได้สะท้อนความคิด อาจจะให้ผู้เรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในคาบเรียน เสนอแนะเกี่ยวกับการเรียน ถามคำถามที่ยังสงสัย หรือให้ผู้เรียนค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เช่น

    –  Know – Want – Learned เมื่อเริ่มต้นบทเรียน ให้ผู้เรียนเขียนสิ่งที่รู้และสิ่งที่อยากรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียน เมื่อจบบทเรียน ให้ผู้เรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

    – Got – Need และ Exit Ticket เมื่อจบบทเรียน ให้ผู้เรียนเขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้อาจเป็นการสรุปร่วมกันหน้าชั้นเรียน และวางแผนกิจกรรมการเรียนจากสิ่งที่อยากรู้เพิ่มเติม

– Diary/ Journal Note เขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ค้าถามที่ยังสงสัย และความรู้ ความในใจ

Simultaneous round table

Simultaneous round table

 เทคนิคนี้เหมือนการเขียนรอบวง  แตกต่างกันที่เน้นให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มเขียนคำตอบพร้อมกัน และให้ตอบพร้อมกัน

จากตัวอย่างกิจกรรมที่กล่าวมานั้นสิ่งสำคัญคือไม่ว่าผู้สอนจะเลือกทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริม ActiveLearning กิจกรรมใด ความสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง หากผู้สอนได้เริ่มต้นกิจกรรมนำบทเรียนแล้ว ผู้เรียนจะเกิดความคาดหวังที่จะเข้าร่วมกิจกรรมลักษณะนั้นอีกและต้องการแสดงความสามารถของตนให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ขอบคุณที่มา : กมลวรรณ  สุภากุล

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning มีอะไรบ้าง

กำรจัดกำรเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) คือการเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher-Order Thinking) ด้วยการวิเคราะห์ ประเมินค่า และ สร้างสรรค์ไม่เพียงแต่เป็นผู้ฟัง ผู้เรียนต้องอ่าน เขียน ตั้งค าถาม และถาม อภิปรายร่วมกัน ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง โดย ...

แอคทีฟเลินนิ่งคืออะไร

Active Learning จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความ ...

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีข้อดีอย่างไร

ข้อดี 1. ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการเรียนรู้ของตนเอง 2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นด้าน การคิดมากกว่าการฟังผู้สอนในห้องเรียนและการท่องจำ 3. ช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้ผู้เรียนสามารถ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Life-Long. Learning)

ตัวอย่างกิจกรรม Active Leening มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างกิจกรรมเพื่อส่งเสริม Active Learning.
Concept Map..
Gallery Walk..
Case Study..
Role Playing..
Think – Pair – Share..
Predict – Observe – Explain..
Chain Note..
Students' Reflection..

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง