ตัวอย่างข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน บริษัท

ปัญหาเรื่องแรงงานเป็นหนึ่งในปัญหา Top5 ที่มีเพื่อน ๆ ผู้ประกอบการร้านอาหารสอบถามเข้ามาต่อเนื่อง และพบว่า เพื่อน ๆ ผู้ประกอบการร้านอาหารSMEส่วนใหญ่ ยังอ่อนด้านกฎหมายแรงงานส่งผลให้เกิดการกระทำบางอย่างที่ผิดกฎหมายแรงงานและสุ่มเสี่ยงต่อการต้องรับโทษ ต้องชดเชย หากเกิดกรณีพิพาทระหว่างลูกจ้าง นายจ้าง หรือ หากมีการสุ่มตรวจจากแรงงานในเขตพื้นที่ ซึ่งต้องบอกเลยว่า หากมีกรณีพิพาทเรื่องแรงงานโอกาสที่นายจ้างSMEส่วนใหญ่จะตกเป็นฝ่ายผิดมีสูงเพราะยังขาดความรู้ด้านกฎหมายแรงงานนั่นเองซึ่งหนึ่งในกฎระเบียบสำคัญที่กฎหมายแรงงานกำหนดให้นายจ้างต้องทำ แต่เชื่อว่า มีเพื่อน ๆ ผู้ประกอบการSME จำนวนไม่น้อยไม่ได้ทำก็คือ “ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน”

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานคืออะไร ต้องทำเมื่อไหร่

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 108 กำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานเป็นภาษาไทย โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายในการให้จัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานทำขึ้นก็เพื่อกำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่พึงปฏิบัติต่อกัน ให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงานและเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดขัดแย้งซึ่งกันละกัน

ส่วนในทางปฎิบัติจริง ๆ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ก็เสมือนข้อตกลง หรือ ข้อผูกมัดเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันในทุก ๆ ประเด็นการทำงาน สิทธิหน้าที่ต่าง ๆ ของนายจ้างและลูกจ้างจะปฏิบัติต่อกันตามกรอบกฎหมาย นั่นเอง

ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต้องมีอะไรบ้าง

สำหรับหัวข้อที่กฎหมายบังคับไว้ว่าต้องมีอยู่ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะมีอยู่ 8 หัวข้อหลัก ๆ ใครจะทำมากกว่า 8 หัวข้อนี้ก็ได้ แต่จะทำน้อยกว่าไม่ได้

1) วันทํางาน เวลาทํางานปกติ และเวลาพัก

2) วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด

3) หลักเกณฑ์การทํางานล่วงเวลาและการทํางานในวันหยุด

4) วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด

5) วันลาและหลักเกณฑ์การลา

6) วินัยและโทษทางวินัย

7) การร้องทุกข์

8) การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ

โดยจะต้องมีรายละเอียดให้ครบทั้ง 8 หัวข้อ และเพื่อน ๆ ในฐานะนายจ้างจะต้องประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน15วันนับแต่วันที่มีลูกจ้างรวมกันสิบคนขึ้นไป และต้องส่งสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้แก่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ส่วนตัวนายจ้างก็ต้องจัดเก็บสำเนาข้อบังคับนั้นไว้ ณ สถานประกอบกิจการ หรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลาด้วย รวมถึงต้องเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนี้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้ทราบและดูได้โดยสะดวก และหากมีการแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กฎหมายกำหนดให้นายจ้างประกาศข้อบังคับที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นภายใน7 วันนับแต่วันที่ประกาศใช้ข้อบังคับที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ไม่ต้องส่งสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้แก่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

ข้อความระวังในการเขียนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

สำหรับข้อที่นายจ้างควรระวังในการเขียนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ผู้เชียวชาญด้านกฎหมายแรงงาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการร้านอาหารอย่างอาจารย์เต้ย (พรีพฒัน์ กองทอง) ได้ให้คำแนะนำว่า เขียนให้อยู่ภายใต้กรอบกฎหมายแรงงานกำหนดไว้ และให้ระวังหากจะเขียนอะไรที่เกิดกว่ากฎหมายกำหนด เช่น การจ่ายโบนัส เพราะหากเขียนอะไรลงไปในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว จะมีผลผูกมัดนายจ้างด้วย ยกตัวอย่าง เขียนไว้ว่า จะมีการให้โบนัสอย่างน้อย 1 เดือนต่อปี ถึงเวลาปีนั้นขาดทุนไม่สามารถจ่ายโบนัสได้ พนักงานสามารถฟ้องร้องให้นายจ้างได้ ดังนั้นให้การจะเขียนอะไรลงไปต้องมั่นใจว่าจะปฏิบัติตามที่เขียนได้ หรือ หากเขียนไปแล้วทำไม่ได้ตามนั้นจริง ก็ต้องรีบแก้ไขและประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่แก้ไขไปใหม่ตามกฎหมายกำหนดไว้

อาจารย์เต้ย (พรีพฒัน์ กองทอง)

ถึงตรงนี้ หากร้านเพื่อน ๆ ท่านใดมีพนักงานเกิน 10 คนและยังไม่ได้มีการจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน รีบดำเนินการทันที เพราะเราไม่รู้หรอกว่า เจ้าหน้าที่แรงงานในพื้นที่จะมาเยี่ยมเยียนเราเมื่อไหร่

ดาวน์โหลดตัวอย่างการเขียนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

❗️และไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเปิดร้านอาหารประเภทไหนหากมีการจ้างงานเกิดขึ้นเพื่อน ๆ จำเป็นต้องมีวิชาในการบริหารพนักงานให้ทำตามระบบที่วางไว้เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้า เพื่อให้ร้านเกิดกำไรอยู่ได้

และที่สำคัญ เมื่อมีการจ้างงานเกิดขึ้นสิ่งที่เพื่อน ๆ ต้องรู้อย่างยิ่งก็คือ “กฎหมายแรงงาน” ผู้ประกอบการร้านอาหารSME จำนวนไม่น้อยกำลังกระทำผิดกฎหมายแรงงานที่เสี่ยงต่อการถูกปรับ ถูกจับ โดยไม่รู้ตัว เพื่อน ๆ ก็อาจเป็นหนึ่งในนั้น


อย่าปล่อยให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยมาแก้ เพราะค่าของคำว่า “รู้งี้ๆ” มันมีมูลค่าสูงเสมอ


?หลักสูตร People Restaurant Management (PRM)
>วิชาบริหารทีมงานให้ร้านเติบโตแบบเชนเรสเตอร์รอง< รุ่น 2
เราออกแบบเนื้อหาเน้นกลยุทธ์ เทคนิค และวิธีบริหารจัดการพนักงานแบบ 360 องศาเพื่อให้เพื่อน ๆ มีเครื่องมือในการจัดการทุกปัญหาเรื่องแรงงาน
▬▬▬▬▬
?อยากขอร้องให้เพื่อน ๆ มาเรียนรู้เพราะมันสำคัญมากต่อกิจการของเพื่อน ๆ เอง รุ่นนี้เป้นรุ่นสุดท้ายปี จบรุ่นนี้กลางปีหน้าจึงจะมีรุ่นถัดไปและตอนนี้ใกล้เต็มแล้ว เพราะเรารับจำกัด
▬▬▬▬▬
?อบรม 2 วัน 18-19 กันยายน 2562
เวลา 9.00 น.-16.00 น.
 สถานที่อบรม
สำนักบริการคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
อัตราค่าหลักสูตร

พิเศษที่สุดเพียง 7,500 บาท/คน เท่านั้น

(จากราคาเต็ม 12,000 บาท)
:
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ปิดรับสมัครทันทีเมื่อครบจำนวนจำกัด
:
โทร. 0917804724 (คุณโอ๋)
 //m.me/restaurantbuddy
ID Line : @tf-restaurant

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

READ  วิธีจัดการปัญหารสชาติอาหารเพี้ยน สไตล์ร้านแบรนด์ดัง

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน มีอะไรบ้าง

ข้อบังคับการทำงานหรือระเบียบการทำงานเป็นเสมือนสัญญาหลัก ซึ่งเป็นแนวระเบียบปฏิบัติที่นายจ้างเป็นผู้กำหนดให้ลูกจ้างใช้ยึดถือเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดแรงงานสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และอย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียดครบถ้วนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงงานปี พ.ศ.2541 ม.108 ได้แก่

ข้อบังคับของบริษัท คืออะไร

ข้อบังคับบริษัทหรือข้อบังคับของบริษัทเป็นกฎเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือระเบียบภายในของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดซึ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการสำคัญๆ ของบริษัทซึ่งตกลงกันโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้น โดยที่ข้อบังคับบริษัทนั้นล้วนผูกพันและใช้บังคับกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทนั้นๆ เช่น ตัวผู้ถือหุ้นเอง กรรมการ กรรมการผู้จัดการ ผู้ ...

เหตุใดสถานประกอบการจึงต้องมีกฏระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้พนักงานปฏิบัติ

การจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพื่อกำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่พึงปฏิบัติต่อกัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงานและเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดขัดแย้งซึ่งกันละกัน โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 108 ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ...

เมื่อใดต้องมีข้อบังคับการทำงาน

นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จะต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย อย่างน้อยต้องมี รายละเอียดดังนี้ – วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก – วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด – หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง