จง อธิบาย สาขา วิชา จิตวิทยา พร้อม ทั้ง อธิบาย ด้วยว่า ศึกษาเกี่ยวกับ อะไร

ใส่ใจหรือสามารถ? นักการเมืองแบบไหนดี?

การรับรู้บุคลิกภาพของผู้สมัครรับเลือกตั้ง : กระบวนการทางจิตวิทยาสังคมที่ส่งผลทางการเมือง

หากผู้เขียนถามผู้อ่านว่าท่านใช้เกณฑ์ใดในการเลือกผู้ว่ากรุงเทพหรือผู้แทนราษฎรมาเป็นตัวแทนของพวกท่าน ท่านจะตอบว่าอะไร?

บางท่านอาจจะตอบว่าพรรคการเมืองที่นักการเมืองคนนั้นสังกัดอยู่ บางท่านอาจจะตอบว่าประสบการณ์ทางการเมืองของผู้สมัครคนนั้น บางท่านอาจจะตอบว่าความเข้ากันได้ของอุดมการณ์ทางการเมืองของผู้สมัครและของท่าน คำตอบเหล่านี้ไม่มีผิดถูก อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความสวยงามของเจตจำนงอิสระของปัจเจกบุคคลที่นักจิตวิทยาให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะนักจิตวิทยาสังคมที่ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยทางสังคมต่อการรู้คิดและพฤติกรรมของบุคคล

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับนักจิตวิทยาสังคม แต่จากการค้นคว้าของผู้เขียนกลับไม่พบการศึกษาทางจิตวิทยาสังคมเกี่ยวกับการเลือกผู้สมัครในประเทศไทยเลย การศึกษามักเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยทั่วไปซึ่งนักรัฐศาสตร์ให้ความสนใจ งานวิจัยที่ใกล้เคียงกับหัวข้อนี้ที่สุดคือสารนิพนธ์ของคุณพิรุณธร เบญจพรรังสิกุล (2554) ที่ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางการตลาดทางการเมือง เช่น นโยบายและผู้สมัคร สื่อจากพรรค ภาพลักษณ์ของพรรคต่อการเลือกพรรคการเมือง ซึ่งก็เป็นงานวิจัยทางการตลาด ไม่ใช่งานวิจัยด้านจิตวิทยาสังคม ผู้เขียนจึงขอนำเสนองานวิจัยจากต่างประเทศที่ศึกษาว่าการรับรู้บุคลิกภาพของผู้สมัครส่งผลต่อการเลือกอย่างไร และหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านในวันที่บ้านเมืองเราจะมีการเลือกตั้งอีกครั้ง

มิติบุคลิกภาพพื้นฐานหลักที่นักจิตวิทยาสังคมใช้เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาการรับรู้ทางสังคม (Abele & Wojciszke, 2014; Judd et al., 2005) มี 2 ประเภท ได้แก่ ความอบอุ่นและความสามารถความอบอุ่นเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะทางสังคม เช่น ความเป็นมิตร ความน่าคบหา และคุณลักษณะด้านจริยธรรม เช่น ซื่อสัตย์ ไว้ใจได้ มีจริยธรรม ส่วนความสามารถนั้นเกี่ยวข้องกับการมีความรู้ ทักษะต่าง ๆ แต่ละคนมีทั้งความอบอุ่นและความสามารถ และมีในระดับต่างกันได้ บางคนจิตใจดี น่ารัก แต่ไม่ค่อยฉลาด บางคนเก่งแต่ไม่น่าคบ บางคนทั้งเก่งทั้งนิสัยดี บางคนนิสัยก็ไม่ดีแถมไม่เก่งก็มี

การรับรู้บุคลิกภาพของผู้อื่นมีความสำคัญในแง่วิวัฒนาการ (Fiske et al., 2007) เพราะความอบอุ่นเป็นคุณลักษณะที่บ่งบอกว่าบุคคลนี้จะเป็นมิตรหรือศัตรูกับเรา โดยทั่วไปเราจะมองว่าคนที่มีความอบอุ่นสูงจะไม่ทำอันตรายเรา เราสามารถคบหากับคน ๆ นี้ได้ ส่วนผู้ที่มีความอบอุ่นต่ำมักจะได้รับการมองในทางลบ ไม่น่าคบและไม่น่าเข้าใกล้ ส่วนความสามารถเป็นสิ่งที่เราใช้ประเมินว่าบุคคลนี้จะมีโอกาสในการประสบความสำเร็จแค่ไหนในสิ่งที่เขาตั้งเป้าไว้ ผู้ที่มีความสามารถสูงย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่าผู้ที่มีความสามารถน้อยกว่า เมื่อพิจารณาทั้งสองบุคลิกภาพรวมกัน เราจะได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการคัดเลือกคนรอบตัวเรา เช่น เราอาจจะยอมเก็บคนที่มุ่งร้ายต่อเราแต่ไม่เก่งไว้ข้างตัวเรามากกว่าคนที่มุ่งร้ายต่อเราและมีความสามารถ เนื่องจากคนที่สองเป็นอันตรายกับเรามากกว่า ในการเลือกคู่ครอง เราอาจจะเลือกคนที่จะไม่นอกใจเราที่ไม่ได้รวยมากแทนที่จะเลือกคนที่รวยมากแต่โกหกเราตลอดก็ได้ ในบริบทนี้การรับรู้บุคลิกภาพในแง่ของความอบอุ่นและความสามารถมีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ นักจิตวิทยาสังคมได้นำบุคลิกภาพสองมิตินี้ไปศึกษาต่อในหลายบริบท ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้กลุ่ม (stereotype content model: Fiske et al., 2002) และแบรนด์ (Brands as Intentional Agents Framework: Kervyn et al., 2012)

ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ยังไม่มีงานวิจัยในไทยที่นำกรอบแนวคิดของจิตวิทยาสังคมมาศึกษาการเลือกผู้สมัครทางการเมือง แต่ในต่างประเทศมีนักวิจัยศึกษาผลของการรับรู้ความอบอุ่นและความสามารถของผู้สมัครรับเลือกตั้งต่อการเลือกผู้สมัครแล้ว โดยเป็นการศึกษาร่วมกับตัวแปรอื่นดังนี้

Chen & Lee (2012) ศึกษาว่าวัฒนธรรม คือ แนวโน้มปัจเจกนิยมกับคติรวมหมู่ (individualism and collectivism orientation) มีผลต่อการให้น้ำหนักบุคลิกภาพทั้งสองหรือไม่ โดยพวกเขาวิเคราะห์ว่าความอบอุ่นถือเป็นความสามารถทางสังคม (social competence) ลักษณะที่สะท้อนความสามารถดังกล่าวอาจจะทำให้ประเทศที่มีวัฒนธรรมแบบคติรวมหมู่ให้น้ำหนักกับความสามารถทางสังคมมากกว่าความสามารถทั่วไป เมื่อเทียบกับประเทศที่มีวัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยมก็ได้ คณะผู้วิจัยทำการทดลองโดยให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและไต้หวันดูรูปของผู้สมัครเลือกตั้งที่ได้รับการเลือกตั้งมาแล้วกับผู้ที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งในประเทศของตน ประเมินลักษณะของบุคคลในรูป ได้แก่ ฉลาด มีความสามารถ ประสบความสำเร็จ (สะท้อนความสามารถ) มีทักษะการเข้าสังคม ปรับตัวเข้ากับสังคมได้เก่ง (สะท้อนความสามารถทางสังคม) เป็นที่ชื่นชม นิสัยดี เป็นมิตร (สะท้อนความเป็นที่ชื่นชอบ) มีเกียรติ ซื่อตรง พึ่งพาได้ มีมโนธรรม (สะท้อนการมีมโนธรรม) การใช้อำนาจ การมีอำนาจและการกล้าแสดงออก (สะท้อนความมีอำนาจ) และวิเคราะห์ทางสถิติว่ากลุ่มคุณลักษณะเหล่านี้มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครจริงที่เกิดขึ้นไปแล้วและการสนับสนุนผู้สมัครโดยรวมหรือไม่

สำหรับผู้ร่วมการทดลองจากสหรัฐอเมริกาพบว่า การรับรู้ความสามารถของผู้สมัครเป็นตัวแปรเดียวที่ทำนายการตัดสินใจเลือกผู้สมัครได้ และยังพบว่าการรับรู้ถึงความมีอำนาจลดการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ในขณะที่ความสามารถ ความสามารถทางสังคม การเป็นที่ชื่นชม การมีมโนธรรมและความมีอำนาจทำนายการสนับสนุนผู้สมัครโดยรวม นอกจากนี้ การสนับสนุนผู้สมัครโดยรวมยังได้รับอิทธิพลร่วมจากการรับรู้ความสามารถของผู้สมัครและแนวโน้มปัจเจกนิยมของผู้ร่วมการทดลอง โดยพบว่าผู้ที่มีแนวโน้มปัจเจกนิยมสูงสนับสนุนผู้สมัครที่รับรู้ว่ามีความสามารถมากกว่าผู้ที่มีแนวโน้มปัจเจกนิยมต่ำ นอกจากนี้ยังพบอิทธิพลร่วมของการรับรู้ความสามารถทางสังคมและแนวโน้มคติรวมหมู่ที่ส่งผลต่อการสนับสนุนโดยรวม โดยพบว่าผู้ที่มีแนวโน้มคติรวมหมู่สูงสนับสนุนผู้สมัครที่รับรู้ว่ามีความสามารถทางสังคมมากกว่าผู้ที่มีแนวโน้มคติรวมหมู่ต่ำ สุดท้ายยังพบว่าการรับรู้ความมีมโนธรรมและแนวโน้มปัจเจกนิยมมีผลต่อการสนับสนุนโดยรวม โดยพบว่าผู้ที่มีแนวโน้มปัจเจกนิยมสูงสนับสนุนผู้สมัครที่รับรู้ว่ามีมโนธรรมน้อยกว่าผู้ที่มีแนวโน้มปัจเจกนิยมต่ำ

สำหรับผู้ร่วมการทดลองชาวไต้หวันพบว่าความสามารถของผู้สมัครมีผลต่อการตัดสินใจเลือกจริง แต่ความสามารถทางสังคมและความเป็นที่ชื่นชอบของผู้สมัครก็มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครเช่นกัน และพบว่าการรับรู้ถึงความมีอำนาจลดการตัดสินใจเลือกจริงเช่นเดียวกับชาวอเมริกัน ในการสนับสนุนผู้สมัครโดยรวมพบผลที่เหมือนกับที่พบในชาวอเมริกันคือ ความสามารถ ความสามารถทางสังคม การเป็นที่ชื่นชม การมีมโนธรรมและความมีอำนาจทำนายการสนับสนุนผู้สมัครโดยรวม และพบอิทธิพลของแนวโน้มปัจเจกนิยมร่วมกับการรับรู้ว่ามีความสามารถ โดยรวมแล้วงานวิจัยนี้จึงแสดงให้เห็นว่าการรับรู้บุคลิกภาพของผู้สมัครกับค่านิยมทางวัฒนธรรมในระดับบุคคลมีผลต่อการเลือกตั้งมากกว่าวัฒนธรรมในระดับประเทศ

Bennett et al. (2019) ศึกษาการรับรู้บุคลิกภาพของนักการเมืองจาก 2 พรรคหลักในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ บุช ครูซและทรัมป์จากรีพับลิกัน กับคลินตัน โอบาม่าและแซนเดอรส์จากเดโมแครต พบว่าทั้งความอบอุ่นและความสามารถทำนายการตัดสินใจเลือกผู้สมัครทุกคนได้ ยกเว้นบุชที่พบว่าการรับรู้ความสามารถเท่านั้นที่สามารถทำนายการตัดสินใจเลือกเขาได้ นอกจากปัจจัยด้านการรับรู้บุคลิกภาพแล้วการระบุว่าตนเป็นรีพับลิกันหรือเดเมแครต (political party affiliation) ก็มีผลต่อการเลือกตั้งเช่นกัน โดยพบว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกผู้สมัครจากพรรคที่ตนเป็นสมาชิกมากกว่า ที่น่าสนใจคือความเป็นสมาชิกพรรคมีผลต่อการรับรู้บุคลิกภาพของผู้สมัคร โดยพบว่าทั้งผู้ที่ระบุว่าตนเป็นรีพับลิกันและเดโมแครตประเมินผู้สมัครที่มาจากพรรคของตนดีกว่าผู้สมัครจากอีกพรรค

Bor (2020) ได้ทดสอบว่าสภาพเศรษฐกิจที่ดีหรือย่ำแย่จะส่งผลต่อการเลือกผู้สมัครที่มีเมตตาและใส่ใจประชาชนกับผู้สมัครที่น่าไว้ใจและเป็นที่พึ่งได้ใน 3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและเดนมาร์กหรือไม่ พบว่าบุคลิกภาพของผู้สมัครมีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครมากกว่าสภาพเศรษฐกิจเสียอีก โดยพบว่าบุคลิกภาพทั้งสองกลุ่มทำนายการเลือกได้ โดยความอบอุ่นมีน้ำหนักมากกว่าความสามารถ

การศึกษาที่กล่าวถึงเป็นแค่ส่วนหนึ่งของงานวิจัยในหัวข้อนี้เท่านั้น และแน่นอนว่าการรับรู้บุคลิกภาพของผู้สมัครไม่สามารถทำนายการตัดสินใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ การตัดสินใจใด ๆ ก็ตามของมนุษย์มีความซับซ้อนกว่านั้นมาก ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยและกระบวนการดังกล่าวให้ลึกซึ้งและครอบคลุมขึ้น อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่ากระบวนการทางจิตวิทยาสังคมส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมือง หากนักการเมืองต้องการประสบความสำเร็จก็ควรให้ความสำคัญกับกระบวนการนี้ แต่ที่สำคัญกว่าคือผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งก็ควรรู้เท่าทันว่าเป้าหมายของนักการเมืองคืออะไร บุคลิกภาพที่พวกเขาแสดงออกสอดคล้องกับตัวตนจริงของเขาหรือไม่ นักการเมืองต้องการให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรับรู้พวกเขาในทิศทางที่จะเป็นประโยชน์กับพวกเขาเฉพาะเวลาที่พวกเขาต้องการเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเท่านั้นหรือไม่ การกระทำของนักการเมืองพ้องรับกับภาพลักษณ์ที่พวกเขาแสดงออกและต้องการให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรับรู้หรือไม่ การรอบรู้ถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเรา และการตัดสินใจอย่างรอบคอบมีความสำคัญอย่างยิ่งหากประชาชนต้องการเพิ่มโอกาสในการเลือกผู้แทนที่จะ “ใส่ใจ” ความต้องการของประชาชน และ “สามารถ” ทำงานตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

รายการอ้างอิง

พิรุณธร เบญจพรรังสิกุล. (2554). ปัจจัยทางการตลาดทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกพรรคการเมืองไทยของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. //ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/99682/1/Pirunthorn_B.pdf

Abele, A. E., & Wojciszke, B. (2014). Communal and agentic content in social cognition: A dual perspective model. In J. M. Olson & M. P. Zanna (Eds.), Advances in Experimental Social Psychology (Vol. 50, pp. 195-255). //doi.org/10.1016/B978-0-12-800284-1.00004-7

Bennett, A. M., Malone, C., Cheatham, K., & Saligram, N. (2019). The impact of perceptions of politician brand warmth and competence on voting intentions. Journal of Product & Brand Management, 28(2), 256-273. //doi.org/10.1108/JPBM-09-2017-1562

Bor, A. (2020). Evolutionary leadership theory and economic voting: Warmth and competence impressions mediate the effect of economic perceptions on vote. The Leadership Quarterly, 31(2), 101295. //doi.org/10.1016/j.leaqua.2019.05.002

Chen, F. F., Jing, Y., & Lee, J. M. (2012). “I” value competence but “we” value social competence: The moderating role of voters’ individualistic and collectivistic orientation in political elections. Journal of Experimental Social Psychology, 48(6), 1350-1355. //doi.org/10.1016/j.jesp.2012.07.006

Fiske, S. T., Cuddy, A. J., & Glick, P. (2007). Universal dimensions of social cognition: Warmth and competence. Trends in cognitive sciences, 11(2), 77-83. //doi.org/10.1016/j.tics.2006.11.005

Fiske, S. T., Cuddy, A. J., Glick, P., & Xu, J. (2002). A model of (often mixed) stereotype content: competence and warmth respectively follow from perceived status and competition. Journal of personality and social psychology, 82(6), 878-902. //doi.org/10.1037/0022-3514.82.6.878

Judd, C. M., James-Hawkins, L., Yzerbyt, V., & Kashima, Y. (2005). Fundamental dimensions of social judgment: understanding the relations between judgments of competence and warmth. Journal of Personality and Social Psychology, 89(6), 899-913. //psycnet.apa.org/buy/2005-16185-005

Kervyn, N., Fiske, S. T., & Malone, C. (2012). Brands as intentional agents framework: How perceived intentions and ability can map brand perception. Journal of Consumer Psychology, 22(2), 166-176. //doi.org/10.1016/j.jcps.2011.09.006

บทความวิชาการโดย

อาจารย์ ดร.ภัคนันท์ จิตต์ธรรม

อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคมพื้นฐานและประยุกต์

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง