คณะ สาธารณสุข ศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2558

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

8.1 นักวิชาการสาธารณสุขประจำหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ

8.2 เป็นนักวิชาการสาธารณสุขประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

9. ชื่อ เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 ที่

ชื่อ-สกุล

เลขประจำตัวประชาชน

ตำแหน่งทางวิชาการ

คุณวุฒิ

1.

นายพงษ์เดช   สารการ

3-3401-00681-xx-x

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)

วท.ม. (สถิติประยุกต์)

2.

นางศิริพร   คำสะอาด

3-7202-00033-xx-x

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วท.บ. (พยาบาล)

ส.ม. (ชีวสถิติ)

3.

นางเนาวรัตน์  ตั้งศรีทอง

3-3607-00458-xx-x

อาจารย์

วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)

วท.ม. (ปรสิตวิทยา)

10. สถานที่จัดการเรียนการสอน

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น    

11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนถูกผลักดันให้มีการแข่งขันสูง ลักษณะการทำงานต้องเร่งรีบ เพื่อให้รองรับกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น คนในวัยแรงงานคือรุ่นพ่อแม่ต้องทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตโดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือดอุบัติเหตุ โรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเครียด นอกจากนี้ยังส่งผลต่อโครงสร้างครอบครัว จากการที่พ่อแม่หรือลูกหลานต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ ใช้เวลากับการทำงานนอกบ้าน หรือต่างจังหวัด ทำให้ครอบครัวมีขนาดเล็กลงและขาดความแข็งแกร่ง กลุ่มเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุได้รับการดูแล เอาใจใส่จากครอบครัวน้อยลง จึงมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพในที่สุด ดังนั้น        การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรต้องนำปัญหาสุขภาพของประชาชนมาพิจารณาอย่างรอบด้าน และให้ความสำคัญที่   สุขภาวะของประชาชนด้วย

11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้คนไทยรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และรับวัฒนธรรมจากต่างชาติมากขึ้น  ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและลักษณะโครงสร้างของครอบครัวจากครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยว การพัฒนาทางสังคมของประเทศไทยยังไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีอิทธิพลต่อประชากรทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ทำให้รูปแบบการดำรงชีวิตและบริบทอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก วัยรุ่น และผู้สูงอายุ ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย นอกจากนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางการบริการสุขภาพ จึงมีคนต่างชาติเข้ามารับบริการสุขภาพมากขึ้นทุกปี   

12. ผลกระทบจากข้อ 11 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

12.1 การพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตรจะเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ในการควบคุมป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพของตนเอง เพิ่มบทบาทของผู้สำเร็จการศึกษาในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพแก่บุคคลทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก วัยรุ่น และผู้สูงอายุ สามารถใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

บูรณาการพันธกิจด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ ที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น เข้ากับการจัดการเรียนการสอนในทุกรายวิชาทางด้านสาธารณสุขและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมการแก้ปัญหาสุขภาพเฉพาะท้องถิ่น การวิจัยและบริการวิชาการแก่ชุมชนร่วมกับอาจารย์ โดยคำนึงถึงสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่เฉพาะของท้องถิ่นและประเทศซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากลที่มุ่งการพัฒนาชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง

13. ความสัมพันธ์ (ถ้ามี) กับหลักสูตรอื่น ที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน

13.1 การบริหารหลักสูตรนี้ 

(1) แต่งตั้งผู้ประสานงานรายวิชาทุกภาควิชา เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาในการพิจารณาข้อกำหนดรายวิชา การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลการดำเนินการ

       (2) มอบหมายคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น ควบคุมดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักสูตร

13.2 การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ มีคณะ/ภาควิชา/สาขาวิชาอื่นในมหาวิทยาลัยร่วมด้วยหรือไม่อย่างไร

มี 

รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เปิดสอนโดยสำนักวิชาศึกษาทั่วไป 10 รายวิชา  

รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มภาษา เปิดสอนโดยสถาบันภาษา 4 รายวิชา            

รายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ หมวดวิชาพื้นฐาน เปิดสอนโดยคณะสาธารณสุขศาสตร์  29  รายวิชา

รายวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต เปิดสอนโดยคณะต่าง ๆ ซึ่งขึ้นกับความสนใจของนักศึกษา

13.3 รายวิชาในหลักสูตรนี้มีผู้เรียนในสาขาอื่นเรียนด้วย ได้แก่ นักศึกษาจากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาตรี

1. ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณทิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Public Health Program in Community Public Health
  1.  ชื่อปริญญา
    (ภาษาไทย) ชื่อเต็ม : สาธารณสุขศาสตรบัณทิต (สาธารณสุขชุมชน)
    ชื่อย่อ : ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน)
    (ภาษาอังกฤษ) ชื่อเต็ม : Bachelor of Public Health (Community Public Health)
    ชื่อย่อ : B.P.H. (Community Public Health)
ภาพรวมของหลักสูตร
ประเภทของหลักสูตรหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการจำนวนหน่วยกิต135 หน่วยกิตระยะเวลาการศึกษา / วงรอบหลักสูตร4 ปีสถานภาพของหลักสูตรและกำหนดการเปิดสอนหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561
เปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561การให้ปริญญาให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว (Single Degree)สถาบันผู้ประสาทปริญญา
(ความร่วมมือกับสถาบันอื่น)มหาวิทยาลัยมหิดลข้อมูลเฉพาะของหลักสูตรเป้าหมาย / วัตถุประสงค์
Purpose / Goals / Objectivesเป้าหมายของหลักสูตร
บัณฑิตจบจากหลักสูตรมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถปฏิบัติงานด้านวิชาชีพสาธารณสุขศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพ มีความมุ่งมั่นรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้รับบริการสุขภาพ ชุมชน และวิชาชีพ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อพัฒนาสุขภาพของบุคคลและชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดลวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
จัดการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถและคุณลักษณะ ดังนี้
1) ปฏิบัติตนด้วยความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพสาธารณสุข มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎระเบียบทางสังคมและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2) คิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุผลวิเคราะห์และสังเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพของชุมชนชนบท ชุมชนเมือง และชุมชนอุตาสาหกรรมได้อย่างเป็นองค์รวม
3) วางแผนแก้ไขปัญหาทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดได้อย่างสร้างสรรค์
4) มีมนุษยสัมพันธ์และทักษะการสื่อสาร สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลอื่นได้เหมาะสมกับสถานการณ์
5) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้และการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ
6) มีทักษะการให้บริการวิชาการด้านสุขภาพ การส่งเสริม ป้องกัน ควบคุม การรักษาโรคเบื้องต้น และการฟื้นฟูสุขภาพ ตลอดจนมีทักษะกระบวนการแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชนได้อย่างเป็นองค์รวมลักษณะเฉพาะของหลักสูตร
Distinctive Features1. ผลิตบัณฑิตทางด้านสาธารณสุขที่เข้าใจบริบทของการทำงานจริงในแต่ละหน่วยงาน ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถทำงานได้ทันที
2. นักศึกษามีสมรรถนะด้านการวิจัย (Research Competency) และจัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner center Education) บูรณาการความรู้และการฝึกปฏิบัติงานจริง (Learning by Doing) ตลอดหลักสูตร ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิตทวิภาค
มีการฝึกงาน/ฝึกประสบการณ์ในภาคฤดูร้อน
(ลงทะเบียนภาคฤดูร้อน ชั้นปีที่ 3)เส้นทางความก้าวหน้าของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีพสามารถประกอบได้1. นักวิชาการสาธารณสุข/เจ้าพนักงานสาธารณสุข ในหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศูนย์บริการสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้นหรือหน่วยงานภาคเอกชน
2. นักวิจัย/ผู้ช่วยนักวิจัยทางด้านสุขภาพในองค์กรวิจัยทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรอิสระการศึกษาต่อสามารถศึกษาในสาขาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตลอดจนสาขา อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศปรัชญาการศึกษาในการบริหารหลักสูตรปรัชญาการศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome based Education) โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner center Education) และเน้นการเรียนรู้จากภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดเป็นทักษะหรือองค์ความรู้เพิ่มเติมใหม่ที่สร้างได้ด้วยตนเอง (Constructionism) ทำให้บัณฑิตสามารถประกอบวิชาชีพสาธารณสุขได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมทำงานได้ทุกสถานการณ์และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนสมรรถนะที่เสริมสร้างให้นักศึกษาของหลักสูตรGeneric Competences1) มีทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการวางแผน จัดการแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจด้วยมุมมองที่หลากหลาย
2) คิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ทำวิจัยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์โดยการประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
3) มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ
4) เลือกใช้วิธีการสื่อสาร ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนที่มีประสิทธิภาพกับกลุ่มเป้าหมาย
5) ทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม โดยเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล
6) รู้เท่าทันตนเองและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีความเป็นอิสระแห่งตัวตนภายใต้กฎระเบียบของสังคมและรับผิดชอบต่อส่วนรวมSubject-specific Competences1) มีความรู้ ความเข้าใจศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขศาสตร์ ได้แก่ ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปัจจัยกำหนดสุขภาพระบบสุขภาพของประเทศไทย หลักการส่งเสริมสุขภาพและพฤติกรรมศาสตร์ การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคเบื้องต้น การส่งต่อผู้ป่วย การฟื้นฟูสุขภาพ ระเบียบวิธีวิจัยทางสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ศึกษาชุมชนหลักการแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน การวางแผนและการประเมินผลโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน ตลอดจนจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสาธารณสุข
2) ประยุกต์ใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อปฏิบัติงานในบทบาทนักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือนักวิจัย/ผู้ช่วยนักวิจัยทางด้านสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพและรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิต PLOsSub PLOsPLO1
ให้บริการความรู้ทางวิชาการ คำแนะนำ สุขศึกษา ที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพแก่ประชาชนได้ทั้งระดับบุคคลและชุมชน
1.1 อธิบายหลักการ วิธีการ ในการดูแลตนเอง เพื่อการป้องกันและหลีกเลี่ยงจากพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพให้แก่ประชาชนได้ถูกต้องตามหลักการ1.2 นำเสนอข้อมูลความรู้ทางด้านสุขภาพด้วยวิธีการที่เหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมายPLO2
ตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาโรคเบื้องต้นได้ภายใต้ขอบเขตพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๖ พร้อมทั้งส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นระบบ และมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
 
 2.1 ซักประวัติโรคตามหลักการอย่างถูกต้อง เพื่อให้การวินิจฉัยเบื้องต้นแก่ผู้ป่วย2.2 เลือกวิธีการรักษาโรคเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง ภายใต้ขอบเขตพระราชบัญญัติวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๖2.3 ตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ PLO3
วางแผนประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน และการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพของคนในชุมชน โดยพิจารณาตามบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อม
 3.1 ใช้ความรู้เกี่ยวกับการสาธารณสุขและโครงสร้างระบบการบริหารงานสาธารณสุขในการสร้างเครือข่ายและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.2 วางแผนในการดำเนินการส่งเสริม ป้องกัน ควบคุม และฟื้นฟูสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม 3.3 ทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพได้ทั้งในบทบาทผู้นำและสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริม ป้องกัน ควบคุมและฟื้นฟูสุขภาพของคนในชุมชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทพื้นที่PLO4
พูดโน้มน้าว จูงใจ สื่อสารข้อมูลทางด้านสาธารสุขให้ผู้รับบริการทางด้านสุขภาพและทีมสหวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ภาษาที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่น ตามสถานการณ์
 4.1 สื่อสารได้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาท้องถิ่น โดยใช้ภาษาเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการได้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์4.2 สื่อสารข้อมูลทางด้านสาธารณสุขให้กับผู้รับบริการหรือทีมสหวิชาชีพเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ตรงประเด็นPLO5
ผลิตงานวิจัยทางสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานระเบียบวิธีวิจัย และจริยธรรมการวิจัย



5.1 ใช้หลักการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ในการกำหนดหัวข้อวิจัย5.2 กำหนดรูปแบบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง เลือกใช้สถิติ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้อง เหมาะสมกับประเด็นปัญหาและถูกต้องตามมาตราฐานระเบียบวิธีวิจัย5.3 ดำเนินการวิจัยตามแผนที่กำหนดเพื่อสรุปผลในการตอบคำถามวิจัยได้อย่างถูกต้องตามหลักการ5.4 ผลิตงานวิจัยด้านสาธารณสุขได้ด้วยตนเอง ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นและรับผิดชอบต่อสังคมPLO6
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลทางด้านสาธารณสุขที่น่าเชื่อถือ เพื่อการเรียนรู้และแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานที่ตนรับผิดชอบ


6.1 สืบค้นและตรวจสอบข้อมูลสารสนเทศ และเข้าถึงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อใช้ประโยชน์เชิงวิชาการสาธารณสุข6.2 คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางสาธารณสุขที่ได้รับมาอย่างมีเหตุผล6.3 ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและไม่ตกเป็นเหยื่อหรือกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีPLO7
ประเมินและวางแผนพัฒนาตนเองโดยอาศัยการสะท้อนความคิดและข้อมูลย้อนกลับจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
 7.1 สะท้อนความคิดและประเมินตนเองอย่างเท่าทัน เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นในชีวิตประจำวัน 7.2 คิดวิเคราะห์ข้อมูลทั้งจากตนเองและข้อมูลย้อนกลับจากแหล่งต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล เพื่อประเมินและระบุสิ่งที่ตนเองต้องปรับปรุง 7.3 กำหนดเป้าหมายและวางแผนพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ช่องทางติดต่อ1) งานการศึกษา กลุ่มวิชาการและหลักสูตร โคงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 086-445-6406
2) Facebook Page
//www.facebook.com/PublicHealthMUNA/

 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง