มาตรฐานการติดตั้งตู้ดับเพลิง วสท

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารทั่วไป ทั้งเครื่องดับเพลิงและระบบดับเพลิง มีดังนี้ครับ

กฎกระทรวงฉบับที่ 33, 39, 47, 48, 50, 55

ผมได้ตัดเอาข้อความเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ดับเพลิงในแต่ละฉบับไว้ หรือสามารถอ่านสรุปที่ท้ายบทความเพื่อความเข้าใจแบบง่ายๆครับ

 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535)

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่42 (พ.ศ.2537)ฯ และกฎกระทรวง ฉบับที่50 (พ.ศ.2540)ฯ)

สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ >>  www.dpt.go.th/knowledges/firesafety/pdf/law_33.pdf

ข้อ16 ในอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

(1) อุปกรณ์ส่งสัญญาณเพื่อให้หนีไฟที่สามารถส่งเสียงหรือสัญญาณให้คนที่อยู่ในอาคารได้ยินหรือทราบทั่วถึง

(2) อุปกรณ์แจ้งเหตุที่มีทั้งระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติและระบบแจ้งเหตุที่ใช้มือเพื่อให้อุปกรณ์ตาม (1) ทำงาน

ข้อ 18 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องมีระบบป้องกันเพลิงไหม้ซึ่งประกอบด้วย ระบบท่อยืน ที่เก็บน้ำสำรอง และหัวรับน้ำดับเพลิงดังต่อไปนี้

(1) ท่อยืนต้องเป็นโลหะผิวเรียบที่สามารถทนความดันใช้งานได้ไม่น้อยหว่า 1.2 เมกะปาสกาลเมตร โดยท่อดังกล่าวต้องทาด้วยสีน้ำมันสีแดงและติดตั้งตั้งแต่ชั้นล่างสุดไปยังชั้นสูงสุดของอาคาร ระบบท่อยืนทั้งหมดต้องต่อเข้ากับท่อประธานส่งน้ำและระบบส่งน้ำจากแหล่งจ่ายน้ำของอาคารและจากหัวรับน้ำดับเพลิงนอกอาคาร

(2) ทุกชั้นของอาคารต้องจัดให้มีตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิงที่ประกอบด้วยหัวต่อสายฉีดน้ําดับ

เพลิงพร้อมสายฉีดน้ำาดับเพลิงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร (1 นิ้ว) และหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิง  

ชนิดหัวต่อสวมเร็วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 65 มิลลิเมตร (2½  นิ้ว) พร้อมทั้งฝาครอบและโซ่ร้อยติดไว้ทุก  ระยะห่างกันไม่เกิน 64.00 เมตร และเมื่อใช้สายฉีดน้ําดับเพลิงยาวไม่เกิน 30.00 เมตร ต่อจากตู้หัวฉีดน้ำดับ  เพลิงแล้วสามารถนําไปใช้ดับเพลิงในพื้นที่ทั้งหมดในชั้นนั้นได้ 

(3) อาคารสูงต้องมีที่เก็บน้ำสํารองเพื่อใช้เฉพาะในการดับเพลิงและต้องมีระบบส่งน้ำที่มี ความดันต่ำสุดที่หัวต่อสายฉีดน้ําดับเพลิงที่ชั้นสูงสุดไม่น้อยกว่า 0.45 เมกะปาสกาลเมตร แต่ไม่เกิน 0.7   เมกะปาสกาลเมตร ด้วยอัตราการไหล 30 ลิตรต่อวินาที โดยให้มีประตูน้ำาปิดเปิดและประตูน้ำกันน้ำไหล  กลับอัตโนมัติด้วย 

(4) หัวรับน้ำดับเพลิงที่ติดตั้งภายนอกอาคารต้องเป็นชนิดข้อต่อสวมเร็วขนาดเส้นผ่านศูนย์

กลาง 65 มิลลิเมตร (2½ นิ้ว) ที่สามารถรับน้ำจากรถดับเพลิงที่มีข้อต่อสวมเร็วแบบมีเขี้ยวขนาดเส้นผ่านศูนย์  

กลาง 65 มิลลิเมตร (2½ นิ้ว) ที่หัวรับน้ำดับเพลิงต้องมีฝาปิดเปิดที่มีโซ่ร้อยติดไว้ด้วย ระบบท่อยืนทุกชุด  ต้องมีหัวรับน้ำดับเพลิงนอกอาคารหนึ่งหัวในที่ที่พนักงานดับเพลิงเข้าถึงได้โดยสะดวกรวดเร็วที่สุด และให้  อยู่ใกล้หัวท่อดับเพลิงสาธารณะมากที่สุด บริเวณใกล้หัวรับน้ำดับเพลิงนอกอาคารต้องมีข้อความเขียนด้วยสี  สะท้อนแสงว่า “หัวรับน้ำดับเพลิง” 

(5) ปริมาณการส่งจ่ายน้ำสํารองต้องมีปริมาณการจ่ายไม่น้อยกว่า 30 ลิตรต่อวินาที สําหรับ ท่อยืนท่อแรก และไม่น้อยกว่า 15 ลิตรต่อวินาที สําหรับท่อยืนแต่ละท่อที่เพิ่มขึ้นในอาคารหลังเดียวกัน   แต่รวมแล้วไม่จําเป็นต้องมากกว่า 95 ลิตรต่อวินาที และสามารถส่งจ่ายน้ำสํารองได้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า   30  นาที 

ข้อ 19 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ นอกจากต้องมีระบบป้องกันเพลิงไหม้ตามข้อ 18 แล้ว ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือตามชนิดและขนาดที่เหมาะสมสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากประเภทของวัสดุที่มีในแต่ละชั้น โดยให้มีเครื่องต่อพื้นที่อาคารไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร จากระยะไม่เกิน 45.00เมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง

การติดตั้งเครื่องดับเพลิงตามวรรคหนึ่ง ต้องติดตั้งให้ส่วนบนสุดของตัวเครื่องสูงจากระดับพื้นอาคารไม่เกิน 1.50เมตร ในที่มองเห็น สามารถอ่านคำแนะนำการใช้ได้และสามารถเข้าใช้สอยได้โดยสะดวก เครื่องดับเพลิงแบบมือถือต้องมีขนาดบรรจุสารเคมีไม่น้อยกว่า 4 กิโลกรัม

ข้อ 20 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องจัดให้มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่น SPRINKLE SYSTEM หรือระบบอื่นที่เทียบเท่า ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองทันทีเมื่อมีเพลิงไหม้ โดยให้สามารถทำงานครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดทุกชั้น ในการนี้ให้แสดงแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนของระบบดับเพลิงอัตโนมัติในแต่ละชั้นของอาคารไว้ด้วย

กฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ.2537)

สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ >> www.dpt.go.th/knowledges/firesafety/pdf/law_39.pdf

ข้อ 2  อาคารดังต่อไปนี้ต้องมีวิธีการเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยตามที่กําหนดในกฎกระทรวงนี้

(1) ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว บ้านแฝด

(2) อาคารที่ใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชน เช่น โรงมหรสพ หอประชุมโรงแรม สถานพยาบาล สถานศึกษา หอสมุด สถานกีฬาในร่ม ตลาด ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถานบริการ ท่าอากาศยาน อาคาร  จอดรถ สถานีขนส่งมวลชน ที่จอดรถ ท่าจอดเรือ ภัตตาคาร สํานักงาน สถานที่ทําการของราชการ โรงงาน   และอาคารพาณิชย์ เป็นต้น 

            (1) อาคารอยู่อาศัยรวมที่มีตั้งแต่ 4 หน่วยขึ้นไป และหอพัก

            (2) อาคารอื่นนอกจากอาคารตาม (1) (2) และ (3) ที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป

 ข้อ 3  ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว และบ้านแฝด ที่มีความสูงไม่เกิน 2 ชั้น ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิง  แบบมือถืออย่างใดอย่างหนึ่งตามชนิดและขนาดที่กําหนดไว้ในตารางที่ 1 ท้ายกฎกระทรวงนี้ จํานวนคูหาละ   1 เครื่อง 

 อาคารอื่นนอกจากอาคารตามวรรคหนึ่ง ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถืออย่างใดอย่างหนึ่งตาม  ชนิดและขนาดที่กําหนดไว้ในตารางวรรคหนึ่ง สําหรับดับเพลิงที่เกิดจากประเภทของวัสดุที่มีในแต่ละชั้นไว้  1 เครื่อง ต่อพื้นที่อาคารไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง 

 การติดตั้งเครื่องดับเพลิงตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ต้องติดตั้งให้ส่วนบนสุดของตัวเครื่องสูงจาก  ระดับพื้นอาคารไม่เกิน 1.50 เมตร ในที่มองเห็นสามารถอ่านคําแนะนําการใช้ได้และสามารถนําไปใช้งานได้  โดยสะดวก และต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา 

ข้อ 4  ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว และบ้านแฝด ที่มีความสูงไม่เกิน 2 ชั้น ต้องมีระบบสัญญาณเตือน  เพลิงไหม้ติดตั้งอยู่ในอาคารอย่างน้อย 1 เครื่อง ทุกคูหา 

 ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว และบ้านแฝด ที่มีความสูงเกิน 2 ชั้น ต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้  ติดตั้งอยู่ภายในอาคารอย่างน้อย 1 เครื่อง ทุกชั้นและทุกคูหา 

ข้อ 5  อาคารอื่นนอกจากอาคารตามข้อ 3 วรรคหนึ่ง ที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกิน   2,000 ตารางเมตร ต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้นด้วย 

ข้อ 6  ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ตามข้อ 4 และข้อ 5 อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

(1) อุปกรณ์แจ้งเหตุที่มีทั้งระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติและระบบแจ้งเหตุที่ใช้มือเพื่อให้อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทํางาน 

(2) อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ที่สามารถส่งเสียงหรือสัญญาณให้คนที่อยู่ในอาคาร ได้ยินหรือทราบอย่างทั่วถึงเพื่อให้หนีไฟ 

 ข้อ 7  อาคารตามข้อ 2 (2)  และ (3) ที่มีความสูงตั้งแต่ 2 ชั้น ขึ้นไป และอาคารตามข้อ 2 (4) ที่มีพื้นที่  รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร ในแต่ละชั้นต้องมีป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟ  ด้วยตัวอักษรขนาดที่มีความสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร หรือสัญลักษณ์ที่อยู่ในตําแหน่งที่มองเห็นได้  ชัดเจนตลอดเวลา และต้องมีแสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉินเพียงพอที่จะมองเห็นช่องทางหนีไฟได้ชัดเจน  ขณะเพลิงไหม้

กฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2540)

ข้อ 5 ในกรณีที่อาคารตามข้อ 3 หรือข้อ 4 เป็นอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารขนาดใหญ่ อาคารสาธารณะ อาคารอยู่อาศัยรวม โรงงาน ภัตตาคาร และสำนักงาน มีสภาพหรือมีการใช้ที่อาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดำเนินการแก้ไขให้อาคารดังกล่าว มีระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะขยายระยะเวลาออกไปอีกก็ได้

ในการสั่งการให้แก้ไขอาคารตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดำเนินการได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) อาคารที่มีความสูงตั้งแต่สี่ชั้นขึ้นไปให้ติดตั้งบันไดหนีไฟที่ไม่ใช่บันไดในแนวดิ่งเพิ่มจากบันไดหลักให้เหมาะสมกับพื้นที่ของอาคารแต่ละชั้น เพื่อให้สามารถลำเลียงบุคคลทั้งหมดในอาคารออกนอกอาคารได้ภายในหนึ่งชั่วโมง โดยไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารแต่ต้องยื่นแบบให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาให้ความเห็นชอบ และบันไดหนีไฟต้องมีลักษณะ ดังนี้

(ก) บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องมีผนังทุกด้านโดยรอบที่ทำด้วยวัสดุที่ไม่ติดไฟ

(ข) ช่องประตูสู่บันไดหนีไฟต้องเป็นบานเปิดทำด้วยวัสดุที่ไม่ติดไฟ พร้อมติดตั้งอปุกรณ์ชนิดที่บังคับให้บานประตูปิดได้เองเพื่อป้องกันควันและเปลวไฟมิให้เข้าสู่บันไดหนีไฟ และมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร

(2) จัดให้มีการติดตั้งแบบแปลนแผนผังของอาคารแต่ละชั้นแสดงตำแหน่งห้องต่าง ๆ ทุกห้องตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงต่าง ๆ ประตูหรือทางหนีไฟของชั้นนั้นติดไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนที่บริเวณห้องโถงหรือหน้าลิฟต์ทุกแห่งทุกชั้นของอาคาร และที่บริเวณพื้นชั้นล่างของอาคารต้องจัดให้มีแบบแปลนแผนผังของอาคารทุกชั้นเก็บรักษาไว้เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้โดยสะดวก

(3) ติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือตามชนิดและขนาดที่กำหนดไว้ในตารางท้ายกฎกระทรวงนี้อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับดับเพลิงที่เกิดจาประเภทของวัสดุที่มีในแต่ละชั้น โดยให้มี 1 เครื่องต่อพื้นที่ ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45.00 เมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง

การติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือนี้ ต้องติดตั้งให้ส่วนบนสดุของตัวเครื่องสูงจากระดับพื้นอาคารไม่เกิน 1.50 เมตร ในที่มองเห็น สามารถอ่านคำแนะนำการใช้ได้และสามารถเข้าใช้สอยได้สะดวก และต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา

(4) ติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น โดยระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

(ก) อุปกรณ์ส่งสัญญาณเพื่อให้หนีไฟที่สามารถส่งเสียงหรือสัญญาณให้คนที่อยู่ในอาคารได้ยินหรือทราบอย่างทั่วถึง

(ข) อุปกรณ์แจ้งเหตุที่มีทั้งระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติ และระบบแจ้งเหตุที่ใช้มือเพื่อให้อุปกรณ์ตาม (ก) ทำงาน

(5) ติดตั้งระบบไฟส่องสว่างสำรองเพื่อให้มีแสงสว่างสามารถมองเห็นช่องทางเดินได้ขณะเพลิงไหม้ และมีป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟที่ด้านในและด้านนอกของประตูหนีไฟทุกชั้น ด้วยตัวอักษรที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยตัวอักษรต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 10 เซนติเมตร

 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

<< สรุป >>

บ้านเดี่ยว

  - ไม่มีกำหนด

ตึกแถว ห้องแถว บ้านแถว บ้านแฝด (ไม่เกิน 2 ชั้น)

  - ให้มีเครื่องดับเพลิงขนาดไม่น้อยกว่า 3 กก.(หรือไม่เล็กกว่าขนาด 10 ปอนด์) อย่างน้อย 1 เครื่องต่อคูหา

  - มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ อย่างน้อย 1 เครื่อง ต่อคูหา ประกอบด้วย ระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติ(heat/smoke dectector) และระบบแจ้งเตือนด้วยมือ(Manual call point) และอุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเตือน(Alarm Bell/ Strobe Light)

ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว บ้านแฝด (เกิน2ชั้น) และอาคารขนาดอื่นๆ

  - ให้มีเครื่องดับเพลิงขนาดไม่น้อยกว่า 4 กก.(หรือไม่เล็กกว่าขนาด 10 ปอนด์) 1 เครื่องต่อ 1,000 ตรม.ทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง

  - มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ อย่างน้อย 1 เครื่อง ทุกชั้น และทุกคูหา ประกอบด้วย ระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติ(heat/smoke dectector) และระบบแจ้งเตือนด้วยมือ(Manual call point) และอุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเตือน(Alarm Bell/ Strobe Light)

  - หากพื้นที่เกิน 2,000 ตรม. ต้องมีป้ายทางหนีไฟทุกชั้น และตัวอักษรไม่เล็กกว่า 10 ซม.

อาคารสูง(เกิน23เมตร) และอาคารใหญ่พิเศษ(พื้นที่เกิน 10,000 ตรม.)

  - ให้มีเครื่องดับเพลิงขนาดไม่น้อยกว่า 4 กก.(หรือไม่เล็กกว่าขนาด 10 ปอนด์) 1 เครื่องต่อ 1,000 ตรม.ทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง

  - ติดตั้งให้เครื่องดับเพลิงสูงไม่เกิน 1.5 เมตร วัดจากส่วนบนสุดของตัวเครื่องจากพื้น

  - มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ (Fire Alarm)

  - มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ Sprinkler System หรือเทียบเท่า

  - ต้องมีระบบท่อยืน, ที่เก็บน้ำสำรอง, หัวรับน้ำดับเพลิง ตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิง(Fire Hose Cabinet)ทุกชั้น และติดตั้งห่างกันไม่เกิน 64 เมตร

หมายเหตุ

**กฎหมายเป็นเพียงการระบุข้อกำหนดขั้นต่ำเท่านั้น ในการใช้งานจริงควรประเมินความเสี่ยงด้วยความรอบคอบ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้และทรัพย์สินสูงที่สุด***

**สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานบริการ จะมีกฎกระทรวงที่ครอบคลุมอยู่อีก ซึ่งโดยรวมข้อกำหนดจะสูงกว่าที่ระบุในนี้ครับ

ถังดับเพลิงควรติดตั้งตรงไหน

1.2.1) การติดตั้งเครื่องดับเพลิง จะต้องติดตั้งอยู่ในบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและสามารถหยิบฉวยเพื่อนำไปใช้ในการดับเพลิงได้โดยสะดวก เครื่องดับเพลิงจะต้องติดตั้งไม่สูงกว่า 1.40 เมตร จากระดับพื้นจนถึงหัวของเครื่องดับเพลิง

มาตรฐาน NFPA ใดที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

มาตรฐาน NFPA จะมีข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เคร่งครัดโดยเฉพาะในระบบปั๊มน้ำดับเพลิง ซึ่งมาตรฐานของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะใช้รหัส NFPA 20 (Standard for the Installation of Centrifugal Fire Pumps) ซึ่งจะมีข้อกำหนดในการเลือกและติดตั้งปั๊มน้ำดับเพลิงแบบตั้งอยู่กับที่ ทั้งแบบชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Fire Pump) หรือปั๊ม ...

ติดตั้งถังดับเพลิง เพื่ออะไร

ถังดับเพลิงเป็นอุปกรณ์ช่วยดับเพลิงที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยเมื่อเกิดเพลิงไหม้ แต่อาคารหรือโรงงานแต่ละแห่งก็มีวัสดุและเชื้อเพลิงในอาคารที่แตกต่างกัน การเลือกใช้ถังดับเพลิงให้เหมาะสมกับกับรูปแบบของเชื้อเพลิงจึงเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ช่วยให้อันตรายจากเพลิงไหม้นั้นลดลงได้

ข้อใดเป็นการติดตั้งถังดับเพลิง ในพื้นที่อาคารทั่วไปตามที่กฎกระทรวงกําหนด

- ติดตั้งให้เครื่องดับเพลิงสูงไม่เกิน 1.5 เมตร วัดจากส่วนบนสุดของตัวเครื่องจากพื้น - มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ (Fire Alarm) - มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ Sprinkler System หรือเทียบเท่า - ต้องมีระบบท่อยืน, ที่เก็บน้ำสำรอง, หัวรับน้ำดับเพลิง ตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิง(Fire Hose Cabinet)ทุกชั้น และติดตั้งห่างกันไม่เกิน 64 เมตร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง