ตัวอย่าง แจ้งความ บุกรุก ที่ดิน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ผมมีเรื่องร้อนใจครับ คือว่า ผมมีที่ดินอยู่แปลงหนึ่ง แต่เนื่องจากซื้อไว้นาน และอยู่ไกล ผมก็เลยไม่ค่อยได้เข้าไปดูบ่อย จนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายปี แต่ไม่ถึง 10 ปี

ปรากฏว่า เมื่อผมกลับไปดูคนที่มาซื้อที่ดิน ซึ่งอยู่ข้างๆ ผมได้รุกเข้ามาในที่ดินของผม แล้วก็มีการปลูกบ้านหลังเล็กๆ ไว้ เมื่อผมไปเจอเข้าก็บอกให้เขาจัดการย้ายออก ก็เลยมีปากเสียงกัน เขาบอกว่า ไม่ย้าย เนื่องจากได้จ่ายค่าปลูกสร้างตรงนี้ไปแล้ว ประมาณ 5 ปีที่แล้ว เขาจะอยู่อย่างนี้ผมจะทำอะไรเขาได้ หรือถ้าอยากให้ย้ายออกก็ต้องจ่ายเงินมา
 ผมเครียดมากครับ พูดกันไม่รู้เรื่อง อยากทราบว่า ในเมื่อที่ดินแปลงนี้เป็นของผม ทำไมผมไม่มีสิทธิให้เขาออกจากที่ดินเหรอครับ หรือว่าผมควรจะมีวิธีอย่างไรบังคับให้เขาออกไป ส่วนเรื่องเงินถ้าเขาเป็นอย่างนี้ผมคงไม่จ่ายให้ แล้วอีกอย่าง ถ้าเขาออกไปแล้ว แล้วผมจะทำอย่างไรไม่ไห้เขารุกเข้ามาได้อีก เนื่องจากที่ดินเขาติดกับผม ถ้าผมไม่มาดูบ่อยๆ ก็กลัวปัญหาเดิมจะกลับมาอีกครับ
 ณรงค์
 ตอบ
 ศูนย์ปรึกษากฎหมายชุมชน อาจารย์ชลธิชา  สมสอาด คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต แนะนำเรื่องนี้ว่า ก่อนอื่นต้องดูว่าที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินที่มีโฉนดหรือไม่ ถ้าเป็นที่ดินที่มีโฉนดแล้วชื่อเป็นของคุณ การที่เขาจะมาอ้างครอบครองปรปักษ์ก็ต้องเข้าครอบครองไปแล้ว 10 ปี แต่นี่จากข้อมูลที่ให้มาบอกว่า ยังไม่ถึง 10 ปี ก็หมายความว่า ไม่สามารถใช้สิทธิครอบครองปรปักษ์ได้ ดังนั้น คุณมีสิทธิฟ้องต่อศาลเพื่อขับไล่ให้ออกจากที่ดินแปลงนี้ได้เลย
 แต่ถ้าเป็นที่ดินที่ไม่มีโฉนด แต่เป็นมีใบเอกสารสิทธิที่แสดงให้เห็นว่า คุณเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนี้ กรณีอย่างนี้ ถือว่า คุณอยู่ในฐานะผู้ครอบครองสิทธิ ถ้าเป็นกรณีนี้ เมื่อเขาเข้ามาบุกรุกเพียง 1 ปี ก็มีสิทธิที่จะครอบครองที่ดินของคุณได้แล้ว แต่ในเบื้องต้นคุณก็ต้องไปแจ้งตำรวจข้อหาบุกรุกไว้ก่อนแล้ว แล้วหลังจากนั้น ถ้าเขาต้องการที่จะต่อสู้เขาก็ต้องไปร้องต่อศาลเพื่ออ้างสิทธิตรงนี้ หลังจากนั้น ก็อยู่ที่การพิจารณาของศาลแล้วว่า จะมีคำพิพากษาออกมาอย่างไร
 เบื้องต้นไม่ว่าจะเป็นกรณีไหนก็ตามแนะนำว่า ให้คุณแจ้งความก่อนได้เลย ข้อหาบุกรุกที่ดินของคุณ เพื่อที่จะให้ตำรวจเข้ามาเคลียร์ให้ ถ้าเขายังไม่ออกไปก็ต้องไปฟ้องร้องกัน และว่ากันไปตามกกระบวนการทางกฎหมาย และก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินค่ารื้อถอนให้ก่อน หากไม่มีคำสั่งศาล
 ลุงแจ่ม

  • พฤติการณ์ในคดี 
  • ข้อกฎหมายเรื่อง  ฟ้องขับไล่ กรณีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ 
    • ตัวบทกฎหมาย 
    • คำอธิบาย 
    • คำว่าโรงเรือน หมายถึงอะไร 
    • สุจริตหรือไม่ ?
    • สรุปข้อกฎหมาย 
  • ตัวอย่างคำฟ้อง
  • ผลคดี 
  • สรุป

ตัวอย่างการดำเนินคดีแพ่งวันนี้ เป็นเรื่อง ฟ้องขับไล่ และขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดิน

โดยมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 เกี่ยวกับเรื่องการสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุคคลอื่น

เรื่องราวเป็นอย่างไรติดตามได้เลยครับ 

พฤติการณ์ในคดี 

เรื่องมีอยู่ว่าฝ่ายโจทก์มีที่ดินอยู่ใกล้เคียงกับจำเลย  โดยที่ดินบริเวณนั้นยังไม่มีการล้อมรั้วกัน แต่ต่างฝ่ายต่างก็มีบ้านปลูกกันอยู่ แต่ตอนนั้นยังไม่ได้มีการรังวัดแนวเขตกันแต่อย่างใดเพราะอยู่กันมาจากสมัยโบราณ 

แต่เดิมจำเลยปลูกบ้านอยู่เยื้องๆกับที่ดินของโจทก์ ต่อมาจำเลยได้เช่าที่ดินของวัด ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับที่ดินของโจทก์ เพื่อทำการปลูกสร้างเป็นโรงรถสำหรับจอดรถเพิ่มเติม และได้ล้อมรั้วกำแพงซีเมนต์ไว้โดยรอบ  

โดยขณะที่จำเลยล้อมรั้วกำแพงซีเมนต์และปลูกสร้างโรงรถนั้น จำเลยก็ไม่ได้ทำการรังวัดที่ดินให้แน่นอนว่าที่ดินที่ตนเองเช่ามาอยู่บริเวณไหน และขนาดก่อสร้างก็ไม่ได้แจ้งให้โจทก์มาระวังแนวเขตอย่างใด

โจทก์เองก็ไม่ได้ทราบว่า โรงรถและรั้วซีเมนต์ของจำเลยนั้นปลูกสร้างรุกล้ำในที่ดินของตัวเอง เพราะที่ดินของโจทก์ก็ยังไม่ได้รังวัดเช่นเดียวกัน

จนกระทั่งต่อมาหลังจากนั้นอีกหลายปี โจทก์ได้ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ จึงทราบว่าโรงรถและรั้วที่จำเลยสร้างนั้นปลูกสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ 

โจทก์จึงมีความประสงค์ให้จำเลยรื้อถอนโรงรถและรั้วดังกล่าวออกไปจากที่ดินของโจทก์ โดยโจทก์เองก็ยังมีน้ำใจช่วยค่ารื้อถอนขนย้ายให้ แต่จำเลยเรียกค่ารื้อถอนสูงถึง 200,000 บาท ซึ่งสูงเกินจริงไปมาก คดีจึงไม่อาจตกลงกันได้ 

สุดท้ายโจทก์จึงต้องมาหาผม ซึ่งเคยว่าความให้โจทก์ในคดีอื่นมาก่อนแล้ว ให้ช่วยดำเนินการ ฟ้องขับไล่ และให้จำเลยรื้อถอนโรงจอดรถ และรั้วออกไปจากที่ดินพิพาท 

สภาพรั้วปูนที่ล้อมเข้ามาในที่ดินโจทก์

ข้อกฎหมายเรื่อง  ฟ้องขับไล่ กรณีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ 

ตัวบทกฎหมาย 

มาตรา 1312 บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม ต่อภายหลังถ้าโรงเรือนนั้นสลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดินจะเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนเสียก็ได้

ถ้าบุคคลผู้สร้างโรงเรือนนั้นกระทำการโดยไม่สุจริต ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิมโดยผู้สร้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายก็ได้

คำอธิบาย 

ตามธรรมดาแล้ว เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมมีสิทธิ์ที่จะใช้สอยจำหน่ายและดำเนินการต่างๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเองได้ ซึ่งรวมถึงการฟ้องขับไล่และป้องกันไม่ให้คนอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินของตน 

แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายเรื่องทรัพย์สินนั้นได้วางหลักยกเว้นไว้ว่า หากบุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต บุคคลนั้นย่อมมีฐานะเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น เพียงแต่ต้องเสียเงินเป็นค่าใช้ที่ดินให้กับเจ้าของที่ดิน  ทั้งนี้ตามมาตรา 1312 

โดยตามมาตรา 1312 นี้ ใช้บังคับในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างแค่บางส่วนซึ่งเป็นแค่ส่วนน้อยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น

 หากปรากฏว่าโรงเรือนส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหลังรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้อื่น จะต้องไปใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 หรือ 1311 แล้วแต่กรณี 

ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณที่ดินพาท
1.บ้านหลังคาสีแดงตรงจุดวงกลมเหลืองคือบ้านของจำเลย
2.ส่วนที่ขีดด้วยเส้นสีฟ้าคือที่ดินของโจทก์
3.ส่วนที่ขีดด้วยเส้นสีแดงคือบริเวณรั้วปูนซีเมนต์และโรงจอดรถของจำเลยที่ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินโจทก์
4. ส่วนที่ขีดด้วยสีเทาคือบริเวณรั้วซีเมนต์และโรงจอดรถของจำเลยทั้งหมด

คำว่าโรงเรือน หมายถึงอะไร 

โดยคำว่า “โรงเรือน” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 นั้น หมายความเฉพาะ ตัวอาคารที่เป็นที่พักอาศัยเท่านั้น ดังนั้น ทั้งรัั้ว และโรงจอดรถ จึงไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของอาคารโรงเรือน ที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1312 แต่อย่างใด

ทั้งนี้ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาต่อไปนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542 เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า สร้างโรงเรือน ย่อมหมายถึงสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัยเท่านั้น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำ และแท็งก์น้ำ จึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของ บทบัญญัติมาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด ของโรงเรือนด้วย ดังนี้แม้จำเลยจะสร้างหรือ ทำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์โดยสุจริต จำเลยก็ไม่ได้รับ ความคุ้มครองตามมาตรา 1312 ดังกล่าว 

คำพิพากษาศาลฎีกา  634/2515    ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 เฉพาะตัวโรงเรือนที่สร้างรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นเท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครอง สิ่งอื่น ๆ   ที่ไม่ใช่โรงเรือนหาได้รับความคุ้มครองด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2542  เมื่อรั้วบ้าน ที่รุกล้ำนั้นมิใช่การรุกล้ำของโรงเรือนหรือส่วนหนึ่งส่วนใด ของโรงเรือนอันจะปรับใช้มาตรา 1312 ได้ จำเลยจึงต้อง รื้อรั้วบ้านที่รุกล้ำ โ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331/2534ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 เฉพาะตัวโรงเรือนที่สร้างรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครอง สิ่งอื่น ๆ ที่มิใช่โรงเรือนแม้จะสร้างขึ้นโดยสุจริตก็หาได้รับ ความคุ้มครองด้วยไม่ จำเลยจึงต้องรื้อถอนรั้วพิพาทส่วนที่รุกล้ำ ออก ไปจากที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2539เสากำแพงที่แยกต่างหากจากเสาโรงเรือน ไม่ใช่ส่วนหนึ่ง ของโรงเรือนอันจะถือเป็นโรงเรือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคแรก ฉะนั้นจำเลยจะอ้างว่าก่อสร้างกำแพงรุกล้ำโดยสุจริตไม่ต้องรื้อถอนตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796/2542ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 เฉพาะตัวโรงเรือนที่สร้างรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตเท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครอง รั้วกำแพงที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก่อสร้างรุกล้ำที่ดินโจทก์ทั้งสองย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว ทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 1314 ก็ไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1312 มาบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2533 การที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงรุกล้ำที่ดินของโจทก์นั้น มิใช่เป็นการปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 จำเลยต้องรื้อถอนออกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2316/2522ถังส้วมซิเมนต์ของโรงเรือนของจำเลยรุกล้ำเข้าไปฝังอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต ถังส้วมมิใช่โรงเรือนและอยู่นอกโรงเรือน ไม่เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรือน ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 1312

โรงจอดรถพิพาท ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรือน ดังนั้นย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

สุจริตหรือไม่ ?

ตามพฤติการณ์ของจำเลยนั้น ได้ทำการปลูกสร้างโรงรถและรั้วซีเมนต์โดยไม่ทำการแจ้งให้เจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียงมานำชี้แนวเขตก่อน  เป็นการปลูกสร้างตามอำเภอใจ และถือว่าเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงและเป็นการไม่สุจริต ดังนั้นจำเลยจึงไม่อาจอ้างความคุ้มครองตามกฎหมายได้

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2539 เมื่อจำเลยทั้งสามไม่พบหลักเขตที่ดินด้านที่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองก่อนหรือขณะทำการก่อสร้างอาคาร จำเลยทั้งสามก็ไม่เคยยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินหรือแจ้งแก่เจ้าของที่ดินข้างเคียงให้ไประวังแนวเขตที่ดิน การที่จำเลยทั้งสามปลูกสร้างอาคารถาวรลงในที่ดินของตนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงและถือว่าไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2519ปลูกตึกแถวรุกล้ำที่ข้างเคียงโดยไม่ได้ให้เจ้าของชี้เขตและรังวัดสอบเขตก่อน เป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่สุจริต ต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำ ทำให้เป็นไปตามสภาพเดิม และใช้ค่าเสียหายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2535 จำเลยทราบดีว่าที่ดินข้างเคียงมีเจ้าของและที่ดินของจำเลยกับที่ดินข้างเคียงเป็นที่ดินมีโฉนด ก่อนทำการก่อสร้างจำเลยควรรังวัดสอบเขตให้ตรงกับโฉนดที่ดินของจำเลยเสียก่อน แต่จำเลยไม่กระทำจึงเป็นการก่อสร้างตามอำเภอใจ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงทราบแล้วไม่คัดค้านหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องรังวัดตรวจสอบเขตที่ดินในขณะที่จำเลยทำการก่อสร้างเมื่อตึกแถวที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต จำเลยจะอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคแรกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2526 โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้ โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2542ที่ดินของโจทก์และของจำเลยที่ 1 อยู่ติดกันเป็นที่ดินว่างเปล่า ไม่มีรั้วหรือเครื่องหมายแสดงแนวเขตไว้การที่จำเลยทั้งสองปลูกสร้างอาคารพิพาทลงในที่ดินของ จำเลยที่ 1 โดยเพิกเฉยไม่ตรวจสอบแนวเขตที่ดินด้านที่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ให้แน่นอนเสียก่อน จึงเป็นการ กระทำที่ส่อแสดงถึงความไม่รอบคอบและประมาทเลินเล่อ นอกจากนี้ในการยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทต่อเทศบาล ก็ไม่ปรากฏหลักฐานสำเนาโฉนดที่ดินและบัตรประจำตัวประชาชน คงมีแต่หนังสือให้ความยินยอมให้ก่อสร้างของโจทก์ซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินข้างเคียงเท่านั้น ซึ่งปรากฏว่าลายมือชื่อ ของโจทก์เป็นลายมือชื่อปลอมพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยทั้งสองรู้หรือควรจะรู้แต่ต้นแล้วว่าอาคารพิพาท รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสอง ก่อสร้างอาคารพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารพิพาทได้

สรุปข้อกฎหมาย 

จากข้อกฎหมายชี้ให้เห็นว่า การปลูกสร้างโรงเรือนของจำเลยที่กระทำโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบและให้ไประวังแนวเขตก่อน ปลูกสร้างโดยไม่สนใจว่าจะรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นการปลูกสร้างโดยไม่สุจริต 

ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งปลูกสร้างของจำเลย ได้แก่โรงรถและรั้วซีเมนต์นั้น ยังไม่ถือว่าเป็นโรงเรือน ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย อีกด้วย 

ประกอบกับจำเลยยังครอบครองที่ดินพิพาทไม่ถึง 10 ปี คดีนี้จำเลยจึงไม่มีโอกาสสู้คดีอย่างแน่นอน 

ตัวอย่างคำฟ้อง

หลังจากได้สอบข้อเท็จจริง ลงพื้นที่เกิดเหตุ และตรวจสอบข้อกฎหมายจนแน่ใจดีแล้ว ผมจึงได้จัดการร่างฟ้องและยื่นฟ้องคดีไป โดยมีเนื้อหาคำฟ้องตามนี้ครับ 

ศาลจังหวัดชลบุรี

โจทก์ นาง ล.

จำเลย นายส.

ข้อหา  สิ่งก่อสร้างรุกล้ำ,แดนกรรมสิทธิ์,ขับไล่รื้อถอน,ละเมิด 

ข้อ 1.โจทก์มีฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 37940 เลขที่ดิน 1742 ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีเนื้อที่ 1 งาน 98 ตารางวา รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 

ที่ดินของโจทก์ทางทิศใต้นั้นมีแนวเขตติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 2538 ตำบลบ้านมอญ(บ้านเก่า) อำเภอท่าตะกุด(พานทอง) จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2                                                 

ข้อ 2. แต่เดิมจำเลยได้ปลูกบ้านพักอาศัยอยู่บนที่ดินซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ดินโจทก์ ต่อมาเมื่อประมาณปีพ.ศ.2550 จำเลยได้เช่าที่ดินโฉนดเลขที่  2538 ตำบลบ้านมอญ(บ้านเก่า) อำเภอท่าตะกุด(พานทอง) จังหวัดชลบุรี จากวัดบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของที่ดินโจทก์ และจำเลยได้ทำการล้อมรั้วด้วยกำแพงปูนต์ซีเมนต์และปลูกสร้างโรงจอดรถลงบนที่ดินแปลงดังกล่าว

โดยก่อนที่จำเลยจะล้อมรั้วและปลูกสร้างโรงจอดรถดังกล่าว จำเลยไม่ได้ตรวจสอบแนวเขตที่ดินที่เช่าด้านที่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์เพื่อให้ทราบแนวเขตที่ดินที่จำเลยได้เช่ามาให้แน่นอนเสียก่อน ทั้งๆที่ทราบดีว่าที่ดินแปลงที่เช่ามานั้นอยู่ติดกับที่ดินมีโฉนดของโจทก์ นอกจากนี้จำเลยยังไม่แจ้งให้โจทก์ไประวังแนวเขตที่ดินก่อนทำการล้อมรั้วและก่อสร้างโรงรถดังกล่าวแต่อย่างใด                                                

ต่อมาประมาณปีต้นปี พ.ศ.2556 เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีได้รังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์  โจทก์จึงทราบว่ารั้วและโรงจอดรถที่จำเลยปลูกสร้างนั้น ได้รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทางทิศใต้บางส่วน   รายละเอียดปรากฏตามปรากฏตามรูปถ่ายบ้าน รั้วปูนซีเมนต์และโรงจอดรถของจำเลย เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3                  

ข้อ 3. การกระทำของจำเลยที่ไม่ตรวจสอบแนวเขตที่ดินที่เช่ามาด้านที่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์เพื่อให้ทราบแนวเขตที่ดินที่จำเลยได้เช่ามาให้แน่นอนเสียก่อน ทั้งๆที่ทราบดีว่าที่ดินแปลงที่จำเลยเช่ามานั้นอยู่ติดกับที่ดินมีโฉนดของโจทก์ ทั้งยังละเลยไม่แจ้งให้โจทก์ไประวังแนวเขตที่ดินก่อนทำการล้อมรั้วและก่อสร้างโรงจอดรถ การกระทำของจำเลย จึงเป็นการปลูกสร้างรั้วปูนซีเมนต์และโรงจอดรถบนที่ดินของโจทก์ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างโรงรถโดยไม่สุจริต

นอกจากนี้โรงรถและรั้วซีเมนต์ดังกล่าวยังมิใช่โรงเรือนสำหรับอยู่อาศัยและไม่ถือว่าส่วนหนึ่งของโรงเรือนสำหรับอยู่อาศัยแต่อย่างใด ดังนั้นไม่ว่าจำเลยจะปลูกสร้างโรงรถและรั้วซีเมนต์ดังกล่าวโดยสุจริตหรือไม่ จำเลยย่อมก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย   

ข้อ 4. หลังจากโจทก์แบ่งแยกโฉนดที่ดินกับบุตรชายของโจทก์ในคดีที่ศาลจังหวัดชลบุรีเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์แจ้งให้จำเลยรื้อถอนโรงจอดรถที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ออก และโจทก์พยายามเจรจาไกล่เกลี่ยกับจำเลยเพื่อให้เรื่องราวจบลงได้ด้วยดี และไม่ต้องนำคดีมาขึ้นสู่ศาลแล้ว

โดยโจทก์ยินดีชำระค่าสินน้ำใจในการรื้อถอนให้แก่จำเลยตามสมควร แต่จำเลยเรียกร้องค่ารื้อถอนสูงถึง 200,000 บาท ซึ่งสูงเกินไปมาก ทั้งๆที่ตามกฏหมายแล้วจำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่ารื้อถอนได้เลย 

 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์และเป็นการละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ไม่อาจใช้ประโยชน์ในที่ดินอันเป็นแดนกรรมสิทธิ์ของโจทก์เต็มตามเนื้อที่  ซึ่งที่ดินส่วนที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์นั้นมีเนื้อที่ประมาณ 50ตารางเมตร หากโจทก์นำที่ดินส่วนนี้ให้บุคคลภายนอกเช่าจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,500 บาท โจทก์จึงขอเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจำเลยจะรื้อถอนและขนย้ายรั้วปูนซีเมนต์และโรงจอดรถดังกล่าวออกไปจากที่ดินของโจทก์          

อสังหาริมทรัพย์พิพาทในคดีนี้ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลนี้                       

โจทก์ไม่มีทางใดจะบังคับให้จำเลยรื้อถอนโรงรถดังกล่าวออกไปได้ จึงต้องนำคดีมาขึ้นสู่ศาลเ เพื่อขออำนาจศาลบังคับ                                                                                

                                          ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด 

คำขอท้ายฟ้องแพ่ง

  1. ให้จำเลยรื้อถอนและขนย้ายรั้วปูนซีเมนต์และโรงจอดรถของจำเลยในเฉพาะส่วนที่ก่อสร้างรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 37940 ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ของโจทก์ ด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง หากจำเลยหากจำเลยไม่ทำการรื้อถอนขนย้ายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้รื้อถอนขนย้ายรั้วปูนซีเมนต์และโรงจอดรถดังกล่าวโดยโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในดังกล่าวออกจากที่ดินของโจทก์ โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย 

  2. ห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวหรือรบกวนการครอบครองที่ดินในของโจทก์

  3. ห้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1,500 บาท ต่อเดือน นับแต่วันฟ้องจนถึง วันที่จำเลยรื้อถอนขนย้ายรั้วปูนซีเมนต์และโรงจอดรถเสร็จสิ้น

  4. ให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความอย่างสูงแทนโจทก์ 

ผลคดี 

คดีนี้เมื่อไปถึงชั้นศาล จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี ผมยื่นคำร้องขอให้ชนะคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว 

ซึ่งในวันนัดไกล่เกลี่ย จำเลยได้ส่งทนายความเข้ามาไกล่เกลี่ยกับทางโจทก์และผม โดยขอยอมรับผิดทุกประการ และจะดำเนินการรีบรื้อถอนรั้วและโรงรถออกไปจากที่ดินพิพาท 

ฝ่ายจำเลยขอร้องผมว่า ขอให้ช่วยค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนขนย้ายสักหน่อย เพราะฝ่ายจำเลยเองก็ลงทุนก่อสร้างไปเป็นเงินจำนวนมาก และการรื้อถอนก็มีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก 

ผมถามฝ่ายโจทก์แล้วบอกว่าความจริงตั้งใจจะให้ค่ารื้อถอนประมาณ 50,000 บาทอยู่แล้ว เพราะเข้าใจว่าฝ่ายจำเลยเองก็ไม่ได้เจตนาจะปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดิน ประกอบกับในตอนนั้นเองฝ่ายโจทก์ก็ไม่ได้ตรวจสอบให้ดีก่อน หรือโต้แย้งคัดค้านในตอนที่จำเลยปลูกสร้างเพราะว่าตัวเองก็ยังไม่ได้รังวัดที่ดินเหมือนกัน 

ประกอบกับทั้งสองฝ่ายก็เป็นเพื่อนบ้านกันมานาน ไม่ต้องการแตกหักกันถึงขั้นมองหน้ากันวันหลังไม่ติด ทั้งสองฝ่าย จึงตกลงกันได้ด้วยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยจำเลยจะเป็นผู้ดำเนินการรื้อถอน ขนย้ายโรงรถและรั้วซีเมนต์ดังกล่าวออกจากที่ดิน โดยโจทก์ช่วยค่ารื้อถอนขนย้ายเป็นจำนวน 50,000 บาท 

รายละเอียดปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความ 

สรุป

ข้อกฎหมายเรื่องการปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตนั้น จะต้องพิจารณาว่า 

1.โรงเรือนที่ปลูกสร้าง รุกล้ำเข้าไปเป็นจำนวนแค่ไหน ถ้ารุกล้ำเข้าไปเป็นจำนวนเล็กน้อยเพียงบางส่วนก็จะปรับใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 แต่หากส่วนที่ก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่หรือรุกล้ำเข้ามาในที่ดินเป็นส่วนมาก ก็จะต้อง บังคับใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 และ 1311 แล้วแต่กรณี 

2.เฉพาะโรงเรือนเท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 ส่วนสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่ไม่ใช่โรงเรือน เช่นรั้ว โรงจอดรถ ห้องน้ำ ไม่ถือว่า ได้รับความคุ้มครองและยกเว้น เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติขยายความดังเช่นกรณีมาตรา 1310 ,1311 และ 1313 ที่ได้รับการขยายความให้คุ้มครองรวมถึงสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่ติดอยู่รวมกับที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1314 

3.การปลูกสร้างโรงเรือนโดยสุจริตหรือไม่ จะต้องดูพฤติกรรมโดยรวมประกอบ การปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ดินของบุคคลอื่นโดยไม่ใส่ใจรังวัดที่ดินพิพาทหรือแจ้งให้บุคคลข้างเคียงมาระวังเขต ย่อมเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงและถือว่าเป็นการปลูกสร้างโดยไม่สุจริต 

4.การเจรจาไกล่เกลี่ยคดีแพ่งนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะเอาแพ้เอาชนะอย่างเดียว แต่จะต้องคำนึงถึงคุณธรรม และความถูกต้อง ผ่อนหนักผ่อนเบา หาทางออกที่ทุกฝ่ายสมประโยชน์ด้วยกันจะเป็นสิ่งที่ดีสุดสำหรับทุกฝ่ายครับ

แสดงความเห็นเกี่ยวกับบทความนี้

comments

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง