การศึกษาค้นคว้า ตามข้อใด ควรใช้กลุ่มตัวอย่าง น้อย

ใบความรู้ที่ 6 :  

6.1  การเขียนวัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมาย” 

.      –> วัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมาย  

.                 หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบ เป็นเรื่องที่ต้องการทำ

.                – เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้างในเรื่องที่จะทำวิจัยหรือศึกษาค้นคว้าหรือจัดทำโครงการใดๆ โดยบ่งบอกสิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับหรือผลที่ได้รับ
.                – เป็นการนำเอาความคิดของประเด็นปัญหามาขยายรายละเอียด โดยใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย เขียนเป็นข้อหรือเขียนรวมเป็นข้อเดียวกัน
.                – อย่านำประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมาเขียน เพราะประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้า

.       การเขียนวัตถุประสงค์ควรจะต้องคำนึงถึงลักษณะที่ดี 5 ประการ หรือจะต้องกำหนดขึ้นด้วยความฉลาด (SMART) ซึ่งได้อธิบายความหมายไว้ดังนี้

.        S = Sensible (เป็นไปได้) หมายถึง วัตถุประสงค์จะต้องมีความเป็นไปได้ ในการดำเนินงานโครงการ

.       M = Measurable (วัดได้) หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องสามารถวัดและประเมินผลได้

.       A = Attainable (ระบุสิ่งที่ต้องการ) หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องระบุสิ่งที่ต้องการดำเนินงาน อย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากที่สุด

.       R = Reasonable (เป็นเหตุเป็นผล) หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลในการปฏิบัติ

.       T = Time (เวลา) หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องมีขอบเขตของเวลาที่แน่นอนในการปฏิบัติงาน

.      –>แนวการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย

.                      1. วัตถุประสงค์เขียนในรูปเป้าหมายไม่ใช่วิธีการ
.                      2. วัตถุประสงค์สอดคล้องกับชื่อเรื่อง
.                      3. วัตถุประสงค์ชัดเจน ไม่กำกวม
.                      4. ให้ใช้คำว่า “เพื่อ


.      –> คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์

.                  เช่น เพื่อศึกษา… , เพื่อสำรวจ…  , เพื่อค้นหา… , เพื่อบรรยายถึง…  , เพื่ออธิบายถึง…  , เพื่อพัฒนา…. , เพื่อเปรียบเทียบ…กับ… , เพื่อพิสูจน์… , เพื่อแสดงให้เห็นถึง… , เพื่อศึกษาความสัมพันธ์… , เพื่อประเมิน…  , เพื่อสังเคราะห์…  , เพื่อเปรียบเทียบ….กับ…….. , เพื่อศึกษาอิทธิพลของ……ที่มีต่อ…  ,  เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มี / ส่งผล/อิทธิพล/ผลกระทบ… , เพื่อกล่าวถึง…… , เพื่อพรรณาถึง… , เพื่อเลือกสรร… , เพื่อระบุ…. , เพื่อจำแนกแยกแยะ…. , เพื่อลำดับ… หรือ เพื่อแจกแจง… , เพื่อประเมิน… , เพื่อสร้างเสริม… , เพื่อกำหนดรูปแบบ… , เพื่อแก้ปัญหา… ฯลฯ

.      –> คำที่ควรหลีกเลี่ยง  

.                  เพื่อเข้าใจถึง, เพื่อทราบถึง, เพื่อคุ้นเคยกับ, เพื่อซาบซึ้งใน, เพื่อรู้ซึ้งถึง, เพื่อสนใจใน, เพื่อเคยชินกับ, เพื่อยอมรับใน, เพื่อเชื่อถือใน, เพื่อสำนึกใน

.       –> ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์  เช่น
.             1. เพื่อศึกษาสภาพสังคมของผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอายุระหว่าง 18 -24 ปี
.             2. เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัวและชุมชน
.             3. เพื่อศึกษาคุณภาพของแบบทดสอบที่ใช้ในการคัดเลือกโดยพิจารณาความเที่ยงและความตรงของแบบทดสอบ
.             4. เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย WordPress   เรื่อง………
.             5. เพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับ …..(เรื่องที่ทำ)…
.             6. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนารูปแบบของเว็บบล็อกจาก WordPress ได้ด้วยตนเองและนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น
.             7. เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป
.             8. เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่เรียน และรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม
.             9. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษา เสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
.            10. เพื่อให้นักเรียนรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
.            11. เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
.            12. เพื่อทำให้โรงเรียนมีทัศนียภาพที่สวยงามยิ่งขึ้น
.            13. เพื่อปรับปรุง อาคาร สถานที่ของ………………….ให้ดียิ่งขึ้น
.            14. เพื่อตกแต่งบริเวณสถานที่ภายใน…………………ให้สะอาด  ร่มรื่น สวยงาม
.            15. เพื่อให้มีสถานที่ออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ
.            16. เพื่อสร้างจิตสำนึกในด้านจิตสาธารณะหรือจิตอาสาให้แก่นักเรียนและฝึกกิจกรรมจิตสาธารณะอย่างต่อเนื่อง
.           17. เพื่อให้สามารถอธิบายถึงวิธีการ………………..ได้
.           18. เพื่อให้สามารถเลือกสรรวิธีการอันเหมาะสมในการ…………..
.           19. เพื่อให้สามารถระบุขั้นตอนในการเตรียม……………………ได้
.           20. เพื่อให้สามารถจำแนกแยกแยะข้อดีและข้อเสียของการ…………………………….

การเขียนเป้าหมาย

.         สำหรับการเขียนเป้าหมาย ต้องเขียนให้ชัดเจนเพื่อแสดงให้เห็นผลงานหรือผลลัพธ์ที่ระบุคุณภาพ หรือปริมาณงานที่คาดว่าจะทำให้บังเกิดขึ้นในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งการกำหนดผลงานอาจกำหนดเป็น ร้อยละ หรือจำนวนหน่วยที่แสดงปริมาณหรือคุณภาพต่างๆ เช่น
.            – โครงการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน
.                      เป้าหมาย
คือ ได้ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนคุณภาพชั้นที่ 1 จำนวน 10 ตัน หรือ
.            – โครงการอบรมการขยายพันธุ์พืช
.                     เป้าหมาย คือ เมื่อสิ้นสุดโครงการ ผู้ที่เข้ารับการอบรมร้อยละ
80  สามารถขยายพันธุ์พืชได้อย่างถูกวิธี เป็นต้น

6.2 นิยามศัพท์เฉพาะ 

.      นิยามศัพท์เฉพาะ

.          นิยาม คือ การกำหนดหรือการจำกัดความหมายที่แน่นอน ในการศึกษาค้นคว้าจะมีศัพท์เฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องให้นิยาม เพราะจะมีผู้อ่านบางคนไม่ทราบความหมายของศัพท์นั้นมาก่อน หรือทราบความหมายของศัพท์นั้น แต่อาจจะไม่ตรงกับความหมายที่ผู้ศึกษาค้นคว้ากำหนดไว้ จึงต้องมีการนิยามศัพท์เฉพาะ ซึ่งมี 2 ลักษณะดังนี้
.            1. การนิยามแบบทั่วไป เป็นการนิยามตามความหมายของคำศัพท์ปกติ อาจยกนิยามตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรม สารานุกรม ตามตำราที่ผู้อื่นนิยามไว้ หรือตามที่ผู้ศึกษาค้นคว้านิยาม ด้วยตนเองในกรณีที่ไม่มีผู้อื่นนิยามมาก่อน ทั้งนี้ผู้ศึกษาค้นคว้าต้องมีความรอบรู้ในเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้ง ใช้ภาษาที่ครอบคลุม แจ่มชัด และรัดกุม
.              ดังตัวอย่าง
.                   ความคิด หมายถึง สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ สติปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อย่างถูกต้อง และสมควร (ราชบัณฑิตยสถาน. 2546 : 231)
.                   สงกรานต์ หมายถึง วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่ง ไปสู่อีกราศีหนึ่ง เรียกว่า วันสงกรานต์ แต่วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีน เข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ ในสมัยโบราณถือเอาวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่
.           2. การนิยามปฏิบัติการ ให้ความหมายของศัพท์นั้น และบอกให้ทราบว่าผู้ศึกษาค้นคว้า จะวัด ตรวจสอบ หรือสังเกตได้อย่างไร
.             ดังตัวอย่าง
.                   องค์ความรู้ คือ knowledge ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ความรู้ หรือข้อมูล หรือสาระวิชาต่าง ๆ ที่ผู้เรียนมีอยู่ วัดโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น (จรัญ จันทลักขณา และกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ. 2551 : 2)
.                   อำเภอ หมายถึง พื้นที่ปกครองตามกาหนดของกระทรวงมหาดไทย ในจังหวัดนครราชสีมา จานวน 32 อำเภอ (อิสรา ตุงตระกูล. 2553 : 14)

6.3  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

.        ประชากร คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของ หรือลักษณะทางจิตวิทยาที่ทำการศึกษา
.        กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มคน สัตว์ สิ่งของ หรือลักษณะทางจิตวิทยาที่เป็นตัวแทน ของประชากรที่ทำการศึกษา

.        ผู้ศึกษาค้นคว้าบางครั้งไม่สามารถทำการศึกษากับประชากรได้ เพราะมีจำนวนมาก หรือ มีสภาพยากแก่การเก็บรวบรวมข้อมูล จึงจำเป็นต้องศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วใช้สถิติอ้างอิงถึงประชากร มีประโยชน์ คือ ประหยัด ควบคุมความถูกต้องได้ง่าย และใช้กับข้อมูลบางอย่างที่ไม่สามารถศึกษาจากประชากรได้ เช่น เลือดทุกหยดในตัวคนไข้ นักเรียน ม. 4 ทุกคนในประเทศไทย เป็นต้น

.       การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ผู้ศึกษาต้องกำหนดประชากรให้ชัดว่า คืออะไร มีขอบเขต และคุณลักษณะอย่างไร กำหนดข้อมูลที่จะรวบรวมตามจุดมุ่งหมายที่ศึกษา กำหนดเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดจำนวน และวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง

.       การกำหนดจำนวนสมาชิกกลุ่มตัวอย่าง
.        1. ประชากรมีลักษณะคล้ายกัน เลือกกลุ่มตัวอย่างน้อย ถ้าประชากรมีลักษณะต่างกัน เลือกกลุ่มตัวอย่างมาก
.        2. การทดลอง การสัมภาษณ์ ใช้กลุ่มตัวอย่างน้อยกว่าการส่งแบบสอบถามให้ตอบ

.       วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
.        1. ไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยไม่ใช้วิธีการสุ่ม ประชากรมีโอกาสถูกเลือก ไม่เท่ากัน ผู้ศึกษาเลือกแบบบังเอิญ แบบเจาะจงตามความสะดวกของผู้ศึกษา
.        2. อาศัยความน่าจะเป็น โดยการสุ่ม ประชากรทุกส่วนมีโอกาสถูกเลือกเท่ากัน เช่น การจับฉลาก เป็นต้น

***************************************

ใบงานที่ 6 : 

  1. งานกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มทำการ เขียน “วัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมาย,นิยามศัพท์เฉพาะ,ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง” ตามหลักการเขียนในใบความรู้ที่ 6 เรื่อง หลักการเขียน “วัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมาย,นิยามศัพท์เฉพาะ,ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง”
  2. ให้แต่ละกลุ่ม เขียนด้วยลายมือ ลงในใบงานที่ครูแจกให้ และส่งในท้ายชั่วโมงเรียนวิชานี้

ตัวอย่างแบบฟอร์ม ใบงานที่ 6 (งานกลุ่ม)

ใบงานที่ 6 การเขียน “วัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมาย,นิยามศัพท์เฉพาะ,ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง”

กลุ่มที่ ……… ชั้น ม.6/ ……….

ชื่อโครงการ …………………………………………………

———————————–

วัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมาย  (เขียนเป็นข้อๆ)

.        1. ………………………………………………………………..
.        2. ……………………………………………………………….
.        3. ……………………………………………………………….
.                              ฯลฯ

นิยามศัพท์เฉพาะ

.        ……………………………………………………………………………………………………………….
.        ……………………………………………………………………………………………………………….
.        ……………………………………………………………………………………………………………….

.                                              ฯลฯ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (ถ้ามี)

.        ประชากร ……………………………………………………………………………………………………………….
.        กลุ่มตัวอย่าง ………………………………………………………………………………………………………….

**งานเดี่ยวรายบุคคล**  ให้ทำการจดบันทึกย่อใบความรู้ที่ 6 เรื่อง วัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมาย,นิยามศัพท์เฉพาะ,ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง   ลงในสมุดจดงานของตนเอง –> ส่งก่อนถึงวันเข้าเรียนในชั่วโมงถัดไป

********************************************

Filed under: learning |

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง