การเคลื่อนไหวแบบบังคับสิ่งของ หมายถึง

การเคลื่อนไหวเบื้องต้นของร่างกาย

การเคลื่อนไหวเบื้องต้นของร่างกายโดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือการเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่และการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่

1.  การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่  เป็นการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเคลื่อนไหวโดยที่ร่างกายอยู่กับที่  เช่น  การอ้าปาก  หุบปาก  การยกไหล่ขึ้นลง  การกระพริบตา เป็นต้น  ส่วนท่าทางในการปฏิบัติภารกิจประจำวันและท่าทางที่ใช้ในการออกกำลังกาย เล่นกีฬาโดยทั่วไปดังนี้

·       การก้ม  คือการงอพับตัวให้ร่างกายส่วนบนลงมาใกล้กับส่วนล่าง

·       การยืดเหยียด  คือ  การเคลื่อนไหวในทางตรงข้ามกับการก้ม  โดยพยายามยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

·       การบิด  คือ  การทำส่วนต่าง ๆ ของร่างกายบิดไปจากแกนตั้ง  เช่น  การบิดลำตัว

·       การดึง  คือ  การพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้ามาหาร่างกายหรือทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

·       การดัน  คือ  การพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ห่างออกจากร่างกาย  เช่น  การดันโต๊ะ

·       การเหวี่ยง  คือ  การเคลื่อนไหวสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  โดยหมุนรอบจุดให้เป็นเส้นโค้งหรือรูปวงกลม  เช่น  การเหวี่ยงแขน

·       การหมุน  คือ  การกระทำที่มากกว่าการบิด  โดยกระทำรอบ ๆ แกน เช่น  การหมุนตัว

·       การโยก  คือ  การถ่ายน้ำหนักตัวจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังอีกส่วนหนึ่ง โดยเท้าทั้งสองแตะพื้นสลับกัน

·       การเอียง คือ  การทิ้งน้ำหนักไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งโดยไม่ถ่ายน้ำหนัก  เช่น ยืนเอียงคอ

·       การสั่นหรือเขย่า คือ  การเคลื่อนไหวสั่นสะเทือนส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซ้ำ ๆ ต่อเนื่องกัน  เช่น  การสั่นหน้า  เขย่ามือ  สั่นแขนขา

·       การส่าย  คือ  การบิดไปกลับติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง เช่น  การส่ายสะโพก  ส่ายศีรษะ

2.  การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ เป็นการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ได้แก่ การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด  การเขย่ง  การสไลด์

การเคลื่อนไหวของร่างกาย

การเคลื่อนไหว  คือ  การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่ต่อเนื่องกัน โดยส่วนที่เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว  ได้แก่  กลไกการทำงานของข้อต่อ  กล้ามเนื้อและระบบประสาท

กลไกการเคลื่อนไหวของข้อต่อ

ชนิดของข้อต่อ

ข้อต่อ  คือ  ส่วนที่เชื่อมยึดระหว่างกระดูกกับกระดูกหรือระหว่างกระดูกกับกระดูกอ่อนหรือกระดูกอ่อนกับกระดูกอ่อนเชื่อมต่อกัน  โดยมีเอ็นและพังผืดยึดเหนี่ยวให้กระดูกติดกัน ข้อต่อจะเคลื่อนไหวได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อของปลายกระดูกนั้น ซึ่งลักษณะของข้อต่อที่พบแบ่งได้ 3  ชนิด

1.  ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้  เป็นข้อต่อที่มีลักษณะคล้ายฟันปลามาเชื่อมต่อกันระหว่างปลายกระดูกแต่ละชิ้น  ได้แก่  ข้อต่อกะโหลกศีรษะ

2.  ข้อต่อที่เคลื่อนไหว  เป็นข้อต่อที่ส่วนปลายกระดูกมาต่อกันโดยมีกระดูกอ่อนหรือเอ็นแทรกอยู่ระหว่างกระดูก 2 ชิ้น ได้แก่ กระดูกสันหลัง  กระดูกหัวเหน่า  กระดูกข้อมือ เป็นต้น  การเคลื่อนไหวเช่น  การกระดกฝ่ามือ  ฝ่าเท้า  การเอียงตัว

3.  ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มาก  เป็นข้อต่อที่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก  พบทั่วร่างกาย  ลักษณะของข้อต่อชนิดนี้จะเป็นโพรง  มีเอ็นหรือกระดูกกั้นกลาง  มีถุงหุ้มข้อต่อมีเยื่อบาง ๆ ทำหน้าที่คล้ายน้ำมันเครื่อง  ทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวง่าย  ข้อต่อชนิดนี้  ได้แก่ ข้อต่อที่สะโพก  หัวไหล่  หัวเข่า  เป็นต้น  ข้อต่อชนิดนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการออกกำลังกาย เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ

รูปร่างและลักษณะการเคลื่อนไหวของข้อต่อ  แตกต่างกันดังนี้

1.  ข้อต่อรูปบอลในเบ้า สามารถเคลื่อนไหวได้รอบตัว  ทั้งงอ  เหยียด  กางออก  หุบเข้า  หมุนเป็นรูปกรวยหรือฝาชี  เช่น  ข้อต่อที่สะโพก  หัวไหล่  เป็นต้น

2.   ข้อต่อรูปไข่  เคลื่อนไหวไปข้างหน้า  ข้างหลังและข้าง ๆ ในลักษณะงอและเหยียด  เช่น  ข้อต่อของข้อมือ

3.  ข้อต่อรูปอานม้า เคลื่อนไหวในลักษณะการงอ  เหยียด  กางและหุบเข้า  เช่น  ข้อต่อของฝ่ามือโคนนิ้ว- หัวแม่มือ  ฝ่าเท้าและโคนนิ้วหัวแม่เท้า

4.  ข้อต่อรูปบานพับ เคลื่อนไหวคล้ายบานพับ  ลักษณะการงอ  การเหยียด  เช่น ข้อต่อที่ศอก  เข่า     นิ้วมือ  เป็นต้น

5.   ข้อต่อรูปเดือย สามารถหมุนรอบตัวตามแนวแกนของเดือยได้  เช่น  ข้อต่อของกระดูกชิ้นที่ 1 และ  2 กระดูกที่ปลายแขนทำให้หงายและคว่ำมือได้

6.   ข้อต่อรูปร่างแปลกหรือรูปร่างไม่แน่นอน  ไม่มีแกนในการเคลื่อนไหวจึงเคลื่อนที่ในลักษณะไถลไปมา  เช่น  ข้อต่อกระดูกข้อมือและข้อเท้า  เป็นต้น

กลไกการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อส่วนใหญ่ประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อ ภายในเซลล์มีไมโอไฟบริล(myofibril) ซึ่งภายในมีซาร์โคเมียร์ (sarcomere) ประกอบด้วยแอกติน (actin) และไมโอซิน(myosin) ใยกล้ามเนื้อแต่ละเส้นล้อมรอบด้วยเอนโดไมเซียม (endomysium) หรือเยื่อหุ้มใยกล้ามเนื้อ ใยกล้ามเนื้อหลายๆ เส้นรวมกันโดยมีเพอริไมเซียม (perimysium) กลายเป็นมัดๆ เรียกว่าฟาสซิเคิล (fascicle) มัดกล้ามเนื้อดังกล่าวจะรวมตัวกันกลายเป็นกล้ามเนื้อซึ่งอยู่ภายในเยื่อหุ้มที่เรียกว่าเอพิไมเซียม (epimysium) หรือ เยื่อหุ้มมัดกล้ามเนื้อ Muscle spindleจะอยู่ภายในกล้ามเนื้อและส่งกระแสประสาทรับความรู้สึกกลับมาที่ระบบประสาทกลาง(central nervous system)

กล้ามเนื้อ (Muscle1]) เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) , กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) , และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)  ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา

ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือกล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง่าย

กล้ามเนื้อสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่

1.       กล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscle) ประกอบด้วยมัดกล้ามเนื้อยาวๆ มีลักษณะเป็นลายขวาง เซลล์หนึ่งมีหลายนิวเคลียส การทำงานของกล้ามเนื้อลายควบคุมโดยระบบประสาทส่วนกลาง  เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary) ร่างกายสามารถควบคุมได้ ยึดติดกับกระดูก (bone) โดยเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) ที่ยึดกับปุ่มนูนหรือปุ่มยื่นของกระดูก ทำหน้าที่เคลื่อนไหวโครงกระดูกเพื่อการเคลื่อนที่ของร่างกายและเพื่อรักษาท่าทาง (posture) ของร่างกาย การควบคุมการคงท่าทางของร่างกายอาศัยรีเฟล็กซ์ (reflex)ที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ โดยทั่วไปร่างกายผู้ชายประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่าง 40-50% ส่วนผู้หญิงจะประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่าง 30-40%  ตัวอย่างกล้ามเนื้อลาย ได้แก่ กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา

2.       กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ (Involuntary) ประกอบด้วย เซลล์ที่มีลักษณะแบนยาวแหลมหัวแหลมท้าย ไม่มีลาย ภายในเซลล์มีนิวเคลียสอันเดียวอยู่ตรงกลาง การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ พบได้หลายขนาดในอวัยวะเกือบทุกชนิด ตัวอย่างเซลล์พบอยู่ที่ผนังของอวัยวะภายใน (Viseral Organ) เช่น หลอดอาหาร(esophagus) , กระเพาะอาหาร (stomach) , ลำไส้ (intestine) , หลอดลม (bronchi) , มดลูก(uterus) , ท่อปัสสาวะ (urethra) , กระเพาะปัสสาวะ (bladder) , และหลอดเลือด (blood vessel)  กล้ามเนื้อหูรูดที่ม่านตา

3.       กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจเช่นกัน แต่เป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษที่พบเฉพาะในหัวใจ เป็นกล้ามเนื้อที่บีบตัวให้หัวใจเต้น ลักษณะคล้ายกับกล้ามเนื้อโครงร่างทั้งส่วนประกอบและการทำงาน ประกอบด้วยไมโอไฟบริลและซาร์โคเมียร์ กล้ามเนื้อหัวใจแตกต่างจากกล้ามเนื้อโครงร่างในทางกายวิภาคคือมีการแตกแขนงของกล้ามเนื้อ(branching) ในมุมที่แตกต่างกัน เพื่อติดต่อกับใยกล้ามเนื้ออื่นๆ

กล้ามเนื้อลายสามารถหดตัวและคลายตัวได้รวดเร็ว ในขณะที่กล้ามเนื้อเรียบหดตัวได้น้อยและช้า กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบสามารถหดตัวได้ เมื่อมีสิ่งกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย ทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว โดยกล้ามเนื้อจะทำงานประสานกับโครงกระดูกและระบบประสาท

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นวิธีการในการพัฒนาทักษะการสั่งการ (motor skills), ความฟิตของร่างกาย, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก และการทำงานของข้อต่อ การออกกำลังกายสามารถส่งผลไปยังกล้ามเนื้อ, เนื้อเยื่อเกี่ยวพันกระดูก และเส้นประสาทที่กระตุ้นกล้ามเนื้อนั้น

การออกกำลังกายหลายประเภทมีการใช้กล้ามเนื้อในส่วนหนึ่งมากกว่าอีกส่วนหนึ่ง ในการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic exercise) กล้ามเนื้อนั้นจะออกกำลังเป็นระยะเวลานานในระดับที่ต่ำกว่าความสามารถในการหดตัวสูงสุด (maximum contraction strength) ของกล้ามเนื้อนั้นๆ (เช่นในการวิ่งมาราธอน) การออกกำลังกายประเภทนี้จะอาศัยระบบการหายใจแบบใช้ออกซิเจน ใช้ใยกล้ามเนื้อประเภท type I (หรือ slow-twitch), เผาผลาญสารอาหารจากทั้งไขมันโปรตีน และคาร์โบไฮเดรตเพื่อให้ได้พลังงาน ใช้ออกซิเจนจำนวนมากและผลิตกรดแลกติก (lactic acid) ในปริมาณน้อย

ในการออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic exercise) จะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อในระยะเวลารวดเร็ว และหดตัวได้แรงจนเข้าใกล้ความสามารถในการหดตัวสูงสุดของกล้ามเนื้อนั้นๆ ตัวอย่างของการออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน เช่น การยกน้ำหนักหรือการวิ่งในระยะสั้นแบบเต็มฝีเท้า การออกกำลังกายแบบนี้จะใช้ใยกล้ามเนื้อประเภท type II (หรือ fast-twitch) อาศัยพลังงานจาก ATP หรือกลูโคส แต่ใช้ออกซิเจน ไขมัน และโปรตีนในปริมาณน้อย ผลิตกรดแลกติกออกมาเป็นจำนวนมาก และไม่สามารถออกกำลังกายได้นานเท่าการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน

การเคลื่อนไหวที่สร้างสรรค์

กิจกรรมเข้าจังหวะเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่สร้างสรรค์ ซึ่งช่วยเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี  เป็นการเคลื่อนไหวที่มีสุนทรียภาพก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ความสนุกสนาน  เพราะจะได้ฝึกการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานรวมทั้งการฝึกประกอบดนตรี  เกิดความซาบซึ้งในดนตรี  ช่วยขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยน  ผู้ที่ฝึกกิจกรรมเข้าจังหวะได้ดีแล้วจะสามารถฝึกการเต้นในระดับสูงได้ดีต่อไป

ทักษะที่ใช้ในกิจกรรมเข้าจังหวะเริ่มตั้งแต่การฟังเพลงเพื่อจับจังหวะ  การเคลื่อนไหวเบื้องต้น           การเคลื่อนไหวประกอบเพลง  การฝึกร้องเพลงและการฝึกปรบมือหรือใช้อุปกรณ์ประกอบจังหวะ  การฝึกประกอบ  ท่าและประกอบเพลง  เมื่อฝึกคล่องแคล่วแล้วจะฝึกสร้างสรรค์คิดท่าทางประกอบเพลงที่เลือกเพื่อเสริมสร้างการเคลื่อนไหวตามจินตลีลา

นอกจากการเลือกกิจกรรมเข้าจังหวะให้สนุกสนานไปกับเสียงเพลงและการคิดท่าทางแปลกใหม่แล้ว  กิจกรรมชนิดนี้ยังสามารถฝึกได้ในร่ม  เป็นกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ  สังสรรค์ในหมู่เพื่อนฝูง  ใช้สำหรับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและยังใช้เป็นการแสดงกลางแจ้งหรือการแสดงบนเวทีในโอกาสต่าง ๆ จึงเป็นกิจกรรมที่ทุกคนได้แสดงการออกกำลังกายที่พัฒนาทักษะทางสังคมและมีโอกาสใช้เสียงดนตรีเข้ามาทำให้กิจกรรมการออกกำลังกายน่าสนใจ  ใช้เป็นกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพได้เป็นอย่างดีทักษะการเคลื่อนไหวที่ใช้มีตั้งแต่การฟังจังหวะ  การเคาะจังหวะ     การเดิน  การวิ่ง  การสไลด์  การกระโดด  การเขย่ง  การเดินสองจังหวะ  การวิ่งสลับเท้า  และการผสมผสานทักษะต่าง ๆ เข้ากับเสียงเพลง  หากนักเรียนมีเพลงโปรดหรือเพลงประจำตัว เมื่อนักเรียนฟังเพลงพร้อมกับร้องตามและเคลื่อนไหวประกอบเพลงไปด้วยนักเรียนก็จะมีความสุขอย่างมาก

หลักสําคัญในการรับแรงคืออะไร

1. การรับแรง คือ การจัดวางตาแหน่งของอวัยวะ ให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่ปฏิบัติเพื่อ ลดแรงปะทะ ที่ท าให้เกิดแรงเสียดทานของร่างกาย กับอากาศและแรงโน้มถ่วงขณะที่เคลื่อนไหว เช่น การเอนตัวไปข้างหน้าขณะวิ่ง การรับของที่โยนจาก เพื่อน การถือสิ่งของ การรับลูกฟุตบอลของผู้รักษา ประตู

การควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบอุปกรณ์หมายถึงอะไร

๑.๓ การเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์ หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายที่ผู้ปฏิบัติ ใช้ร่างกายบังคับ หรือควบคุมวัตถุประกอบในการเคลื่อนไหว ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการใช้มือ และเท้า เช่น การขว้าง การเตะ การตี ซึ่งการเคลื่อนไหวในลักษณะนี้จะพบได้ทั้งในการเล่นกีฬา และการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

หลักในการเคลื่อนไหวร่างกายมีอะไรบ้าง

ในการเคลื่อนไหวโดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวแบบใดก็ตาม พอจะจำแนกออกได้ 3 แบบ ด้วยกันคือ 1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ 2. การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ 3. การเคลื่อนไหวที่ใช้อุปกรณ์ ซึ่งไม่ว่าจะ เป็นการเคลื่อนไหวแบบใดก็ตามจะเกี่ยวข้องกับการใช้แรงซึ่งกระทำให้ร่างกายของเราเคลื่อนไหวได้อันเกิดจาก การทำงานของกล้ามเนื้อ ...

การใช้แรงมีกีฬาอะไรบ้าง

กีฬาที่เป็นการฝึกเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง เช่น การเพาะกาย ยกน้ำหนัก พาวเวอร์ลิฟติง กีฬาสตรองแมน กีฬาไฮแลนด์ ทุ่มน้ำหนัก ขว้างจักร พุ่งเหลน มีกีฬาบางประเภทที่ใช้การฝึกเพื่อสร้างความแข็งแกร่งเป็นส่วนประกอบ เช่น อเมริกันฟุตบอล เบสบอล บาสเกตบอล ฟุตบอล ฮอกกี ลาครอส ศิลปะการต่อสู้แบบผสม พายเรือ รักบี้ลีก รักบี้ยูเนียน ลู่และ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง