สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่เท่าใด

หากถามว่าสถานประกอบกิจการหรือบริษัทไหนต้องมี จป บ้าง หลักเกณฑ์ง่าย ๆ คือ ให้ยึดและปฏิบัติตามที่กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ซึ่งระบุไว้ว่าบริษัท กิจการหรือสถานประกอบกิจการทั้ง 14 ประเภทนี้ ได้แก่ 1. กิจการทำเหมืองแร่ เหมืองหิน ปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี 2. กิจการโรงงานอุตสาหกรรม 3. กิจการก่อสร้าง 4. การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ รวมถึงการบรรทุกขนถ่ายสินค้า 5. สถานีบริการหรือจำหน่ายเชื้อเพลิงหรือก๊าซ 6. โรงแรม 7. ห้างสรรพสินค้า 8. สถานพยาบาล 9. สถาบันทางการเงิน 10. สถาบันทางการเงิน 11. สถานบริการบันเทิง 12. สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ 13. สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตามข้อ 1 ถึง 12 และ 14. กิจการอื่น ๆ ตามที่กระทรวงแรงงานกำหนด หากสถานประกอบกิจการใดจัดอยู่ในกลุ่ม 14 ประเภทนี้ จำเป็นต้องมี จป ในแต่ละระดับตรงตามที่กฎหมายกำหนด ปฏิบัติหน้าที่เพื่อตรวจสอบและดูแลความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานในสถานประกอบกิจการ

  1. จป หัวหน้างาน

ไม่ต้องถามเลยว่าบริษัทไหนต้องมี จป หัวหน้างานบ้าง เพราะทุกบริษัทและสถานประกอบกิจการที่เข้าเกณฑ์ 14 ประเภท ต้องมี จป หัวหน้างาน เนื่องจากพนักงานระดับหัวหน้างานภายในบริษัทหรือสถานประกอบกิจการทุกคนต้องทำหน้าที่เป็น จป หัวหน้างาน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อทำหน้าที่อบรมและกำกับดูแลลูกจ้างให้ปฎิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ ค้นหาความเสี่ยงและอันตรายจากการทำงาน พร้อมทำสรุปรายงานและแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับนายจ้าง สนใจ อบรม จป หัวหน้างาน  สอบถามได้เลยที่ : //lin.ee/5JEDykZ

  1. จป บริหาร

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร มีหน้าที่หลัก ๆ คือ การกำกับดูแลและติดตามปัญหา รวมถึงความเสี่ยงจากการทำงานที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือข้อเสนอแนะจาก จป หัวหน้างาน จป วิชาชีพ คปอ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ การอบรม จป บริหารและอื่นๆได้ที่ :  อบรม จป บริหาร , อบรม จป บริหาร ออนไลน์ , อบรม คปอ

  1. จป เทคนิค

บริษัทไหนต้องมี จป เทคนิค บริษัทนั้นต้องเป็นสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 50 คน โดยลูกจ้างที่จะสามารถปฏิบัติงานเป็น จป เทคนิค ได้นั้นนายจ้างหรือสถานประกอบกิจการต้องส่ง จป หัวหน้างาน เข้ารับอบรม จป เทคนิค เพิ่มเติมเท่านั้น เพื่อเรียนรู้บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบความปลอดภัยในการทำงานด้านเทคนิคเฉพาะที่ต้องใช้ความรู้มากขึ้น

  1. จป เทคนิคขั้นสูง

บริษัทไหนต้องมี จป เทคนิคขั้นสูง บริษัทนั้นต้องเป็นสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 100 คน โดยจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบใกล้เคียงกับ จป ระดับเทคนิค แต่ต้องปฏิบัติงานเพื่อดูแลความปลอดภัยในการทำงานในระดับสูงที่มีความเฉพาะทาง ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มากกว่า จึงต้องมีการทดสอบวัดระดับความรู้ แบ่งออกเป็นหมวด ๆ หลังผ่านการอบรม จป เทคนิคขั้นสูงแล้วทุกครั้ง หากทดสอบไม่ผ่านก็จะไม่สามารถปฏิบัติงานในตำแหน่ง จป เทคนิคขั้นสูงได้

  1. จป วิชาชีพ

บริษัทไหนต้องมี จป วิชาชีพบ้าง คำตอบก็คือต้องเป็นบริษัทหรือสถานประกอบกิจการที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป โดย จป วิชาชีพ ต้องเรียนจบปริญญาตรีด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือวิทยาศาสตร์ความปลอดภัยจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองเท่านั้น

อบรม จป กับ Jorporonline ผู้นำทางด้านการรับอบรม จป อันดับหนึ่ง

บริษัทไหนต้องมี จป หรือกำลังมองหาศูนย์ฝึกอบรม จป ที่ได้มาตรฐาน เพื่อส่งพนักงานภายในองค์กรเข้ารับการอบรม จป ในทุกระดับ สามารถเลือกเรียนหลักสูตรอบรม จป กับ Jorporonline ได้ เพราะเราคือผู้นำศูนย์ฝึกอบรม จป ออนไลน์ อันดับหนึ่ง ที่ให้บริการอบรมหลักสูตรอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ บริษัทของเราได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีเลขที่ จป 63 – 010 ทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001

หลักสูตรอบรม จป ของเราในทุกระดับเป็นหลักสูตรออนไลน์ ดำเนินการอบรมโดยบุคลากร อาจารย์ผู้สอนมืออาชีพ พร้อมอุปกรณ์ในการสอนภาคปฏิบัติที่ได้มาตรฐานสากล คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่าจะได้รับความรู้จากการเข้าอบรม จป กับเราอย่างครบถ้วนและสามารถนำปฏิบัติได้จริง ครอบคลุมทุกหลักสูตรตามกฎกระทรวงได้กำหนด พร้อมทั้งหากสำเร็จหลักสูตรอบรม จป กับเราในทุกระดับ คุณจะได้รับวุฒิบัตรผ่านการอบรม จป อย่าลืมสมัครและติดต่อ Jorporonline กันด้วย

สถานประกอบกิจการใดบ้างที่ต้องมี จป. และ มี จป. ระดับใดบ้าง

ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานฯ พ.ศ. 2549 มีการกำหนดสถานประกอบกิจการต้องมี จป. ดังนี้
1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
2) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
3) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
6) โรงแรม
7) ห้างสรรพสินค้า
8) สถานพยาบาล
9) สถาบันทางการเงิน
10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม ข้อ 1) ถึง 12)
14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
ในสถานประกอบกิจการตามข้อ 1) ถึง 5) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามข้อ 6) ถึง 14) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไป ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานของสถานประกอบกิจการ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารของสถานประกอบกิจการ
ในสถานประกอบกิจการตามข้อ 2) ถึง 5) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไปแต่ไม่ถึงห้าสิบคนต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคประจำสถานประกอบกิจการ
ในสถานประกอบกิจการตามข้อ 2) ถึง 5) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนื่งร้อยคนต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงประจำสถานประกอบกิจการ
ในสถานประกอบกิจการตามข้อ 1) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามข้อ 2) ถึง 5) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพประจำสถานประกอบกิจการ

โดยสรุปสถานประกอบกิจการใด ๆ จำเป็นต้องมี จป. และเป็น จป.ระดับใด ขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของการประกอบกิจการ และจำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ นอกจากนี้ ตามกฎหมายในสถานประกอบกิจการเดียวไม่มีสถานประกอบกิจการใดที่ต้องมี จป.ครบทั้ง 5 ระดับ จะมีเพียงบางสถานประกอบกิจการ ที่มี จป.2 ระดับ คือ จป.ระดับบริหาร และ จป.ระดับหัวหน้างาน และบางสถานประกอบกิจการที่มี จป.3 ระดับ คือ จป.ระดับบริหาร จป.ระดับหัวหน้างาน และ จป.ระดับเทคนิค หรือ จป.ระดับบริหาร จป.ระดับหัวหน้างาน และ จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือ จป.ระดับบริหาร จป.ระดับหัวหน้างาน และ จป.ระดับวิชาชีพ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง