วัฒนธรรมสากลมีต้นกำเนิดมาจากวัฒนธรรมใด

ความหมายของวัฒนธรรมสากล

        วัฒนธรรมสากลหรือวัฒนธรรมนานาชาติ หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปอย่างกว้างขวางหรือเป็นอารยธรรมที่ได้รับปฏิบัติตามกันทั่วโลก เช่น การแต่งกายชุดสากล การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร การปกครองในระบอบประชาธิปไตย การค้าเสรี การใช้เครื่องจักรกล ระบบการสื่อสารที่ทันสมัย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และมารยาทในการสมาคม เป็นต้น

ความสำคัญของวัฒนธรรมสากล

        ในยุคปัจจุบันโลกของเรามีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างสูง เป็นยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างง่ายดาย มีการติดต่อซึ่งกันและกัน เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น ก็ย่อมส่งผลให้วัฒนธรรมมีการผสมผสานกันมากขึ้น จนในที่สุดมนุษย์จึงต้องมีการค้นหาหรือสร้างวัฒนธรรมสากลในด้านต่างๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน เช่น มีการกำหนดภาษาสากล ระบอบการเมืองการปกครอง มาตรฐานด้านความปลอดภัย เป็นต้น

การที่หลายประเทศในโลกรวมถึงประเทศไทยมีความต้องการจะพัฒนาตนเองเพื่อก้าวสู่ความเป็นสากล วัฒนธรรมสากลจึงมีความสำคัญซึ่งคนในสังคมจำเป็นที่จะต้องศึกษาและรับมาเป็นแนวทางหนึ่งในการดำเนินชีวิต เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองและก้าวทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันหากมีการรับวัฒนธรรมสากลมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมของชาติสูญหายไป

วัฒนธรรมสากลที่สำคัญในยุคปัจจุบัน

ในปัจจุบันมีวัฒนธรรมสากลมากมายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของเรา การที่เราจะเรียนรู้หรือรับเอาวัฒนธรรมสากลมาใช้นั้น จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงประโยชน์และความจำเป็นของวัฒนธรรมสากลเหล่านั้น ซึ่งวัฒนธรรมสากลที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมยุคปัจจุบัน มีดังนี้

1) ภาษาอังกฤษ เนื่องจากภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก โดยในปัจจุบัน มีหลายประเทศทั่วโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ อินเดีย เป็นต้น นอกจากนี้หน่วยงานสากลที่สำคัญของโลกในหลายแห่งก็ยังใช้ภาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร เช่น ธนาคารโลก องค์การสหประชาชาติ สหภาพยุโรป เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้คนในสังคมทั่วทุกมุมโลกให้ความสนใจที่จะเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น

2) คอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือเป็นวัฒนธรรมสากลที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้หลากหลาย เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีระบบอินเทอร์เน็ตที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงไปทั่วโลก เป็นทั้งแหล่งรวบรวมข้อมูลต่างๆ สำหรับการสืบค้นและยังเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลก เช่น อีเมล การประชุมทางไกล เป็นต้น

3) การแต่งกาย แม้ว่าในหลายประเทศจะมีเครื่องแต่งกายที่เป็นชุดประจำชาติ ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป แต่ก็ยังมีการแต่งกายที่คนในสังคมส่วนใหญ่ให้การยอมรับว่าเป็นการแต่งกายสากล อีกทั้งยังรับเอาวัฒนธรรมการแต่งกายสากลนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายซึ่งสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปเครื่องแต่งกายสากล เช่น เสื้อสูท เนคไท เสื้อเชิ้ต รองเท้าหุ้มส้น เป็นต้น

4) ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจกระแสหลักของโลกปัจจุบัน เป็นระบบที่เน้นอิสรภาพในการทำธุรกิจการค้าของบุคคล ผู้ประกอบธุรกิจสามารถลงทุนและใช้ศักยภาพต่างๆ เพื่อการผลิตสินค้าหรือบริการได้อย่างเต็มความสามารถ รวมถึงสามารถแข่งขันในตลาดการค้าได้อย่างเสรี ส่งผลให้เกิดการสร้างอาชีพที่หลากหลาย และเป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปสร้างฐานะทางการเงินได้ตามความสมารถของตนเอง หลายประเทศในโลกจึงยอมรับละนำระบบเศรษฐกิจทุนนิยมมาใช้อย่างแพร่หลายดังจะเห็นได้จากการรวมตัวทางด้านเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาคของโลก เช่นองค์การการค้าโลก (WTO) กลุ่มอาเซียน (ASEAN) กลุ่มเอเปค (APEC) สหภาพยุโรป (EU) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เป็นต้น ซึ่งประเทศสมาชิกกลุ่มเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ให้การยอมรับในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมทั้งสิ้น

5) การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประเทศส่วนใหญ่ในโลกให้การยอมรับและปกครองประเทศปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นระบอบที่เน้นสิทธิเสรีภาพของบุคคลอีกทั้งยังเป็นระบอบที่เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เราจะเห็นได้ว่าในหลายประเทศที่มีความต้องการจะพัฒนาไปสู่ความเป็นสากลนั้น มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาให้การเมืองการปกครองเป็นประชาธิปไตยให้มากที่สุด เพื่อจะได้เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก

6) แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน ประเทศในหลายภูมิภาคทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนสืบเนื่องจากการที่ประเทศส่วนใหญ่ให้การยอมรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ้งเน้นในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงทำให้แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนมีการแพร่หลายไปทั่วโลก มีความพยายามจากหน่วยงาน หรือทั้งของภาครัฐและเอกชนที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป้าหมายสำคัญของหลักสิทธิมนุษยชน เช่น ทำให้มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ได้รับการปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสม ปราศจากการใช้ความรุนแรงต่อกัน และได้รับสวัสดิการต่างๆ ที่จะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นต้น

     5. ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทิศทางของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสหัสวรรษใหม่มี 3 ด้าน คือ ด้านพลังงาน ด้านสุขภาพและอาหาร และด้านการติดต่อสื่อสาร ส่วนเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่มี 4 กลุ่ม คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี รวมทั้งเทคโนโลยีวัสดุและเทคโนโลยีอื่น สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศที่แพร่หลายและมีความจำเป็นในการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง