การ รวบรวม ข้อมูลจากแหล่ง เรียน รู้ ใด ที่มีความน่าเชื่อถือ น้อย ที่สุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

  • WP:RS

บทความวิกิพีเดียควรยึดแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือเป็นหลัก ซึ่งทำให้แน่ใจว่ามุมมองส่วนใหญ่ทั้งหมดและส่วนน้อยที่สำคัญที่ปรากฏในแหล่งข้อมูลเหล่านั้นมีการกล่าวถึง

คำว่า "แหล่งข้อมูล" ที่ใช้ในวิกิพีเดียมีสามความหมายที่เกี่ยวข้องกัน:

  • ตัวชิ้นงานเอง (บทความ หนังสือ ฯลฯ)
  • ผู้สร้างสรรค์ผลงาน (ผู้เขียน นักหนังสือพิมพ์ ฯลฯ)
  • ผู้จัดพิมพ์ผลงาน (เช่น สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์)

สามข้อนี้สามารถกระทบต่อความน่าเชื่อถือได้ แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออาจเป็นสิ่งตีพิมพ์ซึ่งมีกระบวนการพิมพ์เผยแพร่ที่น่าเชื่อถือ หรือผู้ประพันธ์ถูกมองว่าเชื่อถือได้ในเรื่องนั้น หรือทั้งคู่ ควรแสดงคุณสมบัติที่กำหนดเหล่านี้แก่ผู้อื่น

ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลขึ้นอยู่กับบริบท ต้องมีการชั่งน้ำหนักแหล่งข้อมูลอย่างระมัดระวัง เพื่อตัดสินว่าแหล่งข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือสำหรับถ้อยแถลงที่ให้มา และเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดในบริบทนั้นหรือไม่ โดยทั่วไป ยิ่งมีผู้ร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง วิเคราะห์ประเด็นข้อกฎหมาย และวิเคราะห์งานเขียนมากยิ่งขึ้นเท่าใด สิ่งพิมพ์เผยแพร่นั้นก็ยิ่งน่าเชื่อถือมากเท่านั้น แหล่งข้อมูลควรสนับสนุนสารสนเทศโดยตรงตามที่นำเสนอในบทความ และควรเหมาะสมกับข้ออ้าง หากหัวข้อใดไม่พบแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือกล่าวถึง วิกิพีเดียก็ไม่ควรมีบทความเกี่ยวกับหัวข้อนั้น

แนวปฏิบัติในหน้านี้อภิปรายความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลหลากชนิด นโยบายว่าด้วยแหล่งข้อมูล คือ วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้ ซึ่งต้องการการอ้างอิงในบรรทัดสำหรับเนื้อหาใด ๆ ที่ถูกคัดค้านหรือมีแนวโน้มจะถูกคัดค้าน และสำหรับข้อกล่าวอ้าง (quotation) ทั้งหมด นโยบายนี้บังคับใช้อย่างเข้มงวดกับทุกเนื้อหาในเนมสเปซหลัก บทความ รายชื่อ และส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ โดยไม่มีข้อยกเว้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่

ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลเป็นสเปกตรัม

  • ไม่มีแหล่งข้อมูลได้ที่ "น่าเชื่อถือเสมอไป" หรือ "ไม่น่าเชื่อถือเสมอไป" สำหรับทุก ๆ เรื่อง
  • แหล่งข้อมูลบางแหล่งอาจรองรับข้อความได้อย่างแม่นยำมากน้อยต่างกันไป
  • ผู้เขียนจะต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินเองว่าจะใช้แหล่งข้อมูลใดกับข้อความที่จะมาอ้าง

บทความควรยึดแหล่งข้อมูลตีพิมพ์บุคคลภายนอก (third-party) ที่น่าเชื่อถือ ซึ่งมีชื่อเสียงในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและความแม่น หมายความว่า เราเพียงแต่เผยแพร่ความคิดเห็นของผู้ประพันธ์ที่น่าเชื่อถือ มิใช่ความคิดเห็นของชาววิกิพีเดียที่อ่านและตีความเนื้อหาแหล่งข้อมูลปฐมภูมิเอง การอ้างอิงอย่างเหมาะสมขึ้นอยู่กับบริบทเสมอ สามัญสำนึกและการวินิจฉัยเชิงอัตวิสัย (editorial judgment) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ขาดมิได้

คำว่า "ตีพิมพ์" เกี่ยวข้องมากที่สุดกับเนื้อหาที่เป็นข้อความ ไม่ว่าจะในรูปแบบตีพิมพ์ดั้งเดิมหรือออนไลน์ อย่างไรก็ดี เนื้อหาเสียง วีดิทัศน์และมัลติมีเดียที่ถูกบันทึกแล้วแพร่สัญญาณ แจกจ่ายหรือเก็บไว้โดยผู้ที่น่าเชื่อถือ (reputable party) ยังอาจเข้าเกณฑ์ที่จำเป็นที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่นเดียวกับแหล่งข้อมูลที่เป็นข้อความ แหล่งข้อมูลสื่อต้องถูกผลิตโดยบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือ และมีการอ้างอิงอย่างเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้น ต้องมีสำเนาที่เก็บไว้ของสื่อนั้นอยู่ด้วย จะเป็นการสะดวกสำหรับสำเนาที่เก็บไว้ที่เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ไม่จำเป็น

บทความวิกิพีเดียหลายบทอาศัยเนื้อหาวิชาการ เมื่อหาได้ สิ่งตีพิมพ์วิชาการและที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรอง (peer review) เอกสารเฉพาะเรื่องเชิงวิชาการและตำราเรียนโดยทั่วไปเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด อย่างไรก็ดี เนื้อหาวิชาการบางอย่างอาจล้าสมัย แข่งขันกับทฤษฎีทางเลือก หรือเป็นที่พิพาทในสาขาที่เกี่ยวข้อง พยายามอ้างความเห็นส่วนใหญ่เชิงวิชาการที่เป็นปัจจุบันเมื่อหาได้ แต่ยอมรับว่าเหตุการณ์นี้มักไม่เกิดขึ้น แหล่งข้อมูลมิใช่เชิงวิชาการที่น่าเชื่อถือยังอาจใช้ในบความเกี่ยวกับประเด็นวิชาการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาจากสิ่งพิมพ์เผยแพร่กระแสหลักคุณภาพสูง การตัดสินใจว่าแหล่งข้อมูลใดเหมาะสมขึ้นอยู่กับบริบท เนื้อหาควรมีการอ้างอิงในเนื้อความ (in-text) เมื่อแหล่งข้อมูลขัดแย้งกัน

วิชาการ

  • บทความควรยึดแหล่งข้อมูลทุติยภูมิเมื่อใดก็ตามที่หาได้ ตัวอย่างเช่น บทความปฏิทัศน์ เอกสารเฉพาะเรื่องหรือตำราเรียนดีกว่างานวิจัยปฐมภูมิ เมื่อยึดแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ แนะนำให้ใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง ชาววิกิพีเดียควรไม่ตีความเนื้อหาของแหล่งข้อมูลปฐมภูมิด้วยตนเอง
  • เนื้อหาอย่างบทความ หนังสือ เอกสารเฉพาะเรื่อง หรืองานวิจัยที่ผ่านการกรอง (vet) โดยชุมชนวิชาการถือว่าน่าเชื่อถือ หากเนื้อหานั้นถูกพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งข้อมูลที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองทีน่าเชื่อถือหรือโดยสิ่งตีพิมพ์วิชาการที่ได้รับการยอมรับ โดยทั่วไปจะผ่านการกรองโดยนักวิชาการหนึ่งคนหรือกว่านั้น
  • วาทนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ซึ่งถูกเขียนขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรปริญญาเอก ซึ่งสาธารณะเข้าถึงได้ นักวิชาการถือว่าเป็นสิ่งพิมพ์เผยแพร่ และสามารถอ้างอิงในเชิงอรรถได้หากวาทนิพนธ์นั้นแสดงว่าเข้าสู่วจนิพนธ์วิชาการกระแสหลัก ฉะนั้นจึงได้รับการกรองโดยชุมชนวิชาการ การแสดงว่าวาทนิพนธ์นั้นเข้าสู่วจนิพนธ์กระแสหลักดูได้จากการตรวจสอบการอ้างอิงวิชาการที่วาทนิพนธ์นั้นได้รับในดัชนีการอ้างอิง บทแทรก คือ วารสารที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีการอ้างอิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่ดัชนีดังกล่าวมีขอบเขตครอบคลุมดี ควรใช้ด้าวยความระมัดระวัง และเฉพาะเมื่อเข้าเกณฑ์อื่น เช่น ชื่อเสียงของนักวิชาการ สนับสนุนการใช้เท่านั้น วาทนิพนธ์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ยังไม่ผ่านการกรอง และไม่ถือว่าตีพิมพ์แล้ว ฉะนั้นจึงไม่เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือตามกฎ วาทนิพนธ์ระดับปริญญาโทและวิทยานิพนธ์จะถือว่าน่าเชื่อถือได้หากสามารถแสดงให้เห็นว่ามีอิทธิพลทางวิชาการอย่างสำคัญ
  • การศึกษาเอกเทศโดยทั่วไปถือว่ายังไม่แน่นอน และอาจเปลี่ยนแปลงได้หากมีการวิจัยทางวิชาการเพิ่มเติม ความน่าเชื่อถือของการศึกษาเอกเทศขึ้นอยู่กับสาขา การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่ซับซ้อนและยากจะเข้าใจ อย่างแพทยศาสตร์ จะมีความสมบูรณ์น้อยกว่า หลีกเลี่ยงการให้น้ำหนักอย่างไม่เหมาะสมเมื่อใช้การศึกษาเอกเทศในสาขาเหล่านี้ ควรเลือกการวิเคราะห์อภิมาน ตำราเรียนและบทความที่ได้รับการทบทวนทางวิชาการแทนเมื่อหาได้ เพื่อให้บริบทที่่เหมาะสม
  • ควรระมัดระวังกับวารสารที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนมุมมองใดมุมมองหนึ่งเป็นหลัก การอ้างว่าผ่านการพิจารณากลั่นกรองมิใช่ตัวบ่งชี้ว่าวารสารนั้นได้รับความน่าเชื่อถือ หรือมีการพิจารณากลั่นกรองที่มีความหมายเกิดขึ้นแต่อย่างใด วารสารที่ไม่ได้รับการพิจารณากลั่นกรองโดยชุมชนวิชาการอย่างกว้างขวางไม่ควรถือว่าน่าเชื่อถือ ยกเว้นเพื่อแสดงให้เห็นมุมมองของกลุ่มที่วารสารเหล่านั้นเป็นตัวแทน

องค์การข่าว

แหล่งข้อมูลข่าวมักมีทั้งเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น "การรายงานข่าว" จากสำนักข่าวที่มั่นคงโดยทั่วไปถูกพิจารณาว่ามีคำแถลงข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ แต่การรายงานที่น่าเชื่อถือที่สุดก็ยังมีข้อผิดพลาดได้บางครั้ง การรายงานข่าวจากสำนักข่าวที่มั่นคงน้อยกว่าโดยทั่วไปถูกพิจารณาว่าเป็นคำแถลงข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือน้อยกว่า ความเห็นบรรณาธิการ การวิเคราะห์และความเห็น ไม่ว่าจะเขียนขึ้นโดยบรรณาธิการของสิ่งพิมพ์เผยแพร่นั้น (บทบรรณาธิการ) หรือผู้ประพันธ์ภายนอก (บทความต่างความเห็นต่อบทบรรณาธิการ [op-ed]) เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่น่าเชื่อถือแก่คำแถลงที่เป็นของบรรณาธิการหรือผู้ประพันธ์นั้น แต่แทบไม่เป็นคำแถลงข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ

  • เมื่อนำสารสนเทศมาจากเนื้อหาความคิดเห็น เอกลักษณ์ของผู้ประพันธ์อาจช่วยตัดสินความน่าเชื่อถือได้ ความคิดเห็นของผู้ชำนัญพิเศษและผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับมีแนวโน้มน่าเชื่อถือและสะท้อนมุมมองที่สำคัญมากกว่า หากถ้อยแถลงดังกล่าวไม่น่าเชื่อถือ ให้ระบุว่าความคิดเห็นนั้นเป็นของผู้ประพันธ์ในข้อความของบทความ และไม่นำเสนอเป็นข้อเท็จจริง บทวิจารณ์หนังสือ ภาพยนตร์ ศิลปะ ฯลฯ อาจเป็นความคิดเห็น บทสรุปหรืองานวิชาการก็ได้
  • สำหรับสารสนเทศในหัวข้อวิชาการ แหล่งข้อมูลวิชาการและแหล่งข้อมูลมิใช่วิชาการคุณภาพสูงโดยทั่วไปจะดีกว่ารายงานข่าว รายงานข่าวอาจยอมรับได้ขึ้นอยู่กับบริบท บทความที่ว่าด้วยการศึกษาจำเพาะในเชิงลึก เช่น บทความเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ มีแนวโน้มมีคุณค่ามากกว่าบทความทั่วไปที่ว่าด้วยหัวข้อหนึ่ง ๆ เพียงผิวเผิน บ่อยครั้ง บทความเช่นนี้เขียนขึ้นโดยผู้เขียนชำนัญพิเศษซึ่งอาจอ้างอิงจากชื่อได้
  • การรายงานข่าวลือมีคุณค่าทางสารานุกรมจำกัด แม้สารสนเทศที่พิสูจน์ยืนยันได้เกี่ยวกับข่าวลืออาจเหมาะสมในบางกรณี วิกิพีเดียมิใช่ที่ส่งต่อเรื่องซุบซิบนินทาและข่าวลือ
  • องค์การข่าวบางแห่งใช้บทความวิกิพีเดียเป็นแหล่งอ้างอิง ฉะนั้น ผู้เขียนควรระวังการอ้างอิงตัวเอง
  • การประเมินว่า บทความข่าวหนึ่ง ๆ น่าเชื่อถือแก่ข้อเท็จจริงหรือถ้อยแถลงจำเพาะในบทความวิกิพีเดียหรือไม่นั้น รายกรณีเป็นหลัก
  • บางเรื่องที่ถูกตีพิมพ์ซ้ำหรือส่งผ่านโดยองค์การข่าวหลายองค์การ ให้นับเรื่องเดียวกันเป็นหนึ่งแหล่ง
  • องค์การข่าวไม่จำเป็นต้องตีพิมพ์นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความหรือกองบรรณาธิการออนไลน์ หนังสือพิมพ์ใหญ่จำนวนมากมิได้ตีพิมพ์นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ
  • สัญญาณหนึ่งที่องค์การข่าวดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีชื่อเสียงด้านความแม่น คือ การตีพิมพ์การแก้ไขข่าว

แหล่งข้อมูลที่น่าสงสัย

แหล่งข้อมูลที่น่าสงสัย หมายถึง แหล่งข้อมูลที่มีชื่อเสียงเลวในด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือไม่มีการควบคุมดูแลการพิจารณากลั่นกรองบทความ แหล่งข้อมูลประเภทนี้รวมถึงเว็บไซต์และสื่อตีพิมพ์ที่แสดงมุมมองที่ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางว่า สุดโต่ง หรือมีสภาพส่งเสริม หรือที่ยึดข่าวลือและความเห็นส่วนบุคคลมาก โดยทั่วไปแหล่งข้อมูลที่น่าสงสัยไม่เหมาะสมแก่การอ้างข้อกล่าวอ้างที่พิพาทเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ซึ่งรวมถึงข้ออ้างต่อสถาบัน บุคคลทั้งที่มีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตแล้ว ตลอดจนสิ่งที่ได้รับการอธิบายอย่างเลวกว่า (ill-defined) การใช้แหล่งข้อมูลที่น่าสงสัยอย่างเหมาะสมนั้นมีจำกัดมาก

แหล่งข้อมูลที่มีอคติหรือยึดมั่นความเห็น

บทความวิกิพีเดียต้องการนำเสนอมุมมองที่เป็นกลาง อย่างไรก็ดี แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือไม่จำเป็นต้องเป็นกลาง ปราศจากอคติและเป็นวัตถุวิสัย แหล่งข้อมูลที่มีอคติทั่วไปรวมถึงการเมือง การเงิน ศาสนา ปรัชญาหรือความเชื่ออื่น

บางครั้งแหล่งข้อมูล "ไม่เป็นกลาง" เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดเท่าที่หาได้สำหรับสนับสนุนสารสนเทศเกี่ยวกับมุมมองที่แตกต่างกันของหัวเรื่องหนึ่ง ๆ เมื่อจัดการกับแหล่งข้อมูลที่อาจมีอคติ ผู้เขียนควรพิจารณาว่าแหล่งข้อมูลนั้นเข้าเกณฑ์แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือทั่วไปหรือไม่ เช่น การควบคุมการบรรรณาธิการและชื่อเสียงด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริง ผู้เขียนยังควรพิจารณาว่าอคติทำให้เหมาะจะใช้การกล่าวถึงในข้อความ (in-text attribution) สำหรับแหล่งข้อมูลนั้นหรือไม่ ดังเช่น "ตามความเห็นของคอลัมนิสต์ ก ..." หรือ "ตามความเห็นของนักวิจารณ์ ข ..."

แหล่งข้อมูลตีพิมพ์เอง (ออนไลน์และกระดาษ)

ใครก็ตามสามารถสร้างเว็บเพจส่วนตัวหรือตีพิมพ์หนังสือของตนเอง และยังอ้างตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาหนึ่ง ๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ สื่อตีพิมพ์เอง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ จดหมายข่าว เว็บไซต์ส่วนตัว วิกิเปิด บล็อก หน้าส่วนตัวบนเว็บเครือข่ายสังคม โพสต์ในเว็บบอร์ด หรือทวีตข้อความ ส่วนใหญ่ไม่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งรวมถึงเว็บไซต์ใด ๆ ที่ผู้ใช้สร้างเนื้อหาเป็นส่วนใหญ่ รวมถึง อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส (IMDB), CBDB.com เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นจากความร่วมมืออย่างวิกิ ฯลฯ โดยยกเว้นสาระบนเว็บที่ติดป้ายว่ากำเนิดจากสมาชิกที่มีการรับรองของกองบรรณาธิการของเว็บ มิใช่ผู้ใช้

"บล็อก" ในบริบทนี้หมายถึง บล็อกส่วนบุคคลและบล็อกกลุ่ม บางช่องทางข่าวจัดคอลัมน์อินเตอร์แอ็กทีฟที่เรียกว่า บล็อก และบล็อกเหล่านี้อาจยอมรับว่าเป็นแหล่งข้อมูลได้ตราบเท่าที่ผู้เขียนเป็นนักหนังสือพิมพ์อาชีพ หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เขาเขียน และบล็อกนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมกลั่นกรองเต็มของช่องทางข่าวนั้น โพสต์ที่ผู้อ่านทิ้งไว้ไม่อาจถูกใช้เป็นแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลตีพิมพ์เองบางครั้งยอมรับได้เมื่อผู้ประพันธ์เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งมีผลงานในสาขาที่เกี่ยวข้องได้รับตีพิมพ์โดยสิ่งพิมพ์เผยแพร่บุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือ สารสนเทศตีพิมพ์เองไม่ควรถูกใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีชีวิตอยู่ แม้ผู้ประพันธ์จะเป็นนักวิจัยอาชีพหรือนักเขียนที่รู้จักกันดี

การใช้แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เองและที่น่าสงสัยเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง

แหล่งข้อมูลตีพิมพ์เองและที่น่าสงสัยอาจใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองได้ โดยมักปรากฏในบทความเกี่ยวกับตัวเองหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง และไม่ต้องมีสิ่งจำเป็น ตราบเท่าที่:

  1. แหล่งอ้างอิงนั้นไม่เอื้อประโยชน์แก่ตัวเองมากเกินไป
  2. แหล่งอ้างอิงนั้นไม่มีการอ้างเกี่ยวกับบุคคลที่สาม
  3. แหล่งอ้างอิงนั้นไม่มีการอ้างเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับแหล่งอ้างอิงนั้น
  4. ไม่มีข้อสงสัยอย่างสมเหตุสมผลถึงความถูกต้อง
  5. บทความนั้นไม่อิงอยู่บนแหล่งอ้างอิงเช่นว่าเป็นหลัก

นโยบายนี้ยังมีผลต่อหน้าที่ว่าด้วยเว็บเครือข่ายสังคม อย่างทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก

  • วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา
  • วิกิพีเดีย:งดงานค้นคว้าต้นฉบับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง