โครงงานคณิตศาสตร์ ป. 4 เรื่อง เศษส่วน

📍ที่มาของแนวคิดนี้

กลุ่มของพวกเราเป็นนักศึกษาคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชั้้นปีที่ 4 ที่กำลังเรียนในวิชา “ความหลากหลายของวิธีการเรียนรู้คณิตศาสตร์” และได้รับมอบโจทย์ให้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขึ้น 1 เรื่อง จากภาพสถานการณ์และกลุ่มช่วงอายุ คือผู้เรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (อายุ 10-12 ปี) ที่เป็นช่วงกำลังจะพัฒนาเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้น ขณะเดียวกันก็กำลังสนุกสนานกับการได้ลงมือทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเพื่อน ๆ 

พวกเราเลยเลือกเรื่องการผสมสีที่เชื่อมโยงไปกับวิชาศิลปะมาใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ในหลักสูตรของชั้นป. 4 ที่กำลังจะเรียนเรื่องเศษส่วนพอดี เลยประยุกต์เรื่องของการผสมสีนี้ให้เด็ก ๆ ได้สนุกไปกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านสถานการณ์ที่ดูไม่เข้ากันแต่ก็ท้าทายและแฝงไปด้วยคณิตศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหา “จะทำยังไงให้สามารถผสมสีที่ต้องการอีกเป็นครั้งที่สองโดยสียังเหมือนเดิม” ครั้งนี้ 

📍จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.เข้าใจปริมาณที่เขียนในรูปเศษส่วน

2.เปรียบเทียบเศษส่วนที่เท่ากันและเศษส่วนอย่างต่ำได้

3.หาผลบวกและลบเศษส่วนในกรณีเศษส่วนที่เท่ากันได้

4.ยกตัวอย่างเชื่อมโยงการนำเศษส่วนไปใช้ในเรื่องอื่นได้

📍กระบวนการในการจัดการเรียนรู้

  • การเตรียมการก่อนการนำการเรียนรู้ที่ออกแบบไปใช้

พวกเราคิดว่าให้มีการแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มกลุ่มละ 4 คน ตามจำนวนนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ช่วยกันในกิจกรรม

อุปกรณ์ (ต่อกลุ่มที่มีนักเรียนจำนวน 4 คน)

  1. สีแดง น้ำเงิน เหลือง ขาว โดยผสมน้ำเตรียมไว้เพื่อลดความเข้มข้นของสี
  2. บีกเกอร์ กำหนด 10 ส่วน สำหรับใส่สีแต่ละลี สีละ 2 บีกเกอร์ (รวม 8 บีกเกอร์)
  3. บีกเกอร์สำหรับแบ่ง เป็น 5/10, 2/10, 1/10 จากข้อ 2 ขนาดละ 2 บีกเกอร์
  4. ช้อนสำหรับตักสี
  5. พู่กัน
  6. อุปกรณ์สำหรับล้างอุปกรณ์ พร้อมผ้าสำหรับเช็ด
  7. ชาร์ตสีผสม
  8. โจทย์หรือสีผสมที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ใช้ในกิจกรรม
  9. ใบบันทึกกิจกรรมกลุ่ม และใบงานการเรียนรู้ (เดี่ยว)
  • กระบวนการ

กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นป.4 จำนวน 30 คน

ระยะเวลาทั้งหมด 2 คาบเรียน (100 นาที)

1.Introduction - [5นาที]

คุณครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยการชวนคุยเรื่องการวาดภาพ ระบายสีนํ้า อาจเปิดคลิปเกี่ยวกับการระบายสีนํ้าเพื่อทำให้นักเรียนสนใจมากขึ้น ชวนถามนักเรียนว่าจากเหตุการณ์วาดภาพระบายสีนํ้า นักเรียนคิดว่ามีอะไรที่ต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้าง ระหว่างนี้ก็จัดการกับอุปกรณ์ที่เตรียมมาให้เรียบร้อยพร้อมใช้งาน

2.ตั้งปัญหาชวนเข้าเรื่อง - [5นาที]

หลังจากเด็ก ๆ ได้ร่วมกันตอบคำถามแล้ว คุณครูนำอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ในการผสมสีมาหน้าห้อง ชวนคุยเกี่ยวกับการผสมสีตามชาร์ตสี อาจมีการทายคำถาม เสร็จแล้วผสมสีใดสีหนึ่งให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมาผสมสีหน้าห้อง โดยมีโจทย์ให้ตัวแทนคือให้ผสมสีออกมาให้เหมือนกับคุณครูเป๊ะ ๆ ให้ได้

3.เสนอแนวทางแก้ไขด้วยเศษส่วน - [10นาที]

จากการที่ส่งตัวแทนเด็ก ๆ ออกมาผสมสี เนื่องจากนักเรียนยังไม่มีความรู้เรื่องเศษส่วน แน่นอนว่านักเรียนจะไม่ได้ใช้ความรู้ในการแบ่งส่วนของสีต่าง ๆ เพื่อผสมออกมาให้ได้สีเดิม สีของนักเรียนจะมีความอ่อนหรือเข้มกว่าของคุณครู ทำให้คุณครูสามารถเชื่อมโยงปัญหานี้กับเนื้อหาการเรียนเศษส่วนได้ โดยตัวอย่างที่เราจะใช้คือการชวนคุยกับนักเรียนว่าหากเด็ก ๆ มีความรู้เรื่องเศษส่วน เขาจะสามารถแบ่งสัดส่วนของสีที่ผสมในถ้วยตวงให้เท่ากันในแต่ละครั้งได้ผ่านการบันทึก แล้วจะได้สีเดิมตลอด

4.ให้ความรู้เกี่ยวกับเศษส่วน - [20นาที]

คุณครูเข้าสู่บทเรียนเรื่องของเศษส่วน การอ่านเศษส่วน/การแบ่งวัตถุออกเป็นส่วน/การบวกลบเศษส่วน/การทำเศษส่วนอย่างตํ่า ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในคาบของคุณครูที่กำหนด โดยการเข้าสู่เนื้อหาแต่ละเรื่องจะใช้การผสมสีและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ในการอธิบาย เช่น สอนการอ่านเศษส่วนจากการดูปริมาตรของสีกับถ้วยตวงที่แบ่งเป็นส่วนไว้ให้ สอนการบวกลบเศษส่วนโดยการดูปริมาตรของสีหลังจากเทเข้า/เทออกจากถ้วยตวง การทำเช่นนี้จะทำให้เด็ก ๆ ได้เข้าใจเนื้อหาของเศษส่วนจากการเห็นตัวอย่างเป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและเห็นการเชื่อมโยงในชีวิตประจำวัน

5.กิจกรรมกลุ่มแข่งกันผสมสีด้วยความรู้เศษส่วน - [30นาที]

หลังจากคุณครูสอนเสร็จแล้ว จะเข้าสู่กิจกรรมที่นักเรียนจะได้ร่วมลงมือทำร่วมกัน โดยให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันตามความเหมาะสมของห้อง แจกอุปกรณ์ที่เตรียมไว้สำหรับนักเรียน และให้นักเรียนเริ่มทดลองผสมสีให้ได้ตามโจทย์ (ดูตัวอย่างใบงานประกอบ) ซึ่งในการผสมสีนั้นนักเรียนจะต้องจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงของปริมาตรสีในภาชนะต่าง ๆ ในรูปของการระบายสีเป็นส่วน และเขียนในรูปของเศษส่วนด้วย ใบงานนี้ทางผู้จัดทำได้ออกแบบให้นักเรียนได้เห็นภาพและเข้าใจถึงการอ่านเศษส่วน เขียนวัตถุออกมาให้อยู่ในรูปเศษส่วน บวกลบเศษส่วน ซึ่งครูผู้สอนสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

6.ถอดบทเรียนการเรียนรู้เชื่อมโยงสู่การนำไปใช้ - [15นาที]

หลังจากเสร็จกิจกรรมแล้ว คุณครูชวนถามนักเรียนเกี่ยวกับคำตอบที่นักเรียนได้ อาจเป็นคำถามเกี่ยวกับปริมาณสีที่ผสม หากจะได้สีตามโจทย์ต้องใช้สีเท่าไหร่ เหลือสีเท่าไหร่ ถามสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ในคาบเรียนและชวนคุยว่าสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในเรื่องอะไรได้อีกบ้าง

7.ประเมินความเข้าใจหลังเรียนด้วยแบบฝึกหัด - [15นาที]

ให้นักเรียนลองทำแบบฝึกหัดท้ายบทเพื่อประเมินว่านักเรียนสามารถนำความรู้มาใช้ได้จริงมั้ย ระหว่างนี้คุณครูจะได้ใช้เวลาที่เหลือไปกับการเก็บอุปกรณ์ที่เตรียมมาพร้อมเตรียมตัวสำหรับการสอนในคาบถัดไป

📍การประเมิน

เนื่องจากกระบวนการเรียนรู้ที่ออกแบบนี้เป็นกระบวนการกลุ่ม นอกจากที่ผู้สอนหรือคุณครูจะอาศัยความสามารถในการประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเบื้องต้นแล้ว เราเลือกใช้เครื่องมืออย่างใบบันทึกการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้คุณครูสามารถตรวจเช็คความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละคน พวกเราออกแบบให้สอดคล้องกับแนวทางของกิจกรรมในการแก้ไขปัญหา โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคนเลือกอธิบายวิธีการแก้ไขปัญหาของตนเองอย่างการวาดหรือเขียนอธิบายเพื่อแสดงให้เห็นถึงการกระทำที่เกิดขึ้นจนนำไปสู่คำตอบของคำถามที่ถูกตั้งไว้ ซึ่งในแต่ละข้อก็จะแสดงให้เห็นความเข้าใจในส่วนย่อยต่าง ๆ เกี่ยวกับเศษส่วนและจะท้าทายผู้เรียนขึ้นไปในแต่ละข้อ

(**อันที่จริงคุณครูจะออกแบบแบบประเมินเพิ่มเติมหรือเติมความสร้างสรรค์ลงไปอีกเพื่อช่วยดึงดูดผู้เรียนก็ได้นะคะ/ครับ อันที่จริงเราอยากทำเป็นโครงเบื้องต้นไว้เพื่อที่จะทำให้คุณครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่เปลืองทรัพยากรมากค่ะ/ครับ)

ส่วนของใบบันทึกกิจกรรมกลุ่มจากโจทย์ที่แต่ละกลุ่มจะต้องแข่งกันผสมสีให้ได้ตามที่ต้องการ ยังต้องคอยบันทึกปริมาณที่ใช้ลงไปในรูปเศษส่วนด้วย ตัวอย่างเช่น

📍ข้อจำกัดของกระบวนการเรียนรู้นี้

  • กระบวนการเรียนรู้นี้ใช้อุปกรณ์ค่อนข้างมากในกิจกรรมการเรียนรู้ บางโรงเรียนอาจไม่มีอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรม และต้องการการเตรียมการของผู้สอนด้วย
  • เนื่องจากเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการผสมสีอาจสร้างอุปสรรคให้กับผู้เรียนที่มีลักษณะตาบอดสี ซึ่งสามารถแก้ไขด้วยการเลือกเพียงบางสี หรือขอความร่วมมือจากเพื่อนร่วมชั้นในการอธิบาย

📍ข้อแนะนำในการเอาไปใช้/พลิกแพลง

  • สามารถดัดแปลงจากเรื่องสีเป็นเรื่องของการผสมดินน้ำมัน ผสมปริมาณส่วนผสมของอาหาร เพื่อให้นักเรียนเห็นแนวทางในการใช้เศษส่วนในหลากหลายสถานการณ์มากขึ้น
  • อุปกรณ์ที่สำคัญอย่างบีกเกอร์หรือถ้วยตวงอาจใช้เป็นอย่างอื่นแทนโดยกำหนดขึ้นมาเป็นค่าประมาณ เพื่อให้เห็นเศษส่วนที่เปลี่ยนแปลงไป
  • ในผู้เรียนที่โตขึ้นยังสามารถออกแบบผ่านการให้อิสระกับผู้เรียนได้กำหนดการประมาณปริมาตรของอุปกรณ์เอง โดยที่คุณครูไม่ต้องกำหนดไว้ให้ ก็จะทำให้ได้เศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน จนนำไปสู่ปัญหาการเปรียบเทียบเศษส่วนที่ต้องอาศัยการคูณและการหารเศษส่วนเข้ามาช่วยเพื่อที่จะอธิบายการผสมปริมาณที่ถูกแบ่งเป็นส่วนในภาชนะต่าง ๆ ให้เข้าใจ

📍ความคาดหวังในการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของพวกเรา

  • คาดหวังว่ากิจกรรมนี้จะทำให้เด็กที่ไม่ชอบคณิตศาสตร์รู้สึกสนุกกับการเรียนรู้ และเด็กที่ไม่ชอบศิลปะเปิดใจรับมุมมองใหม่ๆในอีกด้านของการนำคณิตศาสตร์มาประยุกต์ จากแนวคิดเบื้องหลังที่พวกเราได้เรียนรู้และนำมาใช้ในการออกแบบ คือการที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากกระบวนการคิดแก้ไขปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันและศาสตร์อื่น ๆ ได้ 
  • การเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและสามารถเรียนรู้แบบเป็นรูปธรรมได้ จากการได้เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรมที่เชื่อมโยงกับกระบวนการคณิตศาสตร์ที่เป็นนามธรรมอยู่มาก 
  • คณิตศาสตร์จึงไม่ใช่เพียงการท่องจำสูตรหรือวิธีการคำนวณ แต่ยังถูกนำไปใช้พัฒนาการคิดของผู้เรียนอย่างมีตรรกะและขั้นตอนด้วย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง