แนวทาง การ ปฏิบัติ ตน เป็น พล โลก

ฮิวจ์ อีแวนส์ (Hugh Evans) นักมนุษยธรรมชาวออสเตรเลีย พูดด้วยน้ำเสียงจริงจังบนเวที TED Talk และพยายามบอกพวกเราทุกคนว่าโลกของเรากำลังมีปัญหา มีผู้คนที่สนใจปัญหาส่วนรวมของโลกน้อยจนเกินไป เนื่องมาจากพวกเราขาดสิ่งที่เรียกว่า “ความเป็นพลเมืองโลก (Global citizenship)”

“อนาคตของโลกนั้น ไม่ว่าจะเป็น ความยากจน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความไม่เท่าเทียมทางเพศ เรื่องเหล่านี้เป็นสุดยอดปัญหาของโลก แต่มันจะถูกแก้ไขได้ จากความเป็นพลเมืองโลกของเราทุกคน”

ฮิวจ์มองว่าการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยใครเพียงคนใดคนหนึ่ง หรือแก้ไขได้ในเชิงปัจเจก (individual) เพราะปัญหาของโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ไม่ว่าจำเป็นปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ ปัญหาทางเพศ หรือปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ล้วนมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ

เพราะฉะนั้น ทางออกที่สำคัญคือการทำให้ทุกคนรับรู้ถึง “ความเป็นพลเมืองโลก” แต่ละคนสามารถมองออกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาร่วมของทุกคน และเราทุกคนจะต้องมีส่วนในการแก้ไขไปด้วยกัน

แต่คำถามสำคัญในฐานะครูก็คือ เราเข้าใจในความเป็นพลเมืองโลกแล้วหรือยัง และเราจะทำอย่างไรให้นักเรียนของเรารับรู้ว่าพวกเขาเองนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ในฐานะพลเมืองโลกคนหนึ่ง

ความเป็นพลเมืองโลก (Global citizen) คืออะไร?

ความเป็นพลเมืองโลก (Global citizenship) หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งนิยามว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของโลกไปพร้อม ๆ กับการเป็นส่วนหนึ่งของประเทศหรือพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ไปพร้อม ๆ กัน

เพราะฉะนั้น เป้าหมายของคุณครูคือการทำให้นักเรียนได้รับรู้ว่า นอกจากเขาจะรับบทบาทลูกในครอบครัว หรือนักเรียนในโรงเรียนแล้ว เขายังอยู่ในบทบาท “พลเมืองคนหนึ่งบนโลกใบนี้” อีกด้วย ซึ่งถ้านักเรียนรับรู้ถึงความเป็นพลเมืองโลกได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่ดูเหมือนจะอยู่ไกลตัว เช่น สงครามระหว่างยูเครน-รัสเซีย ผู้คนบนหมู่เกาะตูวาลูที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำทะเลหนุนสูงจากภาวะโลกร้อน หรือปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศห่างไกล เด็ก ๆ จะตระหนักและใส่ใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่าเดิม

“ไม่ใช่แค่นักเรียนในห้องเรียน แต่เป็นพลเมืองคนหนึ่งของโลกใบนี้”

แต่โจทย์ที่สำคัญคือ แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ ที่จะทำให้นักเรียนรับรู้ได้ว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบใหญ่ที่เขาอาศัยอยู่ ได้รับรู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ เขาเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับผิดชอบหรือเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไข

การบอกเล่าเนื้อหาต่าง ๆ ที่นักเรียนควรรับรู้ หรือการจัดการเรียนรู้ที่อิงกับเนื้อหา (Content-based learning) อาจจะไม่เพียงพอต่อการสร้างความเป็นพลเมืองโลกให้เกิดขึ้นภายในตัวนักเรียนได้ เนื่องจากการเป็นพลเมืองโลกนั้นจำเป็นต้องอาศัยทักษะการคิดขั้นสูง ไม่ว่าจำเป็นการวิเคราะห์โครงสร้างของปัญหา ประเมินผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้นกับโลกใบนี้

แต่การจัดการเรียนรู้เชิงสมรรถนะ (Competency-based learning) อาจจะตอบโจทย์มากกว่า เนื่องจากจะช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attitude) ที่ประสานเข้าด้วยกันเป็นสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (Active citizen) ซึ่งเป็น 1 ในสมรรถนะ 6 ประการที่จำเป็นต่อนักเรียนในการใช้ชีวิตในอนาคต

แต่คำถามต่อไปคือ แล้วเราจะจัดกิจกรรมเชิงสมรรถนะอย่างไรที่จะช่วยเสริมสร้างความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนได้ละ ถ้าคุณครูอยากรู้แล้ว ลองไปดูตัวอย่างกิจกรรมกัน

ตัวอย่างกิจกรรมเชิงสมรรถนะที่ช่วยส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียน

📌 กิจกรรมที่ 1 ทำไม-ทำไม-ทำไม (Why-why-why chain)

กิจกรรมนี้จะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดสมรรถนะการคิดขั้นสูงในการค้นหาเหตุผลของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันด้วยคำถามง่าย ๆ อย่างคำว่า “ทำไม (Why)” โดยคุณครูสามารถแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มละ 2-3 คนเพื่อให้นักเรียนได้ค้นหาคำตอบที่คุณครูกำหนดให้ และใช้คำถามว่า “ทำไม” ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เพื่อให้เห็นต้นตอของปัญหา

นอกจากนี้การแบ่งกลุ่มในการทำกิจกรรมยังช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมและการสื่อสาร และยังช่วยทำให้นักเรียนได้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนั้นเกี่ยวข้องกับสังคมในภาพใหญ่ระดับโลก ไม่ใช่แค่ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศใดประเทศหนึ่ง ดังตัวอย่างเช่น การที่ผู้คนจากประเทศต่าง ๆ ต้องลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษ เพราะบ้านของพวกเขาเกิดสงครามแย่งชิงทรัพยากร

“กิจกรรมนี้ช่วยทำให้นักเรียนได้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนั้นเกี่ยวข้องกับสังคมในภาพใหญ่ระดับโลก ไม่ใช่แค่ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศใดประเทศหนึ่ง”

คุณครูสามารถนำกิจกรรมนี้ไปใช้กับประเด็นที่นักเรียนกำลังให้ความสนใจ เช่น ราคาน้ำมันที่กำลังพุ่งสูงขึ้น ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่แน่ว่าการเริ่มต้นจากปัญหาภายในประเทศของเรา อาจจะเชื่อมโยงไปได้ไกลจนเห็นความเชื่อมโยงของปัญหาระดับโลกเลยก็ได้

สมรรถนะหลักที่เกิดขึ้น : การคิดขั้นสูง การรวมพลังทำงานเป็นทีม การสื่อสาร

📌 กิจกรรมที่ 2 เชือกแห่งความคิดเห็น (Opinion continuum)

กิจกรรมที่จะชวนนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่กำลังถกเถียงในสังคมโลกผ่านการใช้คลิปหนีบบนเส้นเชือกในตำแหน่งที่แสดงจุดยืนของตนเอง ถ้านักเรียนเห็นด้วยจะต้องใช้คลิปหนีบกระดาษไปทางซ้าย และถ้าไม่เห็นด้วยจะต้องใช้คลิปหนีบกระดาษไปทางขวา

กิจกรรมนี้จะแสดงให้นักเรียนเห็นว่าความคิดเห็นที่คนในสังคมมีต่อประเด็นต่าง ๆ นั้นมีความหลากหลายและซับซ้อน มากกว่าการแบ่งออกเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน (เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย)

“โลกใบนี้ไม่ได้มีคำตอบแค่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย"

คุณครูสามารถเพิ่มขั้นตอนพิเศษ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายความคิดเห็นของแต่ละคน และให้นักเรียนมีสิทธิในการเปลี่ยนจุดยืนหลังจากการอภิปราย ทำให้นักเรียนได้เห็นมุมมองความคิดเห็นของแต่ละคน และทำให้นักเรียนเห็นว่าคนเราสามารถเปลี่ยนความคิดได้ เมื่อได้รับข้อมูลที่มากขึ้น

สมรรถนะหลักที่เกิดขึ้น : การคิดขั้นสูง การสื่อสาร และการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

📌 กิจกรรมที่ 3 ต้นไม้เจ้าปัญหา (Issue tree)

พานักเรียนค้นหาผลกระทบจากสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมโดยใช้แผนภาพต้นไม้ เริ่มต้นจากการเขียนปัญหาที่นักเรียนสนใจเป็นลำต้นของต้นไม้ เขียนผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นกิ่งก้านสาขา และเขียนวิธีแก้ปัญหาเป็นผลของต้นไม้

กิจกรรมนี้จะแสดงให้นักเรียนเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นสามารถส่งผลกระทบได้ในหลายมิติ และในแต่ละมิตินั้นจะมีวิธีแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน โดยไม่สามารถใช้แนวคิด “one size fit all” หรือการใช้คำตอบเดียวในการแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ ซึ่งจะจำลองสภาพปัญหาจริงที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน

“ปัญหาที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ไม่ได้มีคำตอบเพียงคำตอบเดียวเท่านั้น”

สมรรถนะหลักที่เกิดขึ้น : การคิดขั้นสูง การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน

องค์ความรู้อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการเป็นพลเมืองโลกที่เข้มแข็ง

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ยกตัวอย่างมานั้น นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดสมรรถนะหลักทั้ง 6 ประการแล้ว ยังช่วยกระตุ้นความคิดเชิงวิพากษ์ต่อประเด็นต่าง ๆ ที่จะทำให้นักเรียนดำรงอยู่บนโลกนี้ในฐานะพลเมืองโลกที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

คุณครูคนไหนที่มีไอเดียการสอนเชิงสมรรถนะที่จะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความเป็นพลเมืองโลกอีก อย่าลืมมาแบ่งปันกันในเว็บไซต์ insKru กันนะ มาร่วมกันเปลี่ยนแปลงห้องเรียนให้เป็นพื้นที่บ่มเพาะความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนกันเถอะ

คุณครูคนไหนที่มีไอเดียการสอนเชิงสมรรถนะที่จะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความเป็นพลเมืองโลกอีก อย่าลืมมาแบ่งปันกันในเว็บไซต์ insKru กันนะ มาร่วมกันเปลี่ยนแปลงห้องเรียนให้เป็นพื้นที่บ่มเพาะความเป็นพลเมืองโลกของนักเรียนกันเถอะ

หรือลองเข้าไปชมตัวอย่างไอเดียการสอนเชิงสมรรถนะ

จากครูในพื้นที่ EEC ได้ในลิงก์นี้เลย!

//inskru.com/tag/สมรรถนะกับEEC

🔎 อ้างอิงข้อมูลจาก

//www.ted.com/talks/hugh_evans_what_does_it_mean_to_be_a_citizen_of_the_world/transcript?language=th

//prachatai.com/journal/2020/01/85770

//cbethailand.com/หลักสูตร/หลักสูตรฐานสมรรถนะ/สมรรถนะหลัก-5-ประการ/

//oxfamilibrary.openrepository.com/bitstream/handle/10546/620105/edu-global-citizenship-teacher-guide-091115-en.pdf?sequence=9&isAllowed=y

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง