แนวทางการป้องกันปัญหาอินเทอร์เน็ต

วิธีป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางออนไลน์และอาชญากรรมทางไซเบอร์
(How to protect yourself from Cybercrime ?)

ในช่วงที่การทำงาน, การเรียน หรือการทำธุรกรรมและอะไรหลาย ๆ อย่างนั้นต้องพึ่งพิงแพลตฟอร์มออนไลน์ไปเสียหมดแบบนี้ก็อาจทำให้หลาย ๆ คนเกิดความรู้สึกระแวงและกังวลว่าข้อมูลความลับสำคัญต่าง ๆ ของตนเองจะรั่วไหลออกไป หรืออาจโดน แฮกเกอร์ (Hacker) และผู้ไม่หวังดีมาหลอกเอาเงินหรือข้อมูลสำคัญของเราไปขายให้กับบุคคลอื่น และที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือการแพร่กระจาย มัลแวร์ (Malware) อย่าง ไวรัส (Virus) หรือ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomeware) ต่าง ๆ สู่คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของเราจนเกิดความเสียหายขึ้นมาได้

บทความเกี่ยวกับ Ransomware อื่นๆ

และจากผลสำรวจของ Google ก็พบว่าในช่วงปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ที่ผ่านมานี้นั้นมีการเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์ ฟิชชิง (Phishing) สูงขึ้นถึง 350% เลยทีเดียว มันจึงยิ่งเพิ่มโอกาสในการเกิด อาชญากรรมทางไซเบอร์ ขึ้นสูงตามไปด้วย ทำให้ผู้ที่ไม่คุ้นชินกับระบบออนไลน์อาจตกเป็นเป้าหมายของผู้ไม่หวังดีเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น


ภาพจาก : //atlasvpn.com/blog/google-registers-a-350-increase-in-phishing-websites-amid-quarantine

ดังนั้นหากเราทราบวิธีการในการป้องกันการโจมตีออนไลน์หรืออาชญากรรมเหล่านี้ในระดับหนึ่งก็น่าจะช่วยให้รู้สึกสบายใจมากขึ้นและสามารถเล่นโซเชียลหรือทำงานได้อย่างไร้กังวล แต่ก็ไม่ใช่เฉพาะแค่ตัวเราเท่านั้นที่ต้องระมัดระวังตนเอง เพราะองค์กรที่เราทำงานด้วยและหน่วยงานรัฐบาลต่าง ๆ เองก็ควรที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัยของเราจากภัยคุกคามทางออนไลน์เหล่านี้ด้วยเช่นกัน

การป้องกันระดับบุคคล (Protect Personal from Cybercrime)

แน่นอนว่าอันดับแรกสิ่งที่ต้องทำก็คือการเริ่มต้นที่ตนเองอย่างที่หลาย ๆ คนได้บอกเอาไว้ ซึ่งการป้องกันการโจมตีจาก Hacker ต่าง ๆ ของตัวเราเองนั้นก็ได้แก่

  1. อัปเดตซอฟต์แวร์ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพราะซอฟต์แวร์ที่เราใช้งานนั้นเมื่อมีการแจ้งเตือนให้ทำการอัปเดตก็มักเป็นการแก้บัค (Bug) และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานให้มากขึ้น ทำให้นอกจากจะสามารถใช้งานฟีเจอร์ใหม่ ๆ ได้แล้วยังเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานมากขึ้นอีกด้วย
  2. ใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีประสิทธิภาพ เชื่อว่าหลาย ๆ คนก็น่าจะใช้งานโปรแกรมแอนตี้ไวรัสกันอยู่แล้ว ทั้งโปรแกรมที่ติดมากับเครื่องและโปรแกรมที่ซื้อเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานไปอีกขั้นหนึ่ง แต่ก็ต้องไม่ลืมที่จะซื้อโปรแกรมที่ถูกลิขสิทธิ์ที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ด้วยเช่นกัน
  3. พิจารณาให้รอบคอบก่อนคลิกไปที่ลิงก์น่าสงสัย เช่น เว็บไซต์ที่บอกว่าจะแจกรางวัล, แบนเนอร์โฆษณาบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ลิงก์ไปยังเว็บอื่นและดาวน์โหลดไวรัสลงเครื่องโดยไม่รู้ตัว รวมไปถึงเว็บไซต์ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีที่มี "ปุ่มดาวน์โหลด" หลายอันจนไม่รู้ว่าควรกดปุ่มใดกันแน่ (ทางที่ดีเลือกดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ออฟฟิเชียลน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด)

ดาวน์โหลดโปรแกรมต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ : //download.thaiware.com/

  1. ใช้รหัสผ่านที่มีความซับซ้อน และใช้การยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน 2FA (2 Factors Authentication) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานโซเชียลมีเดียต่าง ๆ

การป้องกันระดับองค์กร (Protect Corporate from Cybercrime)

นอกเหนือไปจากตัวเราเองควรระมัดระวังเวลาใช้งานอินเทอร์เน็ตแล้ว องค์กรหรือบริษัทที่เราทำงานด้วยก็ควรให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลบริษัทและข้อมูลส่วนตัวของพนักงานเช่นกัน โดยทางบริษัทต่าง ๆ อาจใช้วิธีเหล่านี้ในการเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน เช่น

  1. ใช้งานซอฟต์แวร์ที่ถูกลิขสิทธิ์และอัปเดตซอฟต์แวร์ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เช่นเดียวกันกับคอมพิวเตอร์ส่วนตัว คอมพิวเตอร์ของบริษัทเองก็ควรใช้งานซอฟต์แวร์ที่ถูกลิขสิทธิ์เพื่อความปลอดภัยด้วยเช่นกัน
  2. เลือกใช้งานโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่ถูกลิขสิทธิ์ น่าเชื่อถือ และหมั่นอัปเดตโปรแกรมและสแกนไวรัสภายในเครื่องเป็นประจำ โดยสำหรับองค์กรที่มีจำนวนพนักงานเยอะ ๆ แล้วก็อาจเลือกใช้งานโปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีแพ็กเกจการซื้อ License เฉพาะสำหรับการใช้งานร่วมกันภายในองค์กรเพื่อประหยัดงบประมาณก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจเช่นกัน

สำหรับองค์กร หรือบริษัทใดที่สนใจก็สามารถเลือกซื้อโปรแกรมแอนตี้ไวรัสสำหรับการใช้งานในองค์กร (และโปรแกรมถูกลิขสิทธิ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานขององค์กร) ผ่าน Thaiware Shop ได้เลย

  1. คอยอัปเดตข่าวสารเกี่ยวกับการโจมตีเจาะข้อมูลทางไซเบอร์อยู่เสมอ โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์กรของเราและกำชับพนักงานให้ช่วยเป็นหูเป็นตาในการรายงานสิ่งที่น่าสงสัยว่าอาจเป็นไวรัสหรือมัลแวร์แฝง เช่น อีเมลแปลก ๆ จากองค์กรอื่นหรือจากประเทศอื่นที่ไม่เคยมีการติดต่อสื่อสารด้วย เป็นต้น
  2. กำชับพนักงานว่าไม่ควรเข้าใช้งานเว็บไซต์แปลก ๆ ที่น่าสงสัย หรืออาจบล็อคการใช้งานบางเว็บไซต์ที่อาจลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ ได้

การป้องกันระดับรัฐบาล (Protect Government from Cybercrime)

ไม่ใช่แค่ประชาชนคนทั่วไปและองค์กรบริษัทต่าง ๆ เท่านั้นที่สามารถป้องกันการเกิดอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้ แต่ภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเองยังสามารถให้ความช่วยเหลือในการป้องกันการเกิดภัยคุกคามทางออนไลน์ที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อประชาชนและประเทศชาติได้ด้วย

  1. สร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคคลภายในประเทศเกี่ยวกับความสำคัญของความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ต อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการก่ออาชญากรรมออนไลน์ คอยติดตามและแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามทางออนไลน์ให้ประชาชนเกิดความตื่นรู้และหาวิธีทางในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามอคัญที่สุดคือการตอนไลน์อยู่เสมอ
  2. ไม่เพิกเฉยกับการแจ้งความเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมทางออนไลน์และมีขั้นตอนการดำเนินคดีที่มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้
  3. ร่วมมือกับรัฐบาลของประเทศอื่นในการสร้างเครือข่ายที่ปลอดภัยต่อการใช้งานของประชาชนภายในประเทศต่าง ๆ ร่วมมือกันร่างกลยุทธ์ในการสร้างความปลอดภัยการใช้เครือข่ายไซเบอร์นานาชาติ (National Cyber Security Strategy) ขึ้นมา

ที่มา : us.norton.com , www.cybsafe.com , www.weforum.org , home.kpmg , www.kaspersky.com , www.thesslstore.com

เขียนโดย

    Thaiware

ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่..

แนวทางในการป้องกันอันตรายจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

1. ตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่ใช้งานปลอดภัยหรือยัง 2. การแชร์ไฟล์และการรับ-ส่งไฟล์ต่างๆ 3. การสํารองข้อมูล ๔. ติดตามข่าวสารต่างๆ 4. เช็คที่มาที่ไปของไฟล์ที่จะดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต และควรทําการแสกนไวรัส ทุกครั้ง 5. หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งที่มาที่ไม่ใช่เว็บไซต์ที่เราไม่รู้จัก

การกระทำใดสามารถป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้

1. ตั้งรหัสผ่านที่ยากแก่การเดา เช่น หลีกเลี่ยงในการใช้ชื่อเล่น วันเดือน ปี เบอร์โทรศัพท์ 2. เปลี่ยนรหัสผ่านสม่ำเสมอ 3. ติดตั้ง ใช้งาน และปรับปรุงโปรแกรมป้องกันมัลแวร์สม่ำเสมอ 4. ศึกษาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับไฟล์ ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต เช่น อีเมล หรือหน้าเว็บต่างๆ

วิธีป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ มีอะไรบ้าง

วิธีป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์.
1) ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว.
2.ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ ให้กับผู้อื่น แม้แต่เพื่อน เพราะเพื่อนเองก็อาจถูกหลอกให้มาถามจากเราอีกต่อหนึ่ง.

ข้อใดคือวิธีป้องกันบุตรหลานกับสื่อที่ไม่ปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต

สำหรับการดูแลบุตรหลานไม่ให้เสี่ยง Cyberbullying ผู้ปกครองสามารถทำได้ดังนี้ 1. สอนลูก ๆ ว่าอย่าไว้ใจคนแปลกหน้า โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ใครมาขอเป็นเพื่อนต้องตรวจสอบให้ดี หากไม่รู้จักก็ไม่ควรตอบรับคำขอเป็นเพื่อนนั้น 2. คอยสอดส่องว่าลูกจะไปไหน กับใคร หรือเพื่อนที่ลูกคุยด้วย แชทด้วยเป็นใคร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง