ปวด หัว ไม่ หาย ทํา ไง ดี

เมื่อมีอาการปวดหัว หลายคนมักนึกถึงการรับประทานยาแก้ปวดหัว แต่ความจริงแล้วมีวิธีแก้ปวดหัวหลายวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ เช่น นอนพักผ่อน ดื่มน้ำให้เพียงพอ หรืออาบน้ำอุ่น ซึ่งช่วยให้อาการปวดหัวดีขึ้นโดยอาจไม่ต้องใช้ยาและไม่ต้องไปพบแพทย์

อาการปวดหัวเป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยแต่ละคนอาจมีลักษณะอาการและความรุนแรงของอาการปวดหัวต่างกัน ตามปกติแล้วอาการปวดหัวในชีวิตประจำวันมักไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรง ส่วนมากจะเกิดจากความเครียดจากการเรียนหรือการทำงาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการที่ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งสามารถหายได้ด้วยการดูแลตัวเอง ในบทความนี้ พบแพทย์ได้รวบรวมวิธีแก้ปวดหัวง่าย ๆ ที่ทำได้ที่บ้านมาฝากกัน

รวม 9 วิธีแก้ปวดหัวง่าย ๆ ที่ทำได้ด้วยตัวเอง

หากมีอาการปวดหัว ลองทำตามวิธีแก้ปวดหัวเหล่านี้ จะช่วยให้อาการปวดหัวของคุณดีขึ้นได้ง่าย ๆ

1. พักผ่อนให้เพียงพอ

อาการปวดหัวอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายต้องการการพักผ่อน เมื่อมีอาการปวดหัวอาจลองหยุดทำงานและพักสายตาหรืองีบสัก 10 นาที เพราะการทำงานต่อทั้งที่มีอาการปวดหัวจะยิ่งทำให้ปวดหัวมากขึ้น 

และบางครั้งอาการปวดหัวอาจเกิดจากการนอนไม่พอหรือความผิดปกติด้านการนอน เช่น นอนไม่หลับ หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับซึ่งอาจทำให้ปวดหัวเรื้อรัง 

เพื่อการนอนที่มีคุณภาพ ควรเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา ซึ่งระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมของผู้ใหญ่โดยทั่วไปคือวันละ 7–9 ชั่วโมง เพราะหากนอนมากไปก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้เช่นกัน และก่อนเข้านอนควรทำกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย เช่น อาบน้ำอุ่น และอ่านหนังสือ หลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์ เล่นอินเทอร์เน็ต และดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งจะทำให้นอนหลับยาก

2. จิบชาอุ่น ๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มชาสมุนไพรอุ่น ๆ เช่น ชาขิง ชาคาโมมายล์ (Chamomile Tea) และชาเปปเปอร์มินต์ (Peppermint Tea) ที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดหัวก็เป็นวิธีแก้ปวดหัวที่แนะนำเช่นกัน แต่ผู้มีโรคประจำตัวหรือใช้ยารักษาโรคใด ๆ อยู่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนดื่มชาสมุนไพร เพราะสมุนไพรเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อโรคที่เป็นอยู่และประสิทธิภาพของยาได้

นอกจากนี้ การดื่มน้ำเปล่าอย่างเพียงพอในแต่ละวันจะช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำที่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวได้ โดยทางกระทรวงสาธาณสุขแนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 8–10 แก้ว ทั้งนี้ ปริมาณการดื่มน้ำของแต่ละคนจะแตกต่างกันตามเพศ ช่วงวัย และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน และควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอาจไปกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวมากขึ้น

3. ประคบเย็น

วิธีแก้ปวดหัวอีกวิธีคือการประคบเย็น โดยให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น เจลเย็นสำเร็จรูป หรือน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ห่อด้วยผ้าสะอาดแล้วนำมาประคบบริเวณที่รู้สึกปวด เช่น หน้าผาก ขมับ รอบดวงตา และท้ายทอย ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบ ชะลอการทำงานของเส้นประสาท และทำให้หลอดเลือดหดตัว จึงช่วยให้อาการปวดหัวดีขึ้นได้

4. อโรมาเธอราพี (Aromatherapy)

อโรมาเธอราพีเป็นการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ในการบำบัดและรักษาโรค โดยน้ำมันหอมระเหยบางชนิดนั้นมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวดหัว เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์และน้ำมันเปปเปอร์มินต์ โดยสามารถสูดดม สเปรย์ลงบนหมอน หยดลงในอ่างอาบน้ำ และนวดบริเวณศีรษะ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และทำให้รู้สึกผ่อนคลาย

อย่างไรก็ตาม น้ำมันหอมระเหยบางชนิดมีความเข้มข้นสูง การสูดดมหรือทาลงบนผิวหนังโดยตรงอาจทำให้แสบจมูกระคายเคืองผิวและเกิดอาการแพ้ได้ จึงต้องเจือจางกับน้ำมันชนิดอื่นก่อนใช้ เช่น โจโจบาออยล์ 

5. ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย

การทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายเป็นอีกหนึ่งวิธีแก้ปวดหัวที่ได้ผล เช่น เล่นโยคะ ฝึกการหายใจ นั่งสมาธิ ชมภาพยนตร์ เล่นเกมเพื่อผ่อนคลาย รวมถึงฟังเพลง อย่างไรก็ตาม เพลงที่เลือกฟังเพื่อผ่อนคลายควรเป็นเพลงที่มีจังหวะช้า ๆ ฟังสบาย ไม่ควรเลือกเพลงที่มีจังหวะรุนแรง เพราะในบางคนอาจทำให้เกิดความรู้สึกตึงเครียดมากขึ้นได้

6. ฝังเข็ม

การฝังเข็มเป็นการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกที่เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของพลังงานในร่างกาย และช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ อย่างไรก็ตาม ผู้มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับการฝังเข็ม และควรเลือกฝังเข็มกับแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตฝังเข็มอย่างถูกต้อง

7. ปรับการรับประทานอาหาร

บางครั้งอาการปวดหัวอาจเกิดจากการไม่ได้รับประทานอาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง จึงควรแบ่งรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ ตลอดทั้งวันแทนการรับประทานอาหารมื้อหลักในปริมาณมาก ซึ่งช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่มากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงเช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดเชีย อัลมอนด์ ผักโขม และถั่วดำ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้

นอกจากนี้ อาหารบางอย่างที่เรารับประทานอาจมีสารกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัว เช่น ผงชูรสในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ชา กาแฟและช็อคโกแลตที่มีคาเฟอีน เนื้อสัตว์แปรรูป อย่างเบคอนและไส้กรอกที่มีสารไนเตรทสูง และเนื้อสัตว์รมควันและชีสบ่มที่มีสารไทรามีน (Tyramine) ผู้มีอาการปวดหัวบ่อยจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหล่านี้

8. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นอาการปวดหัว

การอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน เสียงดัง มีกลิ่นฉุนหรือกลิ่นเหม็น และที่กลางแจ้งที่มีแสงแดดจัด อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้มากขึ้น โดยอาการปวดหัวของแต่ละคนอาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างกัน จึงควรสังเกตปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวและหลีกเลี่ยงสถานที่นั้นก็อาจช่วยให้อาการปวดหัวดีขึ้นได้

9. รับประทานยาแก้ปวดหัว

หากลองใช้วิธีอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล อาจเลือกใช้วิธีแก้ปวดหัวด้วยการรับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้เอง เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นวิธีแก้ปวดหัวที่หลายคนคุ้นเคยกันดี ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดหัวที่ไม่รุนแรงมากให้ดีขึ้น ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัมขึ้นไปให้รับประทานครั้งละ 500–1,000 มิลลิกรัม ทุก 4–6 ชั่วโมง และรับประทานไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน

นอกจากยาพาราเซตามอล บางคนอาจรับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยาแอสไพริน (Aspirin) ซึ่งยามีข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคตับและโรคไต และผู้มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด 

ยาไอบูโพรเฟนและแอสไพรินควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ผู้ที่ปัญหากระเพาะอาหารอักเสบหรือมีแผลในกระเพาะอาหารควรหลีกเลี่ยงการใช้ และห้ามใช้ยาแอสไพรินในเด็กที่อายุน้อยกว่า 18 ปี เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้

หากดูแลตัวเองด้วยวิธีแก้ปวดหัวข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ปวดหัวบ่อยและปวดรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาอย่างเหมาะสม รวมทั้งผู้ที่มีอาการปวดหัวรุนแรงอย่างเฉียบพลัน ปวดหัวหลังประสบอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือมีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ คอแข็งเกร็ง ผื่นขึ้น ตาพร่า ร่างกายอ่อนแรง สับสน พูดไม่ชัด และ

ทำยังไงให้หายปวดหัวโดยไม่กินยา

9 วิธีแก้ปวดหัวง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน.
1. พักผ่อนให้เพียงพอ ... .
2. จิบชาอุ่น ๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ ... .
3. ประคบเย็น ... .
4. อโรมาเธอราพี (Aromatherapy) ... .
5. ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย ... .
6. ฝังเข็ม ... .
7. ปรับการรับประทานอาหาร ... .
8. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นอาการปวดหัว.

ทำยังไงให้หายปวดหัว

การรักษาเบื้องต้น แนะนำให้นอนพักและอยู่ในที่เงียบ สงบ แสงไม่จ้าจนเกินไป หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ อาจรับประทานยาแก้ปวดชนิดที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น Naproxen, Ibuprofen หรือรับประทานยาแก้ปวดไมเกรน เช่น กลุ่ม Ergot, Triptans แต่ควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์

ปวดหัวทุกวันเสี่ยงเป็นโรคอะไร

ปวดหัวเรื้อรังแบบเป็นอันตราย โดยอาการปวดหัวดังกล่าวอาจเกิดจากสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เนื้องอกในสมอง ฯลฯ ซึ่งต้องได้รับการตรวจรักษาโดยด่วน

นอนท่าไหนให้หายปวดหัว

2. นอนหงายมีหมอนเล็กรองคอ แก้ปวดหัว หากตอนตื่นนอนแล้วรู้สึกปวดหัวทุกครั้ง ลองเพิ่มหมอนนอนหงายเล็กๆ อีกใบ มารองช่วงต้นคอดู เพราะจะช่วยทำให้คุณนอนหลับสนิทมากขึ้น และยังแก้ปัญหาการปวดหัวในตอนตื่นนอนอีกด้วย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง