เส้นเลือดในสมองแตก จะหายไหม

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ ภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดและออกซิเจนที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือดและออกซิเจน อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลง

โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  1. หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke)
  2. หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage)

โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการอย่างไร?

  • มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า
  • มีอาการแขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลันโดยมักเป็นครึ่งซีก
  • มีอาการแขนหรือขาชาอย่างเฉียบพลัน มักจะเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
  • พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด
  • มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น
  • มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ
  • มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว
  • มีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน
  • มีอาการเดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน

โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดได้จากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้

ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่

  • อายุ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
  • เพศ ผู้ชายจะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้มากกว่าผู้หญิง
  • เชื้อชาติ พันธุกรรมบางชนิด

ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน ที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ
  • โรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้นผิดปกติ เกล็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูงผิดปกติ
  • รวมทั้งหัวใจวายและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด
  • โรคอ้วน และภาวะนอนกรน
  • การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด หรือยากระตุ้นบางชนิด
  • ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีภาวะเครียด

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน

  • การซักประวัติอาการของผู้ป่วย
  • การตรวจร่างกายเบื้องต้น
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan brain) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI brain)

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน

การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ โดยแบ่งตามลักษณะของโรค ดังนี้

1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) สามารถรักษาได้ 2 วิธี ได้แก่

  • การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) จะใช้ในกรณีผู้ป่วยมาพบแพทย์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงนับจากมีอาการ และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วยแล้ว โดยแพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือดอยู่ออกเพื่อช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง


  • การใส่สายสวนลากลิ่มเลือด (Clot Retrieval) หากเส้นเลือดที่ตีบเป็นเส้นเลือดใหญ่ โดยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงใหญ่พร้อมขดลวดที่ขาหนีบไปจนถึงจุดที่เกิดการอุดตัน แล้วดึงเอาลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมองเพื่อเปิดรูของหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ช่วยให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองอีกครั้ง


2. หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) จะต้องการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต โดยให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อป้องกันการแตกซ้ำ พร้อมทั้งหาสาเหตุของเส้นเลือดในสมองแตก ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง โดยการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเลือดที่ออกภายในสมองและขนาดของก้อนเลือด


การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย รองจากโรคมะเร็ง นอกจากการตรวจสุขภาพเป็นประจำแล้ว การดูแลสุขอนามันของตนเองก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตันได้

ผู้ป่วยโรคทางสมองที่พบเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มหลอดเลือดสมองตีบและกลุ่มหลอดเลือดสมองแตก ซึ่งกลุ่มหลอดเลือดสมองตีบส่วนใหญ่มีโอกาสเสียชีวิตน้อยกว่ากลุ่มหลอดเลือดสมองแตก แต่จะใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวของสมองในกลุ่มหลอดเลือดสมองตีบมากกว่ากลุ่มหลอดเลือดสมองแตก แต่ที่น่าสนใจคือ หากผู้ป่วยหลอดเลือดสมองทั้งสองกลุ่มผ่านพ้นช่วงวิกฤติแล้ว สมองจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วและทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถ้าผู้ป่วยได้รับการดูแลและการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม

 

เป้าหมายในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วย

เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ประกอบด้วย

  1. ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันกับครอบครัวได้เป็นปกติ
  2. ผู้ป่วยสามารถดึงศักยภาพออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ 
  3. สมองและกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นและพัฒนาความสามารถในระยะยาว
  4. ไม่เกิดความพิการซ้ำซ้อน
  5. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียง

 

ช่วงเวลาสำคัญของการดูแล

หลังผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมองผ่านช่วงวิกฤติ ระยะเวลาที่ได้ผลดีในการฟื้นฟูสมองและร่างกาย (Golden Period) คือ ไม่เกิน 3 – 6 เดือนแรกหลังเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เพราะสมองสามารถฝึกและพัฒนาได้ดีที่สุด หากผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง สมองจะฟื้นตัวไวและสามารถแสดงศักยภาพที่เหลืออยู่ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามหากผ่าน 6 เดือนไปแล้ว แม้สมองจะมีอัตราการพัฒนาที่น้อยลง แต่ก็ยังสามารถพัฒนาต่อไปได้เรื่อย ๆ ถ้าได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่อง

การได้รับการดูแลด้วยบุคลากรหลากหลายสาขาวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นอายุรแพทย์ระบบประสาท อายุรแพทย์ผู้สูงอายุ ศัลยแพทย์ระบบประสาท แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด รวมถึงความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ดูแลและญาติในกระบวนการต่าง ๆ ในการดูแลผู้ป่วย ย่อมช่วยฟื้นฟูสมองของผู้ป่วยได้อย่างเต็มศักยภาพและมีคุณภาพ

 

วางแผนดูแลผู้ป่วยสมอง

ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมอง แพทย์ผู้ชำนาญการจะวางเป้าหมายในระยะสั้นและระยะยาวร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วย ญาติและผู้ดูแล เพื่อให้การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยจะมีการประชุมทีมทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยจะดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่

ด้านร่างกาย

การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมองในด้านร่างกาย มีตั้งแต่การฝึกนั่ง ยืน เดิน ขึ้นลงบันได การเคลื่อนไหวมือและแขน การฝึกทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เช่น การสวมเสื้อผ้า การรับประทานอาหาร การฝึกกลืน การดูแลการนอน การจัดท่านอน การบริหารกล้ามเนื้อและข้อ การฝึกสื่อสารทั้งการพูดและการฟัง 

ด้านจิตใจ

การดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมองในด้านจิตใจมีความสำคัญมาก เพราะผู้ป่วยมักมีความกังวลจากการสูญเสียสมรรถภาพไปโดยไม่ทันคาดคิด รวมถึงภาวะซึมเศร้า ขาดการควบคุมอารมณ์ ทำให้โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและภาวะของโรคในผู้ป่วยแต่ละบุคคล ดังนั้นการให้กำลังใจ การจัดกิจกรรมสันทนาการ และการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางคือสิ่งสำคัญ

 

 

ผู้ดูแลคือหัวใจ

ผู้ดูแล (Caregiver) คือหัวใจสำคัญในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมอง เพราะการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด การปรับบ้านและสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะกับผู้ป่วย ย่อมต้องอาศัยความร่วมมือจากญาติหรือคนในครอบครัว ซึ่งการเรียนรู้หลักการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองอย่างถูกต้องจากทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญ มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้และพัฒนา กระตุ้นสมองให้สร้างเซลล์ใหม่มาทดแทนเซลล์เดิมที่สูญเสียไปได้อย่างมีศักยภาพ

โดยสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลต้องมีคือ ทักษะในการฝึกฝนผู้ป่วย กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทำกิจวัตรประจำวัน ทำกับข้าวเมนูง่าย ๆ งานประดิษฐ์ง่าย ๆ ตลอดจนเล่นเกมกระตุ้นความจำ มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองและกล้ามเนื้อของผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้ดูแลต้องหมั่นสังเกตสภาพจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วย และสามารถปรับกิจกรรมการฝึกได้อย่างเหมาะสมในช่วงเวลานั้น ๆ โดยผู้ดูแลที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีมีความสำคัญในการสร้างความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

 

ในช่วงระยะฟื้นฟูของผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองก่อนกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านนั้น โรงพยาบาลที่พร้อมด้วยบุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ในการฝึกที่ครบในทุกขั้นตอนของการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยเป็นตัวช่วยสำคัญในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองในระยะเปลี่ยนผ่านหลังจากผ่านภาวะวิกฤติให้กลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติอีกครั้ง ซึ่งโรงพยาบาลชีวา ทรานสิชั่นนัล แคร์ พร้อมให้การดูแลฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับญาติและผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเต็มศักยภาพของผู้ป่วยต่อไป 

เส้นเลือดในสมองแตกฟื้นกี่วัน

การฟื้นตัวของร่างกายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแต่ละรายมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรงของรอยโรค ผู้ป่วยบางรายอาจฟื้นได้ดีจนกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติภายใน 1 อาทิตย์ ในขณะที่บางรายอาจใช้ระยะเวลามากกว่า 6 เดือน การฟื้นตัวของระบบประสาทส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนแรกหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ถ้าหลัง 6 ...

เส้นเลือดในสมองแตกสามารถหายได้ไหม

ในกรณีที่เป็นหลอดเลือดสมองแตกในเนื้อสมอง การรักษาจะมีจุดประสงค์หลักคือการทำให้ก้อนเลือดในสมองหายไป ถ้าหากก้อนเลือดเล็กและไม่ทำให้มีความดันที่สูงมาก คุณหมอจะให้ยากิน แต่ในกรณีที่มีก้อนเลือดที่ใหญ่คุณหมอจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพราะไม่สามารถรอให้ยาออกฤทธิ์ได้เนื่องจากความดันในสมองจะสูงมากจนทำลายเซลล์สมอง

เส้นเลือดในสมองตีบใช้เวลารักษานานไหม

ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่ รักษาอาการที่เกิดขึ้นได้โดยตรง แต่ผู้ป่วยแต่ละคนมีโอกาสที่จะดีขึ้นได้เอง โดยเน้นการทำกายภาพบำบัดเป็นหลัก ซึ่งแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไปในเรื่องของการฟื้นตัวว่าจะดีขึ้นได้ถึง ระดับใด โดยอาจพอบอกแนวโน้มได้คร่าวๆหลังเกิดอาการ2-4 สัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้ทำนายได้ถูกต้องแน่นอนเสมอไป เป็นเพียงแนวโน้ม เช่น ...

เส้นเลือดในสมองแตกได้ไง

2.หลอดเลือดสมองแตก อาจเกิดจากหลอดเลือดในสมองโป่งพองและแตกออก หรือภาวะความดันในโลหิตสูง ทำให้มีเลือดออกในสมอง และเนื้อสมองตายตามมาในที่สุด และไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดสมองตีบ ตัน หรือแตก หากเกิดขึ้นก็จะก่อให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ป่วยติดเตียง พิการ หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง